เลขาฯ สปสช.ย้ำ “สิทธิ ท.99” จัดสรรเฉพาะกลุ่ม ต่างด้าวทั่วไปไม่เข้าข่าย แม้คลอดในไทยได้เลข 13 หลัก แต่ยังไร้สิทธิบัตรทอง
จากกรณีที่เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์กเผยแพร่ข้อมูลต่างด้าวข้ามแดนมาคลอดลูกในไทย โดยใช้สิทธิกองทุน ท.99 ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และยังอ้างว่ามีข้อมูลปี 2562-2566 พบว่าไม่สามารถเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากต่างด้าวและผู้ติดตาม เฉลี่ยแล้วประมาณ 2,500 ล้านบาทต่อปี จนเกิดกระแสวิจารณ์อย่างมาก
ล่าสุด (18 ธ.ค.) นายแพทย์ จเด็ด ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีนี้ในรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์ ตอนหนึ่งว่า ยอมรับว่าโรงพยาบาลชายแดนของไทยมีรายจ่ายที่เรียกเก็บไม่ได้จากคนต่างด้าวเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ทราบวงเงินว่าสูงถึงหลักพันล้านบาทเหมือนที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลฯ หรือไม่
พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ต่างด้าวที่ข้ามมารักษาพยาบาลในไทย ส่วนหนึ่งเพราะจากการดูแลรักษาที่ดีกว่าจึงยอมจ่ายเงินเอง และมีบางส่วนที่เป็นผู้ป่วยยากไร้ ที่ต้องให้การรักษาตามหลักมนุษยธรรม
สำหรับ “สิทธิกองทุน ท.99” หรือ “บุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ” เป็นสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2553 ที่อนุมัติงบประมาณไว้ส่วนหนึ่ง ปีละ 2-3 พันล้านบาท เพื่อดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มคน 4-5 แสนคนในระหว่างรอพิสูจน์สิทธิ และสัญชาติ หลังจากประเทศไทยใช้ระบบหลักประกันสุขภาพ หรือสิทธิบัตรทอง ที่ระบุว่าต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
ดังนั้น สิทธิ ท.99 เป็นสิทธิเฉพาะกลุ่ม บุตรหลานของคนในกลุ่มนั้นจะได้รับสิทธิด้วยจนกว่าจะพิสูจน์สัญชาติแล้วเสร็จ แต่คนใหม่ไม่สามารถใช้สิทธิได้ ย้ำไม่ใช่ใครก็จะใช้ได้
สำหรับกรณีที่ต่างด้าวข้ามเข้ามาคลอดลูกในไทย มีสิทธิแจ้งเกิดได้ตามกฎหมาย และไทยจะให้เลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งเลขดังกล่าวระบุชัดเจนว่าเป็นต่างด้าว ฉะนั้น การมีเลข 13 หลักไม่ใช่การรับรองว่าจะได้สิทธิรักษาแบบคนไทย จึงย้ำว่าแม้จะมีนายหน้าพามาคลอดลูก และจดแจ้งเกิดในไทย แต่ก็ไม่ได้สิทธิรักษาพยาบาลแบบคนไทย
ทั้งนี้ นายแพทย์ จเด็ดยืนยันด้วยว่า ระบบฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย กับ สปสช.มีการเชื่อมโยงกัน ดังนั้น เด็กแม้จะเกิดในไทย เมื่อตรวจสอบแล้วไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีสิทธิบัตรทอง
ขอบคุณที่มา:
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000121300
เลขาฯ สปสช.ชี้ “สิทธิ ท.99” ไม่ครอบคลุมต่างด้าวทั่วไปข้ามแดนคลอดในไทย แม้ได้เลข 13 หลักก็ไร้บัตรทอง
จากกรณีที่เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์กเผยแพร่ข้อมูลต่างด้าวข้ามแดนมาคลอดลูกในไทย โดยใช้สิทธิกองทุน ท.99 ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และยังอ้างว่ามีข้อมูลปี 2562-2566 พบว่าไม่สามารถเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากต่างด้าวและผู้ติดตาม เฉลี่ยแล้วประมาณ 2,500 ล้านบาทต่อปี จนเกิดกระแสวิจารณ์อย่างมาก
ล่าสุด (18 ธ.ค.) นายแพทย์ จเด็ด ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีนี้ในรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์ ตอนหนึ่งว่า ยอมรับว่าโรงพยาบาลชายแดนของไทยมีรายจ่ายที่เรียกเก็บไม่ได้จากคนต่างด้าวเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ทราบวงเงินว่าสูงถึงหลักพันล้านบาทเหมือนที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลฯ หรือไม่
พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ต่างด้าวที่ข้ามมารักษาพยาบาลในไทย ส่วนหนึ่งเพราะจากการดูแลรักษาที่ดีกว่าจึงยอมจ่ายเงินเอง และมีบางส่วนที่เป็นผู้ป่วยยากไร้ ที่ต้องให้การรักษาตามหลักมนุษยธรรม
สำหรับ “สิทธิกองทุน ท.99” หรือ “บุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ” เป็นสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2553 ที่อนุมัติงบประมาณไว้ส่วนหนึ่ง ปีละ 2-3 พันล้านบาท เพื่อดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มคน 4-5 แสนคนในระหว่างรอพิสูจน์สิทธิ และสัญชาติ หลังจากประเทศไทยใช้ระบบหลักประกันสุขภาพ หรือสิทธิบัตรทอง ที่ระบุว่าต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
ดังนั้น สิทธิ ท.99 เป็นสิทธิเฉพาะกลุ่ม บุตรหลานของคนในกลุ่มนั้นจะได้รับสิทธิด้วยจนกว่าจะพิสูจน์สัญชาติแล้วเสร็จ แต่คนใหม่ไม่สามารถใช้สิทธิได้ ย้ำไม่ใช่ใครก็จะใช้ได้
สำหรับกรณีที่ต่างด้าวข้ามเข้ามาคลอดลูกในไทย มีสิทธิแจ้งเกิดได้ตามกฎหมาย และไทยจะให้เลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งเลขดังกล่าวระบุชัดเจนว่าเป็นต่างด้าว ฉะนั้น การมีเลข 13 หลักไม่ใช่การรับรองว่าจะได้สิทธิรักษาแบบคนไทย จึงย้ำว่าแม้จะมีนายหน้าพามาคลอดลูก และจดแจ้งเกิดในไทย แต่ก็ไม่ได้สิทธิรักษาพยาบาลแบบคนไทย
ทั้งนี้ นายแพทย์ จเด็ดยืนยันด้วยว่า ระบบฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย กับ สปสช.มีการเชื่อมโยงกัน ดังนั้น เด็กแม้จะเกิดในไทย เมื่อตรวจสอบแล้วไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีสิทธิบัตรทอง
ขอบคุณที่มา: https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000121300