ปู่เป็นคนจีน มาจากเกาะไหหลำ แซ่ห่าน
ย่าเป็นคนลำปาง ... พ่อจึงใช้นามสกุลของย่า
พ่อเล่าว่าปู่กับย่ามีอาชีพค้าเหล็กกน ... กับฝ้าย
เราว่าไม่น่าขายคู่กันได้เลยนะ เพราะ เหล็กกน แปลว่า ตาปู
ปู่ ย่า และ พระเอก ... เขียนตามคำบอกของพ่อเป๊ะ ๆ
พ่อเป็นลูกชายคนโต
เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนยกซายที่ลำปาง
ก่อตั้งขึ้นโดย พ่อค้าคหบดี ชาวจีนในจังหวัดลำปาง เมื่อ พ.ศ.2466 เปิดสอนภาษาจีน
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนทั่วประเทศถูกสั่งปิด ประมาณ พ.ศ. 2482–2483 ชาวจีนจึงได้ใช้โรงเรียนเป็นสโมสรพ่อค้าชาวจีน
จนกระทั่งปี พ.ศ.2495 พ่อค้าชาวจีนจึงขอเปิดโรงเรียนอีกครั้ง ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมวิทยา”
พอเรียนจนจบ ป. 3 ปู่ก็ส่งให้ไปเรียนที่เมืองจีน
การเดินทางก็ลงไปกรุงเทพ ฯ โดยรถไฟ
ไปลงเรือกลไฟที่กรุงเทพ ฯ จำไม่ได้ว่าที่ไหน
เดินทางไป 7 วันถึงเมืองจีน
และปู่ก็มาเมืองไทยโดยเรือกลไฟเช่นกัน
ไปเรียนเมืองจีนก็ไปอยู่หอพัก
ปิดเทอมก็ได้ไปอยู่กับย่าเมืองจีน ภรรยาอีกคนของปู่ ที่เคยมาเมืองไทยแล้วกลับทำนาอยู่ที่นั่น
ไปเรียนอยู่ 8 ปี ก็กลับมาเมืองไทย เพราะญี่ปุ่นบุกจีนตอนนั้นพ่ออายุได้ 15 ปี
ลืมถามว่าปู่เสียเมื่อไหร่ แต่ก็รู้ว่าภายหลังที่ปู่เสีย ย่าก็เปลี่ยนอาชีพมาเป็นขนส่งสินค้ามีรถบรรทุกอยู่คันหนึ่ง
เมื่อกลับมาจากเมืองจีน คุณพ่อกลับมาเรียนต่อที่ลำปาง ที่โรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซี ชั้น ม.1
หลักสูตรตอนนั้น ป.1-ป.3 ม.1-ม.6 และ เตรียมอุดมเพื่อเรียนต่อมหาวิทยาลัย
กลางคืนเรียนกวดวิชา สอบพาสชั้นไปเรื่อย ๆ จนจบ ม. 6
คุณอาที่อายุใกล้ ๆ กัน เป็นลูกคุณปู่น้องชายคนเล็กของย่าชวนไปเรียนที่กรุงเทพ ฯ
เดิมตั้งใจจะไปเรียนที่อำนวยศิลป์ เมื่อครูที่นั่นเห็นว่าสอบพาสชั้นมาเยอะ
จึงให้ไปเข้าโรงเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาแห่งแห่งจุลาลงกรนมหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ. 2486 พ่อได้เข้าเรียนต่อที่จุลาลงกรนมหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2486 ที่พ่ออยู่ปี 1 ไม่มีการสอบให้ผู้ที่มีเวลาเรียน 60% ขึ้นไปเลื่อนขึ้นชั้น ปีที่ 2
อาจเป็นเพราะสงคราม เคยได้ยินเพื่อนคุณพ่อที่เรียนแพทย์ว่าเรารุ่นโตโจ้ ขึ้นชั้นได้โดยไม่ต้องสอบ
จากนั้น มหาวิทยาลัยได้ปิดไป 1 ปี 6 เดือน เพราะญี่ปุ่นเข้ามายึดใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย
ประมาณเดือนมกราคม 2488 พล.ร.ต.หลวงสังวร สุวรรณชีพ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สารวัตรใหญ่ทหาร
และภายใต้การสนับสนุนของหัวหน้าเสรีไทยภายใน นายปรีดี พนมยงค์
ได้ปรึกษาหารือกับ ม.จ. รัษฎาภิเษก โสณกุล อธิการบดีจุลาลงกรนมหาวิทยาลัย
ซึ่งก็เห็นดีและตกลงยินยอม ให้รับสมัครบรรดานิสิตชายจากจุลาลงกรน์ ที่ไม่ได้อพยพไปไหน ยังอยู่ในกรุงเทพ และไม่มีอะไรทำ
เข้ามาเรียนเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตร
โดยแจ้งญี่ปุ่นว่าเพื่อควบคุมรักษาสถาณการณ์ความสงบภายในประเทศ แต่โดยอีกนัยหนึ่งก็เพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น ... จะเล่าในกระทู้ต่อ ๆ ไป
พ่อก็ได้สมัครไปกับเขาด้วย หลังจากฝึกเรียบร้อย กำลังจะออกปฏิบัติงานสงครามก็เลิกเสียก่อน
รูปสมัยเรียนจุฬา
พ่อว่างานรับร้อง ... มั่ง
ถ้วยชนะเลิศกีฬา ... พ่อว่าแข่งภายในมหาวิทยาลัย
กองเชียร์ รูปพระเกี้ยว ... แปลกใจที่มีทหารอยู่ในภาพด้วยหรือจะเป็นช่วงที่ทหารเข้าควบคุมจุฬา ...
พ่อเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล
ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปเรียนวิชาเอก ... พ่อบอกว่าปี 3 จะมีงาน " สปารค์ "
สปาร์ค คืองานที่ นิสิตคนไหนที่ไม่ชอบกันให้ต่อยกันได้ก่อนที่จะแยกย้ายวิชาเอกกันไป ... คงอยากให้ที่คาใจจบลงที่นี่
แล้วมาฉลองร่วมกัน
พ่อเรียนสาขา civil engineer นึกตั้งนาน วิศวกรรมโยธา ไปฝึกเซอร์เวย์ที่บางแสน
หน้าตาบางแสนเป็นแบบนี้ ... มันควรจะเป็นตรงไหนใครจำได้ไหม
ที่พักที่ฝึกเซอร์เวย์ ที่บางแสน ชลบุรี
ผลการเรียนของพ่อ
พ่อจบจุฬาในปี พ.ศ. 2492
แล้วพ่อก็มารับราชการอยู่ที่ เชียงใหม่ จนเกษียณอายุ และอยู่เชียงใหม่จนตลอดชีวิต
ภาพถ่ายในอดีต ... นิสิตวิสวกัมสาตร จุลาลงกรนมหาวิทยาลัย
เพิ่งจะได้คุยกันยาว ๆ ก็เมื่อ 7 ปีที่แล้วซึ่งคุณพ่ออายุได้ 87 ปี
เรื่องชีวิตของพ่อ โดยเล่าจากภาพเก่าที่เราไปค้นมาให้ดู
ปู่เป็นคนจีน มาจากเกาะไหหลำ แซ่ห่าน
ย่าเป็นคนลำปาง ... พ่อจึงใช้นามสกุลของย่า
พ่อเล่าว่าปู่กับย่ามีอาชีพค้าเหล็กกน ... กับฝ้าย
เราว่าไม่น่าขายคู่กันได้เลยนะ เพราะ เหล็กกน แปลว่า ตาปู
ปู่ ย่า และ พระเอก ... เขียนตามคำบอกของพ่อเป๊ะ ๆ
พ่อเป็นลูกชายคนโต
เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนยกซายที่ลำปาง
ก่อตั้งขึ้นโดย พ่อค้าคหบดี ชาวจีนในจังหวัดลำปาง เมื่อ พ.ศ.2466 เปิดสอนภาษาจีน
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนทั่วประเทศถูกสั่งปิด ประมาณ พ.ศ. 2482–2483 ชาวจีนจึงได้ใช้โรงเรียนเป็นสโมสรพ่อค้าชาวจีน
จนกระทั่งปี พ.ศ.2495 พ่อค้าชาวจีนจึงขอเปิดโรงเรียนอีกครั้ง ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมวิทยา”
พอเรียนจนจบ ป. 3 ปู่ก็ส่งให้ไปเรียนที่เมืองจีน
การเดินทางก็ลงไปกรุงเทพ ฯ โดยรถไฟ
ไปลงเรือกลไฟที่กรุงเทพ ฯ จำไม่ได้ว่าที่ไหน
เดินทางไป 7 วันถึงเมืองจีน
และปู่ก็มาเมืองไทยโดยเรือกลไฟเช่นกัน
ไปเรียนเมืองจีนก็ไปอยู่หอพัก
ปิดเทอมก็ได้ไปอยู่กับย่าเมืองจีน ภรรยาอีกคนของปู่ ที่เคยมาเมืองไทยแล้วกลับทำนาอยู่ที่นั่น
ไปเรียนอยู่ 8 ปี ก็กลับมาเมืองไทย เพราะญี่ปุ่นบุกจีนตอนนั้นพ่ออายุได้ 15 ปี
ลืมถามว่าปู่เสียเมื่อไหร่ แต่ก็รู้ว่าภายหลังที่ปู่เสีย ย่าก็เปลี่ยนอาชีพมาเป็นขนส่งสินค้ามีรถบรรทุกอยู่คันหนึ่ง
เมื่อกลับมาจากเมืองจีน คุณพ่อกลับมาเรียนต่อที่ลำปาง ที่โรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซี ชั้น ม.1
หลักสูตรตอนนั้น ป.1-ป.3 ม.1-ม.6 และ เตรียมอุดมเพื่อเรียนต่อมหาวิทยาลัย
กลางคืนเรียนกวดวิชา สอบพาสชั้นไปเรื่อย ๆ จนจบ ม. 6
คุณอาที่อายุใกล้ ๆ กัน เป็นลูกคุณปู่น้องชายคนเล็กของย่าชวนไปเรียนที่กรุงเทพ ฯ
เดิมตั้งใจจะไปเรียนที่อำนวยศิลป์ เมื่อครูที่นั่นเห็นว่าสอบพาสชั้นมาเยอะ
จึงให้ไปเข้าโรงเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาแห่งแห่งจุลาลงกรนมหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ. 2486 พ่อได้เข้าเรียนต่อที่จุลาลงกรนมหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2486 ที่พ่ออยู่ปี 1 ไม่มีการสอบให้ผู้ที่มีเวลาเรียน 60% ขึ้นไปเลื่อนขึ้นชั้น ปีที่ 2
อาจเป็นเพราะสงคราม เคยได้ยินเพื่อนคุณพ่อที่เรียนแพทย์ว่าเรารุ่นโตโจ้ ขึ้นชั้นได้โดยไม่ต้องสอบ
จากนั้น มหาวิทยาลัยได้ปิดไป 1 ปี 6 เดือน เพราะญี่ปุ่นเข้ามายึดใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย
ประมาณเดือนมกราคม 2488 พล.ร.ต.หลวงสังวร สุวรรณชีพ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สารวัตรใหญ่ทหาร
และภายใต้การสนับสนุนของหัวหน้าเสรีไทยภายใน นายปรีดี พนมยงค์
ได้ปรึกษาหารือกับ ม.จ. รัษฎาภิเษก โสณกุล อธิการบดีจุลาลงกรนมหาวิทยาลัย
ซึ่งก็เห็นดีและตกลงยินยอม ให้รับสมัครบรรดานิสิตชายจากจุลาลงกรน์ ที่ไม่ได้อพยพไปไหน ยังอยู่ในกรุงเทพ และไม่มีอะไรทำ
เข้ามาเรียนเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตร
โดยแจ้งญี่ปุ่นว่าเพื่อควบคุมรักษาสถาณการณ์ความสงบภายในประเทศ แต่โดยอีกนัยหนึ่งก็เพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น ... จะเล่าในกระทู้ต่อ ๆ ไป
พ่อก็ได้สมัครไปกับเขาด้วย หลังจากฝึกเรียบร้อย กำลังจะออกปฏิบัติงานสงครามก็เลิกเสียก่อน
รูปสมัยเรียนจุฬา
พ่อว่างานรับร้อง ... มั่ง
ถ้วยชนะเลิศกีฬา ... พ่อว่าแข่งภายในมหาวิทยาลัย
กองเชียร์ รูปพระเกี้ยว ... แปลกใจที่มีทหารอยู่ในภาพด้วยหรือจะเป็นช่วงที่ทหารเข้าควบคุมจุฬา ...
พ่อเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล
ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปเรียนวิชาเอก ... พ่อบอกว่าปี 3 จะมีงาน " สปารค์ "
สปาร์ค คืองานที่ นิสิตคนไหนที่ไม่ชอบกันให้ต่อยกันได้ก่อนที่จะแยกย้ายวิชาเอกกันไป ... คงอยากให้ที่คาใจจบลงที่นี่
แล้วมาฉลองร่วมกัน
พ่อเรียนสาขา civil engineer นึกตั้งนาน วิศวกรรมโยธา ไปฝึกเซอร์เวย์ที่บางแสน
หน้าตาบางแสนเป็นแบบนี้ ... มันควรจะเป็นตรงไหนใครจำได้ไหม
ที่พักที่ฝึกเซอร์เวย์ ที่บางแสน ชลบุรี
ผลการเรียนของพ่อ
พ่อจบจุฬาในปี พ.ศ. 2492
แล้วพ่อก็มารับราชการอยู่ที่ เชียงใหม่ จนเกษียณอายุ และอยู่เชียงใหม่จนตลอดชีวิต