เด็กต่างด้าวมาเกิดในไทย ไม่ได้สัญชาติไทย อย่างที่หลายคนอาจเข้าใจผิด

เด็กต่างด้าวมาเกิดในไทย ไม่ได้สัญชาติไทย อย่างที่หลายคนอาจเข้าใจผิด

 

จากประเด็นร้อนถึงการเข้ามารักษาพยาบาลของต่างด้าว โดยไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะการคลอดลูก ที่บริเวณโรงพยาบาลชายแดน นำมาสู่การถกเถียงเรื่องสิทธิของต่างด้าว และการได้สัญชาติไทยหลังคลอดลูก

ในความเป็นจริงแล้ว สิทธิต่างด้าวที่คลอดลูกในไทยนั้น คือมีสิทธิแจ้งเกิดได้ตามกฎหมาย และได้รับเลขประจำตัว 13 หลัก 

แต่เลขนั้นจะระบุชัดว่าเป็นต่างด้าว แต่แม้จะแจ้งเกิดในไทย แต่เด็กที่เกิดใหม่นั้น ไม่มีสิทธิได้สัญชาติไทย ไม่ได้รับสิทธิบัตรทอง แต่จะได้รับการรักษาตาม สิทธิกองทุน ท.99 ซึ่งเป็นสิทธิที่อนุมัติงบประมาณไว้ส่วนหนึ่ง ปีละ 2-3 พันล้านบาท เพื่อดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มคนในระหว่างรอพิสูจน์สิทธิ และสัญชาติ

ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) ชี้ว่าสามารถแบ่งกลุ่มคนที่เกิดในไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1) กลุ่มที่พ่อแม่มีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อย

2) ลูกของคนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกฎหมาย

3) ลูกของแรงงานข้ามชาติ

4) กลุ่มที่พ่อแม่ไม่มีเอกสาร หรือเป็นกลุ่มที่รัฐมีมาตรการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เช่น ผู้ลี้ภัย

ในอนาคต พวกเขาอาจขอสัญชาติได้ในอนาคตหากตรงตามเงื่อนไขด้วย 

https://www.facebook.com/share/p/1F5wSC1xsC/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่