"ถ้ากรุงสยามมีเรือดำน้ำ จะเปนเครื่องป้องกันสำคัญมากหรือจะนับว่าเปนเครื่องป้องกันอย่างดีที่สุดก็ว่าได้" - กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 2 มีนาคม 2462
วันที่ 30 พฤศจิกายน เป็นครบรอบวันสำคัญอีกวันหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของเรือดำน้ำไทย โดยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 กองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ จำนวน 4 ลำ ได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล นับเป็นการปิดฉากเรือดำน้ำไทยหลังจากประจำการรับใช้ชาติอยู่เป็นเวลาเกือบ 13 ปี
กองทัพเรือได้เริ่มความสนใจในการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.2453 ในเอกสารโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453 โดยนายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นายพลเรือตรี พระยาราชวังสรรค์ และนายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร ได้จัดทำขึ้นถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้กำหนดให้มีเรือ ส. (สับมะรีน หรือเรือดำน้ำ) จำนวน 6 ลำ และต่อมาในปี พ.ศ.2458 นายเรือโท พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้ทรงจัดทำเอกสารรายงานความคิดเห็นเรื่องเรือ ส. ระบุถึงข้อมูลแนวทางการจัดหาเรือดำน้ำ การใช้งาน และสิ่งสนับสนุนต่างๆ โดยละเอียด
จนกระทั่งเป็นเวลาอีก 20 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2478 กองทัพเรือจึงได้เริ่มการจัดหาเรือดำน้ำ โดยได้ตกลงสร้างเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ จากอู่ต่อเรือมิตซูบิชิโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล ซึ่งกองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำ 2 ลำแรก คือ ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2480 และต่อมากองทัพเรือจึงได้กำหนดให้วันที่ 4 กันยายนของทุกปีเป็น "วันเรือดำน้ำ"
เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2481 และกองทัพเรือได้ขึ้นระวางประจำการเรือทั้ง 4 ลำ ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2481 โดยในระหว่างสงครามอินโดจีน หลังจากยุทธนาวีที่เกาะช้างเมื่อปี พ.ศ.2484 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ทำการลาดตระเวนบริเวณหน้าฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส สร้างความหวั่นเกรงให้กับฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ต่อมาในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงไฟฟ้าสามเสนและวัดเลียบได้ถูกทิ้งระเบิดจนไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และกองทัพเรือได้รับการร้องขอให้นำเรือดำน้ำไปทำการจ่ายกระแสไฟฟ้า ทำให้รถรางในกรุงเทพสามารถวิ่งได้ตามปกติ
อย่างไรก็ดี หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนอะไหล่ให้กับเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำของไทยได้ นอกจากนี้หลังจากเหตุการณ์กบฎแมนฮัตตัน เมื่อปี 29 มิถุนายน พ.ศ.2494 ทำให้กองทัพเรือถูกปรับลดโครงสร้างและถูกจำกัดงบประมาณเป็นอย่างมาก โดยกระทรวงกลาโหมได้ลงคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2494 และกองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ในที่สุดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 นับเป็นการปิดฉากเรือดำน้ำไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ภายหลังจากปลดระวางประจำการ ตัวเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ถูกขายให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ คงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องตาเรือ โดยกองทัพเรือได้สร้างสะพานเดินเรือจำลองเพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ และที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังวัดสมุทรปราการ
รายละเอียดของเรือดำน้ำมีดังนี้
กองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท มิตซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น ต่อเรือดำน้ำ ขนาด 370 ตัน จำนวน 4 ลำ ลำละ 820,000 บาท โดยได้รับ พระราชทานชื่อว่า เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำของกองทัพเรือประสบปัญหาขาดแคลนอะไหล่ ทำให้ต้องปลดระวางในปี 2492 รวมเวลาเข้าประจำการได้ 12 ปี นับแต่นั้นมากองทัพเรือไทยก็ยังไม่มีเรือดำน้ำเข้าประการอีกเล
เรือดำน้ำ ทั้งสี่ลำ ประจำในกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล เป็นชื่อพระราชทาน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2480
เรือหลวงมัจฉาณุ (HTMS Matchanu) หมายเลขเรือ 1 เป็นชื่อพระราชทาน มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ มัจฉานุ จากเรื่องรามเกียรติ์ มี เรือเอกซุ้ย นพคุณ เป็นผู้บังคับการเรือ วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2479
เรือหลวงวิรุณ (HTMS Wirun) หมายเลขเรือ 2 เป็นชื่อพระราชทาน มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ วิรุณจำบัง จากเรื่องรามเกียรติ์ มี เรือเอก พร เดชดำรง เป็นผู้บังคับการเรือ. วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2479
เรือหลวงสินสมุทร (HTMS Sinsamut) หมายเลขเรือ 3 เป็นชื่อพระราชทาน มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ สินสมุทร จากเรื่องพระอภัยมณี มี เรือเอก สนอง ธนาคม เป็นผู้บังคับการเรือ วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
เรือหลวงพลายชุมพล (HTMS Phlai-chumphon) หมายเลขเรือ 4 เป็นชื่อพระราชทานมาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ พลายชุมพล จากเรื่องขุนช้างขุนแผน มี เรือเอก สาคร จันทประสิทธิ์ เป็นผู้บังคับการเรือ วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
เรือหลวงมัจฉาณุ และเรือหลวงวิรุณ ประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 ทางบริษัทมิตซูบิชิได้จัดพิธีส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ
เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์ บริษัทมิตซูบิชิได้ทำพิธีส่งมอบเป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2481
เรือดำน้ำของไทยทั้งสี่ลำ เดินทางออกจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2481 ถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ออกไปลาดตระเวนอยู่หน้าฐานทัพเรือเรียม (กัมพูชา) ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด
เรือหลวงมัจฉาณุปลดประจำการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พร้อมกันทั้ง 4 ลำ เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก และไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และโรงงานแบตเตอรีของไทยที่ตั้งขึ้นก็ไม่สามารถผลิตแบตเตอรีสำหรับใช้ประจำเรือได้ ประกอบกับเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในกองทัพเรือ มีคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำ โอนย้ายไปรวมกับหมวดเรือตรวจฝั่งที่ตั้งขึ้นใหม่
สมรรถนะของเรือดำน้ำของราชนาวีไทย
ระวางขับน้ำ
• บนผิวน้ำ 374.50 ตัน
• ขณะดำ 430 ตัน
ความยาว • 51 เมตร
ความกว้าง • 4.10 เมตร
ความสูง • 11.65 เมตร
กินน้ำลึก • 3.60 เมตร
เครื่องยนต์ • เครื่องยนต์ดีเซล 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง • เครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้า 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ)
ความเร็ว • ผิวน้ำ 15.70 นอต • ใต้น้ำ 8.10 นอต • มัธยัสต์ 10 นอต
รัศมีทำการ 4,770 ไมล์ทะเล (8,830 กิโลเมตร)
กำลังพลประจำการ • ทหารประจำเรือ 33 นาย เป็นนายทหาร 5 นาย พันจ่า จ่า 28 นาย
ระบบอาวุธ • ตอร์ปิโดขนาด 45 ซม. แบบ เอ.เค. เรียงทางตั้งที่หัวเรือ 4 ท่อ • ปินใหญ่ขนาด 8 ซม. 1 กระบอก • ปืนกลลูวิสต่อสู้อากาศยานขนาด 7.7 มม. 1 กระบอก
ที่มา
http://rach1968.blogspot.com/2014/09/blog-post_5.html
http://goo.gl/OyFpRh
http://goo.gl/sc3CBC
ครบรอบ 63 ปี ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ ปิดฉากเรือดำน้ำไทย
วันที่ 30 พฤศจิกายน เป็นครบรอบวันสำคัญอีกวันหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของเรือดำน้ำไทย โดยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 กองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ จำนวน 4 ลำ ได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล นับเป็นการปิดฉากเรือดำน้ำไทยหลังจากประจำการรับใช้ชาติอยู่เป็นเวลาเกือบ 13 ปี
กองทัพเรือได้เริ่มความสนใจในการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.2453 ในเอกสารโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453 โดยนายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นายพลเรือตรี พระยาราชวังสรรค์ และนายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร ได้จัดทำขึ้นถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้กำหนดให้มีเรือ ส. (สับมะรีน หรือเรือดำน้ำ) จำนวน 6 ลำ และต่อมาในปี พ.ศ.2458 นายเรือโท พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้ทรงจัดทำเอกสารรายงานความคิดเห็นเรื่องเรือ ส. ระบุถึงข้อมูลแนวทางการจัดหาเรือดำน้ำ การใช้งาน และสิ่งสนับสนุนต่างๆ โดยละเอียด
จนกระทั่งเป็นเวลาอีก 20 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2478 กองทัพเรือจึงได้เริ่มการจัดหาเรือดำน้ำ โดยได้ตกลงสร้างเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ จากอู่ต่อเรือมิตซูบิชิโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล ซึ่งกองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำ 2 ลำแรก คือ ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2480 และต่อมากองทัพเรือจึงได้กำหนดให้วันที่ 4 กันยายนของทุกปีเป็น "วันเรือดำน้ำ"
เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2481 และกองทัพเรือได้ขึ้นระวางประจำการเรือทั้ง 4 ลำ ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2481 โดยในระหว่างสงครามอินโดจีน หลังจากยุทธนาวีที่เกาะช้างเมื่อปี พ.ศ.2484 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ทำการลาดตระเวนบริเวณหน้าฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส สร้างความหวั่นเกรงให้กับฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ต่อมาในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงไฟฟ้าสามเสนและวัดเลียบได้ถูกทิ้งระเบิดจนไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และกองทัพเรือได้รับการร้องขอให้นำเรือดำน้ำไปทำการจ่ายกระแสไฟฟ้า ทำให้รถรางในกรุงเทพสามารถวิ่งได้ตามปกติ
อย่างไรก็ดี หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนอะไหล่ให้กับเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำของไทยได้ นอกจากนี้หลังจากเหตุการณ์กบฎแมนฮัตตัน เมื่อปี 29 มิถุนายน พ.ศ.2494 ทำให้กองทัพเรือถูกปรับลดโครงสร้างและถูกจำกัดงบประมาณเป็นอย่างมาก โดยกระทรวงกลาโหมได้ลงคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2494 และกองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ในที่สุดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 นับเป็นการปิดฉากเรือดำน้ำไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ภายหลังจากปลดระวางประจำการ ตัวเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ถูกขายให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ คงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องตาเรือ โดยกองทัพเรือได้สร้างสะพานเดินเรือจำลองเพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ และที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังวัดสมุทรปราการ
รายละเอียดของเรือดำน้ำมีดังนี้
กองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท มิตซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น ต่อเรือดำน้ำ ขนาด 370 ตัน จำนวน 4 ลำ ลำละ 820,000 บาท โดยได้รับ พระราชทานชื่อว่า เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำของกองทัพเรือประสบปัญหาขาดแคลนอะไหล่ ทำให้ต้องปลดระวางในปี 2492 รวมเวลาเข้าประจำการได้ 12 ปี นับแต่นั้นมากองทัพเรือไทยก็ยังไม่มีเรือดำน้ำเข้าประการอีกเล
เรือดำน้ำ ทั้งสี่ลำ ประจำในกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล เป็นชื่อพระราชทาน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2480
เรือหลวงมัจฉาณุ (HTMS Matchanu) หมายเลขเรือ 1 เป็นชื่อพระราชทาน มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ มัจฉานุ จากเรื่องรามเกียรติ์ มี เรือเอกซุ้ย นพคุณ เป็นผู้บังคับการเรือ วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2479
เรือหลวงวิรุณ (HTMS Wirun) หมายเลขเรือ 2 เป็นชื่อพระราชทาน มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ วิรุณจำบัง จากเรื่องรามเกียรติ์ มี เรือเอก พร เดชดำรง เป็นผู้บังคับการเรือ. วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2479
เรือหลวงสินสมุทร (HTMS Sinsamut) หมายเลขเรือ 3 เป็นชื่อพระราชทาน มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ สินสมุทร จากเรื่องพระอภัยมณี มี เรือเอก สนอง ธนาคม เป็นผู้บังคับการเรือ วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
เรือหลวงพลายชุมพล (HTMS Phlai-chumphon) หมายเลขเรือ 4 เป็นชื่อพระราชทานมาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ พลายชุมพล จากเรื่องขุนช้างขุนแผน มี เรือเอก สาคร จันทประสิทธิ์ เป็นผู้บังคับการเรือ วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
เรือหลวงมัจฉาณุ และเรือหลวงวิรุณ ประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 ทางบริษัทมิตซูบิชิได้จัดพิธีส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ
เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์ บริษัทมิตซูบิชิได้ทำพิธีส่งมอบเป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2481
เรือดำน้ำของไทยทั้งสี่ลำ เดินทางออกจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2481 ถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ออกไปลาดตระเวนอยู่หน้าฐานทัพเรือเรียม (กัมพูชา) ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด
เรือหลวงมัจฉาณุปลดประจำการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พร้อมกันทั้ง 4 ลำ เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก และไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และโรงงานแบตเตอรีของไทยที่ตั้งขึ้นก็ไม่สามารถผลิตแบตเตอรีสำหรับใช้ประจำเรือได้ ประกอบกับเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในกองทัพเรือ มีคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำ โอนย้ายไปรวมกับหมวดเรือตรวจฝั่งที่ตั้งขึ้นใหม่
สมรรถนะของเรือดำน้ำของราชนาวีไทย
ระวางขับน้ำ
• บนผิวน้ำ 374.50 ตัน
• ขณะดำ 430 ตัน
ความยาว • 51 เมตร
ความกว้าง • 4.10 เมตร
ความสูง • 11.65 เมตร
กินน้ำลึก • 3.60 เมตร
เครื่องยนต์ • เครื่องยนต์ดีเซล 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง • เครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้า 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ)
ความเร็ว • ผิวน้ำ 15.70 นอต • ใต้น้ำ 8.10 นอต • มัธยัสต์ 10 นอต
รัศมีทำการ 4,770 ไมล์ทะเล (8,830 กิโลเมตร)
กำลังพลประจำการ • ทหารประจำเรือ 33 นาย เป็นนายทหาร 5 นาย พันจ่า จ่า 28 นาย
ระบบอาวุธ • ตอร์ปิโดขนาด 45 ซม. แบบ เอ.เค. เรียงทางตั้งที่หัวเรือ 4 ท่อ • ปินใหญ่ขนาด 8 ซม. 1 กระบอก • ปืนกลลูวิสต่อสู้อากาศยานขนาด 7.7 มม. 1 กระบอก
ที่มา
http://rach1968.blogspot.com/2014/09/blog-post_5.html
http://goo.gl/OyFpRh
http://goo.gl/sc3CBC