“โรสฮิปนิวโรน” เซลล์พบใหม่ในสมองมนุษย์
ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาของ 2 ประเทศ ร่วมมือกันค้นพบและศึกษาเซลล์ประสาทในสมองใหม่ล่าสุด ร่วมกันตั้งชื่อว่า “โรสฮิป นิวโรน” หรือ “เซลล์ประสาทกุหลาบป่า” เพราะนอกจากจะจับเป็นกลุ่มแตกกิ่งก้านสาขาของ “เดนไดรท์” หรือ “ใยประสาทนำเข้า” สีแดงสดแล้วยังมีส่วน “แกนประสาทนำออก” หรือ “แอกซอน” มีลักษณะเป็นกระเปาะคล้ายผลโรสฮิปอีกด้วย
การค้นพบเซลล์ประสาทใหม่นี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างทีมนักวิจัยของสถาบันอัลเลนเพื่อวิทยาศาสตร์สมอง ในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ซึ่งนำโดย ทริกเว แบคเคน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของสถาบันกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเซเกด ในประเทศฮังการี โดยทั้งสองทีมค้นพบเซลล์ประสาทที่มีลักษณะไม่เหมือนที่เคยมีการค้นพบมานี้แยกจากกัน แต่เมื่อต่างฝ่ายต่างรับรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังศึกษาวิจัยเรื่องเดียวกัน ก็ตัดสินใจทำงานร่วมกันในที่สุด
ทีมวิจัยของสถาบันอัลเลนตรวจสอบพบเซลล์ประสาทแปลกใหม่นี้ระหว่างการตรวจสอบเนื้อเยื่อสมองของชายวัยกลางคน 2 รายที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยพบว่ามีเซลล์ประสาทกลุ่มหนึ่งส่งผลให้ยีนหรือหน่วยพันธุกรรมกลุ่มหนึ่งภายในเซลล์เปิดการทำงาน ในขณะที่ยีนส่วนอื่นๆ ไม่ได้เปิดการทำงาน ทีมมหาวิทยาลัยเซเกดค้นพบเซลล์ประสาทโรสฮิป ขณะศึกษาการทำงานและรูปร่างของกระแสประสาทของสมองจากเนื้อเยื่อสมองซึ่งถูกตัดออกมาจากบุคคลหนึ่งระหว่างการผ่าตัดสมอง แล้วถูกเก็บรักษาให้มีชีวิตไว้ในสารละลายพิเศษ
เหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้เซลล์ประสาทโรสฮิปไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้เป็นเพราะมีเซลล์ชนิดนี้น้อยมากในสมอง นอกจากนั้น แบคเคนยังระบุด้วยว่า ตัวอย่างเนื้อเยื่อสมองจริงๆ ของมนุษย์นั้นหามาศึกษาได้ยากมาก และจริงๆ แล้วแม้แต่ในการศึกษาครั้งนี้ก็เป็นการศึกษาในสมองเพียงชั้นเดียว โดยเป็นไปได้ว่าเซลล์ประสาทโรสฮิป อาจพบได้ในเนื้อสมองชั้นอื่นๆ ด้วย
ทีมวิจัยพบว่าเซลล์โรสฮิปรวมกันทั้งหมดแล้วมีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อสมองชั้นแรกของสมองส่วน นีโอคอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง (คอร์เท็กซ์) ที่เชื่อว่าวิวัฒนาการขึ้นมาทีหลังสุด และทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยินของมนุษย์เรา
การวิจัยนี้ยังพบด้วยว่า เซลล์ประสาทโรสฮิปเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทที่เรียกกันว่า “ไพราไมดัล เซลล์” เซลล์ประสาทหลายขั้วที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิด เป็นเซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณแบบเร้า (ให้กระทำ) ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงราว 2 ใน 3 ของเซลล์ประสาทในส่วนของคอร์เท็กซ์ทั้งหมด
ความสัมพันธ์เต็มรูปแบบระหว่างเซลล์ประสาท โรสฮิปกับไพราไมดัลนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แต่ทีมวิจัยพบว่าโรสฮิปเป็นเซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณแบบห้าม ซึ่งจะไประงับการทำงานของเซลล์ประสาทอื่นๆ แบคเคนบอกว่า สามารถพูดได้ว่าโรสฮิปทำหน้าที่เป็นเหมือนเบรก เพื่อระงับการทำงานของเซลล์ไพราไมดัล
แต่โรสฮิปจะมีผลจริงๆ ต่อพฤติกรรมของสมองโดยรวมอย่างไรนั้น แบคเคนยอมรับว่า ยังไม่สามารถรู้ได้ในเวลานี้
นอกเหนือจากคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว เซลล์โรสฮิปยังมีความแปลกอีกอย่าง นั่นคือไม่มีปรากฏในคอร์เท็กซ์ของหนู ซึ่งนอกจากจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เพิ่งมีการค้นพบเซลล์ประสาทชนิดนี้แล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าสมองมนุษย์มีลักษณะจำเพาะ ไม่เหมือนกับของหนูทดลอง หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป
การนำผลทดลองกับสมองของหนูทดลองมาใช้กับมนุษย์จึงจำเป็นต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความต่างดังกล่าวนี้ด้วย
มติชนออนไลน์
“โรสฮิปนิวโรน” เซลล์พบใหม่ในสมองมนุษย์
ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาของ 2 ประเทศ ร่วมมือกันค้นพบและศึกษาเซลล์ประสาทในสมองใหม่ล่าสุด ร่วมกันตั้งชื่อว่า “โรสฮิป นิวโรน” หรือ “เซลล์ประสาทกุหลาบป่า” เพราะนอกจากจะจับเป็นกลุ่มแตกกิ่งก้านสาขาของ “เดนไดรท์” หรือ “ใยประสาทนำเข้า” สีแดงสดแล้วยังมีส่วน “แกนประสาทนำออก” หรือ “แอกซอน” มีลักษณะเป็นกระเปาะคล้ายผลโรสฮิปอีกด้วย
การค้นพบเซลล์ประสาทใหม่นี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างทีมนักวิจัยของสถาบันอัลเลนเพื่อวิทยาศาสตร์สมอง ในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ซึ่งนำโดย ทริกเว แบคเคน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของสถาบันกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเซเกด ในประเทศฮังการี โดยทั้งสองทีมค้นพบเซลล์ประสาทที่มีลักษณะไม่เหมือนที่เคยมีการค้นพบมานี้แยกจากกัน แต่เมื่อต่างฝ่ายต่างรับรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังศึกษาวิจัยเรื่องเดียวกัน ก็ตัดสินใจทำงานร่วมกันในที่สุด
ทีมวิจัยของสถาบันอัลเลนตรวจสอบพบเซลล์ประสาทแปลกใหม่นี้ระหว่างการตรวจสอบเนื้อเยื่อสมองของชายวัยกลางคน 2 รายที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยพบว่ามีเซลล์ประสาทกลุ่มหนึ่งส่งผลให้ยีนหรือหน่วยพันธุกรรมกลุ่มหนึ่งภายในเซลล์เปิดการทำงาน ในขณะที่ยีนส่วนอื่นๆ ไม่ได้เปิดการทำงาน ทีมมหาวิทยาลัยเซเกดค้นพบเซลล์ประสาทโรสฮิป ขณะศึกษาการทำงานและรูปร่างของกระแสประสาทของสมองจากเนื้อเยื่อสมองซึ่งถูกตัดออกมาจากบุคคลหนึ่งระหว่างการผ่าตัดสมอง แล้วถูกเก็บรักษาให้มีชีวิตไว้ในสารละลายพิเศษ
เหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้เซลล์ประสาทโรสฮิปไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้เป็นเพราะมีเซลล์ชนิดนี้น้อยมากในสมอง นอกจากนั้น แบคเคนยังระบุด้วยว่า ตัวอย่างเนื้อเยื่อสมองจริงๆ ของมนุษย์นั้นหามาศึกษาได้ยากมาก และจริงๆ แล้วแม้แต่ในการศึกษาครั้งนี้ก็เป็นการศึกษาในสมองเพียงชั้นเดียว โดยเป็นไปได้ว่าเซลล์ประสาทโรสฮิป อาจพบได้ในเนื้อสมองชั้นอื่นๆ ด้วย
ทีมวิจัยพบว่าเซลล์โรสฮิปรวมกันทั้งหมดแล้วมีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อสมองชั้นแรกของสมองส่วน นีโอคอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง (คอร์เท็กซ์) ที่เชื่อว่าวิวัฒนาการขึ้นมาทีหลังสุด และทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยินของมนุษย์เรา
การวิจัยนี้ยังพบด้วยว่า เซลล์ประสาทโรสฮิปเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทที่เรียกกันว่า “ไพราไมดัล เซลล์” เซลล์ประสาทหลายขั้วที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิด เป็นเซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณแบบเร้า (ให้กระทำ) ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงราว 2 ใน 3 ของเซลล์ประสาทในส่วนของคอร์เท็กซ์ทั้งหมด
ความสัมพันธ์เต็มรูปแบบระหว่างเซลล์ประสาท โรสฮิปกับไพราไมดัลนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แต่ทีมวิจัยพบว่าโรสฮิปเป็นเซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณแบบห้าม ซึ่งจะไประงับการทำงานของเซลล์ประสาทอื่นๆ แบคเคนบอกว่า สามารถพูดได้ว่าโรสฮิปทำหน้าที่เป็นเหมือนเบรก เพื่อระงับการทำงานของเซลล์ไพราไมดัล
แต่โรสฮิปจะมีผลจริงๆ ต่อพฤติกรรมของสมองโดยรวมอย่างไรนั้น แบคเคนยอมรับว่า ยังไม่สามารถรู้ได้ในเวลานี้
นอกเหนือจากคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว เซลล์โรสฮิปยังมีความแปลกอีกอย่าง นั่นคือไม่มีปรากฏในคอร์เท็กซ์ของหนู ซึ่งนอกจากจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เพิ่งมีการค้นพบเซลล์ประสาทชนิดนี้แล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าสมองมนุษย์มีลักษณะจำเพาะ ไม่เหมือนกับของหนูทดลอง หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป
การนำผลทดลองกับสมองของหนูทดลองมาใช้กับมนุษย์จึงจำเป็นต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความต่างดังกล่าวนี้ด้วย
มติชนออนไลน์