จีนในสมัยขุนศึก (Warlord Era) กองทัพของ จาง จั้วหลิน ขุนศึกผู้ปกครองแมนจูเรีย (ภาคอีสานของจีน) นั้นมีการรับเอาหลักนิยมทางทหารและจ้างที่ปรึกษาทางทหารจากญี่ปุ่นจำนวนมากมาฝึกสอนในกองทัพของ จาง จั้วหลิน และจากการที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับญี่ปุ่นจนทำให้ในบางครั้งนักประวัติศาสตร์บางคนเคยกล่าวไว้เลยว่ากองทัพของ จาง จั้วหลิน มีลักษณะไม่ต่างจากนอมินีของจักรวรรดิญี่ปุ่นในจีนเลยทีเดียว
ท่านที่เคยอ่านงานเขียนของผมเกี่ยวกับโรงงานผลิตอาวุธในแมนจูเรียคงจะทราบดีว่าโรงงานสรรพาวุธแห่งนั้นผลิตอาวุธเลียนแบบของญี่ปุ่นด้วยในตอนนี้ผมจะแนะนำให้รู้จักกับปืนกลเบา Type 17 สำเนาของปืนกลเบา Type 11 ของญี่ปุ่นที่ผลิตในแมนจูเรียในสมัยที่ จาง จั้วหลิน ยังมีชีวิตอยู่และเรืองอำนาจ
Type 17 นั้นเป็นงานสำเนาที่ตรงตามต้นฉบับญี่ปุ่นทุกระเบียบนิ้วแม้กระทั่งขนาดกระสุนที่ใช้ก็ไม่ใช่ 7.92 มม. เมาเซอร์ ซึ่งเป็นกระสุนปืนเล็กยาว/ปืนกล ที่แพร่หลายมากที่สุดในจีนสมัยนั้นแต่เป็นขนาด 6.5×50มม. มาตรฐานจักรวรรดิญี่ปุ่น
*ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับยอดการผลิตหรือการใช้งานจริงในสงคราม*
อ้างอิงโดยหนังสือ Chinese Warlord Armies 1911-30 โดย Philip Jowett
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1041 Chinese Type 17 LMG
ท่านที่เคยอ่านงานเขียนของผมเกี่ยวกับโรงงานผลิตอาวุธในแมนจูเรียคงจะทราบดีว่าโรงงานสรรพาวุธแห่งนั้นผลิตอาวุธเลียนแบบของญี่ปุ่นด้วยในตอนนี้ผมจะแนะนำให้รู้จักกับปืนกลเบา Type 17 สำเนาของปืนกลเบา Type 11 ของญี่ปุ่นที่ผลิตในแมนจูเรียในสมัยที่ จาง จั้วหลิน ยังมีชีวิตอยู่และเรืองอำนาจ
Type 17 นั้นเป็นงานสำเนาที่ตรงตามต้นฉบับญี่ปุ่นทุกระเบียบนิ้วแม้กระทั่งขนาดกระสุนที่ใช้ก็ไม่ใช่ 7.92 มม. เมาเซอร์ ซึ่งเป็นกระสุนปืนเล็กยาว/ปืนกล ที่แพร่หลายมากที่สุดในจีนสมัยนั้นแต่เป็นขนาด 6.5×50มม. มาตรฐานจักรวรรดิญี่ปุ่น
*ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับยอดการผลิตหรือการใช้งานจริงในสงคราม*
อ้างอิงโดยหนังสือ Chinese Warlord Armies 1911-30 โดย Philip Jowett