สงสัยเกี่ยวกับกองทัพอิตาลี ตั้งแต่การรวมชาติ หรือ ตอนสงครามโลกครั้งที่ 1 2 อยากทราบเหตุผลไหนถึงแพ้ตลอด?

ตอนรวมชาติรบกับออสเตรียช่วงปี 1848 ที่มีกบฎทั่วจักรวรรดิก็แพ้ เห็นมีแต่ หน่วยรบของการิบัลดี หรือ นักล่าแห่งเทือกเขาแอลป์ ที่สร้างผลงานได้พอเป็นที่ชูหน้าชูตาให้แก่อิตาลี เลยสงสัยว่า การิบัลดี นี้คือใคร?
สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็โดนตีถอยร่นลงมาจนเกือบจะถึงเมืองเวนีสเลย
ยิ่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ใครๆ ก็บอกว่าห่วยตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าร่วมกับอักขระ ได้ฉายาว่าตัวถ่วงเยอรมัน โดยปริยาย กับ ซีซ่าร์หัวขี้เลื่อยจากอังกฤษ(รึเปล่า)
ตกลงอิตาลีเคยชนะใครใหญ่ หรือตัวเท่าๆ กันบ้าง เห็นแต่ชนะ จักรวรรดิเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นการรบครั้งที่ 2 (ครั้งแรกแพ้ยับขายหน้าไปทั่วยุโรป)

สงครามโลกครั้งที่ 1

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



อันนี้คืออุตสหกรรมตอนเริ่มต้นสงครามของอิตาลีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่รู้ว่เขาบอกว่าอะไร แบบผมอ่านอังกฤษ หรือฟังเขาไม่รู้เรื่องเลย

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ปล. เผื่อใครไม่รู้อิตาลีเคยทำวีรกรรมกับประเทศไทยช่วงสงครามโลกด้วยนั้นคือ การนำ เรือลาดตระเวนเบาชั้นเรือหลวงนเรศวร ไปใช้จนจมลงใต้ทะเล

เรือลาดตระเวนเบาชั้นเรือหลวงนเรศวร
    นอกจากเรือรบรุ่นต่างๆที่ได้เขียนถึงไปแล้วซึ่งอยู่ในสกีม 1 (Scheme 1) กองทัพเรือไทยยังมีโครงการจัดหาเรือลาดตระเวนเบาจำนวน 2 ลำในสกีม 2 เพิ่มเติม เรือขนาดใหญ่ทั้ง 2 ลำจะเข้าประจำการในกองเรือรุกรบโดยมีคุณสมบัติคือ สามารถทำการรบในทะเลลึกได้ สามารถรังควานและตัดเส้นทางคมนาคมของฝ่ายตรงข้ามได้ ความต้องการเบื้องต้นของโครงการนี้คือ เรือจะต้องมีระวางขับน้ำ 3,000 ตันขึ้นไป มีความยาวรวมประมาณ 133 เมตร กว้างประมาณ 12 เมตร กินน้ำลึกประมาณ 3.6 เมตร ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 152 มม.จำนวน 4 กระบอก หรือปืนใหญ่ขนาด 137 มม.จำนวน  6 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 76 มม.จำนวน 4 กระบอก  ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 40 มม.จำนวน 4 กระบอก ตอร์ปิโดแฝด 3 จำนวน 2 แท่นยิง สามารถทำความเร็วสุงสุดได้ถึง 33 นอต

   หลังจากใช้เวลาต่อรองเกือบ 2 ปี ผู้ชนะการประกวดราคาก็คือ ซาน มาร์โค ดิ ตริเอสเต้ (San Marco di Trieste) จากอิตาลี โดยได้รับสัญญาต่อเรือ 2 ลำมูลค่า 13.1 ล้านบาท กองทัพเรือจัดเตรียมงบประมาณอีก 3 ล้านบาทสำหรับซื้ออาวุธปืนจากสวีเดนและตอร์ปิโดจากญี่ปุ่น  เรือลาดตระเวนเบาชั้นเรือหลวงนเรศวรต่อโดยอู่ต่อเรือ Cantieri  Riumiti  dell'  Adriatico  เมืองตริเอสเต ประเทศอิตาลี  ตามสัญญาเรือมีความยาวรวม 147 เมตร กว้าง 14.74 เมตร ระวางขับน้ำเต็มที่ 5,533 ตัน เครื่องจักรกังหันไอน้ำ 2 เพลาใบจักร ให้กำลัง 40,000 แรงม้า ความเร็วสุงสุด 28 นอต ติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ Bofors 152 มม. จำนวน 6 กระบอก ปืนใหญ่ Bofors 75/51 มม. จำนวน 6 กระบอก ปืนกลขนาด 13.2  มม. จำนวน 8 กระบอก เครื่องบินทะเล 2 ลำพร้อมเครื่องดีดส่ง (Catapult) ส่วนปืนต่อสู้อากาศยานและตอร์ปิโดขนาด 450 มม.แฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง กองทัพเรือจะติดตั้งเองในภายหลัง

    เรือหลวงนเรศวรทำพิธีวางกระดูกงูวันที่ 26 สิงหาคม 2482 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำวันที่ 6 สิงหาคม 2484 เรือหลวงตากสินทำพิธีวางกระดูกงูวันที่  23 กันยายน 2482 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำวันที่  28 พฤษภาคม 2485 ภายหลังได้มีการปรับปรุงเรือให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ติดตั้งอาวุธแตกต่างไปจากเดิม และเปลี่ยนมาเป็นเรือลาดตระเวนต่อสู้อากาศยาน เรือที่กำลังสร้างอยู่ทั้ง 2 ลำไม่ใช่สมบัติของไทยอีกแล้ว เนื่องจากรัฐบาลอิตาลีได้ยกเลิกสัญญาและรับมาเป็นเรือรบของตัวเอง นั่นก็เพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปิดฉากขึ้นและอิตาลีก็ได้เข้าร่วมรบกับฝ่ายอักษะ เดือนกันยายน 2487 เรือลาดตระเวน  Vesuvio และ Etna ที่ยังสร้างไม่เสร็จ ถูกเครื่องบินสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดใส่จนเสียหายหนักและอัปปางนั่งแท่น แม้จะมีความพยายามกู้เรือคืนแต่ก็ต้องยกเลิกในท้ายที่สุด

    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยได้ฟ้องคดีเรียกร้องค่าเสียหายต่อรัฐบาลอิตาลี เพื่อเป็นค่าต่อเรือลาดตระเวนเบาชั้นเรือหลวงนเรศวร ซึ่งได้สั่งต่อและชำระเงินล่วงหน้าไปแล้ว แต่รัฐบาลอิตาลียกเลิกสัญญาและนำเรือมาเป็นของตัวเอง จนทำให้กองทัพเรือไทยไม่ได้รับเรือทั้ง 2 ลำตามข้อตกลง หลังการฟ้องร้องเสร็จสิ้นรัฐบาลอิตาลีต้องชดใช้เงินคืนเป็นจำนวน 601,360 ปอนด์สเตอริงก์ ทว่าอิตาลีได้เสนอเป็นอะไหล่สำหรับซ่อมแซมและปรับปรุงเรือตอร์ปิโดใหญ่ชั้นเรือหลวงตราด ทดแทนเงินสดจำนวนหนึ่งที่ต้องชดเชยกลับคืนมา กองทัพเรือไทยนำอะไหล่ดังกล่าวมาซ่อมแซมและปรับปรุงเรือชั้นเรือหลวงตราด ให้คงสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานต่อไป

ที่มา : http://thaimilitary.blogspot.com/2016_04_01_archive.html

https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=1627435
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าจะเอาตามหลักจิตวิทยา คือ อิตาลี ไม่ได้กระเหี้ยนกระหือรือจะเข้าร่วมสงครามอะไรเท่าไหร่ครับ เพราะประเทศตัวเองก็ไม่ได้อัตคัตขาดแคลนแบบญี่ปุ่น หรือ โดนกดหัวจนหน้าจูบดินแบบ เยอรมัน อาจจะมีหงุดหงิดบ้างเพราะชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ไม่ค่อยได้อะไรเท่าไหร่ (แต่ถ้าดูตามผลงาน ก็ไม่ค่อยทำอะไรจริงๆแหละ) ซึ่งอันนี้ต้องดูแยกครับ ว่านโยบายของรัฐบาล กับ ความต้องการของประชาชนมันสวนทางกัน

- อิตาลี มีความเป็นอยู่ที่ดี อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ แหลมอิตาลี ก็คล้ายๆประเทศไทยนี่แหละ คือมีผลไม้ ปลูกข้าวสาลี แป้ง ขนมปัง ไวน์ กาแฟ เลี้ยงสัตว์ ทำได้หมด ในขณะที่ดินแดนที่พวกรัฐบาลต้องการไปตี อย่าง กรีซ อียิปต์ เอธิโอเปีย ไซปรัส บาสเตีย ตูนิเซีย ลิเบีย หรือ บอลข่าน เป็นดินแดนที่ไม่ได้อุดมสมบูรณ์หรือมีทรัพยากรอะไร ... ดังนั้น ประชาชนเลยเกิดคำถามว่า "จะไปรบเพื่อ?"

- ในระดับรัฐบาล มุสโสลินี แกประกาศแคมเปญ 'คืนชีพอาณาจักรโรมัน' ขึ้นมาใหม่ ซึ่งหลักๆก็เพื่อกระตุ้นลัทธิทหารและชาตินิยมแบบฟาสซิสต์ ผมว่าแกฉลาดมากนะ เพราะการประกาศแบบนี้ ไม่เป็นการ 'เหยียบเท้า' ฮิตเลอร์ เพราะดินแดนที่ อิตาลีต้องการนั้น เยอรมัน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยเลย (แต่ดันต้องมาช่วยรบ 55) ถ้าไปประกาศจะรวบฝรั่งเศส ผมว่าโดนเยอรมันตบคว่ำก่อนแน่

- เทคโนโลยี ทางทหาร ... โอเค อิตาลี อาจจะดีกว่าค่าเฉลี่ย แต่ก็ไม่ได้ดีมากขนาด สามมหาอำนาจยุโรป (UK-GER-FRA) พอเป็นฝ่ายบุกประเทศเล็กๆที่สู้ยิบตา อย่างพวก บอลข่าน กรีซ หรือ อัฟริกาเหนือ กลายเป็นว่า เคี้ยวไม่ได้ง่ายๆ กลับกัน พออิตาลี เป็นฝ่ายตั้งรับในช่วงท้ายสงคราม ก็จัดว่าเหนียวพอตัว ถ้าไม่ได้กองใหญ่อย่าง สหรัฐฯ ผมว่าเนเปิ้ล กับ ซิซิลี ไม่แตกง่ายขนาดนี้หรอกครับ

- ส่วนการรบในอัฟริกาเหนือ กับอังกฤษ ผมไม่ถือว่าเป็นมวยตัวเท่าๆกันนะ เพราะอังกฤษน่ะ รุ่นใหญ่กว่าเยอะ เกือบๆจะต่อยกับเยอรมันได้แล้วด้วย (มอนต์โกเมอรี่ ท็อปฟอร์มจริงๆ) กับฝรั่งเศส มองว่าสูสี แต่การเป็นฝ่ายบุกก็ยากกว่าตั้งรับอยู่แล้ว ในทางกลับกัน ต่อให้ฝรั่งเศสในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ไม่น่าจะบุกตีอิตาลีได้เหมือนกัน

ส่วนเรื่องเบี้ยวเรือไทย อันนี้พิสูจน์ความเป็นญาติกันของ ไทย-เลี่ยน ได้เป็นอย่างดีครับ ! เอาจริงๆก็แทบไม่เคยเห็นไทยเสียเหลี่ยมชาติมหาอำนาจไหนแบบหน้าด้านๆแบบนี้มาก่อน (อิตาลี เขามองว่าเป็นการยกเลิกด้วยความเต็มใจ เพราะตอนนั้น ทั้งสองชาติ ก็เข้าร่วมฝ่ายอักษะด้วยกันแล้ว ถือเป็นพันธมิตรกันแบบเต็มๆ เลย "ขอยืม" เรือไปรบก่อน อะไรแบบนั้น)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่