ขอบคุณที่มา:
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000122057?tbref=hp#google_vignette
เผยสารพัดสิทธิของ "ต่างด้าว" ทำคนไทยอ่วม แบกทั้งค่ารักษา-ค่าคลอดบุตรของพม่าที่ข้ามมารักษาฝั่งไทย โดยใช้ “กองทุนสิทธิ ท.99” ปีละกว่า 1,500 ล้าน ไม่รวมกลุ่มที่เบี้ยวค่ารักษาพยาบาล เฉพาะ รพ.ตามแนวชายแดน สูญเงินแล้วกว่า 2,500 ล้านต่อปี ขณะที่เด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยได้สิทธิ “บัตรทอง” ทันที รักษาฟรีตลอดชีวิต อีกทั้งยังให้สิทธิเรียนฟรี 15 ปี แก่เด็กต่างด้าวทั้งที่เกิดในไทยและติดตามพ่อแม่เข้ามา ด้าน “ประธานสภาองค์การลูกจ้าง” ระบุหลายฝ่ายเสนอแยก “กองทุนประกันสังคม” เหตุลักษณะการใช้สิทธิของแรงงานไทยกับแรงงานข้ามชาติแตกต่างกัน
ประเด็นหนึ่งที่ร้อนแรงอย่างมากในขณะนี้คงหนี้ไม่พ้นกรณีที่ต่างด้าวทั้งที่เป็นแรงงานและไม่ใช่แรงงานเข้ามาใช้สิทธิต่างๆ ในประเทศไทยมากเกินพอดี จนคนไทยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าถูกคุกคามสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการทำมาหากิน สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิการเล่าเรียนของบุตร โดยอ้างคำว่า “สิทธิมนุษยชน” โดยเฉพาะเด็กต่างด้าวที่เกิดในไทยซึ่งได้สิทธิการรักษาพยาบาลฟรีตลอดชีวิต และสิทธิการเล่าเรียนฟรีถึง 15 ปี กระทั่งเกิดคำว่า “ภาษีคนไทย ใช้เลี้ยงต่างด้าว”
สิทธิการรักษาของต่างด้าวที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในขณะนี้คือ “กองทุนสิทธิ ท.99” (สิทธิบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ) ซึ่งเป้าหมายจริงๆ คือเพื่อดูแลการรักษาของกลุ่มคนที่รอการพิสูจน์สิทธิและพิสูจน์ไทย แต่ชาวพม่าพากันแห่ข้ามมารับการักษาและคลอดบุตรในโรงพยาบาลของไทยที่อยู่ใกล้ชายแดนไทย-พม่า โดยอาศัยช่องโหว่ของกองทุนดังกล่าว ซึ่งคนไข้ที่ใช้สิทธินี้สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษา โดยแต่ละปีกระทรวงสาธารณสุขของไทยต้องสูญเสียงบประมาณให้แก่กองทุนดังกล่าวถึง 1,500 ล้านบาทเลยทีเดียว อีกทั้งการแห่เข้ามารับการรักษาของผู้ป่วยต่างด้าวยังส่งผลให้คนไทยที่ไปใช้บริการถูกแย่งสิทธิการรักษา ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ของไทยต้องทำงานหนักขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนั้น ยังมีปัญหาผู้ป่วยต่างด้าวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐของไทยในพื้นที่ชายแดนไม่ยอมจ่ายค่ารักษา ซึ่งจากข้อมูลพบว่าในปีงบประมาณ 2562-2566 ค่ารักษาซึ่งโรงพยาบาลตามแนวชายแดนเรียกเก็บจากผู้ป่วยต่างด้าวไม่ได้นั้นสูงถึง 2,564 ล้านบาทต่อปี
ขณะที่ “สิทธิการรักษาฟรีของเด็กต่างด้าวที่เกิดในไทย” นั้น ประเทศไทยก็ใจป้ำให้เด็กทุกคนที่เกิดในไทยได้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่เราเรียกว่าบัตรทอง หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยถือว่าเป็นสิทธิการรักษาที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้คนไทยต้องแบกค่ารักษาให้เด็กต่างด้าวที่เกิดในไทยตั้งแต่เกิดยันตาย แม้จะเจ็บป่วยเป็นโรคที่ค่าใช้จ่ายสูง พ่อแม่ที่เป็นต่างด้าวไม่ต้องกังวลใจ เพราะมี “สิทธิบัตรทอง” คุ้มครอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถตรวจและรับการรักษาตั้งแต่โรคทั่วไป จนถึงโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไม่เว้นแม้แต่โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง หัวใจ เอชไอวี หลอดเลือดสมอง ก็ได้สิทธิการรักษาฟรี
ส่วน “สิทธิเรียนฟรี 15 ปี” ของเด็กต่างด้าวซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น พบว่าเด็กต่างด้าวจะได้สิทธิเหมือนเด็กไทยโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นเด็กต่างด้าวที่เกิดในไทยหรือเกิดในประเทศเพื่อนบ้านแต่ติดตามพ่อแม่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร ไม่มีสัญชาติไทย ก็สามารถเรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่ต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี และอยู่ในเขตอำนาจของรัฐไทยจะได้รับสิทธิ โดยยึดหลักความเท่าเทียม ซึ่งสิทธิทางการศึกษาที่เด็กต่างด้าวได้รับ ได้แก่
ค่าเล่าเรียน ชั้นอนุบาล ได้ 1,972 บาท/คน/ปี ชั้นประถมศึกษา 2,204 บาท/คน/ปี มัธยมตอนต้น 4,060 บาท/คน/ปี มัธยมตอนปลาย 4,408 บาท/คน/ปี ปวช.1-3 ได้รับ 13,613 บาท/คน/ปี
ค่าหนังสือเรียน ชั้นอนุบาล คนละ 200 บาท/ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คนละ 656 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 2 คนละ 650 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 3 คนละ 653 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 4 คนละ 707 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 5 คนละ 846 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 6 คนละ 859 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คนละ 808 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คนละ 921 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คนละ 996 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คนละ 1,384 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คนละ 1,326 บาท/ปี มัธยมศึกษาปีที่ 6 คนละ 1,164 บาท/ปี และระดับ ปวช.คนละ 2,000 บาท/ปี
ค่าอุปกรณ์การเรียน โดยผู้ปกครองและนักเรียนสามารถจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบฝึกหัด สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ เครื่องมือเรขาคณิต แผ่นซีดี กระดาษ A4 สีเทียน ดินน้ำมัน และนำใบเสร็จไปเบิกกับสถานศึกษา โดยเป็นการจัดสรรค่าอุปกรณ์การเรียนให้ตามรายหัว ดังนี้ ชั้นอนุบาล คนละ 290 บาทต่อปี ประถมศึกษา คนละ 440 บาทต่อปี มัธยมต้น คนละ 520 บาทต่อปี มัธยมปลาย คนละ 520 บาทต่อปี และชั้น ปวช.1-3 คนละ 520 บาทต่อปี
ค่าเครื่องแบบนักเรียน โดยผู้ปกครองและนักเรียนสามารถจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนด้วยตนเอง และนำใบเสร็จไปแสดงเพื่อเบิกเงินสดจากสถานศึกษา โดยเกณฑ์ที่จะจัดสรรค่าเครื่องแบบนักเรียนรายหัว มีดังนี้ ชั้นอนุบาล ได้คนละ 325 บาทต่อปี ประถมศึกษา คนละ 400 บาทต่อปี มัธยมต้น คนละ 500 บาทต่อปี มัธยมปลาย คนละ 550 บาทต่อปี และชั้น ปวช.1-3 ได้คนละ 950 บาทต่อปี
ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ชั้นอนุบาล ได้คนละ 490 บาต่อปี ประถมศึกษา คนละ 547 บาทต่อปี มัธยมต้น คนละ 1,003 บาทต่อปี มัธยมปลาย คนละ 1,083 บาทต่อปี และชั้น ปวช.1-3 คนละ 1,083 บาทต่อปี
ด้วยเหตุนี้จึงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนไทยในโลกโซเชียลว่าเนื่องจากเด็กต่างด้าวมีสิทธิรักษาฟรี-เรียนฟรีในไทยใช่หรือไม่? ประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านจึงพากันเข้ามาตั้งท้องและสร้างครอบครัวในไทยเพราะเขาไม่ต้องเสียใช้จ่ายดังกล่าวเอง
อย่างไรก็ดี ในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแบบถูกกฎหมายและทำประกันสังคมตามมาตรา 33 นั้นดูจะเป็นกลุ่มเดียวที่ไม่ได้คุกคามสิทธิคนไทย แม้จะถูกมองว่าแรงงานต่างด้าวใช้สิทธิค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรมากกว่าแรงงานไทย เนื่องจากคนไทยไม่นิยมมีลูก แต่ถือว่าอยู่ในกรอบตามสิทธิประกันสังคม
โดยสิทธิค่าคลอดบุตรของแรงงานต่างด้าวที่ทำประกันสังคม ประกอบด้วย ค่าบริการทางการแพทย์ 15,000 บาท/ครั้ง ค่าฝากครรภ์ วงเงินรวม 1,500 บาท เงินสงเคราะห์หยุดงาน 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน) ส่วนเงินสงเคราะห์บุตรนั้น จากเดิมแรงงานที่ทำประกันสังคมทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติจะได้เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (ไม่เกิน 3 คน) แต่มติ ครม.เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2567 ได้อนุมัติให้เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็นเดือนละ 1,000 บาทต่อบุตรหนึ่งคน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2568 ซึ่งบุตรต้องมีอายุไม่เกิน 6 ปี และเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม) โดยแรงงานต้องส่งเงินสมทบครบ 12 เดือนภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนยื่นขอรับสิทธิ ซึ่งมีเสียงวิจารณ์ตามมาว่าคนที่ได้รับประโยชน์จากมติ ครม.ดังกล่าวน่าจะแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม ประมาณ 1.43 ล้านคน ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่ทำประกันสังคมตาม 33 จะได้สิทธิต่างๆ เท่ากับแรงงานไทยที่อยู่ในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาล การคลอดบุตร เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ เงินชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง บำนาญชราภาพ
อย่างไรก็ดี สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ใช้สิทธิบำนาญชราภาพนั้น จากข้อมูลล่าสุดพบว่าแรงงานทั้ง 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา มีผู้ที่ได้ใช้สิทธิบำนาญชราภาพไม่ถึง 60 คน ซึ่งถือว่าน้อยมาก เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่ส่งประกันสังคมส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในไทยไม่ถึงอายุ 55 ปี จึงยังไม่ได้รับบำนาญส่วนนี้ บางคนไม่ได้ต่อใบอนุญาตทำงาน บางคนถูกส่งกลับประเทศต้นทาง บางคนส่งประกันสังคมไม่ต่อเนื่อง แต่เงิน 5% ที่ออมไว้เขาจะมารับจากสำนักงานประกันสังคมได้ตอนอายุ 55 ปี โดยจะข้ามเข้ามารับที่ไทย ซึ่งปัจจุบันแรงงานต่างด้าวก็เรียกร้องว่าอยากได้เงินสะสมส่วนนี้กลับไปพร้อมกับตอนที่กลับประเทศต้นทางเลย ไม่ต้องเดินทางเข้ามารับตอนอายุ 55
ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าน่าจะมีการแยกกองทุนประกันสังคมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว เพื่อความเป็นธรรมในการจัดการกองทุน เนื่องจากสิทธิประโยชน์บางอย่างแรงงานไทยใช้น้อยกว่าแรงงานต่างด้าว เช่น ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เพราะปัจจุบันคนไทยไม่ค่อยอยากมีลูก หรือมีลูกน้อยนั้น “นายมนัส” ระบุว่า มีหลายภาคส่วนที่เห็นด้วยว่าควรมีการแยกกองทุนประกันสังคมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว เช่น อนุกรรมาธิการของกรรมาธิการแรงงาน วุฒิสภา (ส.ว.) โดยทั้ง ส.ว.ชุดเดิมและ ส.ว.ชุดปัจจุบันก็เห็นตรงกัน แม้แต่แรงงานต่างด้าวที่ส่งประกันสังคมเขาก็เห็นด้วยที่จะแยกกองทุน
“แรงงานต่างด้าวถือว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเช่นกัน คนที่ส่งประกันสังคมเขาเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย และเขาส่งประกันสังคมเหมือนกับแรงงานไทย จึงได้สิทธิเท่ากัน อาจจะถูกมองว่าแรงงานข้ามชาติเขาใช้สิทธิในการคลอดบุตร สิทธิในการสงเคราะห์บุตรเยอะ ขณะที่คนไทยไม่ค่อยตั้งครรภ์กัน แรงงานไทยจะเสียเปรียบหรือเปล่า แต่จริงๆ มีสิทธิบางอย่างที่คนไทยใช้เยอะ แต่แรงงานข้ามชาติแทบไม่ได้ใช้ อย่างบำนาญชราภาพ ส่วนเรื่องแยกกองทุนประกันสังคมของแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวนั้น ต่างด้าวเขาอยากแยกเหมือนกัน เพราะเขาอยากตัดในส่วนของบำนาญชราภาพที่ส่งสมทบ 5% ออกไป เนื่องแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้สิทธินี้ เขาก็ต้องการจะส่งเงินสมทบน้อยลง” ประธานสภาองค์การลูกจ้างฯ กล่าว
“ภาษีคนไทย” ใช้เลี้ยงต่างด้าว? เด็กเกิดไทย รักษาฟรี-เรียนฟรี
ขอบคุณที่มา: https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000122057?tbref=hp#google_vignette
เผยสารพัดสิทธิของ "ต่างด้าว" ทำคนไทยอ่วม แบกทั้งค่ารักษา-ค่าคลอดบุตรของพม่าที่ข้ามมารักษาฝั่งไทย โดยใช้ “กองทุนสิทธิ ท.99” ปีละกว่า 1,500 ล้าน ไม่รวมกลุ่มที่เบี้ยวค่ารักษาพยาบาล เฉพาะ รพ.ตามแนวชายแดน สูญเงินแล้วกว่า 2,500 ล้านต่อปี ขณะที่เด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยได้สิทธิ “บัตรทอง” ทันที รักษาฟรีตลอดชีวิต อีกทั้งยังให้สิทธิเรียนฟรี 15 ปี แก่เด็กต่างด้าวทั้งที่เกิดในไทยและติดตามพ่อแม่เข้ามา ด้าน “ประธานสภาองค์การลูกจ้าง” ระบุหลายฝ่ายเสนอแยก “กองทุนประกันสังคม” เหตุลักษณะการใช้สิทธิของแรงงานไทยกับแรงงานข้ามชาติแตกต่างกัน
ประเด็นหนึ่งที่ร้อนแรงอย่างมากในขณะนี้คงหนี้ไม่พ้นกรณีที่ต่างด้าวทั้งที่เป็นแรงงานและไม่ใช่แรงงานเข้ามาใช้สิทธิต่างๆ ในประเทศไทยมากเกินพอดี จนคนไทยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าถูกคุกคามสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการทำมาหากิน สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิการเล่าเรียนของบุตร โดยอ้างคำว่า “สิทธิมนุษยชน” โดยเฉพาะเด็กต่างด้าวที่เกิดในไทยซึ่งได้สิทธิการรักษาพยาบาลฟรีตลอดชีวิต และสิทธิการเล่าเรียนฟรีถึง 15 ปี กระทั่งเกิดคำว่า “ภาษีคนไทย ใช้เลี้ยงต่างด้าว”
สิทธิการรักษาของต่างด้าวที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในขณะนี้คือ “กองทุนสิทธิ ท.99” (สิทธิบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ) ซึ่งเป้าหมายจริงๆ คือเพื่อดูแลการรักษาของกลุ่มคนที่รอการพิสูจน์สิทธิและพิสูจน์ไทย แต่ชาวพม่าพากันแห่ข้ามมารับการักษาและคลอดบุตรในโรงพยาบาลของไทยที่อยู่ใกล้ชายแดนไทย-พม่า โดยอาศัยช่องโหว่ของกองทุนดังกล่าว ซึ่งคนไข้ที่ใช้สิทธินี้สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษา โดยแต่ละปีกระทรวงสาธารณสุขของไทยต้องสูญเสียงบประมาณให้แก่กองทุนดังกล่าวถึง 1,500 ล้านบาทเลยทีเดียว อีกทั้งการแห่เข้ามารับการรักษาของผู้ป่วยต่างด้าวยังส่งผลให้คนไทยที่ไปใช้บริการถูกแย่งสิทธิการรักษา ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ของไทยต้องทำงานหนักขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนั้น ยังมีปัญหาผู้ป่วยต่างด้าวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐของไทยในพื้นที่ชายแดนไม่ยอมจ่ายค่ารักษา ซึ่งจากข้อมูลพบว่าในปีงบประมาณ 2562-2566 ค่ารักษาซึ่งโรงพยาบาลตามแนวชายแดนเรียกเก็บจากผู้ป่วยต่างด้าวไม่ได้นั้นสูงถึง 2,564 ล้านบาทต่อปี
ขณะที่ “สิทธิการรักษาฟรีของเด็กต่างด้าวที่เกิดในไทย” นั้น ประเทศไทยก็ใจป้ำให้เด็กทุกคนที่เกิดในไทยได้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่เราเรียกว่าบัตรทอง หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยถือว่าเป็นสิทธิการรักษาที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้คนไทยต้องแบกค่ารักษาให้เด็กต่างด้าวที่เกิดในไทยตั้งแต่เกิดยันตาย แม้จะเจ็บป่วยเป็นโรคที่ค่าใช้จ่ายสูง พ่อแม่ที่เป็นต่างด้าวไม่ต้องกังวลใจ เพราะมี “สิทธิบัตรทอง” คุ้มครอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถตรวจและรับการรักษาตั้งแต่โรคทั่วไป จนถึงโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไม่เว้นแม้แต่โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง หัวใจ เอชไอวี หลอดเลือดสมอง ก็ได้สิทธิการรักษาฟรี
ส่วน “สิทธิเรียนฟรี 15 ปี” ของเด็กต่างด้าวซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น พบว่าเด็กต่างด้าวจะได้สิทธิเหมือนเด็กไทยโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นเด็กต่างด้าวที่เกิดในไทยหรือเกิดในประเทศเพื่อนบ้านแต่ติดตามพ่อแม่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร ไม่มีสัญชาติไทย ก็สามารถเรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่ต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี และอยู่ในเขตอำนาจของรัฐไทยจะได้รับสิทธิ โดยยึดหลักความเท่าเทียม ซึ่งสิทธิทางการศึกษาที่เด็กต่างด้าวได้รับ ได้แก่
ค่าเล่าเรียน ชั้นอนุบาล ได้ 1,972 บาท/คน/ปี ชั้นประถมศึกษา 2,204 บาท/คน/ปี มัธยมตอนต้น 4,060 บาท/คน/ปี มัธยมตอนปลาย 4,408 บาท/คน/ปี ปวช.1-3 ได้รับ 13,613 บาท/คน/ปี
ค่าหนังสือเรียน ชั้นอนุบาล คนละ 200 บาท/ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คนละ 656 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 2 คนละ 650 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 3 คนละ 653 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 4 คนละ 707 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 5 คนละ 846 บาท/ปี ประถมศึกษาปีที่ 6 คนละ 859 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คนละ 808 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คนละ 921 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คนละ 996 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คนละ 1,384 บาท/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คนละ 1,326 บาท/ปี มัธยมศึกษาปีที่ 6 คนละ 1,164 บาท/ปี และระดับ ปวช.คนละ 2,000 บาท/ปี
ค่าอุปกรณ์การเรียน โดยผู้ปกครองและนักเรียนสามารถจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบฝึกหัด สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ เครื่องมือเรขาคณิต แผ่นซีดี กระดาษ A4 สีเทียน ดินน้ำมัน และนำใบเสร็จไปเบิกกับสถานศึกษา โดยเป็นการจัดสรรค่าอุปกรณ์การเรียนให้ตามรายหัว ดังนี้ ชั้นอนุบาล คนละ 290 บาทต่อปี ประถมศึกษา คนละ 440 บาทต่อปี มัธยมต้น คนละ 520 บาทต่อปี มัธยมปลาย คนละ 520 บาทต่อปี และชั้น ปวช.1-3 คนละ 520 บาทต่อปี
ค่าเครื่องแบบนักเรียน โดยผู้ปกครองและนักเรียนสามารถจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนด้วยตนเอง และนำใบเสร็จไปแสดงเพื่อเบิกเงินสดจากสถานศึกษา โดยเกณฑ์ที่จะจัดสรรค่าเครื่องแบบนักเรียนรายหัว มีดังนี้ ชั้นอนุบาล ได้คนละ 325 บาทต่อปี ประถมศึกษา คนละ 400 บาทต่อปี มัธยมต้น คนละ 500 บาทต่อปี มัธยมปลาย คนละ 550 บาทต่อปี และชั้น ปวช.1-3 ได้คนละ 950 บาทต่อปี
ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ชั้นอนุบาล ได้คนละ 490 บาต่อปี ประถมศึกษา คนละ 547 บาทต่อปี มัธยมต้น คนละ 1,003 บาทต่อปี มัธยมปลาย คนละ 1,083 บาทต่อปี และชั้น ปวช.1-3 คนละ 1,083 บาทต่อปี
ด้วยเหตุนี้จึงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนไทยในโลกโซเชียลว่าเนื่องจากเด็กต่างด้าวมีสิทธิรักษาฟรี-เรียนฟรีในไทยใช่หรือไม่? ประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านจึงพากันเข้ามาตั้งท้องและสร้างครอบครัวในไทยเพราะเขาไม่ต้องเสียใช้จ่ายดังกล่าวเอง
อย่างไรก็ดี ในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแบบถูกกฎหมายและทำประกันสังคมตามมาตรา 33 นั้นดูจะเป็นกลุ่มเดียวที่ไม่ได้คุกคามสิทธิคนไทย แม้จะถูกมองว่าแรงงานต่างด้าวใช้สิทธิค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรมากกว่าแรงงานไทย เนื่องจากคนไทยไม่นิยมมีลูก แต่ถือว่าอยู่ในกรอบตามสิทธิประกันสังคม
โดยสิทธิค่าคลอดบุตรของแรงงานต่างด้าวที่ทำประกันสังคม ประกอบด้วย ค่าบริการทางการแพทย์ 15,000 บาท/ครั้ง ค่าฝากครรภ์ วงเงินรวม 1,500 บาท เงินสงเคราะห์หยุดงาน 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน) ส่วนเงินสงเคราะห์บุตรนั้น จากเดิมแรงงานที่ทำประกันสังคมทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติจะได้เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (ไม่เกิน 3 คน) แต่มติ ครม.เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2567 ได้อนุมัติให้เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็นเดือนละ 1,000 บาทต่อบุตรหนึ่งคน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2568 ซึ่งบุตรต้องมีอายุไม่เกิน 6 ปี และเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม) โดยแรงงานต้องส่งเงินสมทบครบ 12 เดือนภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนยื่นขอรับสิทธิ ซึ่งมีเสียงวิจารณ์ตามมาว่าคนที่ได้รับประโยชน์จากมติ ครม.ดังกล่าวน่าจะแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม ประมาณ 1.43 ล้านคน ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่ทำประกันสังคมตาม 33 จะได้สิทธิต่างๆ เท่ากับแรงงานไทยที่อยู่ในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาล การคลอดบุตร เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ เงินชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง บำนาญชราภาพ
อย่างไรก็ดี สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ใช้สิทธิบำนาญชราภาพนั้น จากข้อมูลล่าสุดพบว่าแรงงานทั้ง 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา มีผู้ที่ได้ใช้สิทธิบำนาญชราภาพไม่ถึง 60 คน ซึ่งถือว่าน้อยมาก เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่ส่งประกันสังคมส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในไทยไม่ถึงอายุ 55 ปี จึงยังไม่ได้รับบำนาญส่วนนี้ บางคนไม่ได้ต่อใบอนุญาตทำงาน บางคนถูกส่งกลับประเทศต้นทาง บางคนส่งประกันสังคมไม่ต่อเนื่อง แต่เงิน 5% ที่ออมไว้เขาจะมารับจากสำนักงานประกันสังคมได้ตอนอายุ 55 ปี โดยจะข้ามเข้ามารับที่ไทย ซึ่งปัจจุบันแรงงานต่างด้าวก็เรียกร้องว่าอยากได้เงินสะสมส่วนนี้กลับไปพร้อมกับตอนที่กลับประเทศต้นทางเลย ไม่ต้องเดินทางเข้ามารับตอนอายุ 55
ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าน่าจะมีการแยกกองทุนประกันสังคมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว เพื่อความเป็นธรรมในการจัดการกองทุน เนื่องจากสิทธิประโยชน์บางอย่างแรงงานไทยใช้น้อยกว่าแรงงานต่างด้าว เช่น ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เพราะปัจจุบันคนไทยไม่ค่อยอยากมีลูก หรือมีลูกน้อยนั้น “นายมนัส” ระบุว่า มีหลายภาคส่วนที่เห็นด้วยว่าควรมีการแยกกองทุนประกันสังคมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว เช่น อนุกรรมาธิการของกรรมาธิการแรงงาน วุฒิสภา (ส.ว.) โดยทั้ง ส.ว.ชุดเดิมและ ส.ว.ชุดปัจจุบันก็เห็นตรงกัน แม้แต่แรงงานต่างด้าวที่ส่งประกันสังคมเขาก็เห็นด้วยที่จะแยกกองทุน
“แรงงานต่างด้าวถือว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเช่นกัน คนที่ส่งประกันสังคมเขาเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย และเขาส่งประกันสังคมเหมือนกับแรงงานไทย จึงได้สิทธิเท่ากัน อาจจะถูกมองว่าแรงงานข้ามชาติเขาใช้สิทธิในการคลอดบุตร สิทธิในการสงเคราะห์บุตรเยอะ ขณะที่คนไทยไม่ค่อยตั้งครรภ์กัน แรงงานไทยจะเสียเปรียบหรือเปล่า แต่จริงๆ มีสิทธิบางอย่างที่คนไทยใช้เยอะ แต่แรงงานข้ามชาติแทบไม่ได้ใช้ อย่างบำนาญชราภาพ ส่วนเรื่องแยกกองทุนประกันสังคมของแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวนั้น ต่างด้าวเขาอยากแยกเหมือนกัน เพราะเขาอยากตัดในส่วนของบำนาญชราภาพที่ส่งสมทบ 5% ออกไป เนื่องแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้สิทธินี้ เขาก็ต้องการจะส่งเงินสมทบน้อยลง” ประธานสภาองค์การลูกจ้างฯ กล่าว