สังโยชน์
เครื่องร้อยรัด เครื่องพันธนาการ ความยึดมันถือมั่น
สักกายทิฎฐิ
ความเห็นผิดด้วยความยึดมั่นถือมั่นว่า ตนมีกาย กายเป็นตน มีตนในกาย ในกายมีตน
กายนั่นก้อคือรูป
รูปทั้งหมด ๒๘ ประกอบด้วย
รูปหยาบ = ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
รูปละเอียด = ลักษณะท่าทางแห่งความเป็นหญิง ชาย วาจา ท่าทาง ฯลฯ
เหตุเกิดแห่งรูป คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร
แบ่งได้เป็น ๒ คือ รูปที่มีวิญญาณครอง และไม่มีวิญญาณครอง
กายหรือรูป ที่มีวิญญาณครอง เกิดจากการประชุมกันของรูปทั้ง ๒๘ ได้อัตภาพเช่นไรก้อเป็นไปตามเหตุเกิดแห่งรูปทั้ง ๔ คือกรรม จิต อุตุ อาหาร
การรู้จักรูปทั้ง ๒๘ และเหตุเกิดแห่งรูปทั้ง ๔ อย่างแจ่มแจ้ง จะทำให้เห็นสภาวะธรรมที่เป็นรูปว่า ไม่มีรูปใดที่เที่ยงแท้ถาวร หากแต่รูปย่อยทั้งหลาย
ล้วนอิงอาศัยกันเกิดขึ้น แปรแปร เสื่อมสลาย ดับ เกิด ไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
แม้ลักษณะท่าทาง ความหมายทางกาย วาจา ลักษณะแห่งความเป็นชาย หญิง ความอ่อน เบา ความต่อเนื่องของรูปที่ดำรงอยู่ ล้วนแปรเปลื่อนไปตาม
เหตุปัจจัย มิได้คงอยู่ หรือมีรูปใดที่ตั้งอยู่ถาวรโดยไม่อิงอาศัยรูปอื่นเกิดขึ้น มิใช่เพียง ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่เป็นรูปหยาบที่เห็นได้ง่ายเท่านั้น
บุคลิกลักษณะท่าทางต่างๆ นั่นก้อคือรูปหรือกายเช่นเดียวกัน การนั่งท่อง หรือเห็นแค่เพียง มหาภูตรูปทั้ง ๔ ว่าไม่ใช่เรา ของเรา แต่ไปสร้างบุคลิก
ลักษณะให้ตนเอง และผู้อื่น ด้วยความปรุงแต่งของอวิชชา ว่าบุคคลเช่นนั้น เช่นนี้ ต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ ว่านั่นคือการละ สักกายทิฎฐิ นั่นนับเป็น
มิจฉาทิฎฐิที่ตนสร้างขึ้นโดยไม่รู้ตัว นั่นไม่ใช่การละ สักกายทิฎฐิ แต่เป็นการสร้างและเพิ่ม สักกายทิฎฐิให้แก่ตนเองด้วยอุปาทาน
การจะละ สักกายทิฎฐิได้อย่างแท้จริง ต้องรู้จักรูปอย่างแจ่มแจ้ง รู้เหตุเกิดแห่งรูป การอิงอาศัยร่วมกันเกิดของรูป การเสื่อมสลาย การดับ และปรุงแต่ง
กันเกิดของรูปสลับปรับเปลื่อนไปตามแต่เหตุปัจจัยอันไม่สิ้นสุด
การสร้างบุคลิกให้ตนเองและผู้อื่น นั่นคือมิจฉาทิฎฐิที่ปรุงแต่งด้วยอวิชชาในการยึดมั่นใน สักกายทิฎฐิ
สีลพตปรามาส และ วิจิกิจฉา จะแสดงในโอกาสต่อไป
สังโยชน์ ๓ เครื่องร้อยรัดแห่งความเป็นเวไนยสัตว์ , สักกายทิฎฐิ
เครื่องร้อยรัด เครื่องพันธนาการ ความยึดมันถือมั่น
สักกายทิฎฐิ
ความเห็นผิดด้วยความยึดมั่นถือมั่นว่า ตนมีกาย กายเป็นตน มีตนในกาย ในกายมีตน
กายนั่นก้อคือรูป
รูปทั้งหมด ๒๘ ประกอบด้วย
รูปหยาบ = ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
รูปละเอียด = ลักษณะท่าทางแห่งความเป็นหญิง ชาย วาจา ท่าทาง ฯลฯ
เหตุเกิดแห่งรูป คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร
แบ่งได้เป็น ๒ คือ รูปที่มีวิญญาณครอง และไม่มีวิญญาณครอง
กายหรือรูป ที่มีวิญญาณครอง เกิดจากการประชุมกันของรูปทั้ง ๒๘ ได้อัตภาพเช่นไรก้อเป็นไปตามเหตุเกิดแห่งรูปทั้ง ๔ คือกรรม จิต อุตุ อาหาร
การรู้จักรูปทั้ง ๒๘ และเหตุเกิดแห่งรูปทั้ง ๔ อย่างแจ่มแจ้ง จะทำให้เห็นสภาวะธรรมที่เป็นรูปว่า ไม่มีรูปใดที่เที่ยงแท้ถาวร หากแต่รูปย่อยทั้งหลาย
ล้วนอิงอาศัยกันเกิดขึ้น แปรแปร เสื่อมสลาย ดับ เกิด ไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
แม้ลักษณะท่าทาง ความหมายทางกาย วาจา ลักษณะแห่งความเป็นชาย หญิง ความอ่อน เบา ความต่อเนื่องของรูปที่ดำรงอยู่ ล้วนแปรเปลื่อนไปตาม
เหตุปัจจัย มิได้คงอยู่ หรือมีรูปใดที่ตั้งอยู่ถาวรโดยไม่อิงอาศัยรูปอื่นเกิดขึ้น มิใช่เพียง ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่เป็นรูปหยาบที่เห็นได้ง่ายเท่านั้น
บุคลิกลักษณะท่าทางต่างๆ นั่นก้อคือรูปหรือกายเช่นเดียวกัน การนั่งท่อง หรือเห็นแค่เพียง มหาภูตรูปทั้ง ๔ ว่าไม่ใช่เรา ของเรา แต่ไปสร้างบุคลิก
ลักษณะให้ตนเอง และผู้อื่น ด้วยความปรุงแต่งของอวิชชา ว่าบุคคลเช่นนั้น เช่นนี้ ต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ ว่านั่นคือการละ สักกายทิฎฐิ นั่นนับเป็น
มิจฉาทิฎฐิที่ตนสร้างขึ้นโดยไม่รู้ตัว นั่นไม่ใช่การละ สักกายทิฎฐิ แต่เป็นการสร้างและเพิ่ม สักกายทิฎฐิให้แก่ตนเองด้วยอุปาทาน
การจะละ สักกายทิฎฐิได้อย่างแท้จริง ต้องรู้จักรูปอย่างแจ่มแจ้ง รู้เหตุเกิดแห่งรูป การอิงอาศัยร่วมกันเกิดของรูป การเสื่อมสลาย การดับ และปรุงแต่ง
กันเกิดของรูปสลับปรับเปลื่อนไปตามแต่เหตุปัจจัยอันไม่สิ้นสุด
การสร้างบุคลิกให้ตนเองและผู้อื่น นั่นคือมิจฉาทิฎฐิที่ปรุงแต่งด้วยอวิชชาในการยึดมั่นใน สักกายทิฎฐิ
สีลพตปรามาส และ วิจิกิจฉา จะแสดงในโอกาสต่อไป