มาเลย์เร่งspeedแซงไทยจับมือจีนสร้างแลนด์บริดจ์ ฝั่งตะวันออกย่นระยะเวลาผ่านช่องแคบมะละกา ทำไทยเลิกฝันคลองไทยไปเลยจร้า
ทางรถไฟสายนี้เรียกว่า Malaysia’s East Coast Rail Link (ECRL) เลียบพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศจากเมืองตุมปัต (Tumpat) ตรงข้ามพรมแดนไทยด้านตากใบ นราธิวาสเลียบชายฝั่งลงมา ผ่านพิกัดสำคัญก็คือ ท่าเรือกวนตัน รัฐปาหัง ที่ขณะนี้ประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการลงทุนร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่จีนทำเมืองใหม่ และท่าเรือน้ำลึกฝั่งตะวันออก จากกวนตัน ทางรถไฟจะตัดเข้ามายังฝั่งตะวันตก พื้นที่ตอนกลางของประเทศ ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึกใหญ่สุดของประเทศคือท่าเรือน้ำลึกกลัง (Port Klang)
ปี 2017 นี้เป็นปีที่มาเลเซียเริ่มต้นก่อสร้างโครงการที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดอีกครั้ง ของประเทศนับแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ นั่นก็คือ โครงการยุทธศาสตร์แถบเส้นทางเชื่อมโยง (Belt road) อันมีทางรถไฟสายใหม่เป็นแกน ซึ่งจะมีผลต่อการพลิกโฉมภูมิรัฐศาสตร์การเดินทาง การค้าและการลงทุนในเอเชียอาคเนย์ และช่องแคบมะละกาครั้งสำคัญ
ทางรถไฟสายนี้เรียกว่า Malaysia’s East Coast Rail Link (ECRL) เลียบพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศจากเมืองตุมปัต (Tumpat) ตรงข้ามพรมแดนไทยด้านตากใบ นราธิวาสเลียบชายฝั่งลงมา ผ่านพิกัดสำคัญก็คือ ท่าเรือกวนตัน รัฐปาหัง ที่ขณะนี้ประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการลงทุนร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่จีนทำเมืองใหม่ และท่าเรือน้ำลึกฝั่งตะวันออก จากกวนตัน ทางรถไฟจะตัดเข้ามายังฝั่งตะวันตก พาดผ่านพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึกใหญ่สุดของประเทศคือท่าเรือน้ำลึกกลัง (Port Klang) รวมระยะทาง 620 กิโลเมตร แต่ถ้านับระยะทางจากท่าเรือกวนตันฝั่งตะวันออก ไปยังท่าเรือกลังฝั่งตะวันตก ก็แค่ราว 200 กิโลเมตรกว่านิดๆ รถไฟยุคใหม่วิ่งชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง
เส้นทางเชื่อมฝั่งตะวันตก-ออกของคาบสมุทร โดยมีท่าเรือน้ำลึกทันสมัยอยู่ที่ปลายสองฟากฝั่ง ก็คือแลนด์บริดจ์ร่นระยะทางไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกานั่นเอง
รัฐบาลมาเลเซียได้เงินกู้ระยะยาว 20 ปี (ปลอดภาระ 7 ปีแรก) จากธนาคารนำเข้า-ส่งออกจีน ทำสัญญามูลค่า 5.5 หมื่นล้านริงกิต หรือราว 4.4 แสนล้านบาทระหว่างนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์เยือนปักกิ่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แล้วให้บริษัท China Communication Construction Company – CCCC ยักษ์ใหญ่ก่อสร้างแดงมังกรรับเหมาเทิร์นคีย์ระบบ EPCC เริ่มในปี 2017 ระยะแรกที่จะเชื่อมระหว่างท่าเรือสองฝั่งคาบสมุทรจะเสร็จใน 5 ปีและระยะต่อจากนั้นจะเสร็จสมบูรณ์ใน 10 ปี
ไทยเอง ที่เป็นเพื่อนบ้านสำคัญและมีแนวคิดมายาวนานที่จะตัดคอคอด/ขุดคลอง/สร้าง สะพานขนส่งลัดคาบสมุทรก็มีผลกระทบเช่นกัน อย่างน้อยที่สุดก็คือโครงการใหญ่ที่กำลังผลักดันกันอยู่นั่นก็คือ สะพานเศรษฐกิจสตูล-สงขลา จากท่าเรือปากบาราถึงท่าเรือจะนะ (สงขลา2) ซึ่งศึกษากันมานานกว่า 6 ปีแล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบและรับฟังความเห็นประชาชน
แนวคิดดั้งเดิมของสะพานเศรษฐกิจหรือแลนด์บริดจ์ในภาคใต้ ต่อยอดมาจากความคิดเรื่องการขุดคลอง/คอคอดกระที่มีมายาวนานหลายยุคสมัย จนกระทั่งหลังจากยุครัฐบาลพล.อ.เปรมเกิดมีอีสเทิร์นซีบอร์ดขึ้นมา จากนั้นก็มีความคิดว่าด้วยเซาท์เทิร์นซีบอร์ดในลักษณะคล้ายกันในภาคใต้เกิด ในยุครัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แผนพัฒนาภาคใต้ถูกเขียนขึ้นมาในยุคนั้น บนฐานคิดเรื่องข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่จะลัดเส้นทางจากช่องแคบมะละกา รวมทั้งฐานความคิดต่อยอดทรัพยากร/พลังงานในอ่าวไทยที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้เป็นหัวรถจักรใหญ่ขยับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น เช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นิคมอุตสาหกรรมและการขนส่งทางเรือต่อไป
จึงเกิดมีสะพานเศรษฐกิจแนวแรกคือขนอม-กระบี่ ถึงขนาดมีการสร้างถนนกว้างใหญ่ตรงกลางเว้นไว้เพื่อสร้างทางรถไฟ แต่ที่สุดความคิดดังกล่าวก็ถูกพับเก็บไป แล้วก็เปลี่ยนพื้นที่เป้าหมายแผนลงทุนไปที่ภาคใต้ตอนล่างเพราะคิดจะใช้ท่อ ก๊าซจากแหล่ง JDA เป็นฐานเพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแทน
และแนวสะพานเศรษฐกิจสตูล (ปากบารา) ถึงสงขลา (จะนะ) ก็ได้เกิดขึ้นในช่วงถัดจากนั้น
เอกสารและสื่อประชาชนสัมพันธ์โครงการนี้มองว่า หากมีสะพานเศรษฐกิจดังกล่าวจะเป็นจุดเด่นในทางกายภาพ ที่มีภูมิศาสตร์ดึงดูดให้เรือสินค้าแวะจอดขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทร แทนที่จะเสียเวลาอ้อมช่องแคบมะละกาที่แออัด
การเกิดขึ้นของสะพานเศรษฐกิจที่มีต้นทางอยู่ที่ท่าเรือกลัง ซึ่งมีปริมาณสินค้าปีละกว่า 13 ล้าน TEUs มากเป็นลำดับต้นของโลกและกำลังจะมีปริมาณสินค้าเพิ่มมากขึ้นอีกจากการลงทุน เขตอุตสาหกรรมใหม่ของจีน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นท่าเรือกวนตัน ที่มีสินค้าดั้งเดิมของมาเลเซียไปจีนแต่ต้องส่งผ่านท่าเรือสิงคโปร์ จะได้หันมาใช้ท่าเรือของตนเองแทนปีละหลักแสนล้านริงกิต
ถามว่าสตูล-สงขลามีอะไรไปสู้เขา? แล้วความคาดหวังว่าสะพานเศรษฐกิจแห่งนี้จะดึงดูดสายการเดินเรือน้อยใหญ่เข้า มาใช้บริการจะเป็นไปได้จริงหรือ เพราะหลักการบริหารการขนส่ง Logistics ทางเรือคำนวณบนพื้นฐานความคุ้มค่าบนต้นทุนและระยะเวลาน้อยสุด
นี่แหละครับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วกับประเทศไทยเรา.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.rtnlogistics.com/
\_ Oops! _/มาเลย์เร่งspeedแซงไทยจับมือจีนสร้างแลนด์บริดจ์ย่นระยะเวลาผ่านช่องแคบมะละกา ทำไทยเลิกฝันคลองไทยไปเลยจร้า
ทางรถไฟสายนี้เรียกว่า Malaysia’s East Coast Rail Link (ECRL) เลียบพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศจากเมืองตุมปัต (Tumpat) ตรงข้ามพรมแดนไทยด้านตากใบ นราธิวาสเลียบชายฝั่งลงมา ผ่านพิกัดสำคัญก็คือ ท่าเรือกวนตัน รัฐปาหัง ที่ขณะนี้ประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการลงทุนร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่จีนทำเมืองใหม่ และท่าเรือน้ำลึกฝั่งตะวันออก จากกวนตัน ทางรถไฟจะตัดเข้ามายังฝั่งตะวันตก พื้นที่ตอนกลางของประเทศ ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึกใหญ่สุดของประเทศคือท่าเรือน้ำลึกกลัง (Port Klang)
ปี 2017 นี้เป็นปีที่มาเลเซียเริ่มต้นก่อสร้างโครงการที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดอีกครั้ง ของประเทศนับแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ นั่นก็คือ โครงการยุทธศาสตร์แถบเส้นทางเชื่อมโยง (Belt road) อันมีทางรถไฟสายใหม่เป็นแกน ซึ่งจะมีผลต่อการพลิกโฉมภูมิรัฐศาสตร์การเดินทาง การค้าและการลงทุนในเอเชียอาคเนย์ และช่องแคบมะละกาครั้งสำคัญ
ทางรถไฟสายนี้เรียกว่า Malaysia’s East Coast Rail Link (ECRL) เลียบพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศจากเมืองตุมปัต (Tumpat) ตรงข้ามพรมแดนไทยด้านตากใบ นราธิวาสเลียบชายฝั่งลงมา ผ่านพิกัดสำคัญก็คือ ท่าเรือกวนตัน รัฐปาหัง ที่ขณะนี้ประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการลงทุนร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่จีนทำเมืองใหม่ และท่าเรือน้ำลึกฝั่งตะวันออก จากกวนตัน ทางรถไฟจะตัดเข้ามายังฝั่งตะวันตก พาดผ่านพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึกใหญ่สุดของประเทศคือท่าเรือน้ำลึกกลัง (Port Klang) รวมระยะทาง 620 กิโลเมตร แต่ถ้านับระยะทางจากท่าเรือกวนตันฝั่งตะวันออก ไปยังท่าเรือกลังฝั่งตะวันตก ก็แค่ราว 200 กิโลเมตรกว่านิดๆ รถไฟยุคใหม่วิ่งชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง
เส้นทางเชื่อมฝั่งตะวันตก-ออกของคาบสมุทร โดยมีท่าเรือน้ำลึกทันสมัยอยู่ที่ปลายสองฟากฝั่ง ก็คือแลนด์บริดจ์ร่นระยะทางไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกานั่นเอง
รัฐบาลมาเลเซียได้เงินกู้ระยะยาว 20 ปี (ปลอดภาระ 7 ปีแรก) จากธนาคารนำเข้า-ส่งออกจีน ทำสัญญามูลค่า 5.5 หมื่นล้านริงกิต หรือราว 4.4 แสนล้านบาทระหว่างนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์เยือนปักกิ่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แล้วให้บริษัท China Communication Construction Company – CCCC ยักษ์ใหญ่ก่อสร้างแดงมังกรรับเหมาเทิร์นคีย์ระบบ EPCC เริ่มในปี 2017 ระยะแรกที่จะเชื่อมระหว่างท่าเรือสองฝั่งคาบสมุทรจะเสร็จใน 5 ปีและระยะต่อจากนั้นจะเสร็จสมบูรณ์ใน 10 ปี
ไทยเอง ที่เป็นเพื่อนบ้านสำคัญและมีแนวคิดมายาวนานที่จะตัดคอคอด/ขุดคลอง/สร้าง สะพานขนส่งลัดคาบสมุทรก็มีผลกระทบเช่นกัน อย่างน้อยที่สุดก็คือโครงการใหญ่ที่กำลังผลักดันกันอยู่นั่นก็คือ สะพานเศรษฐกิจสตูล-สงขลา จากท่าเรือปากบาราถึงท่าเรือจะนะ (สงขลา2) ซึ่งศึกษากันมานานกว่า 6 ปีแล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบและรับฟังความเห็นประชาชน
แนวคิดดั้งเดิมของสะพานเศรษฐกิจหรือแลนด์บริดจ์ในภาคใต้ ต่อยอดมาจากความคิดเรื่องการขุดคลอง/คอคอดกระที่มีมายาวนานหลายยุคสมัย จนกระทั่งหลังจากยุครัฐบาลพล.อ.เปรมเกิดมีอีสเทิร์นซีบอร์ดขึ้นมา จากนั้นก็มีความคิดว่าด้วยเซาท์เทิร์นซีบอร์ดในลักษณะคล้ายกันในภาคใต้เกิด ในยุครัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แผนพัฒนาภาคใต้ถูกเขียนขึ้นมาในยุคนั้น บนฐานคิดเรื่องข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่จะลัดเส้นทางจากช่องแคบมะละกา รวมทั้งฐานความคิดต่อยอดทรัพยากร/พลังงานในอ่าวไทยที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้เป็นหัวรถจักรใหญ่ขยับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น เช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นิคมอุตสาหกรรมและการขนส่งทางเรือต่อไป
จึงเกิดมีสะพานเศรษฐกิจแนวแรกคือขนอม-กระบี่ ถึงขนาดมีการสร้างถนนกว้างใหญ่ตรงกลางเว้นไว้เพื่อสร้างทางรถไฟ แต่ที่สุดความคิดดังกล่าวก็ถูกพับเก็บไป แล้วก็เปลี่ยนพื้นที่เป้าหมายแผนลงทุนไปที่ภาคใต้ตอนล่างเพราะคิดจะใช้ท่อ ก๊าซจากแหล่ง JDA เป็นฐานเพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแทน
และแนวสะพานเศรษฐกิจสตูล (ปากบารา) ถึงสงขลา (จะนะ) ก็ได้เกิดขึ้นในช่วงถัดจากนั้น
เอกสารและสื่อประชาชนสัมพันธ์โครงการนี้มองว่า หากมีสะพานเศรษฐกิจดังกล่าวจะเป็นจุดเด่นในทางกายภาพ ที่มีภูมิศาสตร์ดึงดูดให้เรือสินค้าแวะจอดขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทร แทนที่จะเสียเวลาอ้อมช่องแคบมะละกาที่แออัด
การเกิดขึ้นของสะพานเศรษฐกิจที่มีต้นทางอยู่ที่ท่าเรือกลัง ซึ่งมีปริมาณสินค้าปีละกว่า 13 ล้าน TEUs มากเป็นลำดับต้นของโลกและกำลังจะมีปริมาณสินค้าเพิ่มมากขึ้นอีกจากการลงทุน เขตอุตสาหกรรมใหม่ของจีน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นท่าเรือกวนตัน ที่มีสินค้าดั้งเดิมของมาเลเซียไปจีนแต่ต้องส่งผ่านท่าเรือสิงคโปร์ จะได้หันมาใช้ท่าเรือของตนเองแทนปีละหลักแสนล้านริงกิต
ถามว่าสตูล-สงขลามีอะไรไปสู้เขา? แล้วความคาดหวังว่าสะพานเศรษฐกิจแห่งนี้จะดึงดูดสายการเดินเรือน้อยใหญ่เข้า มาใช้บริการจะเป็นไปได้จริงหรือ เพราะหลักการบริหารการขนส่ง Logistics ทางเรือคำนวณบนพื้นฐานความคุ้มค่าบนต้นทุนและระยะเวลาน้อยสุด
นี่แหละครับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วกับประเทศไทยเรา.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้