การกลับมาอีกครั้งของทรัมป์ป่วนผู้ส่งออกจีนหลายล้านราย ค่ายรถยนต์วุ่น ย้ายโรงงานเข้ามายังสหรัฐฯ เตรียมรับแรงกระแทกภาษี EV 200%
,
การกลับมาทวงคืนบัลลังก์ทำเนียบขาวของ โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างความปั่นป่วนผู้ส่งออกจีนรวมถึงค่ายรถยนต์เกาหลีและญี่ปุ่นอย่าง Honda และ Toyota ที่วุ่นหาโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อเตรียมแผนรับมือกำแพงภาษี EV 200% ย้ำค่ายรถจีนหากจะเข้ามาผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ต้องตั้งโรงงานและจ้างแรงงานชาวอเมริกัน
.
สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า การกลับมาอันน่าทึ่งของ โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้ผู้ส่งออกชาวจีนหลายล้านคนกังวลต่อมาตรการขึ้นภาษีสินค้าหลายรายการ และอาจเกิดความไม่แน่นอนครั้งใหม่ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจจีนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
.
แคเทอรีน เหยียน ผู้จัดการของ Changshu Maydiang Leather Goods ซึ่งเป็นผู้จัดหาสินค้าประเภทกระเป๋าถือ ที่มากกว่าครึ่งหนึ่งผลิตให้กับแบรนด์ดังของอเมริกา เช่น alexanderwang และ 3.1 Phillip Lim ระบุว่า ไม่ได้รู้สึกประหลาดใจกับชัยชนะของทรัมป์เป็นพิเศษ เธอยอมรับกับความจริงที่ว่าเธอแทบไม่มีทางเลือกอื่นที่จะปกป้องธุรกิจของเธอจากผลกระทบต่อภาษีที่สูงขึ้น
.
เนื่องจากก่อนหน้านี้บริษัทปรับลดคาดการณ์ยอดขายทั้งปี 2024 ลง 30% หลังจากลูกค้าในสหรัฐฯ หลายรายลดคำสั่งซื้อลง เนื่องจากกังวลถึงความเสี่ยงของภาษีที่สูงขึ้นของ โดนัลด์ ทรัมป์
.
ขณะเดียวกันพ่อค้าชาวจีนจำนวนมากที่ค้าขายข้ามพรมแดนต่างก็จับตามองผลที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดเช่นกัน เนื่องจากกังวลว่าทรัมป์จะเพิ่มข้อจำกัดที่ก่อความวุ่นวายมากขึ้น แม้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กำลังวางแผนที่จะปิดช่องโหว่ที่เรียกว่า De Minimis ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าขาเข้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐ ทว่ากระบวนการออกกฎดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไปจนถึงช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลชุดใหม่
.
“เท่าที่ผมเข้าใจ ทรัมป์จะยับยั้งการพัฒนาเทคโนโลยีของจีนอย่างแน่นอน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยมาก” ผู้ประกอบการรายหนึ่งกล่าว
.
หลินเซียว ผู้ประกอบการเสื้อผ้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Temu และ SHEIN ที่เมืองกวางโจว มองว่า สิ่งสำคัญกว่านั้นคือสหรัฐฯ ไม่มีศักยภาพในการผลิตเสื้อผ้าเหล่านี้ และยังมีผู้ขายชาวจีนจำนวนมากบนแพลตฟอร์ม Amazon ที่จะได้รับผลกระทบเช่นกันหากมีการนำกฎดังกล่าวมาใช้
.
เหมาหนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า จีนเคารพการเลือกตั้งของชาวอเมริกัน และปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ‘สมมติฐาน’ เกี่ยวกับแผนของทรัมป์ที่จะจัดเก็บภาษีสินค้าจีน 60%
.
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปช่วงที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ครั้งดำรงตำแหน่งสมัยแรกได้เปิดฉากสงครามการค้า (Trade War) สหรัฐฯ-จีน ซึ่งส่งผลให้มีการจัดเก็บภาษีจาก 7.5% เป็น 25% สำหรับสินค้ามูลค่าราว 3.5 แสนล้านดอลลาร์ที่มาจากจีน ซึ่งสร้างผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ
.
ทว่าความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอ่อนแอลง โดยสัดส่วนของจีนในสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ลดลงจาก 22% ในปี 2017 และเหลือ 14% ในปี 2023 นอกจากนี้การขาดดุลการค้าสินค้าของสหรัฐฯ กับจีนยังลดลงเมื่อปีที่แล้วสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าทศวรรษ
.
ภาษีที่สูงขึ้นยังกระตุ้นให้โรงงานในจีนจำนวนมากขึ้นเร่งเบนเข็มห่วงโซ่อุปทานไปยังประเทศที่สาม เช่น เวียดนามและเม็กซิโก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ ยังคงพึ่งพากำลังการผลิตของจีนอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติยังคงลดการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานของจีนลง เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)
.
อีกทั้งการบริโภคภายในประเทศของจีนยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ ท่ามกลางภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง
.
ด้าน ไมเคิล สโตรแบ็ก หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนระดับโลกของธนาคารเอกชน Lombard Odier ของสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “ณ วันนี้โลกดูแตกต่างไปจากเดิม ไม่ได้บูรณาการเหมือนแต่ก่อน และเกิดการเผชิญหน้าทางภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้น” ซึ่งแตกต่างจากตอนที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งในปี 2016 วันนี้การค้าโลกแตกแยกเป็นกลุ่มมากขึ้น ขณะที่การเติบโตของจีนกลับหยุดชะงัก
.
แอนดี้ ม็อก นักวิจัยอาวุโสแห่งศูนย์วิจัยจีนและโลกาภิวัตน์ กล่าวว่า รัฐบาลจีนและทรัมป์ต่างก็ ‘ไม่มีอุดมการณ์’ เขาตั้งข้อสังเกตว่าทรัมป์ทำเพื่อประโยชน์ของสหรัฐฯ หรือประโยชน์ส่วนตัว
.
หวังหมิน ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Zhongda Lighting Factory ซึ่งเป็นผู้ผลิตโคมไฟ กล่าวว่า เขาคาดว่าการขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มเติมจะเกิดขึ้น ‘อย่างค่อยเป็นค่อยไป’ เนื่องจากชาวอเมริกันทั่วไปยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่สูง บริษัทของเขาวางแผนที่จะตั้งสำนักงานและคลังสินค้าในลอสแอนเจลิส และจัดหาผลิตภัณฑ์จากโรงงานในต่างประเทศอย่างอียิปต์และเม็กซิโก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการจัดเก็บภาษีที่สูงขึ้น
.
ในอีกด้านหนึ่ง ภาษีใหม่จะกระตุ้นให้บริษัทเพิ่มการขายให้กับลูกค้าในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดอยู่แล้ว
.
◼️ ค่ายรถยนต์เตรียมแผนรับมือกำแพงภาษี 200% วุ่นหาทำเลในสหรัฐฯ
.
ในวันเดียวกัน Reuters รายงานว่า สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้บริหารบริษัทรถยนต์หลายรายระบุว่า ผู้ผลิตรถยนต์ต่างเตรียมรับมือกับนโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะขึ้นอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์จากเม็กซิโกและเอเชีย รวมถึงยกเลิกนโยบายลดหย่อนภาษี สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และอีกหลายมาตรการ
.
เพราะทรัมป์เตือนก่อนหน้านี้บ่อยครั้งว่า เตรียมขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากเม็กซิโก รวมถึงเอเชียและยุโรป เพิ่มเป็น 200% หรือมากกว่านั้น แม้ทรัมป์ต้องการลดการนำเข้ารถยนต์จากจีน ทว่าทรัมป์ยังเปิดให้ค่ายรถจีนเข้ามาผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ
.
ทรัมป์กล่าวกับ Reuters เมื่อเดือนสิงหาคมว่า จะเพิ่มมาตรการจูงใจหากจีนและผู้ผลิตจากประเทศอื่นๆ ต้องการขายรถยนต์ในสหรัฐฯ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องตั้งโรงงานที่สหรัฐฯ และต้องจ้างแรงงานชาวอเมริกัน
.
รวมไปถึงมีแผนจะเพิกถอนกฎระเบียบเกี่ยวกับรถยนต์ขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ EPA และกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันแรกที่เขาดำรงตำแหน่ง
.
มาร์ก วิลเลียมส์ ประธาน Strategic Development Group บริษัทที่จัดหาทำเลที่ตั้ง คาดว่า มาตรการดังกล่าวส่งผลให้อาจมีอีกหลายบริษัทมองหาทำเลที่ตั้งโรงงานใหม่มากขึ้น และกำแพงภาษีจะทำให้ต้นทุนต่างๆ สูงขึ้นด้วย
.
“ถ้าคุณต้องการตัดจีนออกไปจากห่วงโซ่การผลิตส่วนประกอบรถยนต์โดยไม่พึ่งพาเม็กซิโก ผมก็ไม่รู้แล้วว่าเราจะไปหาพื้นที่จากไหนในสหรัฐฯ ผมคิดว่าเราต้องอาศัยเม็กซิโกมากกว่าเดิมหากจะตัดจีนออกไปจริงๆ” วิลเลียมส์กล่าว
.
ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของเกาหลีใต้กล่าวว่า ประเมินว่าบริษัทเกาหลีใต้จะลงทุนในสหรัฐฯ มากขึ้นหากทรัมป์กำหนดภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น
.
ส่วนประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการฮอนด้ากล่าวว่า กำลังการผลิตของ Honda ในเม็กซิโกอยู่ที่ประมาณ 2 แสนคันต่อปี และ 80% ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ
.
“หากสหรัฐฯ กำหนดภาษีนำเข้ารถยนต์ที่นำเข้าจากเม็กซิโกอย่างถาวร Honda จะต้องพิจารณาย้ายสายการผลิต”
.
แหล่งข่าว Toyota ที่ผลิตรถบรรทุก Tacoma โดยมีโรงงาน 2 แห่งในเม็กซิโก และขายรถรุ่นนี้ได้มากกว่า 2.3 แสนคันในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ระบุว่า ภาษีนำเข้าที่สูงของทรัมป์ต่อการนำเข้าจากเม็กซิโก อาจกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ย้ายสายการผลิตรถยนต์ อาทิ รถกระบะ Tacoma แห่งนี้ไปที่ซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส
.
อ้างอิง:
https://asia.nikkei.com/Politics/U.S.-elections-2024/Chinese-exporters-brace-for-Trump-trade-turbulence
https://www.reuters.com/business/autos-transportation/automakers-brace-new-tariffs-ev-changes-under-trump-presidency-2024-11-06/
.
ที่มา : #TheStandardWealth
ผู้ส่งออก EV เช่น จีน ญี่ปุ่น วุ่น.. เตรียมรับแรงกระแทกภาษี EV 200% ของสหรัฐหลังทรัมป์กลับมา
,
การกลับมาทวงคืนบัลลังก์ทำเนียบขาวของ โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างความปั่นป่วนผู้ส่งออกจีนรวมถึงค่ายรถยนต์เกาหลีและญี่ปุ่นอย่าง Honda และ Toyota ที่วุ่นหาโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อเตรียมแผนรับมือกำแพงภาษี EV 200% ย้ำค่ายรถจีนหากจะเข้ามาผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ต้องตั้งโรงงานและจ้างแรงงานชาวอเมริกัน
.
สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า การกลับมาอันน่าทึ่งของ โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้ผู้ส่งออกชาวจีนหลายล้านคนกังวลต่อมาตรการขึ้นภาษีสินค้าหลายรายการ และอาจเกิดความไม่แน่นอนครั้งใหม่ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจจีนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
.
แคเทอรีน เหยียน ผู้จัดการของ Changshu Maydiang Leather Goods ซึ่งเป็นผู้จัดหาสินค้าประเภทกระเป๋าถือ ที่มากกว่าครึ่งหนึ่งผลิตให้กับแบรนด์ดังของอเมริกา เช่น alexanderwang และ 3.1 Phillip Lim ระบุว่า ไม่ได้รู้สึกประหลาดใจกับชัยชนะของทรัมป์เป็นพิเศษ เธอยอมรับกับความจริงที่ว่าเธอแทบไม่มีทางเลือกอื่นที่จะปกป้องธุรกิจของเธอจากผลกระทบต่อภาษีที่สูงขึ้น
.
เนื่องจากก่อนหน้านี้บริษัทปรับลดคาดการณ์ยอดขายทั้งปี 2024 ลง 30% หลังจากลูกค้าในสหรัฐฯ หลายรายลดคำสั่งซื้อลง เนื่องจากกังวลถึงความเสี่ยงของภาษีที่สูงขึ้นของ โดนัลด์ ทรัมป์
.
ขณะเดียวกันพ่อค้าชาวจีนจำนวนมากที่ค้าขายข้ามพรมแดนต่างก็จับตามองผลที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดเช่นกัน เนื่องจากกังวลว่าทรัมป์จะเพิ่มข้อจำกัดที่ก่อความวุ่นวายมากขึ้น แม้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กำลังวางแผนที่จะปิดช่องโหว่ที่เรียกว่า De Minimis ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าขาเข้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐ ทว่ากระบวนการออกกฎดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไปจนถึงช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลชุดใหม่
.
“เท่าที่ผมเข้าใจ ทรัมป์จะยับยั้งการพัฒนาเทคโนโลยีของจีนอย่างแน่นอน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยมาก” ผู้ประกอบการรายหนึ่งกล่าว
.
หลินเซียว ผู้ประกอบการเสื้อผ้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Temu และ SHEIN ที่เมืองกวางโจว มองว่า สิ่งสำคัญกว่านั้นคือสหรัฐฯ ไม่มีศักยภาพในการผลิตเสื้อผ้าเหล่านี้ และยังมีผู้ขายชาวจีนจำนวนมากบนแพลตฟอร์ม Amazon ที่จะได้รับผลกระทบเช่นกันหากมีการนำกฎดังกล่าวมาใช้
.
เหมาหนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า จีนเคารพการเลือกตั้งของชาวอเมริกัน และปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ‘สมมติฐาน’ เกี่ยวกับแผนของทรัมป์ที่จะจัดเก็บภาษีสินค้าจีน 60%
.
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปช่วงที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ครั้งดำรงตำแหน่งสมัยแรกได้เปิดฉากสงครามการค้า (Trade War) สหรัฐฯ-จีน ซึ่งส่งผลให้มีการจัดเก็บภาษีจาก 7.5% เป็น 25% สำหรับสินค้ามูลค่าราว 3.5 แสนล้านดอลลาร์ที่มาจากจีน ซึ่งสร้างผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ
.
ทว่าความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอ่อนแอลง โดยสัดส่วนของจีนในสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ลดลงจาก 22% ในปี 2017 และเหลือ 14% ในปี 2023 นอกจากนี้การขาดดุลการค้าสินค้าของสหรัฐฯ กับจีนยังลดลงเมื่อปีที่แล้วสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าทศวรรษ
.
ภาษีที่สูงขึ้นยังกระตุ้นให้โรงงานในจีนจำนวนมากขึ้นเร่งเบนเข็มห่วงโซ่อุปทานไปยังประเทศที่สาม เช่น เวียดนามและเม็กซิโก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ ยังคงพึ่งพากำลังการผลิตของจีนอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติยังคงลดการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานของจีนลง เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)
.
อีกทั้งการบริโภคภายในประเทศของจีนยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ ท่ามกลางภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง
.
ด้าน ไมเคิล สโตรแบ็ก หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนระดับโลกของธนาคารเอกชน Lombard Odier ของสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “ณ วันนี้โลกดูแตกต่างไปจากเดิม ไม่ได้บูรณาการเหมือนแต่ก่อน และเกิดการเผชิญหน้าทางภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้น” ซึ่งแตกต่างจากตอนที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งในปี 2016 วันนี้การค้าโลกแตกแยกเป็นกลุ่มมากขึ้น ขณะที่การเติบโตของจีนกลับหยุดชะงัก
.
แอนดี้ ม็อก นักวิจัยอาวุโสแห่งศูนย์วิจัยจีนและโลกาภิวัตน์ กล่าวว่า รัฐบาลจีนและทรัมป์ต่างก็ ‘ไม่มีอุดมการณ์’ เขาตั้งข้อสังเกตว่าทรัมป์ทำเพื่อประโยชน์ของสหรัฐฯ หรือประโยชน์ส่วนตัว
.
หวังหมิน ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Zhongda Lighting Factory ซึ่งเป็นผู้ผลิตโคมไฟ กล่าวว่า เขาคาดว่าการขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มเติมจะเกิดขึ้น ‘อย่างค่อยเป็นค่อยไป’ เนื่องจากชาวอเมริกันทั่วไปยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่สูง บริษัทของเขาวางแผนที่จะตั้งสำนักงานและคลังสินค้าในลอสแอนเจลิส และจัดหาผลิตภัณฑ์จากโรงงานในต่างประเทศอย่างอียิปต์และเม็กซิโก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการจัดเก็บภาษีที่สูงขึ้น
.
ในอีกด้านหนึ่ง ภาษีใหม่จะกระตุ้นให้บริษัทเพิ่มการขายให้กับลูกค้าในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดอยู่แล้ว
.
◼️ ค่ายรถยนต์เตรียมแผนรับมือกำแพงภาษี 200% วุ่นหาทำเลในสหรัฐฯ
.
ในวันเดียวกัน Reuters รายงานว่า สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้บริหารบริษัทรถยนต์หลายรายระบุว่า ผู้ผลิตรถยนต์ต่างเตรียมรับมือกับนโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะขึ้นอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์จากเม็กซิโกและเอเชีย รวมถึงยกเลิกนโยบายลดหย่อนภาษี สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และอีกหลายมาตรการ
.
เพราะทรัมป์เตือนก่อนหน้านี้บ่อยครั้งว่า เตรียมขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากเม็กซิโก รวมถึงเอเชียและยุโรป เพิ่มเป็น 200% หรือมากกว่านั้น แม้ทรัมป์ต้องการลดการนำเข้ารถยนต์จากจีน ทว่าทรัมป์ยังเปิดให้ค่ายรถจีนเข้ามาผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ
.
ทรัมป์กล่าวกับ Reuters เมื่อเดือนสิงหาคมว่า จะเพิ่มมาตรการจูงใจหากจีนและผู้ผลิตจากประเทศอื่นๆ ต้องการขายรถยนต์ในสหรัฐฯ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องตั้งโรงงานที่สหรัฐฯ และต้องจ้างแรงงานชาวอเมริกัน
.
รวมไปถึงมีแผนจะเพิกถอนกฎระเบียบเกี่ยวกับรถยนต์ขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ EPA และกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันแรกที่เขาดำรงตำแหน่ง
.
มาร์ก วิลเลียมส์ ประธาน Strategic Development Group บริษัทที่จัดหาทำเลที่ตั้ง คาดว่า มาตรการดังกล่าวส่งผลให้อาจมีอีกหลายบริษัทมองหาทำเลที่ตั้งโรงงานใหม่มากขึ้น และกำแพงภาษีจะทำให้ต้นทุนต่างๆ สูงขึ้นด้วย
.
“ถ้าคุณต้องการตัดจีนออกไปจากห่วงโซ่การผลิตส่วนประกอบรถยนต์โดยไม่พึ่งพาเม็กซิโก ผมก็ไม่รู้แล้วว่าเราจะไปหาพื้นที่จากไหนในสหรัฐฯ ผมคิดว่าเราต้องอาศัยเม็กซิโกมากกว่าเดิมหากจะตัดจีนออกไปจริงๆ” วิลเลียมส์กล่าว
.
ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของเกาหลีใต้กล่าวว่า ประเมินว่าบริษัทเกาหลีใต้จะลงทุนในสหรัฐฯ มากขึ้นหากทรัมป์กำหนดภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น
.
ส่วนประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการฮอนด้ากล่าวว่า กำลังการผลิตของ Honda ในเม็กซิโกอยู่ที่ประมาณ 2 แสนคันต่อปี และ 80% ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ
.
“หากสหรัฐฯ กำหนดภาษีนำเข้ารถยนต์ที่นำเข้าจากเม็กซิโกอย่างถาวร Honda จะต้องพิจารณาย้ายสายการผลิต”
.
แหล่งข่าว Toyota ที่ผลิตรถบรรทุก Tacoma โดยมีโรงงาน 2 แห่งในเม็กซิโก และขายรถรุ่นนี้ได้มากกว่า 2.3 แสนคันในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ระบุว่า ภาษีนำเข้าที่สูงของทรัมป์ต่อการนำเข้าจากเม็กซิโก อาจกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ย้ายสายการผลิตรถยนต์ อาทิ รถกระบะ Tacoma แห่งนี้ไปที่ซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส
.
อ้างอิง:
https://asia.nikkei.com/Politics/U.S.-elections-2024/Chinese-exporters-brace-for-Trump-trade-turbulence
https://www.reuters.com/business/autos-transportation/automakers-brace-new-tariffs-ev-changes-under-trump-presidency-2024-11-06/
.
ที่มา : #TheStandardWealth