การเรียนรู้เกี่ยวกับโลกของเรา ความต้องการของสัตว์นั้น จะต้องใช้ความตั้งใจเป็นพิเศษ เช่นกันการเรียนรู้ก็ต้องอาศัยเรื่องของสายตา เสียงและอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ในแต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากและทำให้เข้าใจว่า องค์ความรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างไร ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ชนิดอื่นๆที่ได้แกะรอยเรียนรู้เรื่องต่างๆก็ยังคงเป็นปริศนาอยู่
ตอนนี้ทางด้านนักชีววิทยาก็ได้รายงานว่า พวกเขาคิดว่าพวกเขาจะสามารถประเมินองค์ความรู้ของสัตว์ชนิดต่างๆได้ โดยส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่า Paraventricular Thalamus หรือ PVT นั้น เปรียบเสมือนกับยามเฝ้าประตู จะต้องทำให้แน่ใจว่า สมองของเราสามารถพิสูจน์และทำการแกะรายระเอียดต่างๆที่สำคัญในแต่ละสถานการณ์ได้ โดยงานวิจัยก็ได้ทำการทดลองกับหนูในเวลานี้ โดยผลลัพธ์ที่ออกมาภายในวันแรกก็ทำให้นักวิจัยเริ่มเข้าใจมากขึ้นแล้ว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้อย่างไรและช่วยในการบำบัดอาการเสพติดได้ กล่าวโดย Xiaoke Chen
ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าประหลาดใจมาก Chen กล่าว ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าน้อยคนมากที่จะสงสัยว่า เจ้า Thalamus จะทำอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นธรรมชาติ “พวกเราชี้ว่าเซลล์ Thalamic มีบทบาทสำคัญมากในการแกะรอยพฤติกรรมแรงกระตุ้น ซึ่งไม่มีใครเคยทำการวิเคราะห์ตรงนี้มาก่อน” กล่าวโดย Chen
ประเมินว่าจะเรียนรู้อะไร
โดยพื้นฐานแล้ว การเรียนรู้มาจากการตอบสนองกลับมา ตัวอย่างเช่น หากคุณปวดหัวและกินยา คุณก็คาดหวังว่า ยาจะช่วยทำให้คุณหายปวดหัวได้ หากคุณรู้สึกดีขึ้น คุณก็จะกินยาตัวนี้ในครั้งต่อไปตอนที่คุณปวดหัว หากคุณไม่ดีขึ้น คุณก็จะลองยาชนิดอื่นๆ ทางด้านนักจิตวิทยากับประสาทวิทยาก็ได้ทำการวิจัยมุมมองต่อการเรียนรู้ตรงส่วนนี้ และทำการติดตามการทำงานของสมองในส่วนของการประมวลผลการตอบสนองกลับและการขับเคลื่อนในการเรียนรู้
ภาพแห่งการเรียนรู้ยังมองเห็นไม่ชัด Chen กล่าว แม้ว่าจะมีความเชื่อมโยงกับการทดลองที่ไม่มีความซับซ้อน ทั้งการใช้ชีวิตอยู่คนเดียวในโลกแห่งความเป็นจริง มนุษย์กับสัตว์ชนิดอื่นๆก็จะต้องมองเห็นภาพว่า จะเรียนรู้อะไร สำคัญก็คือการตอบสนองกลับมาเป็นอย่างไร และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นยังไง ประเด็นก็คือทางนักจิตวิทยากับนักประสาทวิทยาก็ไม่ค่อยให้ความสนใจตรงเรื่องนี้มากนัก
เริ่มต้นนั้น ทางด้าน Chen กับคณะก็ได้ฝึกสอนให้หนูทำการดมกลิ่นพร้อมกับดูผลตอบกลับว่า มีการตอบสนองไปในทางที่ดีหรือแย่ โดยให้หนูทำการจิบน้ำว่า ผลออกมาเป็นอย่างไร ส่วนหนูอีกตัวนึงก็ให้ดมกลิ่นอากาศ
ต่อมาทางด้านนักวิจัยก็ได้ทำการเปลี่ยนกลิ่นใหม่พร้อมกับมีกระแสไฟฟ้า โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถควบคุมหนูได้ โดยทีมวิจัยก็พบว่า เซลล์ประสาทในส่วนของ PVT มีการเปลี่ยนแปลง ระหว่างที่หนูดมกลิ่น เซลล์ประสาท PVT 2 ใน 3 มีการตอบสนองทั้งในส่วนของกลิ่น โดยการทำงานของเซลล์เพิ่มมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากการที่มีการดมกลิ่นน้ำ พูดง่ายๆก็คือ ในช่วงที่ PVT มีการตอบสนองกลิ่นดีและแย่นั้น ส่วนใหญ่มักจะมีการตอบสนองต่อกลิ่นที่ดีมากกว่า
อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีการใช้กระแสไฟฟ้านั้น เซลล์ประสาท PVT เกือบทุกตัวจะมีการตอบสนองต่อการช็อต ในขณะที่หนู 3 ใน 4 มีการตอบสนองที่ดีทั้งกลิ่นดีและแย่
แรงขับจะมีทิศทางที่คล้ายกันเมื่อหนูเริ่มกินน้ำ ตอนนี้น้ำไม่ใช่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับหนู โดย PVT ก็ไม่ค่อยมีการตอบสนองต่อน้ำ แต่จะยิ่งมีการตอบสนองต่อการดมกลิ่นมากขึ้น หมายควมว่าหนูจะยิ่งมีการตอบสนองต่อกลิ่นที่แย่มากขึ้น และไม่ค่อยตอบสนองต่อกลิ่นที่ดี โดยรวมแล้วผลลัพธ์ที่ออกมาก็ชี้ให้เห็นว่า การแกะรอย PVT ส่วนใหญ่มีความสำคัญมาก โดยกลิ่นที่ดีจะมีการตอบสนองก็ต่อเมื่อมีกลิ่นไม่ดีเข้ามามากเกินไป และในทางกลับกัน
แนวทางอื่นๆและอาการต่างๆ
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็มีข้อสรุปออกมาหลากหลาย Chen กล่าว บางทีมันก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยนักวิจัยในเวลานี้ก็มองหาแนวทางในการวิเคราะห์ PVT เมื่อพวกเขาอยากที่จะทำการวิจัยรายละเอียดที่มีความแตกต่างกันออกไป โดยดูว่าสัตว์มีการเรียนรู้อะไรและเรียนรู้อย่างไร
เช่นกันนักประสาทวิทยาตอนนี้ก็มองหาแนวทางในการเรียนรู้ใหม่ๆ Chen กล่าว การทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเติบโตของหนูก็มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของการควบคุมการทำงาน PVT พร้อมกับใช้แสง โดยนักวิจัยพบว่า พวกเขาสามารถยับยั้งหรือส่งเสริมการเรียนรู้ได้ ตัวอย่างเช่นพวกเขาสามารถสอนให้หนูดมกลิ่นไม่พึงประสงค์ในน้ำได้ หรือการดมกลิ่นอื่นๆก็มาจากการสับเปลี่ยนน้ำพร้อมกับใช้กระแสไฟฟ้า
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ชี้ให้เห็นถึงแนวทางใหม่ในการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของหนูในแต่ละช่วงเวลา โดยได้รับการกระตุ้นหรือยับยั้ง PVT ไม่ให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม เช่นกันพวกเขาก็เน้นย้ำว่า ในระยะยาววิธีนี้จะช่วยบำบัดอาการเสพติดได้ Chen กล่าว โดยช่วยเหลือให้กับทางองค์กรสมาคมในการบำบัดทั้งอาการเสพติดกับอาการที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
สมองของเราทำการเรียนรู้ได้อย่างไร
การเรียนรู้เกี่ยวกับโลกของเรา ความต้องการของสัตว์นั้น จะต้องใช้ความตั้งใจเป็นพิเศษ เช่นกันการเรียนรู้ก็ต้องอาศัยเรื่องของสายตา เสียงและอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ในแต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากและทำให้เข้าใจว่า องค์ความรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างไร ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ชนิดอื่นๆที่ได้แกะรอยเรียนรู้เรื่องต่างๆก็ยังคงเป็นปริศนาอยู่
ตอนนี้ทางด้านนักชีววิทยาก็ได้รายงานว่า พวกเขาคิดว่าพวกเขาจะสามารถประเมินองค์ความรู้ของสัตว์ชนิดต่างๆได้ โดยส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่า Paraventricular Thalamus หรือ PVT นั้น เปรียบเสมือนกับยามเฝ้าประตู จะต้องทำให้แน่ใจว่า สมองของเราสามารถพิสูจน์และทำการแกะรายระเอียดต่างๆที่สำคัญในแต่ละสถานการณ์ได้ โดยงานวิจัยก็ได้ทำการทดลองกับหนูในเวลานี้ โดยผลลัพธ์ที่ออกมาภายในวันแรกก็ทำให้นักวิจัยเริ่มเข้าใจมากขึ้นแล้ว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้อย่างไรและช่วยในการบำบัดอาการเสพติดได้ กล่าวโดย Xiaoke Chen
ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าประหลาดใจมาก Chen กล่าว ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าน้อยคนมากที่จะสงสัยว่า เจ้า Thalamus จะทำอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นธรรมชาติ “พวกเราชี้ว่าเซลล์ Thalamic มีบทบาทสำคัญมากในการแกะรอยพฤติกรรมแรงกระตุ้น ซึ่งไม่มีใครเคยทำการวิเคราะห์ตรงนี้มาก่อน” กล่าวโดย Chen
ประเมินว่าจะเรียนรู้อะไร
โดยพื้นฐานแล้ว การเรียนรู้มาจากการตอบสนองกลับมา ตัวอย่างเช่น หากคุณปวดหัวและกินยา คุณก็คาดหวังว่า ยาจะช่วยทำให้คุณหายปวดหัวได้ หากคุณรู้สึกดีขึ้น คุณก็จะกินยาตัวนี้ในครั้งต่อไปตอนที่คุณปวดหัว หากคุณไม่ดีขึ้น คุณก็จะลองยาชนิดอื่นๆ ทางด้านนักจิตวิทยากับประสาทวิทยาก็ได้ทำการวิจัยมุมมองต่อการเรียนรู้ตรงส่วนนี้ และทำการติดตามการทำงานของสมองในส่วนของการประมวลผลการตอบสนองกลับและการขับเคลื่อนในการเรียนรู้
ภาพแห่งการเรียนรู้ยังมองเห็นไม่ชัด Chen กล่าว แม้ว่าจะมีความเชื่อมโยงกับการทดลองที่ไม่มีความซับซ้อน ทั้งการใช้ชีวิตอยู่คนเดียวในโลกแห่งความเป็นจริง มนุษย์กับสัตว์ชนิดอื่นๆก็จะต้องมองเห็นภาพว่า จะเรียนรู้อะไร สำคัญก็คือการตอบสนองกลับมาเป็นอย่างไร และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นยังไง ประเด็นก็คือทางนักจิตวิทยากับนักประสาทวิทยาก็ไม่ค่อยให้ความสนใจตรงเรื่องนี้มากนัก
เริ่มต้นนั้น ทางด้าน Chen กับคณะก็ได้ฝึกสอนให้หนูทำการดมกลิ่นพร้อมกับดูผลตอบกลับว่า มีการตอบสนองไปในทางที่ดีหรือแย่ โดยให้หนูทำการจิบน้ำว่า ผลออกมาเป็นอย่างไร ส่วนหนูอีกตัวนึงก็ให้ดมกลิ่นอากาศ
ต่อมาทางด้านนักวิจัยก็ได้ทำการเปลี่ยนกลิ่นใหม่พร้อมกับมีกระแสไฟฟ้า โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถควบคุมหนูได้ โดยทีมวิจัยก็พบว่า เซลล์ประสาทในส่วนของ PVT มีการเปลี่ยนแปลง ระหว่างที่หนูดมกลิ่น เซลล์ประสาท PVT 2 ใน 3 มีการตอบสนองทั้งในส่วนของกลิ่น โดยการทำงานของเซลล์เพิ่มมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากการที่มีการดมกลิ่นน้ำ พูดง่ายๆก็คือ ในช่วงที่ PVT มีการตอบสนองกลิ่นดีและแย่นั้น ส่วนใหญ่มักจะมีการตอบสนองต่อกลิ่นที่ดีมากกว่า
อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีการใช้กระแสไฟฟ้านั้น เซลล์ประสาท PVT เกือบทุกตัวจะมีการตอบสนองต่อการช็อต ในขณะที่หนู 3 ใน 4 มีการตอบสนองที่ดีทั้งกลิ่นดีและแย่
แรงขับจะมีทิศทางที่คล้ายกันเมื่อหนูเริ่มกินน้ำ ตอนนี้น้ำไม่ใช่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับหนู โดย PVT ก็ไม่ค่อยมีการตอบสนองต่อน้ำ แต่จะยิ่งมีการตอบสนองต่อการดมกลิ่นมากขึ้น หมายควมว่าหนูจะยิ่งมีการตอบสนองต่อกลิ่นที่แย่มากขึ้น และไม่ค่อยตอบสนองต่อกลิ่นที่ดี โดยรวมแล้วผลลัพธ์ที่ออกมาก็ชี้ให้เห็นว่า การแกะรอย PVT ส่วนใหญ่มีความสำคัญมาก โดยกลิ่นที่ดีจะมีการตอบสนองก็ต่อเมื่อมีกลิ่นไม่ดีเข้ามามากเกินไป และในทางกลับกัน
แนวทางอื่นๆและอาการต่างๆ
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็มีข้อสรุปออกมาหลากหลาย Chen กล่าว บางทีมันก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยนักวิจัยในเวลานี้ก็มองหาแนวทางในการวิเคราะห์ PVT เมื่อพวกเขาอยากที่จะทำการวิจัยรายละเอียดที่มีความแตกต่างกันออกไป โดยดูว่าสัตว์มีการเรียนรู้อะไรและเรียนรู้อย่างไร
เช่นกันนักประสาทวิทยาตอนนี้ก็มองหาแนวทางในการเรียนรู้ใหม่ๆ Chen กล่าว การทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเติบโตของหนูก็มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของการควบคุมการทำงาน PVT พร้อมกับใช้แสง โดยนักวิจัยพบว่า พวกเขาสามารถยับยั้งหรือส่งเสริมการเรียนรู้ได้ ตัวอย่างเช่นพวกเขาสามารถสอนให้หนูดมกลิ่นไม่พึงประสงค์ในน้ำได้ หรือการดมกลิ่นอื่นๆก็มาจากการสับเปลี่ยนน้ำพร้อมกับใช้กระแสไฟฟ้า
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ชี้ให้เห็นถึงแนวทางใหม่ในการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของหนูในแต่ละช่วงเวลา โดยได้รับการกระตุ้นหรือยับยั้ง PVT ไม่ให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม เช่นกันพวกเขาก็เน้นย้ำว่า ในระยะยาววิธีนี้จะช่วยบำบัดอาการเสพติดได้ Chen กล่าว โดยช่วยเหลือให้กับทางองค์กรสมาคมในการบำบัดทั้งอาการเสพติดกับอาการที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com