หลังจากได้ดูรีเทิร์นออฟซุปเปอร์แมนไทยแลนด์ตอนล่าสุด ดิฉันรู้สึกฮึกเหิมมากค่ะ
ในที่สุดก็มีรายการโทรทัศน์ที่แก้แค้นให้กับวีรสตรีชาวไทยทั่วหล้า
โดยการจับเอาพวกผู้ชายพายเรือมาลองเลี้ยงลูกทั้งวันทั้งคืนดูบ้างงง จะได้รู้ว่ามันเหนื่อยนะเฟร้ยยยย
พวกนายไม่เคยรู้เลยสินะ ว่ามนุษย์แม่อย่างพวกเราต้องจัดการอะไรเยอะแยะขนาดไหน
ยิ่งช่วงคลอดมาใหม่ๆ ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว
ไหนจะลูกร้อง ไหนจะลูกดื้อ ไหนจะลูกป่วย ลูกจะกิน ลูกงองแง
แล้วถ้าเป็นลูกคนแรก ไม่ได้มีย่า ยายมาช่วยเลี้ยงนะ อื้อหืออออออ คุณขา
ความหนักหนาส่วนหนึ่งเกิดจาก ผู้หญิงไทยเราลาคลอดได้ 90 วันตามกฏหมาย (แต่ได้เงินแค่ 45 วันเท่านั้นนะ)
แต่ผู้ชายนี่ไม่มีสวัสดิการส่วนนี้คร่ะ เพราะงั้น ผู้หญิงไทย แกรต้องสตรองค์นะ เลี้ยงลูกคนเดียววนไปย่ะ
ในขณะที่ต่างประเทศเค้ามีสวัสดิการลาคลอดกันแบบอลังการงานสร้างมาก
เพราะเค้าเชื่อกันว่าการเลี้ยงเด็กสักคนให้โตมาสมบูรณ์ กลายมาเป็นพลเมืองที่ดีของชาตินั้นมีความสำคัญ
ยกตัวอย่างเบาๆ เช่น
1. สวีเดน : อนุญาตให้คุณแม่ลาคลอดได้ยาวนานถึง 480 วัน หรือประมาณ 1 ปี 4 เดือน โดยยังคงได้รับเงินเดือนร้อยละ 80 ของเงินเดือนปกติ และสิทธิ์ในการลานั้นยังไม่ได้จำกัดอยู่แค่ฝ่ายหญิง แต่ให้สิทธิ์การลาแก่ชายและหญิงอย่างเท่าเทียม โดยพ่อและแม่สามารถตกลงกันได้เองว่าใครจะลากี่วัน และวันลาทั้งหมดนั้นยังสามารถเก็บไว้ใช้ได้จนกระทั่งลูกอายุ 8 ปีอีกด้วย
2. อเมริกา : รัฐบาลกลางขอความร่วมมือให้บริษัทที่มีพนักงาน 50 คนขึ้นไป อนุญาตให้คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 12 สัปดาห์โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ ส่วนบริษัทเล็กๆจะอยู่ภายใต้นโยบายและกฎหมายของรัฐแต่ละรัฐที่บัญญัติเอง
3. คุณแม่ชาวอังกฤษ จะได้รับสิทธิในการลาคลอด 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
- Compulsory Maternity Leave สิทธินี้เป็นสิทธิที่กฏหมายกำหนด แม่ๆมีสิทธิลาได้ 2 สัปดาห์แน่นอนตามกฏหมาย
- Ordinary Maternity Leave จำนวน 26 สัปดาห์ กรณีนี้ คุณแม่มีสิทธิ์กลับมาทำงานในตำแหน่งเดิม ที่เดิมได้ รวมทั้งได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
- Additional Maternity Leave จำนวน 26 สัปดาห์ กรณีนี้ คุณแม่อาจจะสามารถกลับมาทำงานตำแหน่งเดิมที่เดิมได้ หรืออาจจะเป็นตำแหน่งอื่น ที่อื่น แต่จะยังคงได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
อ้างอิงจาก :
http://www.bmcsalarysurvey.com/knowledge_detail.php?id=27
เรื่องนี้อยากให้ถึงท่านผู้นำ หรือ CEO บริษัทต่างๆ
ทุกคนควรตระหนักว่า การเลี้ยงคนหนึ่งคนควรเป็นหน้าที่ของทั้งพ่อและแม่ช่วยกัน
ดิฉันสนับสนุนให้มีนโยบายเพิ่มวันลาเพื่อดูแลลูกของผู้ชาย อาจจะไม่ต้องเท่าผู้หญิงก็ได้ค่ะ
30 - 40 วันก็ได้ แค่มาช่วยดูและในช่วงที่คนเป็นแม่ต้องการใครสักคนมากที่สุด
และใครสักคนที่เราต้องการนั้น ก็อยากให้เป็นคนที่ร่วมสร้างกับเรา คนที่ร่วมการทำลูกด้วยกัน
นั้นก็คือคุณพ่อนั้นเองค่ะ
เรื่องนี้อยากให้ถึงท่านผู้นำ สนับสนุนให้คุณพ่อมีวันลาหยุดมาเลี้ยงลูกให้เท่ากับคุณแม่ค่ะ
ในที่สุดก็มีรายการโทรทัศน์ที่แก้แค้นให้กับวีรสตรีชาวไทยทั่วหล้า
โดยการจับเอาพวกผู้ชายพายเรือมาลองเลี้ยงลูกทั้งวันทั้งคืนดูบ้างงง จะได้รู้ว่ามันเหนื่อยนะเฟร้ยยยย
พวกนายไม่เคยรู้เลยสินะ ว่ามนุษย์แม่อย่างพวกเราต้องจัดการอะไรเยอะแยะขนาดไหน
ยิ่งช่วงคลอดมาใหม่ๆ ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว
ไหนจะลูกร้อง ไหนจะลูกดื้อ ไหนจะลูกป่วย ลูกจะกิน ลูกงองแง
แล้วถ้าเป็นลูกคนแรก ไม่ได้มีย่า ยายมาช่วยเลี้ยงนะ อื้อหืออออออ คุณขา
ความหนักหนาส่วนหนึ่งเกิดจาก ผู้หญิงไทยเราลาคลอดได้ 90 วันตามกฏหมาย (แต่ได้เงินแค่ 45 วันเท่านั้นนะ)
แต่ผู้ชายนี่ไม่มีสวัสดิการส่วนนี้คร่ะ เพราะงั้น ผู้หญิงไทย แกรต้องสตรองค์นะ เลี้ยงลูกคนเดียววนไปย่ะ
ในขณะที่ต่างประเทศเค้ามีสวัสดิการลาคลอดกันแบบอลังการงานสร้างมาก
เพราะเค้าเชื่อกันว่าการเลี้ยงเด็กสักคนให้โตมาสมบูรณ์ กลายมาเป็นพลเมืองที่ดีของชาตินั้นมีความสำคัญ
ยกตัวอย่างเบาๆ เช่น
1. สวีเดน : อนุญาตให้คุณแม่ลาคลอดได้ยาวนานถึง 480 วัน หรือประมาณ 1 ปี 4 เดือน โดยยังคงได้รับเงินเดือนร้อยละ 80 ของเงินเดือนปกติ และสิทธิ์ในการลานั้นยังไม่ได้จำกัดอยู่แค่ฝ่ายหญิง แต่ให้สิทธิ์การลาแก่ชายและหญิงอย่างเท่าเทียม โดยพ่อและแม่สามารถตกลงกันได้เองว่าใครจะลากี่วัน และวันลาทั้งหมดนั้นยังสามารถเก็บไว้ใช้ได้จนกระทั่งลูกอายุ 8 ปีอีกด้วย
2. อเมริกา : รัฐบาลกลางขอความร่วมมือให้บริษัทที่มีพนักงาน 50 คนขึ้นไป อนุญาตให้คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 12 สัปดาห์โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ ส่วนบริษัทเล็กๆจะอยู่ภายใต้นโยบายและกฎหมายของรัฐแต่ละรัฐที่บัญญัติเอง
3. คุณแม่ชาวอังกฤษ จะได้รับสิทธิในการลาคลอด 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
- Compulsory Maternity Leave สิทธินี้เป็นสิทธิที่กฏหมายกำหนด แม่ๆมีสิทธิลาได้ 2 สัปดาห์แน่นอนตามกฏหมาย
- Ordinary Maternity Leave จำนวน 26 สัปดาห์ กรณีนี้ คุณแม่มีสิทธิ์กลับมาทำงานในตำแหน่งเดิม ที่เดิมได้ รวมทั้งได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
- Additional Maternity Leave จำนวน 26 สัปดาห์ กรณีนี้ คุณแม่อาจจะสามารถกลับมาทำงานตำแหน่งเดิมที่เดิมได้ หรืออาจจะเป็นตำแหน่งอื่น ที่อื่น แต่จะยังคงได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
อ้างอิงจาก : http://www.bmcsalarysurvey.com/knowledge_detail.php?id=27
เรื่องนี้อยากให้ถึงท่านผู้นำ หรือ CEO บริษัทต่างๆ
ทุกคนควรตระหนักว่า การเลี้ยงคนหนึ่งคนควรเป็นหน้าที่ของทั้งพ่อและแม่ช่วยกัน
ดิฉันสนับสนุนให้มีนโยบายเพิ่มวันลาเพื่อดูแลลูกของผู้ชาย อาจจะไม่ต้องเท่าผู้หญิงก็ได้ค่ะ
30 - 40 วันก็ได้ แค่มาช่วยดูและในช่วงที่คนเป็นแม่ต้องการใครสักคนมากที่สุด
และใครสักคนที่เราต้องการนั้น ก็อยากให้เป็นคนที่ร่วมสร้างกับเรา คนที่ร่วมการทำลูกด้วยกัน
นั้นก็คือคุณพ่อนั้นเองค่ะ