เรือหลวงสินสมุทร 1 ใน 4 ลำ ที่สั่งซื้อมาจากญี่ปุ่น
---------------
๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑
เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจฉานุ (ลำที่ ๒) และ
เรือหลวงวิรุณ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งต่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย
เรือดำน้ำที่ประเทศไทยได้สั่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น ได้ต่อเสร็จก่อนสองลำแรกในจำนวนสี่ลำ คือ เรือหลวงมัจฉานุ และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งได้มีพิธีส่งมอบเรือทั้งสองลำให้แก่ กองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๘๐ โดยมี พระมิตรกรรมรักษา อัครราชทูตไทยในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีการปล่อยเรือทั้ง ๒ ลำ ซึ่งต่อมาได้ถือว่า วันที่ ๔ กันยายน ของทุกปี ถือเป็น
"วันที่ระลึกเรือดำน้ำไทย"
ต่อมาในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๘๑
บริษัทมิตซูบิชิ ได้ทำพิธีส่งมอบเรือดำน้ำที่เหลืออีก ๒ ลำ คือ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ให้แก่ กองทัพเรือไทย และเมื่อกองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำครบทั้ง ๔ ลำแล้ว จึงได้เริ่มลงมือฝึกศึกษาตามหลักสูตรทางวิชาการของเรือดำน้ำเพิ่มเติมจนคล่องแคล่ว จึงได้ถอนสมอออกเรือจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น กลับสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๑ โดยกำลังพลทั้ง ๔ ลำ ประกอบไปด้วย นายทหารสัญญาบัตร ๒๐ นาย นายทหารประทวน ๑๓๔ นาย มี นาวาตรี ซุ้ย (กนก) นพคุณ เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงมัจฉานุ เรือเอก พร เดชดำรง เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงวิรุณ เรือเอก สาคร จันทร์ประสิทธิ์ เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงพลายชุมพล และ เรือเอก สนอง ธนศักดิ์ เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร
เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ออกเดินทางจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มาแวะจอดที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเดินทางฝ่าคลื่นลมมาถึงฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๑ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ ไมล์ ใช้เวลาเดินเรือและแวะเมืองท่ารวม ๒๔ วัน และเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ทำการออกฝึกอย่างต่อเนื่อง
เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ เป็นเรือดำน้ำขนาด ๓๗๐ ตัน ในสนนราคาลำละ ๘๘๒,๐๐๐ บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกัน คือระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ๒๔๗๙ หลังจากมาถึงประเทศไทย ก็ได้ขึ้นระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๘๑
จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้อุบัติขึ้น กองทัพเรือ ได้ส่งเรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ไปทำการลาดตระเวนเป็นแนวหน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของแหลมอินโดจีน เพื่อป้องกันกองทัพฝรั่งเศสที่จะลอบเข้ามาโจมตีประเทศไทย โดยเรือทั้งสี่ลำจะใช้เวลาอยู่ใต้น้ำ เพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ถึงวันละ ๑๒ ชั่วโมง ซึ่งปฏิบัติการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างความยำเกรงให้แก่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ซึ่งบทบาทของเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทยนี้เป็นที่กล่าวขานถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของราชนาวีไทย เมื่อเทียบกับกำลังของมหาอำนาจที่มีอยู่เหนือกว่า
ในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ กองทัพเรือได้ส่งนายทหารสัญญาบัตรและประทวน (บางท่านเคยประจำเรือดำน้ำมาก่อน) และช่างของกรมอู่ทหารเรือไปศึกษาและฝึกงานการสร้างแบตเตอรี่ในญี่ปุ่นด้วยความมุ่งหมาย ที่จะผลิตจะแบตเตอรี่ขึ้นใช้ในราชการเอง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่ใช้กับเรือดำน้ำ เมื่อคณะทหารและช่างชุดนี้กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ก็ได้จัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่และสีขึ้นทดลองและพัฒนางานี้จนเป็นโรงงานที่ใกล้จะสมบูรณ์ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ส่งนายทหารไปศึกษาต่อในต่างประเทศและได้พัฒนางานต่อไป เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ แล้ว หน่วยงานนี้ก็ต้องย้ายไปสังกัดกระทรวงกลาโหม และแปรสภาพเป็นองค์การแบตเตอรี่ในเวลาต่อมา
เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามและไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทธโธปกรณ์ขายอีก กองทัพเรือจึงเริ่มขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ของเรือดำน้ำ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ประจำเรือซึ่งได้ใช้งานมาถึง ๙ ปีแล้ว โรงงานแบตเตอรี่และสีที่ตั้งขึ้นก็ยังไม่สามารถผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ได้ ชาติพันธมิตรของเราก็ไม่มีนโยบายที่จะช่วยเหลือประเทศไทยในเรื่องเรือดำน้ำ กองทัพเรือจึงจำเป็นต้องปลดเรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำออกจากประจำการ ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๔ การมีเรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย จึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้น
เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๔๘๑ ปลดระวางประจำการ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ นับว่าได้รับใช้ชาติเป็นเวลา 12 ปีเศษ และวาระสุดท้ายคือ ได้มีการขายเรือดังกล่าวไปให้บริษัทปูนซีเมนต์ คงเหลือแต่หอเรือดำน้ำและอาวุธบางชิ้น เช่น ปืนและกล้องส่อง ทางกองทัพเรือได้สร้างสะพานเดินเรือจำลองขึ้น แล้วนำอาวุธมาติดตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ จัดแสดงไว้หน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ ริมถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
มีคนตั้งข้อสังเกตว่า สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ กรณีแมนฮัตตัน เกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๔ และเรือทั้ง ๔ ลำได้ปลดระวาง ใน ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรือดำน้ำขาดแคลนอะไหล่อยู่ 5 ปีเต็ม ไม่ได้ซ่อมบำรุงเลย และเหตุที่ถูกปลดระวาง น่าจะมาจากกรณี แมนฮัตตัน มากกว่าภาวะหลังสงครามโลก เพราะเรืออายุ ๑๒ ปี ถ้ามีการซ่อมบำรุงดี ยังใช้ได้อีกนาน
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
✿
เราเคยมี "เรือดำน้ำ" ก็จริง แต่ขนาดของเรือสมัยนี้กับสมัยก่อน ต่างกันมากมายหลายเท่านัก
------------------
และที่สำคัญสุดก็คือ ท้องทะเลที่ตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ นั่นอีก
แต่อะไรก็ไม่สำคัญไปกว่า ยามนี้เราแทบไม่เหลือเงินคงคลังแล้ว
ซื้อช้ากว่านี้หน่อยได้มั้ย เพราะในช่วงนี้คงยังไม่มีสงครามแน่
สมัยนี้เขาสู้กันด้วย
"สงครามเศรษฐกิจ" ไม่ได้สู้รบกันด้วย
"สงครามทางอาวุธ"
ทราบดีว่าทหารเรือมีการสั่งซื้ออาวุธน้อยกว่าทุกเหล่าทัพ
✿ "เรือดำน้ำ" ชุดแรกของกองทัพเรือไทย เราเคยมีเรือดำน้ำมาแล้วจ้า... ✿
---------------
๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑ เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจฉานุ (ลำที่ ๒) และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งต่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย
เรือดำน้ำที่ประเทศไทยได้สั่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น ได้ต่อเสร็จก่อนสองลำแรกในจำนวนสี่ลำ คือ เรือหลวงมัจฉานุ และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งได้มีพิธีส่งมอบเรือทั้งสองลำให้แก่ กองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๘๐ โดยมี พระมิตรกรรมรักษา อัครราชทูตไทยในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีการปล่อยเรือทั้ง ๒ ลำ ซึ่งต่อมาได้ถือว่า วันที่ ๔ กันยายน ของทุกปี ถือเป็น "วันที่ระลึกเรือดำน้ำไทย"
ต่อมาในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๘๑ บริษัทมิตซูบิชิ ได้ทำพิธีส่งมอบเรือดำน้ำที่เหลืออีก ๒ ลำ คือ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ให้แก่ กองทัพเรือไทย และเมื่อกองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำครบทั้ง ๔ ลำแล้ว จึงได้เริ่มลงมือฝึกศึกษาตามหลักสูตรทางวิชาการของเรือดำน้ำเพิ่มเติมจนคล่องแคล่ว จึงได้ถอนสมอออกเรือจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น กลับสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๑ โดยกำลังพลทั้ง ๔ ลำ ประกอบไปด้วย นายทหารสัญญาบัตร ๒๐ นาย นายทหารประทวน ๑๓๔ นาย มี นาวาตรี ซุ้ย (กนก) นพคุณ เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงมัจฉานุ เรือเอก พร เดชดำรง เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงวิรุณ เรือเอก สาคร จันทร์ประสิทธิ์ เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงพลายชุมพล และ เรือเอก สนอง ธนศักดิ์ เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร
เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ออกเดินทางจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มาแวะจอดที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเดินทางฝ่าคลื่นลมมาถึงฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๑ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ ไมล์ ใช้เวลาเดินเรือและแวะเมืองท่ารวม ๒๔ วัน และเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ทำการออกฝึกอย่างต่อเนื่อง
เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ เป็นเรือดำน้ำขนาด ๓๗๐ ตัน ในสนนราคาลำละ ๘๘๒,๐๐๐ บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกัน คือระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ๒๔๗๙ หลังจากมาถึงประเทศไทย ก็ได้ขึ้นระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๘๑
จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้อุบัติขึ้น กองทัพเรือ ได้ส่งเรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ไปทำการลาดตระเวนเป็นแนวหน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของแหลมอินโดจีน เพื่อป้องกันกองทัพฝรั่งเศสที่จะลอบเข้ามาโจมตีประเทศไทย โดยเรือทั้งสี่ลำจะใช้เวลาอยู่ใต้น้ำ เพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ถึงวันละ ๑๒ ชั่วโมง ซึ่งปฏิบัติการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างความยำเกรงให้แก่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ซึ่งบทบาทของเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทยนี้เป็นที่กล่าวขานถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของราชนาวีไทย เมื่อเทียบกับกำลังของมหาอำนาจที่มีอยู่เหนือกว่า
ในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ กองทัพเรือได้ส่งนายทหารสัญญาบัตรและประทวน (บางท่านเคยประจำเรือดำน้ำมาก่อน) และช่างของกรมอู่ทหารเรือไปศึกษาและฝึกงานการสร้างแบตเตอรี่ในญี่ปุ่นด้วยความมุ่งหมาย ที่จะผลิตจะแบตเตอรี่ขึ้นใช้ในราชการเอง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่ใช้กับเรือดำน้ำ เมื่อคณะทหารและช่างชุดนี้กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ก็ได้จัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่และสีขึ้นทดลองและพัฒนางานี้จนเป็นโรงงานที่ใกล้จะสมบูรณ์ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ส่งนายทหารไปศึกษาต่อในต่างประเทศและได้พัฒนางานต่อไป เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ แล้ว หน่วยงานนี้ก็ต้องย้ายไปสังกัดกระทรวงกลาโหม และแปรสภาพเป็นองค์การแบตเตอรี่ในเวลาต่อมา
เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามและไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทธโธปกรณ์ขายอีก กองทัพเรือจึงเริ่มขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ของเรือดำน้ำ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ประจำเรือซึ่งได้ใช้งานมาถึง ๙ ปีแล้ว โรงงานแบตเตอรี่และสีที่ตั้งขึ้นก็ยังไม่สามารถผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ได้ ชาติพันธมิตรของเราก็ไม่มีนโยบายที่จะช่วยเหลือประเทศไทยในเรื่องเรือดำน้ำ กองทัพเรือจึงจำเป็นต้องปลดเรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำออกจากประจำการ ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๔ การมีเรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย จึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้น
เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๔๘๑ ปลดระวางประจำการ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ นับว่าได้รับใช้ชาติเป็นเวลา 12 ปีเศษ และวาระสุดท้ายคือ ได้มีการขายเรือดังกล่าวไปให้บริษัทปูนซีเมนต์ คงเหลือแต่หอเรือดำน้ำและอาวุธบางชิ้น เช่น ปืนและกล้องส่อง ทางกองทัพเรือได้สร้างสะพานเดินเรือจำลองขึ้น แล้วนำอาวุธมาติดตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ จัดแสดงไว้หน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ ริมถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
มีคนตั้งข้อสังเกตว่า สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ กรณีแมนฮัตตัน เกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๔ และเรือทั้ง ๔ ลำได้ปลดระวาง ใน ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรือดำน้ำขาดแคลนอะไหล่อยู่ 5 ปีเต็ม ไม่ได้ซ่อมบำรุงเลย และเหตุที่ถูกปลดระวาง น่าจะมาจากกรณี แมนฮัตตัน มากกว่าภาวะหลังสงครามโลก เพราะเรืออายุ ๑๒ ปี ถ้ามีการซ่อมบำรุงดี ยังใช้ได้อีกนาน
✿ เราเคยมี "เรือดำน้ำ" ก็จริง แต่ขนาดของเรือสมัยนี้กับสมัยก่อน ต่างกันมากมายหลายเท่านัก
------------------
และที่สำคัญสุดก็คือ ท้องทะเลที่ตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ นั่นอีก
แต่อะไรก็ไม่สำคัญไปกว่า ยามนี้เราแทบไม่เหลือเงินคงคลังแล้ว
ซื้อช้ากว่านี้หน่อยได้มั้ย เพราะในช่วงนี้คงยังไม่มีสงครามแน่
สมัยนี้เขาสู้กันด้วย "สงครามเศรษฐกิจ" ไม่ได้สู้รบกันด้วย "สงครามทางอาวุธ"
ทราบดีว่าทหารเรือมีการสั่งซื้ออาวุธน้อยกว่าทุกเหล่าทัพ