คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
1.เครือซีเมนต์ไทยและSYS ผูกขาดตลาดเหล็กรูปตัว H ในประเทศมามากกว่า 30 ปี โดยไม่เคยมีคู่แข่งหรือมีคู่แข่งน้อยมาก เราคงผลิตเหล็กที่มีคุณภาพสูงจนไม่สามารถมีใครในโลกแข่งกับเราได้
2.ไทยติดหนึ่งในสิบประเทศที่ราคาเหล็กแพงที่สุดในโลก และที่ผ่านมา เราใช้เหล็กรูปตัว H ที่ผลิตในประเทศในราคาสูงกว่าเหล็กประเภทอื่นประมาณ 30 %
3.เหล็กนำเข้า 25,000 ตันคิดเป็นเพียง 1 % ของปริมาณการผลิต 2.5 ล้านตันของเราเท่านั้น ทำไมรัฐจะต้องเพิ่มภาษีให้เหล็กอีก 99 % ให้คนไทยใช้เหล็กแพงเพื่อช่วยเหลือบริษัทเหล็กไม่กี่บริษัท
4.--นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า คาดการณ์ว่ายอดขายรวมตลอดทั้งปีของบริษัทเหล็กสยามยามาโตะจะ "ชะลอตัว" ลงกว่าปีที่ผ่านมา จากปัญหาถูกเหล็กเจืออัลลอยจากจีนทุ่มตลาด ดังนั้นบริษัทจึงปรับกลยุทธ์เน้นการผลิตเหล็กคุณภาพสูง ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ต้นทุนด้านพลังงาน และการให้บริการหลังการขายมากขึ้น ที่ได้เปรียบกว่าเหล็กจีน ขณะที่ในอนาคตมีแผนจะเพิ่มสัดส่วนรายได้การส่งออกจากปัจจุบัน พึ่งพาการส่งออก 50% เป็น 70% และลดการพึ่งพาตลาดในประเทศ สัดส่วน 50% ให้เหลือ 30% โดยกระจายการส่งออกไปยังตลาดที่มีการใช้มาตรการตอบโต้จีน--------------
4.1 ถ้าเหล็กเจืออัลลอยมีคุณภาพไม่ดี สยามยามาโตะหรือ สมอ. ควรตีพิมพ์รายงานการตรวจสอบ ไม่ใช่ปล่อยไว้ 3 ปี นี่น่าจะตอบปัญหาเรื่องคุณภาพได้
4.2 การปรับปรุง บริษัทควรทำอยู่แล้วไม่ว่าจะมีเหล็กนำเข้าหรือไม่
4.3 เนื่องจากเราใช้เหล็กแพงที่สุดในโลก การส่งออกเหล็กไปต่างประเทศนั้นจะไม่ได้ราคาเท่ากับขายในประเทศแน่นอน แต่ที่ต้องทำอาจเป็นเพราะเราต้องผลิตมากพอที่จะควบคุมต้นทุนให้ต่ำ ส่วนที่จะทำกำไรให้บรษัทคือส่วนที่ขายในประเทศ นี่อาจเป็นเหตุผลที่คนไทยต้องใช้เหล็กแพง
4.4 มีเหตุผลเป็นล้านที่เราไม่มีทางที่จะส่งออกเหล็กแข่งกับจีนได้ ไม่ว่าเราจะคุยโอ้อวดอย่างไร และตลาดที่มีมาตราการตอบโต้จีนในปัจจุบันนี้น่าจะมีน้อยมาก และเขาก็คงตอบโต้ด้วยเหตุผลเดียวกับเรานั่นเอง ดังนั้นคงไม่มีเหตุผลที่เขาจะนำเข้าเหล็กจากเราเพื่อทุ่มตลาดแทนจีน
2.ไทยติดหนึ่งในสิบประเทศที่ราคาเหล็กแพงที่สุดในโลก และที่ผ่านมา เราใช้เหล็กรูปตัว H ที่ผลิตในประเทศในราคาสูงกว่าเหล็กประเภทอื่นประมาณ 30 %
3.เหล็กนำเข้า 25,000 ตันคิดเป็นเพียง 1 % ของปริมาณการผลิต 2.5 ล้านตันของเราเท่านั้น ทำไมรัฐจะต้องเพิ่มภาษีให้เหล็กอีก 99 % ให้คนไทยใช้เหล็กแพงเพื่อช่วยเหลือบริษัทเหล็กไม่กี่บริษัท
4.--นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า คาดการณ์ว่ายอดขายรวมตลอดทั้งปีของบริษัทเหล็กสยามยามาโตะจะ "ชะลอตัว" ลงกว่าปีที่ผ่านมา จากปัญหาถูกเหล็กเจืออัลลอยจากจีนทุ่มตลาด ดังนั้นบริษัทจึงปรับกลยุทธ์เน้นการผลิตเหล็กคุณภาพสูง ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ต้นทุนด้านพลังงาน และการให้บริการหลังการขายมากขึ้น ที่ได้เปรียบกว่าเหล็กจีน ขณะที่ในอนาคตมีแผนจะเพิ่มสัดส่วนรายได้การส่งออกจากปัจจุบัน พึ่งพาการส่งออก 50% เป็น 70% และลดการพึ่งพาตลาดในประเทศ สัดส่วน 50% ให้เหลือ 30% โดยกระจายการส่งออกไปยังตลาดที่มีการใช้มาตรการตอบโต้จีน--------------
4.1 ถ้าเหล็กเจืออัลลอยมีคุณภาพไม่ดี สยามยามาโตะหรือ สมอ. ควรตีพิมพ์รายงานการตรวจสอบ ไม่ใช่ปล่อยไว้ 3 ปี นี่น่าจะตอบปัญหาเรื่องคุณภาพได้
4.2 การปรับปรุง บริษัทควรทำอยู่แล้วไม่ว่าจะมีเหล็กนำเข้าหรือไม่
4.3 เนื่องจากเราใช้เหล็กแพงที่สุดในโลก การส่งออกเหล็กไปต่างประเทศนั้นจะไม่ได้ราคาเท่ากับขายในประเทศแน่นอน แต่ที่ต้องทำอาจเป็นเพราะเราต้องผลิตมากพอที่จะควบคุมต้นทุนให้ต่ำ ส่วนที่จะทำกำไรให้บรษัทคือส่วนที่ขายในประเทศ นี่อาจเป็นเหตุผลที่คนไทยต้องใช้เหล็กแพง
4.4 มีเหตุผลเป็นล้านที่เราไม่มีทางที่จะส่งออกเหล็กแข่งกับจีนได้ ไม่ว่าเราจะคุยโอ้อวดอย่างไร และตลาดที่มีมาตราการตอบโต้จีนในปัจจุบันนี้น่าจะมีน้อยมาก และเขาก็คงตอบโต้ด้วยเหตุผลเดียวกับเรานั่นเอง ดังนั้นคงไม่มีเหตุผลที่เขาจะนำเข้าเหล็กจากเราเพื่อทุ่มตลาดแทนจีน
แสดงความคิดเห็น
"เหล็กจีนตีตลาด"อย่างนี้มีผลต่อหุ้นเหล็กในประเทศมากไหมครับ?
นายพงษ์ศักดิ์ แห่ล้อม ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ SYS และกลุ่มผู้ผลิตเหล็กรูปพรรณรีดร้อนในประเทศ ได้แก่ บริษัท ทาทาสตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน ), บริษัท ไทรอัมพ์สตีล จำกัด, บริษัท เล้ากิมง้วนผลิตเหล็ก จำกัด, บริษัท เหล็กทรัพย์สยาม จำกัด และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีกำลังการผลิตเหล็กรูปพรรณรีดร้อนรวมกัน 2.5 ล้านตัน ต่างประสบปัญหาถูกทุ่มตลาดจากการนำเข้าเหล็กรีดร้อนเจืออัลลอยเข้ามาใน ประเทศ
ดังนั้น บริษัทเหล็กสยามยามาโตะจึงเข้าหารือกับกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเบื้องต้นกรมแจ้งว่า จากการพิจารณาการทุ่มตลาดเหล็กเจืออัลลอยราคาถูกปรากฏ มีข้อมูลเพียงพอที่จะใช้ประกอบการยื่นให้พิจารณาเปิดไต่สวน เพื่อใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping หรือ AD) จากจีน และขอให้รวบรวมข้อมูลเพิ่มในบางประเด็น ส่วนกระบวนการยื่นฟ้องทุ่มตลาดนั้น ทาง SYS อาจยื่นฟ้องเพียงบริษัทเดียว หรืออาจจะยื่นฟ้องร่วมกับผู้ผลิตเหล็กรูปพรรณรีดร้อนรายอื่น ๆ
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้าเหล็กรูปพรรณหน้าตัดรูปตัว H พิกัด 72163300 เสียภาษีนำเข้าอัตรา 10% เสียภาษีอากร AD อัตรา 13.9% โดยไม่ได้รับการสนับสนุนการส่งออก (Export Rebate) จากรัฐบาลจีน แต่หลังจากปี 2009 (2555) รัฐบาลจีนประกาศให้การสนับสนุนทางภาษี หรือ Export Rebate กับโรงงานผู้ผลิตเหล็กที่มีคุณภาพสูง อัตรา 9% ทำให้ผู้ผลิตจีนเริ่มหันมาผลิตเหล็กเจืออัลลอย เช่น เติมสารโบรอนในอัตรา 0.0008% เพื่อเปลี่ยนมาเป็นการนำเข้าเป็นพิกัด 72287010 และ 72287090 แทน เพราะ 2 พิกัดนี้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
ทางบริษัทเหล็กสยามยามาโตะ เชื่อว่า กระบวนการนำเข้าเหล็กจากจีนในพิกัดใหม่ทั้ง 2 พิกัด (สำหรับเหล็กเจืออัลลอย) ดังกล่าวเป็นการ "หลีกเลี่ยง" การนำเข้าในพิกัดเดิมคือ 72163300 ที่ถูกเรียกเก็บภาษี AD จากไทย การไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า การไม่ถูกเรียกเก็บภาษี AD และได้รับเงินคืนจากภาษี Export Rebate อีก 9% มีผลทำให้ต้นทุนเหล็กนำเข้าจากจีน "ต่ำกว่า" เหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่ผลิตในประเทศไทยถึง 30% หรือ 2,000 บาท/ตัน โดยมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเพียง 0.06% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเหล็กรูปพรรณรีดร้อนเจืออัลลอย เนื่องจากเพิ่งมีการนำเข้ามาใช้ภายในประเทศเพียง 3 ปี จึงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า หากนำมาใช้ในการก่อสร้างระยะเวลายาวนานกว่า 3 ปีแล้ว จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงานก่อสร้างหรือไม่ แต่มีข้อน่าสังเกตว่า หากผสมเหล็กเจืออัลลอยส่งผลให้คุณภาพเหล็กรูปพรรณดีขึ้น เหตุใดจึงไม่มีการใช้เหล็กประเภทนี้ภายในจีนเลย
นายพงษ์ศักดิ์กล่าว ถึงยอดขายของ SYS ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2557 ลดลงถึง 20% และมีแนวโน้มว่า การนำเข้าเหล็กเจืออัลลอยจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะจากการตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าเหล็กรูปพรรณรีดร้อนในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) 2557 มีปริมาณ 25,000 ตัน หรือ "มากกว่า" การนำเข้าทั้งปี 2556 ที่มีการนำเข้าเพียง 16,000 ตัน สำหรับที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเรื่องของราคาแล้ว ยังเป็นเพราะเศรษฐกิจจีนประสบปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงต้องกระตุ้นการส่งออกด้วยการสนับสนุนผู้ส่งออกและระบาย ซัพพลายเหล็กที่ผลิตได้ล้นเกินอยู่ถึงปีละ 3 ล้านตัน ประกอบกับรัฐบาลอินโดนีเซีย-เกาหลีใต้ห้ามนำเข้าเหล็กเจืออัลลอย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ยังปล่อยให้มีการนำเข้าเหล็ก รูปพรรณรีดร้อนเจืออัลลอยได้อยู่
"ประเทศไทยเดือดร้อนเพราะเราผลิต เหล็กรูปพรรณรีดร้อนได้ 2.5 ล้านตันต่อปี หรือมากกว่าความต้องการใช้ 1 ล้านตันต่อปี และยังมีเหล็กจีนเข้ามาอีก 25,000 ตัน หากปล่อยให้มีการนำเข้าต่อไป ผมคิดว่าจะมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาทต่อปี จากการขาดดุลการค้า 25,000 ล้านบาท เสียรายได้ภาษีนำเข้า 2,500 ล้านบาท เสียรายได้ภาษีนิติบุคคล 550 ล้านบาท และรายได้จากการส่งออก 9,000 ล้านบาท ไม่นับรวมความเสียหายต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น เศษเหล็ก และกระทบแรงงานไม่ต่ำกว่า 10,000 คน"
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชียได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาดเหล็กเจืออัลลอยจากจีน ดังนั้นจึงมีการออกมาตรการสกัดเหล็กจีนนำเข้า อาทิ อินโดนีเซียมีปริมาณนำเข้าเหล็กเพิ่มจาก 20,000 ตัน เป็นเกือบ 400,000 ตัน ในระยะเวลาเพียง 3 ปี ขณะเกาหลีใต้มีการนำเข้าถึงปีละ 1 ล้านตัน โดยมาตรการที่ประเทศเหล่านี้นำมาใช้ มีทั้งการเรียกเก็บอากร AD แต่จะแตกต่างกันไป
"ตอนแรกเราให้กระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการตอบโต้ กรณีการจงใจเปลี่ยนพิกัดศุลกากร หรือ Anti-Circumvention Law เช่นเดียวกับที่ออสเตรเลียใช้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว เราจึงต้องฟ้องเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาด AD แทน"
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า คาดการณ์ว่ายอดขายรวมตลอดทั้งปีของบริษัทเหล็กสยามยามาโตะจะ "ชะลอตัว" ลงกว่าปีที่ผ่านมา จากปัญหาถูกเหล็กเจืออัลลอยจากจีนทุ่มตลาด ดังนั้นบริษัทจึงปรับกลยุทธ์เน้นการผลิตเหล็กคุณภาพสูง ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ต้นทุนด้านพลังงาน และการให้บริการหลังการขายมากขึ้น ที่ได้เปรียบกว่าเหล็กจีน ขณะที่ในอนาคตมีแผนจะเพิ่มสัดส่วนรายได้การส่งออกจากปัจจุบัน พึ่งพาการส่งออก 50% เป็น 70% และลดการพึ่งพาตลาดในประเทศ สัดส่วน 50% ให้เหลือ 30% โดยกระจายการส่งออกไปยังตลาดที่มีการใช้มาตรการตอบโต้จีน
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบข้อมูลกรมศุลกากร เมื่อเปรียบเทียบการนำเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ก่อน-หลังจากรัฐบาลจีนใช้มาตรการ Export Rebate พบว่าในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2555 ไทยไม่มีการนำเข้าเหล็กพิกัด 72287010 และพิกัด 72287090 เลย แต่ล่าสุด 9 เดือนของปี 2557 ไทยนำเข้าเหล็ก 72287010 ปริมาณ 7,898 ตัน มูลค่า 149.7 ล้านบาท และนำเข้าเหล็กพิกัด 72287090 ปริมาณ 20,148 ตัน มูลค่า 387.2 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้าเหล็กรูปพรรณพิกัด 72163300 ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 มีปริมาณ 1.2 ตัน มูลค่า 57,254 บาท และ 9 เดือนของปีนี้ นำเข้าปริมาณ 57.6 ตัน มูลค่า 1.72 ล้านบาท
โดยผู้นำเข้าเหล็กพิกัด 72287010 ที่สำคัญ เช่น บริษัท เอเชีย เมทัล จำกัด (มหาชน), บริษัท แกรนด์ เมทัล เวิร์คส์, บริษัททวีโชคพาณิช, บริษัทแคนดี้ ลายส์ และบริษัทแพรคติคัม เอนจิเนียริ่ง เป็นต้น ส่วนผู้นำเข้าเหล็กพิกัด 72287090 ที่สำคัญ เช่น บริษัทแกรนด์ เมทัล เวิร์คส์, บริษัทพี.อาร์.บางบอน 5 สตีล, บริษัทอินเตอร์ สตีล, หจก.วีเอส ลายส์ ทรานสปอร์ต และบริษัทแคนดี้ ลายส์
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์