ปรีชา รุ่งจำรัส (อั้น สัตหีบ)
ถึงแก่กรรม เมื่อบ่าย ๓ เศษเมื่อวานนี้ (๒๐ พ.ค.) ที่บ้านพักคนชรา ลำปาง
..............................
“อั้น สัตหีบ” นามปากกาของ นายปรีชา รุ่งจำรัส
เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๘๖ ที่กรุงเทพมหานคร
เป็นบุตรคนแรกในจำนวน ๔ คน ของ น.ด.โชติ และนางปราณี รุ่งจำรัส
ถึงแก่กรรมเมื่อ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
.
[ การศึกษา ] เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนปิยะวิทยา
ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนชิโนรส และสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนสัตหีบ
จากนั้นเข้าศึกษาที่วิทยาลัยกรุงเทพธุรกิจ และโรงเรียนชุมพลทหารเรือ (อาชีวะ)
.
[ การทำงาน ] เคยรับราชการประจำกองทัพเรืออยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมาลาอกมาประกอบอาชีพอิสระเป็นพนักงานเดินตลาดและผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทหลายแห่ง
ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๒๐) ยึดงานเขียนหนังสือเป็นอาชีพ
และเป็นอาจารย์พิเศษที่โรงเรียนสยามธุรกิจ
.
[ งานเขียนหนังสือ ] อั้น สัตหีบ มีจุดมุ่งมั่นในการเขียนข้อหนึ่งคือ
เพื่อร่วมสร้างสรรค์วรรณกรรมของชาติ
เริ่มการเขียนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖
ด้วยการเขียนคำประพันธ์ร้อยกรองลงในหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์
ต่อมาเมื่อมีประสบการณ์จากอาชีพพนักงานเดินตลาดหลายแห่ง
จึงได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาถ่ายทอดสู่ผู้อ่านในรูปของเรื่องสั้น
ลงพิมพ์ในนิตยสารฟ้าเมืองไทยรายสัปดาห์
ผลงานเขียนเหล่านี้ นอกจากให้ความสนุกเพลิดเพลินในการอ่าน
ยังอาจถือเป็นตำราวิชาชีพของผู้ประกอบอาชีพพนักงานเดินตลาดได้เป็นอย่างดี
.
ในการเขียนหนังสือ อั้น สัตหีบ มีความถนัดในการเขียนเรื่องสั้นเป็นอันดับแรก
รองลงไปคือเรื่องยาว สารคดี คำประพันธ์ร้อยกรอง และบทโทรทัศน์
ซึ่งผลงานเขียนเท่าที่สำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มีเรื่องสั้นประมาณ ๒๐๐ เรื่อง
เรื่องยาว ๕ เรื่อง บทร้อยกรอง ๑๐๐ ชิ้น สารคดี ๓๐ เรื่อง
และคอลัมน์เกี่ยวกับการเมืองอีกประมาณ ๑๐๐ เรื่อง
.
[ ผลงานเขียน ] ผลงานที่พิมพ์เป็นเล่มแล้ว ได้แก่
๑. เซลส์แมนเมืองหลวง ๒. โอ้ละหนอเซลส์แมน ๓. ชีวิตเซลส์แมน
๔. เซลส์แมนพเนจร ๕. เกิดเป็นเซลส์แมน ๖. สวัสดีเซลส์แมน
๗. เรื่องยังงี้ก็มีด้วย ๘. เหนือกุ๊ยยังมีกุ๊ย ๙. เหนือแสบยังมีแสบ
๑๐. เรื่องของคน ๑๑. ครึ่งรักของเซลส์สาว ๑๒. ก่อนจะซึ้งถึงหัวใจ
รวมทั้งงานเขียนที่สร้างเป็นภาพยนตร์อีก ๑ เรื่อง
คือ สิบสองสิงห์สยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
.
อั้น สัตหีบ ให้ข้อคิดเห็นว่าจะพยายามสร้างงานเขียนไปเรื่อยๆ
เพื่อว่าอาจจะมีผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งดีเด่นขึ้นมา
และคิดว่าการเขียนหนังสืออาจถือเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
หากรู้จักปรับปรุงตัวเองและหาตลาดใหม่ๆ อยู่เสมอ
อุปสรรคของงานเขียนนั้น
ถ้านักเขียนไม่ตั้งกติกาต่อตนเองนัก คงไม่มีอุปสรรคอะไร
.
[ นามปากกา ]
๑. อั้น สัตหีบ ใช้เขียนเรื่องสั้น เรื่องยาวที่มีคุณค่าทางสังคมและการเมือง
๒. รอง บางนา ใช้เขียนข้อเขียนประเภทบันเทิง
๓. วิชญ์ นาวิน ใช้เขียนข้อเขียนประเภทบันเทิง
๔. อรุณี อรุโณทัย ใช้เขียนเรื่องสำหรับผู้หญิง
.
จากหนังสือ ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๑ ของ กรมศิลปากร
จากเพจ ข่าวสารวงการหนังสือ
https://www.facebook.com/groups/booklifecycle/permalink/777741042432139/
นักเขียนลาลับไปอีก - ปรีชา รุ่งจำรัส (อั้น สัตหีบ)
ถึงแก่กรรม เมื่อบ่าย ๓ เศษเมื่อวานนี้ (๒๐ พ.ค.) ที่บ้านพักคนชรา ลำปาง
..............................
“อั้น สัตหีบ” นามปากกาของ นายปรีชา รุ่งจำรัส
เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๘๖ ที่กรุงเทพมหานคร
เป็นบุตรคนแรกในจำนวน ๔ คน ของ น.ด.โชติ และนางปราณี รุ่งจำรัส
ถึงแก่กรรมเมื่อ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
.
[ การศึกษา ] เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนปิยะวิทยา
ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนชิโนรส และสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนสัตหีบ
จากนั้นเข้าศึกษาที่วิทยาลัยกรุงเทพธุรกิจ และโรงเรียนชุมพลทหารเรือ (อาชีวะ)
.
[ การทำงาน ] เคยรับราชการประจำกองทัพเรืออยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมาลาอกมาประกอบอาชีพอิสระเป็นพนักงานเดินตลาดและผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทหลายแห่ง
ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๒๐) ยึดงานเขียนหนังสือเป็นอาชีพ
และเป็นอาจารย์พิเศษที่โรงเรียนสยามธุรกิจ
.
[ งานเขียนหนังสือ ] อั้น สัตหีบ มีจุดมุ่งมั่นในการเขียนข้อหนึ่งคือ
เพื่อร่วมสร้างสรรค์วรรณกรรมของชาติ
เริ่มการเขียนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖
ด้วยการเขียนคำประพันธ์ร้อยกรองลงในหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์
ต่อมาเมื่อมีประสบการณ์จากอาชีพพนักงานเดินตลาดหลายแห่ง
จึงได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาถ่ายทอดสู่ผู้อ่านในรูปของเรื่องสั้น
ลงพิมพ์ในนิตยสารฟ้าเมืองไทยรายสัปดาห์
ผลงานเขียนเหล่านี้ นอกจากให้ความสนุกเพลิดเพลินในการอ่าน
ยังอาจถือเป็นตำราวิชาชีพของผู้ประกอบอาชีพพนักงานเดินตลาดได้เป็นอย่างดี
.
ในการเขียนหนังสือ อั้น สัตหีบ มีความถนัดในการเขียนเรื่องสั้นเป็นอันดับแรก
รองลงไปคือเรื่องยาว สารคดี คำประพันธ์ร้อยกรอง และบทโทรทัศน์
ซึ่งผลงานเขียนเท่าที่สำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มีเรื่องสั้นประมาณ ๒๐๐ เรื่อง
เรื่องยาว ๕ เรื่อง บทร้อยกรอง ๑๐๐ ชิ้น สารคดี ๓๐ เรื่อง
และคอลัมน์เกี่ยวกับการเมืองอีกประมาณ ๑๐๐ เรื่อง
.
[ ผลงานเขียน ] ผลงานที่พิมพ์เป็นเล่มแล้ว ได้แก่
๑. เซลส์แมนเมืองหลวง ๒. โอ้ละหนอเซลส์แมน ๓. ชีวิตเซลส์แมน
๔. เซลส์แมนพเนจร ๕. เกิดเป็นเซลส์แมน ๖. สวัสดีเซลส์แมน
๗. เรื่องยังงี้ก็มีด้วย ๘. เหนือกุ๊ยยังมีกุ๊ย ๙. เหนือแสบยังมีแสบ
๑๐. เรื่องของคน ๑๑. ครึ่งรักของเซลส์สาว ๑๒. ก่อนจะซึ้งถึงหัวใจ
รวมทั้งงานเขียนที่สร้างเป็นภาพยนตร์อีก ๑ เรื่อง
คือ สิบสองสิงห์สยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
.
อั้น สัตหีบ ให้ข้อคิดเห็นว่าจะพยายามสร้างงานเขียนไปเรื่อยๆ
เพื่อว่าอาจจะมีผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งดีเด่นขึ้นมา
และคิดว่าการเขียนหนังสืออาจถือเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
หากรู้จักปรับปรุงตัวเองและหาตลาดใหม่ๆ อยู่เสมอ
อุปสรรคของงานเขียนนั้น
ถ้านักเขียนไม่ตั้งกติกาต่อตนเองนัก คงไม่มีอุปสรรคอะไร
.
[ นามปากกา ]
๑. อั้น สัตหีบ ใช้เขียนเรื่องสั้น เรื่องยาวที่มีคุณค่าทางสังคมและการเมือง
๒. รอง บางนา ใช้เขียนข้อเขียนประเภทบันเทิง
๓. วิชญ์ นาวิน ใช้เขียนข้อเขียนประเภทบันเทิง
๔. อรุณี อรุโณทัย ใช้เขียนเรื่องสำหรับผู้หญิง
.
จากหนังสือ ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๑ ของ กรมศิลปากร
จากเพจ ข่าวสารวงการหนังสือ
https://www.facebook.com/groups/booklifecycle/permalink/777741042432139/