{{{ ถ้าผมมีเรือสินค้าใหญ่ๆ จะขนของผ่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผมคงไม่ใช้แลนด์บริดจ์ ...สาเหตุดังนี้...}}}

...ถ้าผมเป็นเจ้าของเรือ หรือ จะเช่าเรือขนสินค้าผ่าน ผมคงไม่ใช้แลนด์บริดจ์ เพราะต้องลงทุนหาเรืออีกลำรอไว้อีกฝั่งรอรับสินค้า จะต้องเพิ่มทุนอีกตูดบาน เป็นพันๆล้าน และอาจจะรอเข้าคิวนานหลายๆวัน ตอนขนสินค้าก็ยุ่งยาก ในการ ขนขึ้น ขนลง และไม่รู้จะจ่ายเท่าไหร่? ผมใช้เรือลำเดียว ลงไปผ่ายช่องแคบมะลากา ง่ายกว่า ใช้เวลาเพิ่มแค่เกือบ 1 วัน ระยะทางเพิ่มประมาณ 700 ไมล์ จ่ายค่าน้ำมันเรือเพิ่มคงไม่มากนัก อาจจะน้อยกว่ามาผ่านแลนด์บริดจ์เยอะ ไม่ต้องเสียเวลาขนขึ้นขนลง ไม่ต้องลงทุนหาเรือลำที่สอง ( ราคาของเรือสินค้าขนาดใหญ่ ลำหนึ่งๆ จะมีราคาประมาณ 130 ถึง 150 ล้านดอลล่าร์ )
                                                               ...ก็ลองนึกภาพ...
...แต่ละวันๆ เฉลี่ย มีเรือผ่านช่องแคบมะละกา ประมาณ เกือบ 300 ลำ ต่อวัน..
...สมมุติ ไทยสร้างแลนด์บริดจ์เสร็จ จะให้เรือมาจอดรอในแต่ละฝั่ง เพื่อจะผ่านน้ำมันหรือตู้คอนเทนเน่อร์ใหญ่ๆ ไปให้เรืออีกลำที่รอรับอีกฝั่ง ..เรือต้องมาเข้าคิวเทียบท่าได้ครั้งละกี่ลำ ? และใช้เวลาในการขนถ่ายนานกี่ชั่วโมง ? หรือกี่วันต่อลำ จึงจะเสร็จ ? (เรือขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทรขนาใหญ่ 1 ลำ จะสามารถบรรทุกตู้คอนเทนเน่อร์ได้มากกว่า 24,000 ตู้...การใช้เวลาโหลดตู้คอนเทนเน่อร์ทั้ง 24,000 ลงจากเรือ ดูเหมือนจะใช้เวลาเฉลี่ยอย่างไวประมาณ 10 วัน..โหลดขึ้นเรืออีกฝั่งอีก 10 วัน..รวม ต้องใช้เวลาประมาณ 20 วัน) หรือ ถ่ายน้ำมันเป็นแสนๆตันต่อลำ เรือสินค้าแต่ละลำก็มีตู้คอนเทนเน่อร์ใหญ่ๆหลายหมื่นตู้ นานแค่ไหนจึงจะถ่ายหมด ? แล้วถ้ามีเรือมาเข้าคิวรอซ้อนหลังๆๆ ... เรือที่เข้าคิวรอ ต้องรอนานกี่วัน จึงจะถึงคิวของตน ?? ... สมมุติแลนบริดจ์ จะรองรับรับการขนถ่ายต่อวัน ได้ประมาณ 6 ลำต่อวัน เป็นไปได้ไหม ? หรือ 5 ลำ ต่อ 3 วัน ?? อะไรทำนองนั้น เพราะเรือสินค้าใหญ่แต่ละลำ ยาวประมาณ 400 เมตร กว้างประมาณ 60 เมตร ถ้าท่าเรือยาวมาก คือยาวประมาณ 1 กิโลมเตร ก็จะเทียบท่าเรียงๆกันได้ครั้งละประมาณ 3 ลำพร้อมๆกัน...แล้วแต่ละวันๆ มีเรือมาเข้าคิวรอสักแค่ 10 ลำ กว่าจะถึงคิวลำที่ 50 ก็อาจจะใช้เวลารอประมาณสองเดือนกว่า ..แบบนี้ จะรอทำไม ?  ลงไปผ่านช่องแคบมะละกาเลยง่ายกว่า ไม่ต้องขนถ่ายให้ยุ่งยาก ใช้เวลาเพิ่มแค่ 1-2 วัน ค่าน้ำมันเพิ่มอีกหน่อย..ง่าย สะดวก ทุ่นเวลา ทุ่นค่าใช้จ่าย กว่ามาผ่านที่แลนด์บริดจ์..ประหยัดกว่ามากมายมหาศาล
         ผมขอฟันธง ถ้าโครงการแลนด์บริดจ์เกิดจริง นี่คือความงี่เง่าอย่างมหาศาล จะขาดทุนตูดบานกลวงโบ๋ ใช้เวลาหลายหมื่นก็ไม่ฟื้นทุนเพราะจะไม่มีเรือลำไหนมาใช้บริการแลนด์บ๊องนี่แน่ๆ
          และ ยังจะทำลายธรรมชาติอย่างมหาศาล ประเมินค่าไม่ได้
..............................................................................................
...1 น๊อท หรือ 1 ไมล์ทะเล ประมาณ = 1.85 ไมล์บนบก 
...เรือสินค้าขนาดใหญ่ ถ้าวิ่งด้วยความเร็วเต็มๆ อาจจะวิ่งได้ ประมาณ 21 น๊อท หรือ 40 ไมล์(บก) ต่อชั่วโมง
...จะเผาน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 110 แกลลอนต่อไมล์(บก)
...ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ 2 ดอลล่าร์ต่อแกลลอน
...ถ้าระยะทางประมาณ 700 ไมล์(บก) จากจุดแลนด์บริดจ์มาช่องแคบมะละกา ก็จะเผาน้ำมันประมาณ 77,000 แกลลอน หรือ ประมาณ 154,000 ดอลลาร์ 
...นั่นคือ ถ้าคำณวนตัวเลขกลมๆ ง่ายๆเผื่อๆ .. ถ้าเรือสินค้าขนาดใหญ่ ไปล่องมาผ่านทางช่องแคบมะละกา แทนที่จะไปผ่านแลนด์บริดจ์ วิ่งด้วยความเร็ว 21 น๊อท (หรือ 40 ไมล์บนบก)...ก็จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน  อาจจะเผาน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 80,000 แกลลอน หรือ ประมาณ 160,000 ดอลล่าร์ ...ถ้ามาผ่านแลนด์บริดจ์ (๑) จะต้องรอคิวนานกี่วัน จึงจะได้เริ่มขนย้ายสินค้า ? (๒)  เมื่อถึงเวลาขนย้าย จะใช้เวลาขนย้ายสินค้า หรือ ถ่ายน้ำมัน นานกี่วัน ?.. (๓) ต้องไปยุ่งยากหาเรืออีกลำรอรับอีกฝั่งของแลนด์บริดจ์  ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกเท่าไหร่ ? ... (๔) ต้องจ่ายค่าพรีเมี่ยมค่าโสหุ้ยอะไรต่างๆให้แลนด์บริดจ์อีกเท่าไหร่ ? ...คำถามคือ สรุปรวมแล้ว จะคุ้มค่าไหมถ้าเทียบกับ ราคา เวลา และความสะดวก ถ้าจะไปอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ตามปกติ
......การขนข้ายตู้คอนเทนเน่อรร์ต่อเรือ 1 ลำ  จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 40 ล้านบาท ต่อ 10,000 ตู้ ..ดังนั้น ถ้าเรือมีตู้ 24,000 ตู้ ก็จะเสียค่าขนย้ายประมาณ 100 ล้านบาท
...และต้องเตรียมเรือลำที่ 2 รอรับสินค้าอีกฝั่ง  เรือลำที่สองนี้ ถ้าจะเช่า ก็ต้องจ่ายค่าเช่า วันละ 2 ล้านดอลล่าร์ ...ถ้าจะซื้อ ก็ต้องซื้อลำละประมาณ 150 ล้านดอลล่าร์ ...เพื่อขนสินค้าจำนวนเท่ากัน  ...ขาดทุนบานตะเกียง  สู้ใช้เรือลำเดียววิ่งไปทางช่องแคบมะลา ดีกว่ามากๆๆ  คงไม่มีใครงี่เง่ามาใช้แลนด์บริดจ์
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ไม่ว่าแลนด์บริดจ์ หรือ คลองไทย

น่าจะไม่คุ้ม เมื่อเทียบกับการไปช่องแคบมะละกา หรือซุนดา

คำสำคัญ คือ คำว่า คิว...  queue แถวคอย

มันต้องคอย ไม่แทบจะไม่ได้ลดเวลาเลย

เมื่อต้องเข้าแถวคอย ขนของ

หรือ คลองไทย แทบจะไม่ลดเวลาเลย เมื่อคอยเข้าคลอง

มันไม่เหมือนสุเอช หรือ ปานามา ที่ลดเวลาลงเป็นสัปดาห์ๆ

ทราบหรือไม่ว่า ทำไมเรือบางลำ เลือกอ้อมไปผ่านซุนดา แทนมะละกา ทั้งที่ไกลกว่า อ้อม เปลือง

คำตอบ เหมือนถนนเลี่ยงเมือง อ้อม แต่รถไม่ติด ประหยัดเวลากว่าต้องคอยเข้าคิว
ความคิดเห็นที่ 9
วัดระยะเล่นๆ ลดระยะทางได้ประมาณ 1 พันกิโล  ถ้าเรือสินค้าเดินทางด้วยความเร็ว 40 กิโล/ชั่วโมง จะสามารถประหยัดเวลาได้ วันกว่าๆ
แลนด์บริดจ์ ขนขึ้น ขนลง  จะเสียเวลาเยอะตอนขนขึ้นโบกี้รถไฟ  สามารถดึงดูดเอกชนเข้ามาใช้บริการได้จริงหรือ..

ความคิดเห็นที่ 10
ท่าเรือน้ำลึกที่ระนอง และที่ชุมพร

ซาอุบอกว่ายินดีเข้ามาลงทุน 70% ไทย30% ฝ่ายไทยไม่พร้อม ซาอุยินดีให้กู้ไม่คิดดอกเบี้ย

การสร้างแลนด์บริดจ์ มีถนน รถไฟความเร็วสูง ท่อส่งน้ำมัน

ซาอุมาตั้งคลังน้ำมันที่นี่ อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอีก เหมือนระยอง ต่อไป ชุมพร ระนอง จะเป็นแหล่งงานหลายแสนตำแหน่ง

อุตสาหกรรมทางใต้ส่งออกไม่ต้องวิ่งไปชลบุรี

อักมากมาย หาคลิปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สัมภาษณ์ได้
ความคิดเห็นที่ 2
เป้าหมายเขาไม่ใช่ให้แค่คุณขนสินค้าผ่านไง เป้าหมายคือจะให้ไทยเป็นฮับกระจายสินค้าเลย ขนของลงจากลำนึงไม่ใช่ให้พันตู้ย้ายไปอีกลำนึงแต่อาจจะเป็นร้อยตู้กระจายไปสิบลำสิบปลายทางได้ คำถามคือสายเรือเขาจะเล่นด้วยมั้ย เรือที่จะจอดกินน้ำลึกได้เท่าไหร่ ใช้เวลาเท่าไหร่ในการขนขึ้นลง ค่าขนเท่าไหร่
ความคิดเห็นที่ 22
คุณต้องเข้าใจระบบขนส่ง hub & spoke  ขนส่งทางเรือคล้ายขนส่งทางเครื่องบินที่ใช้ระบบกระจายสินค้า  ผมยกตัวอย่างเรือขนน้ำมัน (ที่ผมมีความเข้าใจดี) มีหลายขนาด ใหญ่สุด ULCC -> VLCC -> ...> ....> Coastal tanker (เล็กสุด)  
ตอนออกจากแหล่งน้ำมันดิบที่ตะวันออกกลาง บริษัทน้ำมันก็จะใช้เรือใหญ่สุด ULCC ขนขนาด 2 หมื่น teu (เท่ากับ container 20 ft. 2 หมื่นตู้)
เรือใหญ่เหล่านี้ก็ส่งน้ำมันมาทาง Asia ตะวันออก  ตอนนี้ต้องมาขนถ่ายกระจายลงเรือที่เล็กลงที่สิงคโปร์ เพราะลูกค้าโรงกลั่นน้ำมันในหลายประเทศรับน้ำมันเต็มเรือใหญ่ไม่ได้  (ถังเก็บไม่พอ, ไม่อยากเก็บ stock เยอะ, ร่องน้ำที่ท่าเรือรับเรือใหญ่ไม่ได้ เช่น โรงกลั่นบางจากที่พระโขนง เรือเล็กเท่านั้นที่จะผ่านเข้ามาได้)  
การมี Land Bridge ก็เพื่อมาแข่งกับ Singapore ในแง่การกระจายสินค้า  เรือใหญ่มากเข้าท่าเรือของหลายประเทศไม่ได้  เช่น จะส่งสินค้าเข้ากัมพูชา หรือแม้แต่เวียดนาม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่