ธนาคารโลก เผยเศรษฐกิจไทยหลงทาง ยังไม่อยู่ในเส้นทางการฟื้นฟูที่เหมาะสม ชี้คนไทย 14 ล้านคนยากจนไม่จบสิ้น ขณะที่ เศรษฐกิจโตต่ำ ช่องว่างคนรวยคนจนสูงขึ้น ลั่นใช้เวลาถึง 20 ปีขึ้นสู่ประเทศรายได้สูง แนะรัฐ 3 เส้นทางฟื้นเศรษฐกิจทั้งปฏิรูปการศึกษา พัฒนาประสิทธิภาพหน่วยงานรัฐ และส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายอูลริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยระหว่างการเปิดรายงานการกลับสู่เส้นทางการฟื้นฟูการเติบโตและประกันความมั่งคั่งสำหรับคนไทยทุกคนว่า รายงานดังกล่าวธนาคารโลกต้องการแนะถึงโอกาส และความท้าทายที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ โดยมองว่า ขณะนี้ ไทยยังไม่อยู่ในเส้นทางของการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เหมาะสม และยังมีแนวทางเพิ่มเติมที่จะทำให้เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยกลับมาขับเคลื่อน อีกครั้ง สามารถลดจำนวนคนจน และความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศลงได้
“การเติบโตของเศรษฐกิจไทยช่วงหลังชะลอตัวลงต่อเนื่อง จากการขยายตัวเฉลี่ย 7.7% ตลอดช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ลดเหลือโตเฉลี่ย 3.3% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมสูงขึ้น ช่องว่างระหว่างคนในกรุงเทพฯและชนบทขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะรายได้ครัวเรือน การใช้จ่าย การศึกษา และผลิตภาพ ในปี 57 มีคนไทยที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน 7 ล้านคน และยังมีอีก 7 ล้านคนที่เสี่ยงจะกลับไปยากจนอีกหากเกิดเหตุการณ์ เช่น ตกงาน หรือเกษียณอายุ เพราะมีรายได้มากกว่าเส้นความยากจนเพียง 20% หากปล่อยให้ประเทศพัฒนาด้วยแนวทางที่เป็นอยู่ต่อไป และเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยในระดับปัจจุบัน ต้องใช้เวลาอีก 20 ปี จึงจะก้าวสู่ประเทศที่มีรายได้สูง แต่หากกลับเข้ามาในเส้นทางการฟื้นฟูและพัฒนาอย่างที่ธนาคารโลกมองไว้ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มจำนวนธุรกิจบริการ และการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรม อีก 5 ปีจะลดจำนวนคนจน และความเหลื่อมล้ำได้”
ทั้งนี้ ในการแนะนำนั้น ธนาคารโลกไม่ได้สนใจการเมืองว่าเป็นรัฐบาลใด เพราะไม่ว่ารัฐบาลประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม สามารถทำประโยชน์ให้ประชาชนได้ สิ่งที่ธนาคารโลกให้ความสำคัญคือ การปฏิรูปการศึกษา เพราะไม่ว่าไทยจะมีเป้าไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 หรือเศรษฐกิจฐานดิจิทัลหรือไม่ ต้องใช้ประชาชนที่มีทักษะความรู้มากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งไทยกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่ดีพอ และอีกส่วนคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยงานรัฐให้ทำงานได้ดีและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ด้านนายลารส์ ซอนเดอการ์ด หัวหน้ากลุ่มงานด้านการพัฒนามนุษย์และความยากจน ธนาคารโลก ซึ่งเป็นผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า เหตุผลสำคัญของการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือปี 50
ไทยเคยอยู่เหนือประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่ใน 10 ปีให้หลัง หรือปี 60 ประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม สามารถไล่ทัน หรือแซงหน้าไทยในหลายด้าน เช่น นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การศึกษา การวิจัยพัฒนา และการฝึกอบรม
นอกจากนี้ ไทยยังมีความเสี่ยงต่อการเติบโตในอนาคต ที่อาจไม่ทั่วถึงและยั่งยืน การลดความยากจนทำได้อย่างไม่ยั่งยืน ดังนี้ 1.ที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้น ของรายได้ของคนจน มาจากยุคเฟื่องฟูของราคาสินค้าเกษตร ซึ่งตั้งแต่ปี 43-54 ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 70% แต่หลังจากนั้นราคาลดลง 27% ต่อเนื่อง และยังไม่มีแนวโน้มปรับขึ้น ดังนั้น การพึ่งพาราคาสินค้าเกษตรจึงทำได้ยาก 2.การเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี 58 โดยมีคนทำงานในระบบ 11 ล้านคน และ 3.ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความตึงเครียดทางสังคม จากการสำรวจของธนาคารโลก 4 ครั้งที่ผ่านมาพบว่า นักลงทุนยังไม่มั่นใจ และกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน และท้ายที่สุด ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้นในบางภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น
“ไทยต้องทำอย่างไรจึงจะกลับมาสร้างการเติบโตแบบทั่วถึงและยั่งยืนได้ การกลับสู่เส้นทางการพัฒนาอีกครั้งจะทำเพิ่มขึ้นใน 3 ด้าน คือ
เส้นทางที่ 1 สร้างงานที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพราะจะเป็นกลไกสำคัญในการลดความยากจนของประเทศ และเพิ่มงานในอนาคต ทำได้โดยเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มความสามารถการแข่งขันด้านการค้า การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการ เส้นทางที่ 2 การอุดหนุนคนจน ที่ไทยมีประมาณ 40% ของประชากรทั้งประเทศ โดยปรับปรุงคุณภาพการศึกษา สนับสนุนการเพิ่มผลผลิต และผลิตภาพทางการเกษตร รวมทั้งการให้ความคุ้มครองคนยากจน และเส้นทางที่ 3 การพัฒนา ควรส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เปลี่ยนภูมิอากาศ ปรับปรุงการใช้ที่ดินน้ำท่วม และภัยแล้ง”
ขณะที่นายดิลก ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก กล่าวว่า ขณะนี้ เศรษฐกิจไทยเติบโตราว 3.2% ซึ่งการเติบโตระดับนี้ ทำให้โอกาสลดจำนวนคนจนใช้เวลานาน ซึ่งหนทางคือ พยายามกลับเข้าสู่เส้นทางการฟื้นฟู เพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เต็มศักยภาพ จากการคำนวณพบว่า ถ้าเศรษฐกิจไทยโต 4.3% ต่อปี จะทำให้คนจนลดลง 1.9% ต่อปี ดังนั้น หากเศรษฐกิจโตในอัตรานี้ได้ต่อเนื่อง คนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของไทยประมาณ 7 ล้านคน จะหมดไปภายใน 6 ปี แต่ศักยภาพการเติบโตของไทยขณะนี้ยังไม่เกิดขึ้น.
https://economic.kachon.com/134707
20 ปี นู่นนนแน่ะ ประเทศในอาเซียนจะเป็นยังไงบ้างนะตอนนั้น ฟังและเหนื่อย
เศรษฐกิจไทยเดินหลงทาง ธนาคารโลกแนะเส้นทางสู่ประเทศรายได้สูง
นายอูลริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยระหว่างการเปิดรายงานการกลับสู่เส้นทางการฟื้นฟูการเติบโตและประกันความมั่งคั่งสำหรับคนไทยทุกคนว่า รายงานดังกล่าวธนาคารโลกต้องการแนะถึงโอกาส และความท้าทายที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ โดยมองว่า ขณะนี้ ไทยยังไม่อยู่ในเส้นทางของการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เหมาะสม และยังมีแนวทางเพิ่มเติมที่จะทำให้เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยกลับมาขับเคลื่อน อีกครั้ง สามารถลดจำนวนคนจน และความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศลงได้
“การเติบโตของเศรษฐกิจไทยช่วงหลังชะลอตัวลงต่อเนื่อง จากการขยายตัวเฉลี่ย 7.7% ตลอดช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ลดเหลือโตเฉลี่ย 3.3% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมสูงขึ้น ช่องว่างระหว่างคนในกรุงเทพฯและชนบทขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะรายได้ครัวเรือน การใช้จ่าย การศึกษา และผลิตภาพ ในปี 57 มีคนไทยที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน 7 ล้านคน และยังมีอีก 7 ล้านคนที่เสี่ยงจะกลับไปยากจนอีกหากเกิดเหตุการณ์ เช่น ตกงาน หรือเกษียณอายุ เพราะมีรายได้มากกว่าเส้นความยากจนเพียง 20% หากปล่อยให้ประเทศพัฒนาด้วยแนวทางที่เป็นอยู่ต่อไป และเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยในระดับปัจจุบัน ต้องใช้เวลาอีก 20 ปี จึงจะก้าวสู่ประเทศที่มีรายได้สูง แต่หากกลับเข้ามาในเส้นทางการฟื้นฟูและพัฒนาอย่างที่ธนาคารโลกมองไว้ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มจำนวนธุรกิจบริการ และการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรม อีก 5 ปีจะลดจำนวนคนจน และความเหลื่อมล้ำได้”
ทั้งนี้ ในการแนะนำนั้น ธนาคารโลกไม่ได้สนใจการเมืองว่าเป็นรัฐบาลใด เพราะไม่ว่ารัฐบาลประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม สามารถทำประโยชน์ให้ประชาชนได้ สิ่งที่ธนาคารโลกให้ความสำคัญคือ การปฏิรูปการศึกษา เพราะไม่ว่าไทยจะมีเป้าไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 หรือเศรษฐกิจฐานดิจิทัลหรือไม่ ต้องใช้ประชาชนที่มีทักษะความรู้มากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งไทยกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่ดีพอ และอีกส่วนคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยงานรัฐให้ทำงานได้ดีและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ด้านนายลารส์ ซอนเดอการ์ด หัวหน้ากลุ่มงานด้านการพัฒนามนุษย์และความยากจน ธนาคารโลก ซึ่งเป็นผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า เหตุผลสำคัญของการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือปี 50 ไทยเคยอยู่เหนือประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่ใน 10 ปีให้หลัง หรือปี 60 ประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม สามารถไล่ทัน หรือแซงหน้าไทยในหลายด้าน เช่น นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การศึกษา การวิจัยพัฒนา และการฝึกอบรม
นอกจากนี้ ไทยยังมีความเสี่ยงต่อการเติบโตในอนาคต ที่อาจไม่ทั่วถึงและยั่งยืน การลดความยากจนทำได้อย่างไม่ยั่งยืน ดังนี้ 1.ที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้น ของรายได้ของคนจน มาจากยุคเฟื่องฟูของราคาสินค้าเกษตร ซึ่งตั้งแต่ปี 43-54 ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 70% แต่หลังจากนั้นราคาลดลง 27% ต่อเนื่อง และยังไม่มีแนวโน้มปรับขึ้น ดังนั้น การพึ่งพาราคาสินค้าเกษตรจึงทำได้ยาก 2.การเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี 58 โดยมีคนทำงานในระบบ 11 ล้านคน และ 3.ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความตึงเครียดทางสังคม จากการสำรวจของธนาคารโลก 4 ครั้งที่ผ่านมาพบว่า นักลงทุนยังไม่มั่นใจ และกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน และท้ายที่สุด ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้นในบางภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น
“ไทยต้องทำอย่างไรจึงจะกลับมาสร้างการเติบโตแบบทั่วถึงและยั่งยืนได้ การกลับสู่เส้นทางการพัฒนาอีกครั้งจะทำเพิ่มขึ้นใน 3 ด้าน คือ เส้นทางที่ 1 สร้างงานที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพราะจะเป็นกลไกสำคัญในการลดความยากจนของประเทศ และเพิ่มงานในอนาคต ทำได้โดยเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มความสามารถการแข่งขันด้านการค้า การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการ เส้นทางที่ 2 การอุดหนุนคนจน ที่ไทยมีประมาณ 40% ของประชากรทั้งประเทศ โดยปรับปรุงคุณภาพการศึกษา สนับสนุนการเพิ่มผลผลิต และผลิตภาพทางการเกษตร รวมทั้งการให้ความคุ้มครองคนยากจน และเส้นทางที่ 3 การพัฒนา ควรส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เปลี่ยนภูมิอากาศ ปรับปรุงการใช้ที่ดินน้ำท่วม และภัยแล้ง”
ขณะที่นายดิลก ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก กล่าวว่า ขณะนี้ เศรษฐกิจไทยเติบโตราว 3.2% ซึ่งการเติบโตระดับนี้ ทำให้โอกาสลดจำนวนคนจนใช้เวลานาน ซึ่งหนทางคือ พยายามกลับเข้าสู่เส้นทางการฟื้นฟู เพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เต็มศักยภาพ จากการคำนวณพบว่า ถ้าเศรษฐกิจไทยโต 4.3% ต่อปี จะทำให้คนจนลดลง 1.9% ต่อปี ดังนั้น หากเศรษฐกิจโตในอัตรานี้ได้ต่อเนื่อง คนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของไทยประมาณ 7 ล้านคน จะหมดไปภายใน 6 ปี แต่ศักยภาพการเติบโตของไทยขณะนี้ยังไม่เกิดขึ้น.
https://economic.kachon.com/134707
20 ปี นู่นนนแน่ะ ประเทศในอาเซียนจะเป็นยังไงบ้างนะตอนนั้น ฟังและเหนื่อย