บุคลากรแพทย์โรงพยาบาลชายแดนร้องปัญหาสิทธิรักษาพยาบาล “ท.99” เปิดช่องให้คนไข้ต่างด้าวแห่ใช้บริการฟรี
บุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลชายแดนแห่งหนึ่ง ได้ออกมาสะท้อนปัญหาผ่านช่องทางออนไลน์ โดยระบุถึงความกังวลเรื่องการใช้สิทธิ “ท.99” ซึ่งเป็นสิทธิรักษาพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นสำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน รวมถึงคนต่างด้าวที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่นใด โดยกองทุนดังกล่าวครอบคลุมค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลทั้งหมด
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากกรณีคนไข้หญิงชาวพม่าตั้งครรภ์ที่เดินทางเข้ามารักษา โดยในตอนแรกแจ้งความประสงค์จะชำระค่ารักษาพยาบาลเอง แต่เมื่อทราบยอดค่าใช้จ่ายหลักแสนบาท กลับขอเปลี่ยนมาใช้สิทธิ “ท.99” แทน สร้างความตกใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่พบว่าคนไข้ต่างชาติรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธินี้อย่างลึกซึ้ง และมีการบอกต่อกันจนเกิดเป็นการเข้ามารับบริการอย่างเป็นระบบ
ผู้ร้องเรียนกังวลว่า งบประมาณจากภาษีประชาชนไทยจะถูกนำไปใช้เพื่อดูแลคนต่างด้าว ซึ่งไม่เพียงทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานหนักขึ้น แต่ยังทำให้คนไข้ชาวไทยได้รับผลกระทบจากการรอคิวที่นานขึ้น รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชายแดนซึ่งรองรับผู้ป่วยจำนวนมากอยู่แล้ว
นอกจากนี้ มีข้อมูลว่าจำนวนการคลอดบุตรในโรงพยาบาลชายแดนดังกล่าวในเดือนที่ผ่านมา พบว่า มีคนไทยเพียง 80 คนเท่านั้นที่มาใช้บริการ ขณะที่คนไข้ต่างด้าวมีจำนวนสูงถึง 160 คน หรือมากกว่า 2 เท่าตัว ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มที่อาจกระทบกับระบบสาธารณสุขในระยะยาว หากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
ผู้ร้องเรียนตั้งคำถามถึงการบริหารจัดการงบประมาณและระบบสวัสดิการของไทย ว่าไม่ควรเป็นภาระที่เกินศักยภาพของประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประชาชนไทยต้องเสียภาษีเพื่อดูแลคนต่างชาติ ขณะที่คุณภาพชีวิตของคนในประเทศกลับถูกละเลย
บุคลากรแพทย์ชายแดนเหวอ ! ร้องปัญหาสิทธิรักษาพยาบาล “ท.99” เปิดช่องให้แรงงานต่างด้าวใช้บริการฟรี ! ลั่น ภาษีคนไทยทั้งเพ
บุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลชายแดนแห่งหนึ่ง ได้ออกมาสะท้อนปัญหาผ่านช่องทางออนไลน์ โดยระบุถึงความกังวลเรื่องการใช้สิทธิ “ท.99” ซึ่งเป็นสิทธิรักษาพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นสำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน รวมถึงคนต่างด้าวที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่นใด โดยกองทุนดังกล่าวครอบคลุมค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลทั้งหมด
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากกรณีคนไข้หญิงชาวพม่าตั้งครรภ์ที่เดินทางเข้ามารักษา โดยในตอนแรกแจ้งความประสงค์จะชำระค่ารักษาพยาบาลเอง แต่เมื่อทราบยอดค่าใช้จ่ายหลักแสนบาท กลับขอเปลี่ยนมาใช้สิทธิ “ท.99” แทน สร้างความตกใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่พบว่าคนไข้ต่างชาติรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธินี้อย่างลึกซึ้ง และมีการบอกต่อกันจนเกิดเป็นการเข้ามารับบริการอย่างเป็นระบบ
ผู้ร้องเรียนกังวลว่า งบประมาณจากภาษีประชาชนไทยจะถูกนำไปใช้เพื่อดูแลคนต่างด้าว ซึ่งไม่เพียงทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานหนักขึ้น แต่ยังทำให้คนไข้ชาวไทยได้รับผลกระทบจากการรอคิวที่นานขึ้น รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชายแดนซึ่งรองรับผู้ป่วยจำนวนมากอยู่แล้ว
นอกจากนี้ มีข้อมูลว่าจำนวนการคลอดบุตรในโรงพยาบาลชายแดนดังกล่าวในเดือนที่ผ่านมา พบว่า มีคนไทยเพียง 80 คนเท่านั้นที่มาใช้บริการ ขณะที่คนไข้ต่างด้าวมีจำนวนสูงถึง 160 คน หรือมากกว่า 2 เท่าตัว ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มที่อาจกระทบกับระบบสาธารณสุขในระยะยาว หากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
ผู้ร้องเรียนตั้งคำถามถึงการบริหารจัดการงบประมาณและระบบสวัสดิการของไทย ว่าไม่ควรเป็นภาระที่เกินศักยภาพของประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประชาชนไทยต้องเสียภาษีเพื่อดูแลคนต่างชาติ ขณะที่คุณภาพชีวิตของคนในประเทศกลับถูกละเลย