1.Port Klang
ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในมาเลเซีย ติดอันดับท่าเรือที่มีปริมาณตู้สินค้าอับดับ 1 ใน 20 ของโลก ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรแม่น้ำกลังไหลลงสู่ช่องแคบมะละกาซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์กับทะเล โดยในปี 2562 มีปริมาณการขนส่งสินค้ารวม 243 ล้านตัน นอกจากนี้ยังมี Free Commercial Zone (FCZ) ซึ่งเป็นเขตพิเศษสำหรับการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขนถ่ายสินค้าด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์
2.Johor Port
รัฐยะโฮร์อยู่ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรมลายูประกอบด้วยท่าเรือสองแห่ง ได้แก่ ท่าเรือ Tanjung Pelepas (PTP) และท่าเรือยะโฮร์ที่ Pasir Gudang โดยในปี 2562 มีปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์รวม 120 ล้านตัน และเป็นท่าเรือคู่แข่งสำคัญของสิงคโปร์
3. Penang Port
ท่าเรือขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามและเกาแก่ที่สุดของมาเลเซีย อยู่ทางเหนือของชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมาเลเซียและเกาะปีนัง เชื่อมต่อการเข้าถึงไปยังรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียและจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศไทย โดยในปี 2561 มีปริมาณการขนส่งสินค้า 34 ล้านตัน นอกจากนี้ยังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ
4. Bintulu Port
ท่าเรือบินตูลูลูอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นประตูหลักสู่เกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย อยู่ใกล้กับโรงงานผลิต LNG ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จึงดำเนินการขนส่งสินค้าของเหลวเป็นหลักคิดเป็นร้อยละ 77 โดยมีปริมาณการขนส่งสินค้ารวม 4.71 ล้านตันในปี 2563
5. Sabah Port
รัฐซาบาห์เป็นรัฐทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว เป็นที่ตั้งของท่าเรือแปดแห่งซึ่งรวมกันแล้วมีปริมาณการขนส่งสินค้ารวม 34.2 ล้านเมตริกตัน ในปี 2562 และเนื่องจากมีสวนปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและอุตสาหกรรมไม้และเกษตรกรรมขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าจึงมีความมั่นคงและได้มาตรฐาน
6. Kuantan Port
ท่าเรือกวนตันเป็นท่าเรือหลักที่ชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายูหันหน้าออกสู่ทะเลจีนใต้ ท่าเรือนี้สามารถขนส่งสินค้าได้เกือบ 25 ล้านตันในปี 2561 ซึ่งเป็นสินค้าแห้งเทกอง แร่ แร่ธาตุรวมทั้งแร่อะลูมิเนียม
7.Kemaman Port
ท่าเรือเกมามานเป็นท่าเรือน้ำลึกทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูส่วนใหญ่ขนส่งสินค้าทั่วไป แร่บอกไซต์เหล็ก และสารเคมีโดยในปี 2561 ปริมาณการขนส่งสินค้ารวมอยู่ที่ 5.1 ล้านตัน
ที่มา
https://www.ditp.go.th/contents_attach/733476/733476.pdf
ส่องท่าเรือน้ำลึกภาคการขนส่งสินค้าของมาเลเซียกันครับ
ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในมาเลเซีย ติดอันดับท่าเรือที่มีปริมาณตู้สินค้าอับดับ 1 ใน 20 ของโลก ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรแม่น้ำกลังไหลลงสู่ช่องแคบมะละกาซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์กับทะเล โดยในปี 2562 มีปริมาณการขนส่งสินค้ารวม 243 ล้านตัน นอกจากนี้ยังมี Free Commercial Zone (FCZ) ซึ่งเป็นเขตพิเศษสำหรับการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขนถ่ายสินค้าด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์
2.Johor Port
รัฐยะโฮร์อยู่ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรมลายูประกอบด้วยท่าเรือสองแห่ง ได้แก่ ท่าเรือ Tanjung Pelepas (PTP) และท่าเรือยะโฮร์ที่ Pasir Gudang โดยในปี 2562 มีปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์รวม 120 ล้านตัน และเป็นท่าเรือคู่แข่งสำคัญของสิงคโปร์
3. Penang Port
ท่าเรือขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามและเกาแก่ที่สุดของมาเลเซีย อยู่ทางเหนือของชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมาเลเซียและเกาะปีนัง เชื่อมต่อการเข้าถึงไปยังรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียและจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศไทย โดยในปี 2561 มีปริมาณการขนส่งสินค้า 34 ล้านตัน นอกจากนี้ยังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ
4. Bintulu Port
ท่าเรือบินตูลูลูอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นประตูหลักสู่เกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย อยู่ใกล้กับโรงงานผลิต LNG ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จึงดำเนินการขนส่งสินค้าของเหลวเป็นหลักคิดเป็นร้อยละ 77 โดยมีปริมาณการขนส่งสินค้ารวม 4.71 ล้านตันในปี 2563
5. Sabah Port
รัฐซาบาห์เป็นรัฐทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว เป็นที่ตั้งของท่าเรือแปดแห่งซึ่งรวมกันแล้วมีปริมาณการขนส่งสินค้ารวม 34.2 ล้านเมตริกตัน ในปี 2562 และเนื่องจากมีสวนปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและอุตสาหกรรมไม้และเกษตรกรรมขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าจึงมีความมั่นคงและได้มาตรฐาน
6. Kuantan Port
ท่าเรือกวนตันเป็นท่าเรือหลักที่ชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายูหันหน้าออกสู่ทะเลจีนใต้ ท่าเรือนี้สามารถขนส่งสินค้าได้เกือบ 25 ล้านตันในปี 2561 ซึ่งเป็นสินค้าแห้งเทกอง แร่ แร่ธาตุรวมทั้งแร่อะลูมิเนียม
7.Kemaman Port
ท่าเรือเกมามานเป็นท่าเรือน้ำลึกทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูส่วนใหญ่ขนส่งสินค้าทั่วไป แร่บอกไซต์เหล็ก และสารเคมีโดยในปี 2561 ปริมาณการขนส่งสินค้ารวมอยู่ที่ 5.1 ล้านตัน
ที่มา
https://www.ditp.go.th/contents_attach/733476/733476.pdf