((มาลาริน)) ^_^ หากยังนั่งท้ายรถกระบะ ก็อย่าลืมคำว่าเสียใจ....เพราะตัวคุณหรือคนที่คุณรัก ต้องจากไปเพราะเกิดอุบัติเหตุ

กระทู้คำถาม
ความจำเป็นในการนั่งท้ายรถกระบะของประชาชน   กลายเป็นเรื่องที่มาโจมตีการออกกฎหมายของรัฐบาลที่คิดป้องกันชีวิตประชาชน

รัฐบาลนี้..ไม่ได้เอาใจประชาชนเพื่อให้รักแบบรัฐบาลที่หาเสียง
แต่คำนึงถึงประโยชน์ต่างๆที่ประชาชนจะได้รับ  คำนึงถึงความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้น

ถ้าสิ่งที่ประชาชนยังมีความจำเป็นนั่งท้ายรถกระบะ ก็ต้องระมัดระวังความปลอดภัยให้มาก  ชีวิตมีค่าทุกชีวิต
และอย่าลืมคำว่าเสียใจที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตคุณและครอบครัว

เมื่อรัฐบาลยอมผ่อนปรนแล้ว ดูแลชีวิตกันให้ดีๆนะคะ อย่าประมาท

ด้วยความปรารถนาดีค่ะ..

นานาเชิดนานากวาดบ้านนานาโอเคนานาขอบคุณ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ทำไมรัฐบาลชุดก่อนๆ ต้องปล่อยคนนั่งท้ายกระบะ-แค็บ มาเป็นสิบๆ ปี?

( เรื่องนี้ไม่มีหลักฐานอ้างอิงนะครับ ผมเล่าจากคำบอกเล่าจากคนรุ่นก่อนล้วนๆ )

เขาอะลุ้มอล่วยเพราะ ณ เวลานั้นไม่มีทางเลือกอื่นครับ

ผมดูภาพเก่าๆ หรือฟังเรื่องเล่าของคนแก่ๆ เขาว่า 30 กว่าปีก่อนขึ้นไป ปีใหม่ที สงกรานต์ที รถทัวร์ทั้งทำรอบ คนก็ขอนั่งหลังคา รถไฟก็เหมือนกัน หรือรถเมล์ยุคนั้น ยืนกันจนติดประตู ขาลอยโหนออกมาข้างหนึ่ง

คนรุ่นนั้นเล่าว่า นั่งบนรถไฟ เวลาข้ามสะพาน มีคนเจอคานสะพานตีตกลงไปตายข้างล่างประจำ นั่งหลังคารถทัวร์ก็มีตกรถ รถทัวร์ทำรอบมากๆ ก็หลับใน คว่ำ ( สมัยนั้นยาบ้ายังเป็นยาม้า ไม่ผิด กม. คนขับรถไกลๆ กินกันเป็นปกติ ) รถเมล์โหนมากๆ แขนล้า หล่นไปตายบนถนน

ทั้งหมดมันมาจากทุกอย่างรวมอยู่ที่เดียวคือ กทม. เอาง่ายๆ นะ ปีนี้ผมอายุ 32 จำความได้ตั้งแต่อยู่ประถม 20 กว่าปีก่อน ปีใหม่ทีสงกรานต์ที หมอชิตแตก หัวลำโพงล้นทุกปี ตอนนี้มีอะไรเปลี่ยนไหม?

จะเปลี่ยนคือรถส่วนตัวเพิ่ม เพราะรัฐบาลหยวนๆ ให้นั่งท้ายกระบะได้ นั่งในแค็บได้ คน ตจว. เลยนิยมถอยรถกระบะเป็นพาหนะหลักประจำบ้าน


Cr.เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

จะเห็นว่ารถกระบะ คน ตจว. นิยมมาก ส่วน กทม. นิยมรถเก๋งมากกว่า

( ที่ขีดเส้นแดงไว้คือรถกระบะ ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งคือรถเก๋ง )

ทุกอย่างมันเริ่มจากตรงนั้น ก็เหมือนสองแถว วินมอไซค์ รถตู้ นี่ก็เคยผิด กม. มาก่อน ( ปท.พัฒนาแล้วก็ไม่มีของพวกนี้ ) แต่เพราะรัฐไม่สามารถจัดขนส่งในระบบได้เพียงพอ จึงต้องยอมทำให้มันถูก กม. เสีย

นี่คือความจริงของบ้านเราครับ

ปล.เชื่อไหม? นับจากแผนพัฒนาฉบับแรกเมื่อปี 2504 วันนี้ผ่านไป 50 กว่าปี กทม. ก็ยังเป็นทุกสิ่งเหมือนเดิม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่