ล็อบบี้ยิสต์ส่งสัญญาณเตือนไทยระวัง"เหล็ก-แผงโซลาร์เซลล์" โดนมาตรา 201 ถูกสหรัฐสอบสวนเตรียมใช้มาตรการปกป้อง เก็บค่าธรรมเนียมนำเข้า หลังปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เผยผู้ส่งออกสูงสุด 5 อันดับมีแต่เทรดดิ้งญี่ปุ่น-เกาหลี-จีน สอท.จับตาเหล็กจีนทะลักเข้าไทยก่อนส่งไปสหรัฐ
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี (Executive Order) ที่เกี่ยวข้องกับการค้าถึง 3 ฉบับ ตั้งแต่ให้รายงานสาเหตุที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับประเทศคู่ค้า, คำสั่งให้ขยายการจัดเก็บ-บังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทุ่มตลาด (AD)-การอุดหนุน (CVD)-การฝ่าฝืนกฎหมายการค้า/ศุลกากร และกำหนดนโยบายให้หน่วยงานสหรัฐจัดซื้อสินค้าที่ผลิตในสหรัฐ (Buy American) กับการเข้มงวดการเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว (Hire American)คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นและสอดคล้องกับนโยบาย American First ตามที่ทรัมป์ได้หาเสียงไว้ แต่ส่งผลกระทบกับประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐ รวมถึงประเทศไทย ที่เป็นฝ่าย "ได้ดุล" การค้าสหรัฐถึง 18,900 ล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา
เหล็ก-โซลาร์เซลล์ถูกเซฟการ์ด
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานมีบริษัทล็อบบี้ยิสต์สหรัฐ ได้แจ้งเตือนอย่างไม่เป็นทางการเข้ามาว่า คำสั่งประธานาธิบดีข้างต้นมีความเป็นไปได้ที่จะมีสินค้าไทย 2 รายการถูกสอบสวนได้แก่ สินค้าเหล็กเคลือบ/เจืออัลลอย (Alloy) กับสินค้าแผงโซลาร์เซลล์ แม้ว่าสินค้าทั้ง 2 รายการจะมีปริมาณส่งออกไปสหรัฐไม่มากนัก แต่มีอัตราขยายตัวสูงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งสหรัฐมีแนวโน้มที่ใช้มาตรการปกป้อง (Safeguard) ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการนำเข้าจากทุกประเทศที่ส่งออกสินค้ารายการดังกล่าวเข้ามาในสหรัฐด้วย
โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดไต่สวนการนำเข้าสินค้าเหล็กจากทั่วโลกเพื่อใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น(Safeguard) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการนำเข้าเหล็กที่เพิ่มขึ้นจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงภายในของสหรัฐ ในขณะที่คณะกรรมาธิการด้านการค้าระหว่างประเทศ (USITC : United State International Trade Commission) ก็เตรียมเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ Safeguard กับสินค้าโซลาร์เซลล์จากทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการส่งออกจากประเทศไทยไปยังสหรัฐด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการใช้มาตรการ Safeguard มีหลักเกณฑ์ว่า จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศคู่ค้าส่งสินค้าเข้าไปยังตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐ หากจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ขณะนี้ ปรากฏมีสินค้าที่สุ่มเสี่ยงจะถูกไต่สวนก็คือ สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์บางพิกัด เช่น โซลาร์เซลล์ ที่มีการส่งออกไปสหรัฐมากขึ้น ส่วนสินค้าเหล็กน่าจะเชื่อมโยงกับกรณีที่สหรัฐเปิดไต่สวนการใช้มาตรการ Safeguard กับประเทศจีนไปก่อนหน้านี้
"ตอนนี้จะต้องติดตามประกาศเปิดไต่สวนว่า มีพิกัดใดบ้าง เพราะอาจจะมีความเชื่อมโยงกับไทย ส่วนสินค้ายางโดยเฉพาะยางล้อ/ยางธรรมชาติ แม้ว่าจะมีการส่งออกไปสหรัฐมาก แต่สหรัฐไม่มีโรงงานภายในประเทศ นั่นหมายถึง ยางส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานสหรัฐน้อยกว่าสินค้ารายการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐ ที่มีการจ้างงานคนอเมริกันเป็นจำนวนมาก และเป็นฐานเสียงที่สำคัญของทรัมป์โดยตรง" แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ประสานไปยังกลุ่มผู้ส่งออกสินค้าที่มีปริมาณส่งออกไปยังตลาดสหรัฐสูงสุด 10 กลุ่มให้เตรียมข้อมูลต่าง ๆ เช่น ต้นทุน ราคาจำหน่ายในประเทศ และราคาจำหน่ายในต่างประเทศ เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องชี้แจงข้อมูลในการเปิดรับฟังความเห็นในกลางเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมกันนี้จะเร่งศึกษาเกี่ยวกับการใช้มาตรการ Safeguard ตามกฎหมาย Trade Act of 1974 Section 201 ซึ่งอาจมีข้อยกเว้นให้ เช่น หากส่งออกไม่ถึง 5% อาจจะได้รับการพิจารณาไม่ใช้มาตรการตามหลัก De Minimis องค์การการค้าโลก (WTO)
ญี่ปุ่น-เกาหลีใช้ไทยส่งออก
รายงานข่าวจากกรมศุลกากรระบุว่า สินค้าเหล็กที่ประเทศไทยส่งออกไปยังสหรัฐมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้าเจืออื่น ๆ มีความกว้างตั้งแต่ 600 มม.ขึ้นไปในพิกัด 7225 เหล็กเจืออัลลอย กับกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นรีดทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เจือ มีความกว้างตั้งแต่ 600 มม.ขึ้นไป หุ้มติด/ชุบหรือเคลือบในพิกัด 7210 เหล็กเคลือบ ซึ่งมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดไม่มากนัก เช่น 7210 ส่วนแบ่งตลาดในตลาดสหรัฐ 2.5% และ 7225 มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 0.7% โดยสินค้าทั้ง 2 รายการนี้กำลังถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุน (AD/CVD)
สถิติการส่งออกเหล็กไปสหรัฐในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม 2560) มีปริมาณ 58,517 ตัน มูลค่า 1,558 ล้านบาท เทียบกับปี 2559 ตลอดทั้งปีมีปริมาณส่งออก 92,666 ตัน มูลค่า 2,187 ล้านบาท
โดยสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 พิกัดแรก ได้แก่ พิกัด 72104999000 ปริมาณ 16,888 ตัน มูลค่า 439.8 ล้านบาท, พิกัด 72104912032 ปริมาณ 8,042 ตัน มูลค่า 188.4 ล้านบาท, พิกัด 72255090090 ปริมาณ 6,844 ตัน มูลค่า 159.6 ล้านบาท, พิกัด 72255090011 ปริมาณ 5,366 ตัน มูลค่า 111.9 ล้านบาท และพิกัด 72104912033 ปริมาณ 4,253 ตัน มูลค่า 103.5 ล้านบาท
เฉพาะพิกัดในกลุ่ม 7210 กับ 7225 มีบริษัทส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทมารุเบนนิ-อิโตชู สตีล พีทีอี ลิมิเต็ด สาขากรุงเทพฯ, บริษัทโพสโค โค้ทเต้ด สตีล ประเทศไทย, บริษัทฮันวาไทย, บริษัทนิปปอน สตีล แอนด์ ซูมิคิน บูสซัน (ประเทศไทย) และบริษัทดองบู สตีล ส่วนพิกัด 7225 ได้แก่ บริษัทนิปปอน สตีล แอนด์ ซูมิคิน บูสซัน (ประเทศไทย), บริษัทฮันวาไทย, บริษัทสตาร์คอร์, บริษัทมิตซุยแอนด์คัมปะนี (ไทยแลนด์), บริษัทฟาบริเนท และบริษัทยูพีเอส พาร์เซล ดีลิเวอรี่ เซอร์วิส ซึ่ง 2 รายหลังเป็นบริษัทสหรัฐ
ส่วนการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ไปยังสหรัฐ 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม 2560) ในพิกัด 85414090001 Solar Cells มีปริมาณ 729 ตัน มูลค่า 2,861,741,993 บาท ส่วนการส่งออกตลาดทั้งปี 2559 พิกัด 85414090 001 มีปริมาณ 2,423 ตัน มูลค่า 14,159,372,070 บาท มีบริษัทผู้ส่งออกสูงสุด 9 อันดับแรก ได้แก่ บริษัททรินา โซลาร์ ไซแอนซ์ แอนด์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย), บริษัทแคนาเดียนโซลาร์แมนูเฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย), บริษัทโจงลี่ เทลซัน โซล่าร์ (ไทยแลนด์), บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิกส์ (ประเทศไทย), บริษัทไทยซัน กรีน เอ็นเนอร์จี, บริษัทฟูโซล่าร์, บริษัทโฟเซร่า, บริษัทฟาบริเนท และบริษัทจีพีวี เอเซีย (ประเทศไทย)
เหล็กจีนทะลักเข้าไทย
นายวิกรม วัชระคุปต์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ทางกลุ่มยังไม่ได้รับแจ้งจากทางกระทรวงพาณิชย์ แต่หากดูปริมาณที่ส่งออกไป 58,517 ตันช่วง 3 เดือนแรก พิกัด 72104 กับพิกัด 72255 "ถือว่าไม่มากนัก" แต่ก็ต้องลงไปดูรายละเอียดแต่ละประเภทว่า มีปริมาณมากขนาดไหน เชื่อว่าไม่มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
อย่างไรก็ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณการใช้ประเทศไทยและอาเซียนเป็นประเทศทางผ่านเพื่อส่งออกเหล็กไปยังประเทศเป้าหมายถือเป็นการหลบเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้าแบบหนึ่งยกตัวอย่าง สหรัฐกีดกันสินค้าจีนแล้วจีนกลับส่งเข้ามาที่ไทย ส่วนหนึ่งขายและอีกส่วนหนึ่งใช้เป็นทางผ่านเพื่อส่งออกไปสหรัฐ นั่นจึงกลายเป็นว่า เหล็กจีนทะลักเข้าไทยมากขึ้น ดังนั้นการเตรียมรับมือไม่เพียงเฝ้าระวัง แต่รัฐบาลต้องเร่งผลักดัน กฎหมายการแข่งขันทางการค้า (Competition) หรือการหลบเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบอยู่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของกฤษฎีกา หากกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กไทยอย่างมาก
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ หวั่นทรัมป์งัด ม.201 ทุบ "เหล็ก-แผงโซลาร์เซลล์"
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี (Executive Order) ที่เกี่ยวข้องกับการค้าถึง 3 ฉบับ ตั้งแต่ให้รายงานสาเหตุที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับประเทศคู่ค้า, คำสั่งให้ขยายการจัดเก็บ-บังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทุ่มตลาด (AD)-การอุดหนุน (CVD)-การฝ่าฝืนกฎหมายการค้า/ศุลกากร และกำหนดนโยบายให้หน่วยงานสหรัฐจัดซื้อสินค้าที่ผลิตในสหรัฐ (Buy American) กับการเข้มงวดการเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว (Hire American)คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นและสอดคล้องกับนโยบาย American First ตามที่ทรัมป์ได้หาเสียงไว้ แต่ส่งผลกระทบกับประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐ รวมถึงประเทศไทย ที่เป็นฝ่าย "ได้ดุล" การค้าสหรัฐถึง 18,900 ล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา
เหล็ก-โซลาร์เซลล์ถูกเซฟการ์ด
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานมีบริษัทล็อบบี้ยิสต์สหรัฐ ได้แจ้งเตือนอย่างไม่เป็นทางการเข้ามาว่า คำสั่งประธานาธิบดีข้างต้นมีความเป็นไปได้ที่จะมีสินค้าไทย 2 รายการถูกสอบสวนได้แก่ สินค้าเหล็กเคลือบ/เจืออัลลอย (Alloy) กับสินค้าแผงโซลาร์เซลล์ แม้ว่าสินค้าทั้ง 2 รายการจะมีปริมาณส่งออกไปสหรัฐไม่มากนัก แต่มีอัตราขยายตัวสูงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งสหรัฐมีแนวโน้มที่ใช้มาตรการปกป้อง (Safeguard) ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการนำเข้าจากทุกประเทศที่ส่งออกสินค้ารายการดังกล่าวเข้ามาในสหรัฐด้วย
โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดไต่สวนการนำเข้าสินค้าเหล็กจากทั่วโลกเพื่อใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น(Safeguard) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการนำเข้าเหล็กที่เพิ่มขึ้นจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงภายในของสหรัฐ ในขณะที่คณะกรรมาธิการด้านการค้าระหว่างประเทศ (USITC : United State International Trade Commission) ก็เตรียมเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ Safeguard กับสินค้าโซลาร์เซลล์จากทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการส่งออกจากประเทศไทยไปยังสหรัฐด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการใช้มาตรการ Safeguard มีหลักเกณฑ์ว่า จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศคู่ค้าส่งสินค้าเข้าไปยังตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐ หากจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ขณะนี้ ปรากฏมีสินค้าที่สุ่มเสี่ยงจะถูกไต่สวนก็คือ สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์บางพิกัด เช่น โซลาร์เซลล์ ที่มีการส่งออกไปสหรัฐมากขึ้น ส่วนสินค้าเหล็กน่าจะเชื่อมโยงกับกรณีที่สหรัฐเปิดไต่สวนการใช้มาตรการ Safeguard กับประเทศจีนไปก่อนหน้านี้
"ตอนนี้จะต้องติดตามประกาศเปิดไต่สวนว่า มีพิกัดใดบ้าง เพราะอาจจะมีความเชื่อมโยงกับไทย ส่วนสินค้ายางโดยเฉพาะยางล้อ/ยางธรรมชาติ แม้ว่าจะมีการส่งออกไปสหรัฐมาก แต่สหรัฐไม่มีโรงงานภายในประเทศ นั่นหมายถึง ยางส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานสหรัฐน้อยกว่าสินค้ารายการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐ ที่มีการจ้างงานคนอเมริกันเป็นจำนวนมาก และเป็นฐานเสียงที่สำคัญของทรัมป์โดยตรง" แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ประสานไปยังกลุ่มผู้ส่งออกสินค้าที่มีปริมาณส่งออกไปยังตลาดสหรัฐสูงสุด 10 กลุ่มให้เตรียมข้อมูลต่าง ๆ เช่น ต้นทุน ราคาจำหน่ายในประเทศ และราคาจำหน่ายในต่างประเทศ เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องชี้แจงข้อมูลในการเปิดรับฟังความเห็นในกลางเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมกันนี้จะเร่งศึกษาเกี่ยวกับการใช้มาตรการ Safeguard ตามกฎหมาย Trade Act of 1974 Section 201 ซึ่งอาจมีข้อยกเว้นให้ เช่น หากส่งออกไม่ถึง 5% อาจจะได้รับการพิจารณาไม่ใช้มาตรการตามหลัก De Minimis องค์การการค้าโลก (WTO)
ญี่ปุ่น-เกาหลีใช้ไทยส่งออก
รายงานข่าวจากกรมศุลกากรระบุว่า สินค้าเหล็กที่ประเทศไทยส่งออกไปยังสหรัฐมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้าเจืออื่น ๆ มีความกว้างตั้งแต่ 600 มม.ขึ้นไปในพิกัด 7225 เหล็กเจืออัลลอย กับกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นรีดทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เจือ มีความกว้างตั้งแต่ 600 มม.ขึ้นไป หุ้มติด/ชุบหรือเคลือบในพิกัด 7210 เหล็กเคลือบ ซึ่งมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดไม่มากนัก เช่น 7210 ส่วนแบ่งตลาดในตลาดสหรัฐ 2.5% และ 7225 มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 0.7% โดยสินค้าทั้ง 2 รายการนี้กำลังถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุน (AD/CVD)
สถิติการส่งออกเหล็กไปสหรัฐในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม 2560) มีปริมาณ 58,517 ตัน มูลค่า 1,558 ล้านบาท เทียบกับปี 2559 ตลอดทั้งปีมีปริมาณส่งออก 92,666 ตัน มูลค่า 2,187 ล้านบาท
โดยสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 พิกัดแรก ได้แก่ พิกัด 72104999000 ปริมาณ 16,888 ตัน มูลค่า 439.8 ล้านบาท, พิกัด 72104912032 ปริมาณ 8,042 ตัน มูลค่า 188.4 ล้านบาท, พิกัด 72255090090 ปริมาณ 6,844 ตัน มูลค่า 159.6 ล้านบาท, พิกัด 72255090011 ปริมาณ 5,366 ตัน มูลค่า 111.9 ล้านบาท และพิกัด 72104912033 ปริมาณ 4,253 ตัน มูลค่า 103.5 ล้านบาท
เฉพาะพิกัดในกลุ่ม 7210 กับ 7225 มีบริษัทส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทมารุเบนนิ-อิโตชู สตีล พีทีอี ลิมิเต็ด สาขากรุงเทพฯ, บริษัทโพสโค โค้ทเต้ด สตีล ประเทศไทย, บริษัทฮันวาไทย, บริษัทนิปปอน สตีล แอนด์ ซูมิคิน บูสซัน (ประเทศไทย) และบริษัทดองบู สตีล ส่วนพิกัด 7225 ได้แก่ บริษัทนิปปอน สตีล แอนด์ ซูมิคิน บูสซัน (ประเทศไทย), บริษัทฮันวาไทย, บริษัทสตาร์คอร์, บริษัทมิตซุยแอนด์คัมปะนี (ไทยแลนด์), บริษัทฟาบริเนท และบริษัทยูพีเอส พาร์เซล ดีลิเวอรี่ เซอร์วิส ซึ่ง 2 รายหลังเป็นบริษัทสหรัฐ
ส่วนการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ไปยังสหรัฐ 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม 2560) ในพิกัด 85414090001 Solar Cells มีปริมาณ 729 ตัน มูลค่า 2,861,741,993 บาท ส่วนการส่งออกตลาดทั้งปี 2559 พิกัด 85414090 001 มีปริมาณ 2,423 ตัน มูลค่า 14,159,372,070 บาท มีบริษัทผู้ส่งออกสูงสุด 9 อันดับแรก ได้แก่ บริษัททรินา โซลาร์ ไซแอนซ์ แอนด์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย), บริษัทแคนาเดียนโซลาร์แมนูเฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย), บริษัทโจงลี่ เทลซัน โซล่าร์ (ไทยแลนด์), บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิกส์ (ประเทศไทย), บริษัทไทยซัน กรีน เอ็นเนอร์จี, บริษัทฟูโซล่าร์, บริษัทโฟเซร่า, บริษัทฟาบริเนท และบริษัทจีพีวี เอเซีย (ประเทศไทย)
เหล็กจีนทะลักเข้าไทย
นายวิกรม วัชระคุปต์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ทางกลุ่มยังไม่ได้รับแจ้งจากทางกระทรวงพาณิชย์ แต่หากดูปริมาณที่ส่งออกไป 58,517 ตันช่วง 3 เดือนแรก พิกัด 72104 กับพิกัด 72255 "ถือว่าไม่มากนัก" แต่ก็ต้องลงไปดูรายละเอียดแต่ละประเภทว่า มีปริมาณมากขนาดไหน เชื่อว่าไม่มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
อย่างไรก็ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณการใช้ประเทศไทยและอาเซียนเป็นประเทศทางผ่านเพื่อส่งออกเหล็กไปยังประเทศเป้าหมายถือเป็นการหลบเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้าแบบหนึ่งยกตัวอย่าง สหรัฐกีดกันสินค้าจีนแล้วจีนกลับส่งเข้ามาที่ไทย ส่วนหนึ่งขายและอีกส่วนหนึ่งใช้เป็นทางผ่านเพื่อส่งออกไปสหรัฐ นั่นจึงกลายเป็นว่า เหล็กจีนทะลักเข้าไทยมากขึ้น ดังนั้นการเตรียมรับมือไม่เพียงเฝ้าระวัง แต่รัฐบาลต้องเร่งผลักดัน กฎหมายการแข่งขันทางการค้า (Competition) หรือการหลบเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบอยู่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของกฤษฎีกา หากกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กไทยอย่างมาก