ธนาคารโลก เผยรายงานประเทศไทยเริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง
ธนาคารโลก เผยรายงานประเทศไทยเริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง แนะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และความยากจน
นายชูเดีย แชตตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก และ นางสาวแคทเธอลีนา เลเดอร์ชิ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก เปิดเผยถึงรายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาว ชื่อ Riding the Wave : An East Asian Miracle for the 21st Century โดยในรายงานระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นผู้นำที่แสดงวิธีให้เห็นว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วและการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจจะช่วยลดความยากจนอย่างชัดเจนได้ ซึ่งช่วยให้คนเกือบล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจน พร้อมกล่าวถึงโมเดลใหม่ในการสร้างการเจริญเติบโตในภูมิภาคอย่างยั่งยืน พร้อมกับลดปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ให้มีความเสมอภาคมากขึ้น
ในรายงานระบุว่า ประเทศไทยซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับมาเลเซีย ได้เริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่งแล้ว พร้อมเสนอ 3 แนวทางที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ คือ ให้โอกาสด้านเศรษฐกิจกับผู้มีรายได้น้อย มีระบบการดูแลด้านสังคม สาธารณสุข ประกันสังคม และการส่งเสริมการออม รวมทั้งการใช้เครื่องมือ เช่นภาษี เครื่องมือทางการเงิน มาช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. กล่าวว่า รายงานธนาคารโลกฉบับนี้เสนอโมเดลใหม่ในการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการลดความเหลื่อมล้ำ โดยสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล ซึ่งบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งเน้นการเติบโตอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำ โดยรัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งตลอด 20 ปี ลดความยากจนได้ต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่อยู่ใกล้เส้นความยากจน 11 ล้านคน ลดลงมาต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จนเหลือจำนวน 7 ล้านคน แต่ยังมีประชากรฐานราก ระดับล่าง ประมาณ 29 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของประชากร ต้องได้รับการดูแลด้วยการเพิ่มรายได้ ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกร แรงงาน เอสเอ็มอี ซึ่งรัฐบาลจะใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค มาเพิ่มรายได้ และเพิ่มการจ้างงาน ขณะเดียวกัน เพิ่มหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน คู่ขนานกับการสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติรองรับผู้สูงอายุ
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9600000123469
ไทยพ้นเส้นยากจนก้าวสู่ความมั่งคั่ง....
- สศช.แจงข้อมูลว่างงานเพิ่มสวนทางตัวเลขเศรษฐกิจโต เหตุปัญหาอุทกภัยภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมยังใช้กำลังผลิตเดิมเชื่อปี 61 ตัวเลขจ้างงานฟื้นสอดคล้องเศรษฐกิจขยายตัว เตือน "เอไอ-หุ่นยนต์" เริ่มมีบทบาทมากขึ้นทั้งใน-นอกภาคเกษตร แนะเร่งปรับทักษะแรงงานรับเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล
- ที่ประชุมขับเคลื่อนเอสเอ็มอีสู่ยุค 4.0 ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และภาคเอกชน เตรียมออกมาตรการพิเศษ 10 โครงการ สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีศักยภาพ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งมาตรการทางการเงินและมาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่การเงิน ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษเป็นของขวัญปีใหม่ให้เอสเอ็มอี
อ่านต่อได้ที่ :
https://www.posttoday.com/economy/finance/529300
อ๊บบ❗ อ๊บบ❗เอ๊ะ ❗เอ๊ะ❗
@~มาลาริน~** 🐸🐸🐸💰💰💰❔❔❔ ระหว่างกบต้ม..กับธนาคารโลกจะเชื่อใครดีคะ? ประเทศไทยจะจนลง กับประเทศไทยจะหลุดพ้นความยากจน
ธนาคารโลก เผยรายงานประเทศไทยเริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง แนะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และความยากจน
นายชูเดีย แชตตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก และ นางสาวแคทเธอลีนา เลเดอร์ชิ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก เปิดเผยถึงรายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาว ชื่อ Riding the Wave : An East Asian Miracle for the 21st Century โดยในรายงานระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นผู้นำที่แสดงวิธีให้เห็นว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วและการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจจะช่วยลดความยากจนอย่างชัดเจนได้ ซึ่งช่วยให้คนเกือบล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจน พร้อมกล่าวถึงโมเดลใหม่ในการสร้างการเจริญเติบโตในภูมิภาคอย่างยั่งยืน พร้อมกับลดปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ให้มีความเสมอภาคมากขึ้น
ในรายงานระบุว่า ประเทศไทยซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับมาเลเซีย ได้เริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่งแล้ว พร้อมเสนอ 3 แนวทางที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ คือ ให้โอกาสด้านเศรษฐกิจกับผู้มีรายได้น้อย มีระบบการดูแลด้านสังคม สาธารณสุข ประกันสังคม และการส่งเสริมการออม รวมทั้งการใช้เครื่องมือ เช่นภาษี เครื่องมือทางการเงิน มาช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. กล่าวว่า รายงานธนาคารโลกฉบับนี้เสนอโมเดลใหม่ในการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการลดความเหลื่อมล้ำ โดยสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล ซึ่งบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งเน้นการเติบโตอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำ โดยรัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งตลอด 20 ปี ลดความยากจนได้ต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่อยู่ใกล้เส้นความยากจน 11 ล้านคน ลดลงมาต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จนเหลือจำนวน 7 ล้านคน แต่ยังมีประชากรฐานราก ระดับล่าง ประมาณ 29 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของประชากร ต้องได้รับการดูแลด้วยการเพิ่มรายได้ ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกร แรงงาน เอสเอ็มอี ซึ่งรัฐบาลจะใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค มาเพิ่มรายได้ และเพิ่มการจ้างงาน ขณะเดียวกัน เพิ่มหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน คู่ขนานกับการสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติรองรับผู้สูงอายุ
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9600000123469
ไทยพ้นเส้นยากจนก้าวสู่ความมั่งคั่ง....
- สศช.แจงข้อมูลว่างงานเพิ่มสวนทางตัวเลขเศรษฐกิจโต เหตุปัญหาอุทกภัยภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมยังใช้กำลังผลิตเดิมเชื่อปี 61 ตัวเลขจ้างงานฟื้นสอดคล้องเศรษฐกิจขยายตัว เตือน "เอไอ-หุ่นยนต์" เริ่มมีบทบาทมากขึ้นทั้งใน-นอกภาคเกษตร แนะเร่งปรับทักษะแรงงานรับเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล
- ที่ประชุมขับเคลื่อนเอสเอ็มอีสู่ยุค 4.0 ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และภาคเอกชน เตรียมออกมาตรการพิเศษ 10 โครงการ สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีศักยภาพ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งมาตรการทางการเงินและมาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่การเงิน ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษเป็นของขวัญปีใหม่ให้เอสเอ็มอี
อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/economy/finance/529300
อ๊บบ❗ อ๊บบ❗เอ๊ะ ❗เอ๊ะ❗