รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - บริษัทโซลาร์เซลล์จีนชื่อดัง SolarSpace รวมไปถึง Thornova Solar ใช้ลาวและอินโดนีเซียเป็นฐานการผลิตใหม่เพื่อผลิตส่งป้อนขายเข้าตลาดอเมริกาที่ใหญ่ด้านโซลาร์เซลล์เป็นอันดับ 2 ของโลกเป็นรองแค่จีน แต่มีมูลค่าทางการค้าสูงสุดของแดนมังกร สหรัฐฯ ได้สอบสวนอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ในไทย และตั้งภาษีสูงสุด 23.06% เทียบกับ 2.85% สำหรับการนำเข้าจากเวียดนาม 8.25% สำหรับการนำเข้าจากกัมพูชา 9.13% สำหรับการนำเข้าจากมาเลเซีย
รอยเตอร์รายงานวันที่ 4 พ.ย.ว่า บริษัทโซลาร์เซลล์จีนสร้างโรงงานใหม่ขึ้นในอินโดนีเซียและลาว แต่ที่เวียดนามกลับพบว่าบริษัทโซลาร์เซลล์จีนลดปริมาณการผลิตและสั่งปลดพนักงานออก
2 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติล่าสุดที่ถูกใช้เป็นฐานการผลิตที่ไม่เคยมีปรากฏในรายงานมาก่อน มีไม่ต่ำกว่า 12 คนใน 5 ประเทศรวมพนักงานที่โรงงานจีน เจ้าหน้าที่จากบริษัทโซลาร์เซลล์ที่ไม่ใช่ของจีนและทนายความร่วมในการให้สัมภาษณ์ของรอยเตอร์
วิลเลียม เอ. ไรน์ช์ (William A. Reinsch) ที่ปรึกษาอาวุโสประจำธิงแทงก์ชื่อดังอเมริกา CSIS “มันเหมือนเกมแมวจับหนู” กล่าวแสดงความเห็น ซึ่งจีนคิดเป็น 80% ของผู้ผลิตส่งออกโซลาร์เซลล์ยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานี้อ้างอิงจากบริษัทการวิจัยทางตลาด SPV Market Research แตกต่างจาก 20 ปีก่อนที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ ได้เพิ่มเป็น 3 เท่านับตั้งแต่วอชิงตันได้เริ่มบังคับใช้ภาษีนำเข้าในปี 2012 และคิดเป็น 15 พันล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา อ้างอิงจากตัวเลขรัฐบาลกลางสหรัฐฯ และในขณะที่เกือบไม่มีสินค้าโซลาร์เซลล์ถูกนำเข้าโดยตรงจากจีนในปี 2023 แต่ทว่ามีมากถึง 80% นั้นมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งรอยเตอร์ชี้ว่า เป็นประเทศซึ่งมีโรงงานที่มีบริษัทจีนเป็นเจ้าของ
ทั้งนี้ อ้างอิงจากสื่อธุรกิจของไทยเมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมาพบว่า สหรัฐฯ ได้สอบสวนอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ใน 4 ประเทศ รวมประเทศไทย
และสหรัฐฯ ได้เดินหน้าขึ้นภาษีโซลาร์เซลล์ 4 ประเทศสูงสุดเกือบ 300% เพื่อตอบโต้ในการอุดหนุนทำให้สินค้าราคาต่ำทะลักเข้าสู่อเมริกา และ "ไทย" เจออัตราเฉลี่ยสูงจากทั้งหมด 4 ประเทศโดยโดนกำแพงภาษีนำเข้าโซลาเซลล์สหรัฐฯ ไปที่ 23.06%
และจากเอกสารที่เผยแพร่บนเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ระบุว่า ทางหน่วยงานได้คำนวณอัตราภาษีเบื้องต้นที่ 2.85% สำหรับการนำเข้าจากเวียดนาม 8.25% สำหรับการนำเข้าจากกัมพูชา 9.13% สำหรับการนำเข้าจากมาเลเซีย และ 23.06% สำหรับการนำเข้าจากไทย
โดยในไทยมี 3 บริษัทได้แก่ บริษัทคือ Trina Solar บริษัท Taihua New Energy และบริษัท Sunshine Electrical Energy
อ้างอิงจากบลูมเบิร์กรายงานเมื่อ 7 พ.ย.ว่า Trina Solar ของจีนยอมตกลงขายโรงงาน 5 ล้านกิกะวัตต์ในเมืองวิลเมอร์ (Wilmer) รัฐเทกซัสให้บริษัท Freyr Battery สัญชาตินอร์เวย์ด้วยมูลค่า 340 ล้านดอลลาร์ สื่อ Electrek รายงานเจาะลึกว่า เป็นการเคาะขายหลังเปิดโรงงานไปได้แค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น
รอยเตอร์รายงานว่า 18 เดือนล่าสุด มีบริษัทโซลาร์เซลล์จีนหรือเกี่ยวข้องกับจีนไม่ต่ำกว่า 4 แห่ง เริ่มต้นปฏิบัติการใน “อินโดนีเซีย” และ “ลาว” และอีก 2 แห่งได้ถูกประกาศ โปรเจกต์ทั้งหมดคิดรวม 22.9 กิกะวัตต์ในโซลาร์เซลล์ หรือความสามารถของแผงโซลาร์เซลล์
ตลาดสหรัฐฯ ถือว่ามีความสำคัญต่อจีนที่เป็นผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ อ้างอิงจาก PVinsights พบว่าราคาที่ขายในอเมริกาโดยเฉลี่ยสูงกว่า 40% มากกว่าราคาขายในประเทศจีนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
เวียดนามที่เคยเป็นฐานผลิตใหญ่ของโซลาร์เซลล์จีนโดนกำแพงภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สูงสำหรับบริษัทโซลาร์เซลล์จีน ได้แก่
บริษัทในเวียดนาม 4 แห่งเจอภาษี 292.61% ประกอบด้วย GEP New Energy, HT Solar, Shengtian New Energy Vina และ Vietnam Green Energy Commercial Services Co. อ้างอิงชื่อบริษัทและอัตรากำแพงภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จากสื่อไทย
รอยเตอร์ชี้ว่า และส่งผลทำให้บริษัทโซลาร์เซลล์จีนแห่หนีไปยัง “อินโดนีเซีย” อ้างอิงจากเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสหากรรมอินโดนีเซีย เบนี อาดี ปูร์วานโต (Beny Adi Purwanto) ที่อ้างบริษัท Thornova Solar เป็นตัวอย่าง
อ้างอิงจากเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียพบว่า 1 GW Trina module และโรงงานแผงโซลาร์เซลล์ใหม่จะสามารถเริ่มต้นการผลิตอย่างเป็นทางการได้ภายในสิ้นปีนี้ และจะขยายศักยภาพ พร้อมชี้ว่า โรงงานโซลาร์เซลล์ของกลุ่มธุรกิจ China Lesso มีศักยภาพการผลิต 2.4 GW ส่วน New East Solar ที่เชื่อมโยงกับจีนได้ประกาศการตั้งโรงงานสำหรับโซลาร์เซลล์ 3.5 GW ปีที่แล้ว
หนึ่งในผู้จัดการที่โรงงานบริษัทโซลาร์เซลล์สหรัฐฯ เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า การหันมาผลิตโซลาร์เซลล์ในอินโดนีเซียนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและชัดเจน โดยเป็นความต้องการจากบริษัทจีนยักษ์ใหญ่ที่ต้องการหาลู่ทางเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ
รอยเตอร์รายงานว่า ดูเหมือน "ลาว" ยังคงเป็นลู่ทางที่สดใสสำหรับบริษัทโซลาร์เซลล์จีน เป็นต้นว่า Imperial Star Solar ที่มีรากจากจีนแต่การผลิตส่วนใหญ่กลับอยู่ในกัมพูชา บริษัทแห่งนี้ได้เปิดโรงงานที่ลาวเมื่อมีนาคมต้นปีพร้อมความสามารถการผลิตที่ 4 GW
โดยบริษัทระบุในแถลงการณ์ว่า เพื่อข้ามกำแพงภาษีโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ บริษัทจีน SolarSpace ได้เปิดโรงงานโซลาร์เซลล์ความสามารถการผลิต 5 GW ในลาวเมื่อกันยายนปีที่แล้ว จุดประสงค์เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ
รอยเตอร์รายงานว่า การส่งออกโซลาร์เซลล์จากลาวเข้าสหรัฐฯ ไม่เคยปรากฏมาก่อนในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา แต่กลับมีมูลค่า 48 ล้านดอลลาร์มาจนถึงสิงหาคมปี 2024
https://mgronline.com/around/detail/9670000108154
ไทย โดนตั้งกำแพงภาษีโซลลาร์เซลล์สูงลิ่ว 23.06% พบเป็นฐานให้จีนส่งออก
รอยเตอร์รายงานวันที่ 4 พ.ย.ว่า บริษัทโซลาร์เซลล์จีนสร้างโรงงานใหม่ขึ้นในอินโดนีเซียและลาว แต่ที่เวียดนามกลับพบว่าบริษัทโซลาร์เซลล์จีนลดปริมาณการผลิตและสั่งปลดพนักงานออก
2 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติล่าสุดที่ถูกใช้เป็นฐานการผลิตที่ไม่เคยมีปรากฏในรายงานมาก่อน มีไม่ต่ำกว่า 12 คนใน 5 ประเทศรวมพนักงานที่โรงงานจีน เจ้าหน้าที่จากบริษัทโซลาร์เซลล์ที่ไม่ใช่ของจีนและทนายความร่วมในการให้สัมภาษณ์ของรอยเตอร์
วิลเลียม เอ. ไรน์ช์ (William A. Reinsch) ที่ปรึกษาอาวุโสประจำธิงแทงก์ชื่อดังอเมริกา CSIS “มันเหมือนเกมแมวจับหนู” กล่าวแสดงความเห็น ซึ่งจีนคิดเป็น 80% ของผู้ผลิตส่งออกโซลาร์เซลล์ยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานี้อ้างอิงจากบริษัทการวิจัยทางตลาด SPV Market Research แตกต่างจาก 20 ปีก่อนที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ ได้เพิ่มเป็น 3 เท่านับตั้งแต่วอชิงตันได้เริ่มบังคับใช้ภาษีนำเข้าในปี 2012 และคิดเป็น 15 พันล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา อ้างอิงจากตัวเลขรัฐบาลกลางสหรัฐฯ และในขณะที่เกือบไม่มีสินค้าโซลาร์เซลล์ถูกนำเข้าโดยตรงจากจีนในปี 2023 แต่ทว่ามีมากถึง 80% นั้นมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งรอยเตอร์ชี้ว่า เป็นประเทศซึ่งมีโรงงานที่มีบริษัทจีนเป็นเจ้าของ
ทั้งนี้ อ้างอิงจากสื่อธุรกิจของไทยเมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมาพบว่า สหรัฐฯ ได้สอบสวนอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ใน 4 ประเทศ รวมประเทศไทย
และสหรัฐฯ ได้เดินหน้าขึ้นภาษีโซลาร์เซลล์ 4 ประเทศสูงสุดเกือบ 300% เพื่อตอบโต้ในการอุดหนุนทำให้สินค้าราคาต่ำทะลักเข้าสู่อเมริกา และ "ไทย" เจออัตราเฉลี่ยสูงจากทั้งหมด 4 ประเทศโดยโดนกำแพงภาษีนำเข้าโซลาเซลล์สหรัฐฯ ไปที่ 23.06%
และจากเอกสารที่เผยแพร่บนเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ระบุว่า ทางหน่วยงานได้คำนวณอัตราภาษีเบื้องต้นที่ 2.85% สำหรับการนำเข้าจากเวียดนาม 8.25% สำหรับการนำเข้าจากกัมพูชา 9.13% สำหรับการนำเข้าจากมาเลเซีย และ 23.06% สำหรับการนำเข้าจากไทย
โดยในไทยมี 3 บริษัทได้แก่ บริษัทคือ Trina Solar บริษัท Taihua New Energy และบริษัท Sunshine Electrical Energy
อ้างอิงจากบลูมเบิร์กรายงานเมื่อ 7 พ.ย.ว่า Trina Solar ของจีนยอมตกลงขายโรงงาน 5 ล้านกิกะวัตต์ในเมืองวิลเมอร์ (Wilmer) รัฐเทกซัสให้บริษัท Freyr Battery สัญชาตินอร์เวย์ด้วยมูลค่า 340 ล้านดอลลาร์ สื่อ Electrek รายงานเจาะลึกว่า เป็นการเคาะขายหลังเปิดโรงงานไปได้แค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น
รอยเตอร์รายงานว่า 18 เดือนล่าสุด มีบริษัทโซลาร์เซลล์จีนหรือเกี่ยวข้องกับจีนไม่ต่ำกว่า 4 แห่ง เริ่มต้นปฏิบัติการใน “อินโดนีเซีย” และ “ลาว” และอีก 2 แห่งได้ถูกประกาศ โปรเจกต์ทั้งหมดคิดรวม 22.9 กิกะวัตต์ในโซลาร์เซลล์ หรือความสามารถของแผงโซลาร์เซลล์
ตลาดสหรัฐฯ ถือว่ามีความสำคัญต่อจีนที่เป็นผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ อ้างอิงจาก PVinsights พบว่าราคาที่ขายในอเมริกาโดยเฉลี่ยสูงกว่า 40% มากกว่าราคาขายในประเทศจีนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
เวียดนามที่เคยเป็นฐานผลิตใหญ่ของโซลาร์เซลล์จีนโดนกำแพงภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สูงสำหรับบริษัทโซลาร์เซลล์จีน ได้แก่
บริษัทในเวียดนาม 4 แห่งเจอภาษี 292.61% ประกอบด้วย GEP New Energy, HT Solar, Shengtian New Energy Vina และ Vietnam Green Energy Commercial Services Co. อ้างอิงชื่อบริษัทและอัตรากำแพงภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จากสื่อไทย
รอยเตอร์ชี้ว่า และส่งผลทำให้บริษัทโซลาร์เซลล์จีนแห่หนีไปยัง “อินโดนีเซีย” อ้างอิงจากเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสหากรรมอินโดนีเซีย เบนี อาดี ปูร์วานโต (Beny Adi Purwanto) ที่อ้างบริษัท Thornova Solar เป็นตัวอย่าง
อ้างอิงจากเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียพบว่า 1 GW Trina module และโรงงานแผงโซลาร์เซลล์ใหม่จะสามารถเริ่มต้นการผลิตอย่างเป็นทางการได้ภายในสิ้นปีนี้ และจะขยายศักยภาพ พร้อมชี้ว่า โรงงานโซลาร์เซลล์ของกลุ่มธุรกิจ China Lesso มีศักยภาพการผลิต 2.4 GW ส่วน New East Solar ที่เชื่อมโยงกับจีนได้ประกาศการตั้งโรงงานสำหรับโซลาร์เซลล์ 3.5 GW ปีที่แล้ว
หนึ่งในผู้จัดการที่โรงงานบริษัทโซลาร์เซลล์สหรัฐฯ เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า การหันมาผลิตโซลาร์เซลล์ในอินโดนีเซียนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและชัดเจน โดยเป็นความต้องการจากบริษัทจีนยักษ์ใหญ่ที่ต้องการหาลู่ทางเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ
รอยเตอร์รายงานว่า ดูเหมือน "ลาว" ยังคงเป็นลู่ทางที่สดใสสำหรับบริษัทโซลาร์เซลล์จีน เป็นต้นว่า Imperial Star Solar ที่มีรากจากจีนแต่การผลิตส่วนใหญ่กลับอยู่ในกัมพูชา บริษัทแห่งนี้ได้เปิดโรงงานที่ลาวเมื่อมีนาคมต้นปีพร้อมความสามารถการผลิตที่ 4 GW
โดยบริษัทระบุในแถลงการณ์ว่า เพื่อข้ามกำแพงภาษีโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ บริษัทจีน SolarSpace ได้เปิดโรงงานโซลาร์เซลล์ความสามารถการผลิต 5 GW ในลาวเมื่อกันยายนปีที่แล้ว จุดประสงค์เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ
รอยเตอร์รายงานว่า การส่งออกโซลาร์เซลล์จากลาวเข้าสหรัฐฯ ไม่เคยปรากฏมาก่อนในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา แต่กลับมีมูลค่า 48 ล้านดอลลาร์มาจนถึงสิงหาคมปี 2024
https://mgronline.com/around/detail/9670000108154