.
.
Frank Hecker / Alamy Stock Photo
.
.
.
45 Million Red Crabs March | Lands of the Monsoon | BBC Earth
.
.
งานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ชี้ให้เห็นว่าปู กุ้งมังกร และสัตว์อื่น ๆ
ที่จับมาเป็นอาหารทะเลเพื่อบริโภคนั้น
พวกมันสามารถรับรู้/รู้สึกเจ็บปวดได้
นักวิทยาศาสตร์กำลังผลักดันให้
มีการคุ้มครองทางกฎหมาย เพื่อให้แน่ใจว่า
พวกปูจะได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม
ปูมักถูกต้มทั้งเป็นก่อนนำมากิน
เหตุผลก็คือ ปูไม่รู้สึกเจ็บปวด
เพราะไม่มีสมองที่ทำหน้าที่
ประมวลผลความเจ็บปวด
แต่เป็นอย่างนั้นจริงหรือ
ปูรับรู้/รู้สึกเจ็บปวดได้หรือไม่
ปูชายฝั่ง (
Carcinus maenas)
รับรู้/รู้สึกเจ็บปวดได้ ตามผลการศึกษา
ในวารสาร
Biology ตุลาคม 2024
นักวิจัยพบว่า ปูเหล่านี้มี
Nociceptor
ซึ่งเป็นปลายประสาทที่ตรวจจับ
ความเสียหายต่อร่างกาย
และส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง
นักวิจัยทดสอบการตอบสนองของปู 20 ตัว
ต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บปวด เช่น
การจิ้มด้วยเครื่องมือพลาสติก
หรือน้ำส้มสายชูปริมาณเล็กน้อย
ที่ทาที่ตา หนวด และเนื้อเยื่ออ่อน
ระหว่างกรงเล็บและข้อต่อ
อิเล็กโทรดวัดการตอบสนอง
ของระบบประสาทส่วนกลาง
และนักวิทยาศาสตร์พบว่า
อิเล็กโทรดเหล่านี้สอดคล้องกับ
การตอบสนองของระบบประสาท
รับความรู้สึกเจ็บปวดของพวกมัน
ในกรณีนี้เมื่อนักวิจัยใช้สารเคมี
ที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เช่น น้ำทะเล
ก็ไมีแสดงอาการรับรู้/รู้สึกแต่อย่างใด
Nociceptors มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
จะถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บ
หรือถูกคุกคามด้วยอาการบาดเจ็บ
Nociceptors จะส่งสัญญาณไปยังสมอง
ผ่านความรู้สึกเจ็บปวดว่า
ร่างกายกำลังเผชิญกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น
เพื่อให้สัตว์จะสามารถตอบสนอง
ต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นเหล่านั้นได้
.
.
Eleftherios Kasiouras นักชีววิทยา
University of Gothenburg ใน Sweden
ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า
การมี Nociceptors เพียงอย่างเดียว
ไม่ได้หมายความว่า
พวกสัตว์จะรู้สึกเจ็บปวดเสมอไป
Nociceptors สามารถกระตุ้นปฏิกิริยา
ตอบสนองความเจ็บปวดได้ เช่น
การเอามือออกจากเตาที่ร้อนโดยสัญชาตญาณ
Nociceptors เพียงอย่างเดียว
ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ปูรู้สึกเจ็บปวด
แต่ Nociceptors ก็ถือเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ
ของปริศนาธรรมชาติเช่นกัน
การศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งชี้ชัดว่า
ปูรู้สึกเจ็บปวด
Eleftherios Kasioura ระบุว่า
" ผมไม่แปลกใจเลย
ที่ปูมีตัวรับความเจ็บปวด
การวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า กุ้งมังกรและปู
ตอบสนองต่อความเจ็บปวดด้วยพฤติกรรม
การรวมกันของการตอบสนองทางพฤติกรรม
กับการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้สัตว์มีแนวโน้มที่จะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น
วิธีหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการวัดว่า
สัตว์รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่ คือ
การใช้รายการตรวจสอบเกณฑ์ต่าง ๆ
เช่น สัตว์มีตัวรับความเจ็บปวดหรือไม่
บริเวณสมองที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด
ความเชื่อมโยงระหว่างตัวรับเหล่านี้
กับบริเวณสมอง เช่น การตอบสนองต่อยาสลบ
และพฤติกรรมป้องกันตัวเอง
เพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บ
หรือภัยคุกคามจากการบาดเจ็บ
.
.
.
.
การวิจัยเกี่ยวกับปูเสฉวน
ชี้ให้เห็นว่าสัตว์เหล่านี้
แสดงพฤติกรรมป้องกันตัวเอง
เพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บ
ปูเสฉวนจะละทิ้งกระดอง
เพื่อหลีกเลี่ยงไฟฟ้าช็อต
ตามการศึกษาวิจัยในปี 2016
วารสาร
Behavioural Processes
หากมีกลิ่นนักล่าใกล้ ๆ
ปูเสฉวนมีแนวโน้มที่จะทำเช่นนั้นน้อยลง
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ปูมีการแลกเปลี่ยนอย่างมีสติสัมปชัญญะ
ระหว่างการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
และการหลีกเลี่ยงนักล่า
สิ่งนี้ทำให้แนวคิดที่ว่า
ปูเสฉวนรู้สึกเจ็บปวดมีน้ำหนักมากขึ้น
(แทนที่จะหนีออกจากกระดองโดยอัตโนมัติ)
.
.
.
.
.
การศึกษาใหม่เกี่ยวกับปูชายฝั่ง
ได้บรรลุเกณฑ์อีกข้อหนึ่ง
ซึ่งบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า
ปูสามารถรู้สึกเจ็บปวดได้
จากหลักฐาน
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในสาขานี้
กำลังเรียกร้องให้มีการ
ห้ามต้มทั้งเป็น
(การต้มปู/กุ้งมังกรในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่)
โดยเรียกการกระทำดังกล่าวว่า
เป็นการกระทำที่
ไร้มนุษยธรรม
ได้มีการหารือและเสนอให้มีการห้ามทำ
ในสหราชอาณาจักร แต่การห้ามดังกล่าว
ได้ถูกนำมาใช้แล้วใน สวิตเซอร์แลนด์
นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และกำลังศึกษา
อยู่ในรัฐสภาสหภาพยุโรป EU
.
.
.
.
.
.
.
นักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาว่า
ปลาหมึก หอยแครง หอยแมลงภู่
เข้าข่ายเกณฑ์การรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่
แต่ผลที่ได้ก็แตกต่างกันไป
ปลาหมึก หอยแครง มีตัวรับความเจ็บปวด
และบางชนิดมีพฤติกรรม
หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจ
สมองของพวกมันดี เท่ากับ
สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหค่อไม่
" มนุษย์เราใช้สัตว์เป็นอาหาร
ใช้วิจัยในห้องปฏิบัติการ
และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย
หากพวกมันต้องประสบกับความเจ็บปวด
เราจำเป็นต้องสร้างกฎหมายเกี่ยวกับ
วิธีการปฏิบัติต่อพวกมันอย่างมีมนุษยธรรม
ให้พวกมันใช้ชีวิตอย่างไม่ทุกข์ทรมาน
และลดความเจ็บปวดของพวกมัน
ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ”
Eleftherios Kasioura กล่าวสรุป
.
เรียบเรียง/ที่มา
Do crabs feel pain?
.
.
.
.
การฆ่าสัตว์แบบมีมนุษยธรรม คือ
การทำให้สัตว์ตายโดยไม่ก่อให้เกิด
ความเจ็บปวดหรือทรมานโดยไม่จำเป็น
โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ :
1. ต้องทำให้สัตว์สลบก่อนการฆ่า
เพื่อให้สัตว์ไม่รู้สึกตัวและไม่เจ็บปวด
ในขณะถูกฆ่า
2. ใช้วิธีการที่ทำให้สัตว์ตายอย่างรวดเร็ว
เช่น การเชือดคอให้เลือดไหลออก
จนตายหลังจากสลบแล้ว
3. ปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม
ตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การขนส่ง
การพักสัตว์ก่อนฆ่า และขณะทำการฆ่า
4. ใช้อุปกรณ์และวิธีการที่เหมาะสมกับ
ชนิดของสัตว์ เช่น การใช้ไฟฟ้าช็อต
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือปืนยิงสลบ
5. ดำเนินการโดยบุคลากรที่ได้รับ
การฝึกอบรมและมีความชำนาญ
6. มีการตรวจสอบว่าสัตว์สลบสนิท
และตายสนิทก่อนดำเนินการขั้นตอนต่อไป
การฆ่าสัตว์แบบมีมนุษยธรรมนี้
มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความทุกข์ทรมาน
ของสัตว์ให้น้อยที่สุด และสอดคล้องกับ
หลักสวัสดิภาพสัตว์
ในทางปฏิบัติยังพบว่ามีการละเลยหลักการ
เหล่านี้ในโรงฆ่าสัตว์บางแห่ง
ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องมีการควบคุม
และตรวจสอบอย่างเข้มงวด
ที่มา
พรบ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557
.
.
ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง
อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา
ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura)
มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่
ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก
ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง
มีลักษณะสมมาตร
แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง
ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้
มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 4 คู่
แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว
หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา
ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง
ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่าง
โดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม
ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย
จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า
บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล
มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน
เช่น ปูใบ้ก้ามดำ
ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลก
เพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือน
กัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก
ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำ
หรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย
ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่น คือ
ปูเสฉวน จะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่ม
และขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย
นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา
ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura)
ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกกว่า 6,000 ชนิด
ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก
ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชนิด
Credit :
ปู
.
.
.
.
ปูน้อยหนีบมือ - กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์
.
.
.
สุดเศร้าอาลัย ตำนานปูน้อยหนีบมือ
กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์ เสียชีวิตแล้ว
.
ปู รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่
.
Frank Hecker / Alamy Stock Photo
.
.
.
45 Million Red Crabs March | Lands of the Monsoon | BBC Earth
.
.
งานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ชี้ให้เห็นว่าปู กุ้งมังกร และสัตว์อื่น ๆ
ที่จับมาเป็นอาหารทะเลเพื่อบริโภคนั้น
พวกมันสามารถรับรู้/รู้สึกเจ็บปวดได้
นักวิทยาศาสตร์กำลังผลักดันให้
มีการคุ้มครองทางกฎหมาย เพื่อให้แน่ใจว่า
พวกปูจะได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม
ปูมักถูกต้มทั้งเป็นก่อนนำมากิน
เหตุผลก็คือ ปูไม่รู้สึกเจ็บปวด
เพราะไม่มีสมองที่ทำหน้าที่
ประมวลผลความเจ็บปวด
แต่เป็นอย่างนั้นจริงหรือ
ปูรับรู้/รู้สึกเจ็บปวดได้หรือไม่
ปูชายฝั่ง (Carcinus maenas)
รับรู้/รู้สึกเจ็บปวดได้ ตามผลการศึกษา
ในวารสาร Biology ตุลาคม 2024
นักวิจัยพบว่า ปูเหล่านี้มี Nociceptor
ซึ่งเป็นปลายประสาทที่ตรวจจับ
ความเสียหายต่อร่างกาย
และส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง
นักวิจัยทดสอบการตอบสนองของปู 20 ตัว
ต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บปวด เช่น
การจิ้มด้วยเครื่องมือพลาสติก
หรือน้ำส้มสายชูปริมาณเล็กน้อย
ที่ทาที่ตา หนวด และเนื้อเยื่ออ่อน
ระหว่างกรงเล็บและข้อต่อ
อิเล็กโทรดวัดการตอบสนอง
ของระบบประสาทส่วนกลาง
และนักวิทยาศาสตร์พบว่า
อิเล็กโทรดเหล่านี้สอดคล้องกับ
การตอบสนองของระบบประสาท
รับความรู้สึกเจ็บปวดของพวกมัน
ในกรณีนี้เมื่อนักวิจัยใช้สารเคมี
ที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เช่น น้ำทะเล
ก็ไมีแสดงอาการรับรู้/รู้สึกแต่อย่างใด
Nociceptors มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
จะถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บ
หรือถูกคุกคามด้วยอาการบาดเจ็บ
Nociceptors จะส่งสัญญาณไปยังสมอง
ผ่านความรู้สึกเจ็บปวดว่า
ร่างกายกำลังเผชิญกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น
เพื่อให้สัตว์จะสามารถตอบสนอง
ต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นเหล่านั้นได้
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
Eleftherios Kasiouras นักชีววิทยา
University of Gothenburg ใน Sweden
ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า
การมี Nociceptors เพียงอย่างเดียว
ไม่ได้หมายความว่า
พวกสัตว์จะรู้สึกเจ็บปวดเสมอไป
Nociceptors สามารถกระตุ้นปฏิกิริยา
ตอบสนองความเจ็บปวดได้ เช่น
การเอามือออกจากเตาที่ร้อนโดยสัญชาตญาณ
Nociceptors เพียงอย่างเดียว
ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ปูรู้สึกเจ็บปวด
แต่ Nociceptors ก็ถือเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ
ของปริศนาธรรมชาติเช่นกัน
การศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งชี้ชัดว่า
ปูรู้สึกเจ็บปวด
Eleftherios Kasioura ระบุว่า
" ผมไม่แปลกใจเลย
ที่ปูมีตัวรับความเจ็บปวด
การวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า กุ้งมังกรและปู
ตอบสนองต่อความเจ็บปวดด้วยพฤติกรรม
การรวมกันของการตอบสนองทางพฤติกรรม
กับการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้สัตว์มีแนวโน้มที่จะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น
วิธีหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการวัดว่า
สัตว์รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่ คือ
การใช้รายการตรวจสอบเกณฑ์ต่าง ๆ
เช่น สัตว์มีตัวรับความเจ็บปวดหรือไม่
บริเวณสมองที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด
ความเชื่อมโยงระหว่างตัวรับเหล่านี้
กับบริเวณสมอง เช่น การตอบสนองต่อยาสลบ
และพฤติกรรมป้องกันตัวเอง
เพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บ
หรือภัยคุกคามจากการบาดเจ็บ
.
.
การวิจัยเกี่ยวกับปูเสฉวน
ชี้ให้เห็นว่าสัตว์เหล่านี้
แสดงพฤติกรรมป้องกันตัวเอง
เพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บ
ปูเสฉวนจะละทิ้งกระดอง
เพื่อหลีกเลี่ยงไฟฟ้าช็อต
ตามการศึกษาวิจัยในปี 2016
วารสาร Behavioural Processes
หากมีกลิ่นนักล่าใกล้ ๆ
ปูเสฉวนมีแนวโน้มที่จะทำเช่นนั้นน้อยลง
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ปูมีการแลกเปลี่ยนอย่างมีสติสัมปชัญญะ
ระหว่างการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
และการหลีกเลี่ยงนักล่า
สิ่งนี้ทำให้แนวคิดที่ว่า
ปูเสฉวนรู้สึกเจ็บปวดมีน้ำหนักมากขึ้น
(แทนที่จะหนีออกจากกระดองโดยอัตโนมัติ)
.
.
.
.
.
การศึกษาใหม่เกี่ยวกับปูชายฝั่ง
ได้บรรลุเกณฑ์อีกข้อหนึ่ง
ซึ่งบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า
ปูสามารถรู้สึกเจ็บปวดได้
จากหลักฐาน
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในสาขานี้
กำลังเรียกร้องให้มีการ ห้ามต้มทั้งเป็น
(การต้มปู/กุ้งมังกรในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่)
โดยเรียกการกระทำดังกล่าวว่า
เป็นการกระทำที่ ไร้มนุษยธรรม
ได้มีการหารือและเสนอให้มีการห้ามทำ
ในสหราชอาณาจักร แต่การห้ามดังกล่าว
ได้ถูกนำมาใช้แล้วใน สวิตเซอร์แลนด์
นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และกำลังศึกษา
อยู่ในรัฐสภาสหภาพยุโรป EU
.
.
.
.
.
.
นักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาว่า
ปลาหมึก หอยแครง หอยแมลงภู่
เข้าข่ายเกณฑ์การรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่
แต่ผลที่ได้ก็แตกต่างกันไป
ปลาหมึก หอยแครง มีตัวรับความเจ็บปวด
และบางชนิดมีพฤติกรรม
หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจ
สมองของพวกมันดี เท่ากับ
สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหค่อไม่
" มนุษย์เราใช้สัตว์เป็นอาหาร
ใช้วิจัยในห้องปฏิบัติการ
และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย
หากพวกมันต้องประสบกับความเจ็บปวด
เราจำเป็นต้องสร้างกฎหมายเกี่ยวกับ
วิธีการปฏิบัติต่อพวกมันอย่างมีมนุษยธรรม
ให้พวกมันใช้ชีวิตอย่างไม่ทุกข์ทรมาน
และลดความเจ็บปวดของพวกมัน
ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ”
Eleftherios Kasioura กล่าวสรุป
.
เรียบเรียง/ที่มา
Do crabs feel pain?
.
.
.
การฆ่าสัตว์แบบมีมนุษยธรรม คือ
การทำให้สัตว์ตายโดยไม่ก่อให้เกิด
ความเจ็บปวดหรือทรมานโดยไม่จำเป็น
โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ :
1. ต้องทำให้สัตว์สลบก่อนการฆ่า
เพื่อให้สัตว์ไม่รู้สึกตัวและไม่เจ็บปวด
ในขณะถูกฆ่า
2. ใช้วิธีการที่ทำให้สัตว์ตายอย่างรวดเร็ว
เช่น การเชือดคอให้เลือดไหลออก
จนตายหลังจากสลบแล้ว
3. ปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม
ตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การขนส่ง
การพักสัตว์ก่อนฆ่า และขณะทำการฆ่า
4. ใช้อุปกรณ์และวิธีการที่เหมาะสมกับ
ชนิดของสัตว์ เช่น การใช้ไฟฟ้าช็อต
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือปืนยิงสลบ
5. ดำเนินการโดยบุคลากรที่ได้รับ
การฝึกอบรมและมีความชำนาญ
6. มีการตรวจสอบว่าสัตว์สลบสนิท
และตายสนิทก่อนดำเนินการขั้นตอนต่อไป
การฆ่าสัตว์แบบมีมนุษยธรรมนี้
มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความทุกข์ทรมาน
ของสัตว์ให้น้อยที่สุด และสอดคล้องกับ
หลักสวัสดิภาพสัตว์
ในทางปฏิบัติยังพบว่ามีการละเลยหลักการ
เหล่านี้ในโรงฆ่าสัตว์บางแห่ง
ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องมีการควบคุม
และตรวจสอบอย่างเข้มงวด
ที่มา พรบ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557
.
.
ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง
อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา
ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura)
มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่
ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก
ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง
มีลักษณะสมมาตร
แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง
ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้
มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 4 คู่
แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว
หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา
ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง
ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่าง
โดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม
ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย
จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า
บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล
มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน
เช่น ปูใบ้ก้ามดำ
ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลก
เพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือน
กัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก
ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำ
หรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย
ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่น คือ
ปูเสฉวน จะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่ม
และขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย
นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา
ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura)
ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกกว่า 6,000 ชนิด
ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก
ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชนิด
Credit : ปู
.
.
.
ปูน้อยหนีบมือ - กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์
.
.
.
สุดเศร้าอาลัย ตำนานปูน้อยหนีบมือ
กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์ เสียชีวิตแล้ว
.