ในตอนที่เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น ในปี 1937 กองทัพจีนทั้งประเทศมีทหาร 1,700,000 คน ซึ่งมากกว่าญี่ปุ่นมากทีเดียว แต่กลับพ่ายแพ้แก่ญี่ปุ่นที่มีทหาร 900,00 คน ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำอธิบายนั้นมีหลายข้อ แต่ข้อหนึ่งที่เรามักจะได้ยินคือ ทหารจีนมีสองประเภทคือกองทหารที่ปรับปรุงให้ทันสมัยแล้ว กับกองทหารที่ยังไม่ได้ปรับปรุง และเนื่องจากจีนมีกองทัพที่ทันสมัยน้อยกว่าญี่ปุ่น จึงสู้ญี่ปุ่นไม่ได้
คำอธิบายนี้ถูกต้อง แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ทราบรายละเอียดว่า ทหารสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และประเทศจีนมีความเป็นมาอย่างไรทำไมถึงได้มีทหารที่แตกต่างกันสองประเภท เรื่องนี้เราจำเป็นต้องทราบความเป็นมาของกองทัพจีนในยุคขุนศึก รวมทั้งสภาพของประเทศจีนในช่วงก่อนเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น จึงจะสามารถเข้าใจถึงเหตุการณ์ในสมัยนั้นได้ดีขึ้น
ช่วงก่อนสงครามจีน-ญี่ปุ่น กองทัพจีนเป็นส่วนผสมของทหารสองประเภท ประเภทแรกคือกองทหารสมัยใหม่ ที่กำลังพลส่วนใหญ่เข้ามาเป็นทหารตามกฎหมายเกณฑ์ทหารซึ่งเริ่มต้นในปี 1934 ทหารเหล่านี้จะได้รับอาวุธที่ทันสมัยและได้รับการฝึกตามมาตรฐานกองทัพสมัยใหม่ที่มีเยอรมันเป็นผู้วางรากฐาน มักจะถูกเรียกแบบง่ายๆว่าทหารชั้นหนึ่ง ทหารกลุ่มนี้มีความรักชาติ กล้าหาญและเสียสละ ผลงานในสนามรบก็พิสูจน์ให้เห็นว่าทหารกลุ่มนี้สามารถสู้กับทหารญี่ปุ่นได้อย่างทัดเทียม
ส่วนทหารประเภทที่สองคือกลุ่มทหารที่ตกทอดมาจากยุคขุนศึก กองทัพในยุคขุนศึกนั้นเป็นระบบทหารอาชีพ ซึ่งเปิดรับใครก็ได้ที่สนใจจะมาสมัครเป็นทหาร ทหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นทหารเพราะความจำเป็นทางการเงิน จึงไม่ค่อยมีความกล้าหาญหรือเสียสละอย่างที่ทหารเกณฑ์ทั่วไปพึงมี ทหารกลุ่มนี้ได้รับการฝึกตามมาตรฐานของสงครามสมัยขุนศึก และใช้อาวุธมือสองที่เหลือมาจากสงครามโลกครั้งแรก ซึ่งมักจะถูกเรียกง่ายๆว่าทหารชั้นสอง
ก่อนที่จะเกิดสงครามกับญี่ปุ่น กองทัพจีนมีทหารประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สองปนกัน โดยทหารในกองทัพของรัฐบาลกลางจำนวนประมาณหกแสนคนที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเจียงไคเช็คโดยตรงจะเป็นทหารชั้นหนึ่งประมาณสี่แสนคน ส่วนทหารในมณฑลภูมิภาคประมาณหนึ่งล้านคน ส่วนใหญ่จะเป็นทหารชั้นสอง ซึ่งเป็นประเด็นที่จะนำมาสำหรับในวันนี้คือความเป็นมาที่ทำให้กองทัพจีนเกิดมีทหารที่แตกต่างกันสองประเภท
เรื่องที่จะเล่านี้ผมเก็บข้อมูลมาจากผลงานของนักวิชาการตะวันตกหลายเล่ม ได้แก่ Warlord Soldiers – Chinese Common Soldiers, The Bitter Peace: Conflict in China, Chinese Civil Wars, The Warlord Army, Zhang Xue Liang the General Who Never Fought เรื่องของกองทัพในยุคขุนศึกนั้นไม่ค่อยน่าภูมิใจสำหรับชาวจีน ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงหายากสักหน่อย และไม่ค่อยปรากฏอยู่ในหนังสือที่เขียนโดยนักวิชาการชาวจีน
ทหารจีน-ทหารโจร หนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้จีนรบแพ้ญี่ปุ่น
คำอธิบายนี้ถูกต้อง แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ทราบรายละเอียดว่า ทหารสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และประเทศจีนมีความเป็นมาอย่างไรทำไมถึงได้มีทหารที่แตกต่างกันสองประเภท เรื่องนี้เราจำเป็นต้องทราบความเป็นมาของกองทัพจีนในยุคขุนศึก รวมทั้งสภาพของประเทศจีนในช่วงก่อนเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น จึงจะสามารถเข้าใจถึงเหตุการณ์ในสมัยนั้นได้ดีขึ้น
ช่วงก่อนสงครามจีน-ญี่ปุ่น กองทัพจีนเป็นส่วนผสมของทหารสองประเภท ประเภทแรกคือกองทหารสมัยใหม่ ที่กำลังพลส่วนใหญ่เข้ามาเป็นทหารตามกฎหมายเกณฑ์ทหารซึ่งเริ่มต้นในปี 1934 ทหารเหล่านี้จะได้รับอาวุธที่ทันสมัยและได้รับการฝึกตามมาตรฐานกองทัพสมัยใหม่ที่มีเยอรมันเป็นผู้วางรากฐาน มักจะถูกเรียกแบบง่ายๆว่าทหารชั้นหนึ่ง ทหารกลุ่มนี้มีความรักชาติ กล้าหาญและเสียสละ ผลงานในสนามรบก็พิสูจน์ให้เห็นว่าทหารกลุ่มนี้สามารถสู้กับทหารญี่ปุ่นได้อย่างทัดเทียม
ส่วนทหารประเภทที่สองคือกลุ่มทหารที่ตกทอดมาจากยุคขุนศึก กองทัพในยุคขุนศึกนั้นเป็นระบบทหารอาชีพ ซึ่งเปิดรับใครก็ได้ที่สนใจจะมาสมัครเป็นทหาร ทหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นทหารเพราะความจำเป็นทางการเงิน จึงไม่ค่อยมีความกล้าหาญหรือเสียสละอย่างที่ทหารเกณฑ์ทั่วไปพึงมี ทหารกลุ่มนี้ได้รับการฝึกตามมาตรฐานของสงครามสมัยขุนศึก และใช้อาวุธมือสองที่เหลือมาจากสงครามโลกครั้งแรก ซึ่งมักจะถูกเรียกง่ายๆว่าทหารชั้นสอง
ก่อนที่จะเกิดสงครามกับญี่ปุ่น กองทัพจีนมีทหารประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สองปนกัน โดยทหารในกองทัพของรัฐบาลกลางจำนวนประมาณหกแสนคนที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเจียงไคเช็คโดยตรงจะเป็นทหารชั้นหนึ่งประมาณสี่แสนคน ส่วนทหารในมณฑลภูมิภาคประมาณหนึ่งล้านคน ส่วนใหญ่จะเป็นทหารชั้นสอง ซึ่งเป็นประเด็นที่จะนำมาสำหรับในวันนี้คือความเป็นมาที่ทำให้กองทัพจีนเกิดมีทหารที่แตกต่างกันสองประเภท
เรื่องที่จะเล่านี้ผมเก็บข้อมูลมาจากผลงานของนักวิชาการตะวันตกหลายเล่ม ได้แก่ Warlord Soldiers – Chinese Common Soldiers, The Bitter Peace: Conflict in China, Chinese Civil Wars, The Warlord Army, Zhang Xue Liang the General Who Never Fought เรื่องของกองทัพในยุคขุนศึกนั้นไม่ค่อยน่าภูมิใจสำหรับชาวจีน ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงหายากสักหน่อย และไม่ค่อยปรากฏอยู่ในหนังสือที่เขียนโดยนักวิชาการชาวจีน