บทเรียนเมื่อไทยซื้อเรือรบใกล้ช่วงสงคราม และถูกประเทศผู้ผลิตยึดไป

เมื่อไทยซื้อเรือรบใกล้ช่วงสงคราม ทำให้ไม่ทันใช้รบที่เกาะช้าง และถูกประเทศผู้ผลิตยึดไป โดยตามแผนของกองทัพเรือในสมัยรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ที่มีโครงการตามพระราชบัญญัติบำรุงกองทัพสยาม ค.ศ.1935 จึงได้มีการเตรียมจัดหาเรือลาดตระเวนเบาจำนวน 2 ลำ โดยไปลงตัวที่อิตาลี ในราคา 1,207,720 ปอนด์ ที่เเยกเป็นราคาของอาวุธอีก 278,400 ปอนด์ ทั้งนี้เราสั่งต่อเรือลาดตระเวนเบาทั้ง 2 ลำจากอู่ต่อเรือเเคนเทียรี่ รูนนิติ เเดล'อาเดรียอาติโก ในเมืองตริเอสเต จนได้รับพระราชทานชื่อว่า รล.ตากสิน และ รล.นเรศวร ลำที่ 1 โดย รล.ตากสิน ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1939 เเละปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1942 ส่วน รล.นเรศวร ลำที่ 1 ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.1939 เเละปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1941 แต่ทั้ง 2 ลำ ก็มาไม่ถึงประเทศไทย ทั้งที่ได้มีการเตรียมกำลังพลเพื่อรอรับเรือแล้ว สืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกำลังคุกรุ่นในทวีปยุโรป และการเจรจาที่ไม่บรรลุผลเรื่องเขตแดนระหว่างฝรั่งเศส - ไทย จนถึงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชน ร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาล (สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) ให้เอาดินแดนอีกฝั่งของแม่น้ำโขง (แถบลาว, กัมพูชา) ที่เสียไปสมัยยุคล่าอาณานิคมคืนมา จึงเกิดความตึงเครียด ฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศสได้เริ่มปฏิบัติการทางทหาร ส่งเครื่องบินเข้ารุกล้ำดินแดนไทยทาง จ. ตราด และเริ่มทิ้งระเบิดที่ จ. นครพนม ในที่สุดจึงเกิดการรบขึ้นทั้งทางบก น้ำ และอากาศ เหนือดินแดนไทย และดินแดนอินโดจีน ที่ในขณะนั้นเวียดนาม, ลาว, กัมพูชาอยู่ใต้การปกครองของวิชีฝรั่งเศส (ฝ่ายอักษะ) เมื่ออิตาลีประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความต้องการนําเรือลาดตระเวนทั้ง 2 ลําของไทยที่อยู่ในระหว่างการต่อเรือมาใช้เป็นเรือรบของฝ่ายตน โดย "เรือหลวงนเรศวร (ลำที่ 1) เรือหลวงตากสิน (ลำที่ 1) ถูกเปลี่ยนแบบเรือ และเปลี่ยนช่ือเป็น Vesuvio, Etna ตามลำดับ เพื่อนําเข้าสู่สงครามเป็นการเร่งด่วน แต่การต่อเรือก็ดําเนินไปอย่างล่าช้า และเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีอิตาลี เรือรบทั้ง 2 ลำนี้จึงถูกทิ้งระเบิดใส่จนจมลงในที่สุด

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่