ส่วนคำว่า "บุญกับกุศล" นั้น มีความหมายกว้างแคบ สูงต่ำกว่ากัน
บุญมีความหมายแคบและต่ำกว่ากุศล
กุศลมีความหมายสูงและกว้างกว่าบุญ
บุญเป็นฝ่ายโลกียะอย่างเดียว เป็นฝ่ายวัฏฏคามี (วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ)
ส่วนกุศลเป็นโลกียะก็มี เป็นโลกุตระก็มี โลกุตรบุญนั้นไม่มี กุศลฝ่ายโลกียะนั้นเท่ากับบุญได้ บุญเป็นซีกหนึ่งของกุศลคือซีกโลกียะ
ตามปกติการให้ทาน รักษาศีล แม้จะให้ทานมากเพียงไร รักษาศีลมากและนานเพียงไร บริสุทธิ์เพียงไรก็ยังอำนวยผลให้เพียงแค่สวรรค์ ๖ ชั้น และมนุษยภูมิเท่านั้น ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ยังเป็นอุปธิเวปักกา (ให้ผลเป็นขันธ์อยู่ เมื่อยังมีขันธ์ก็ยังมีทุกข์) อุปธิ แปลว่า กิเลสก็ได้ ฉะนั้น อุปธิเวปักกา จึงแปลว่ามีผลเป็นกิเลสก็ได้ด้วย เช่นว่าให้ทานรักษาศีลด้วยมุ่งหมายว่าจะได้ไปเกิดเป็นเทพพวกใดพวกหนึ่ง เพื่อได้เสวยกามารมณ์ให้สมอยากโดยไม่ยาก ขณะที่ตั้งความปรารถนานั้นก็เป็นกิเลสตัวโลภะหรือราคะแล้ว เมื่อไปเกิดเป็นเทพสมความต้องการก็เพลิดเพลินในกามคุณอันเป็นทิพย์ กิเลสยิ่งเป็นตัวเหตุของทุกข์ใหญ่ นี่คืออานิสงส์ของฝ่ายบุญ
คราวนี้มาพูดถึงฝ่ายกุศลบ้าง กุศลนั้น แปลว่า "ฉลาด" หรือตัดกิเลสเหมือนหญ้าคา (กุส แปลว่าหญ้าคา, ล แปลว่า ตัด รวมความว่า กุศล ก็แปลว่า ตัดกิเลสอันเหมือนหญ้าคา) เพราะทำให้ตายได้ยาก ต้องถอนโคนกันจริง ๆ เราจะพบในพระบาลีบ่อย ๆ ว่า "ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้แล้ว (สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห) เป็นผู้หมดอยาก ดับสนิท (นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต)
การเจริญวิปัสสนาเพื่อเห็นไตรลักษณ์แล้วละโลภะ โทสะ โมหะ เสียได้ นั่นแหละเป็นมหากุศล อนึ่ง การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือทำความดีใด ๆ ก็ตามแล้วมุ่งเอาความสิ้นอาสวะ มุ่งพระนิพพาน มุ่งกำจัดกิเลส ต้องการผลเหมือนกัน แต่ผลที่ต้องการนั้นคือความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิด มุ่งความสิ้นภพ สิ้นชาติ การทำความดีนั้นก็เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่พระนิพพานได้
บุญกับกุศลมีความต่างกันบ้างเหมือนกันบ้างดังกล่าวมานี้ ในส่วนที่เป็นบุญท่านถือว่าเป็นเครื่องข้องอยู่ เพราะยังอำนวยผลเป็นขันธ์และเป็นกิเลส แม้จะเป็นฝ่ายดีก็ตาม ท่านจึงสอนให้ละเสีย ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
"โยธ ปุญญญฺจ ปาปญฺจ อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา
อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ ตมฺหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ"
ผู้ใดในโลกนี้ละเครื่องข้องทั้ง ๒ คือบุญและบาปได้แล้ว
เรา (ตถาคต) เรียกผู้นั้น ผู้ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี
(คือกิเลส) บริสุทธิ์แล้วว่า เป็นผู้ประเสริฐ"
บุญกับกุศล .. โดย อ.วศิน อินทสระ
บุญมีความหมายแคบและต่ำกว่ากุศล
กุศลมีความหมายสูงและกว้างกว่าบุญ
บุญเป็นฝ่ายโลกียะอย่างเดียว เป็นฝ่ายวัฏฏคามี (วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ)
ส่วนกุศลเป็นโลกียะก็มี เป็นโลกุตระก็มี โลกุตรบุญนั้นไม่มี กุศลฝ่ายโลกียะนั้นเท่ากับบุญได้ บุญเป็นซีกหนึ่งของกุศลคือซีกโลกียะ
ตามปกติการให้ทาน รักษาศีล แม้จะให้ทานมากเพียงไร รักษาศีลมากและนานเพียงไร บริสุทธิ์เพียงไรก็ยังอำนวยผลให้เพียงแค่สวรรค์ ๖ ชั้น และมนุษยภูมิเท่านั้น ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ยังเป็นอุปธิเวปักกา (ให้ผลเป็นขันธ์อยู่ เมื่อยังมีขันธ์ก็ยังมีทุกข์) อุปธิ แปลว่า กิเลสก็ได้ ฉะนั้น อุปธิเวปักกา จึงแปลว่ามีผลเป็นกิเลสก็ได้ด้วย เช่นว่าให้ทานรักษาศีลด้วยมุ่งหมายว่าจะได้ไปเกิดเป็นเทพพวกใดพวกหนึ่ง เพื่อได้เสวยกามารมณ์ให้สมอยากโดยไม่ยาก ขณะที่ตั้งความปรารถนานั้นก็เป็นกิเลสตัวโลภะหรือราคะแล้ว เมื่อไปเกิดเป็นเทพสมความต้องการก็เพลิดเพลินในกามคุณอันเป็นทิพย์ กิเลสยิ่งเป็นตัวเหตุของทุกข์ใหญ่ นี่คืออานิสงส์ของฝ่ายบุญ
คราวนี้มาพูดถึงฝ่ายกุศลบ้าง กุศลนั้น แปลว่า "ฉลาด" หรือตัดกิเลสเหมือนหญ้าคา (กุส แปลว่าหญ้าคา, ล แปลว่า ตัด รวมความว่า กุศล ก็แปลว่า ตัดกิเลสอันเหมือนหญ้าคา) เพราะทำให้ตายได้ยาก ต้องถอนโคนกันจริง ๆ เราจะพบในพระบาลีบ่อย ๆ ว่า "ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้แล้ว (สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห) เป็นผู้หมดอยาก ดับสนิท (นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต)
การเจริญวิปัสสนาเพื่อเห็นไตรลักษณ์แล้วละโลภะ โทสะ โมหะ เสียได้ นั่นแหละเป็นมหากุศล อนึ่ง การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือทำความดีใด ๆ ก็ตามแล้วมุ่งเอาความสิ้นอาสวะ มุ่งพระนิพพาน มุ่งกำจัดกิเลส ต้องการผลเหมือนกัน แต่ผลที่ต้องการนั้นคือความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิด มุ่งความสิ้นภพ สิ้นชาติ การทำความดีนั้นก็เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่พระนิพพานได้
บุญกับกุศลมีความต่างกันบ้างเหมือนกันบ้างดังกล่าวมานี้ ในส่วนที่เป็นบุญท่านถือว่าเป็นเครื่องข้องอยู่ เพราะยังอำนวยผลเป็นขันธ์และเป็นกิเลส แม้จะเป็นฝ่ายดีก็ตาม ท่านจึงสอนให้ละเสีย ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
"โยธ ปุญญญฺจ ปาปญฺจ อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา
อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ ตมฺหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ"
ผู้ใดในโลกนี้ละเครื่องข้องทั้ง ๒ คือบุญและบาปได้แล้ว
เรา (ตถาคต) เรียกผู้นั้น ผู้ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี
(คือกิเลส) บริสุทธิ์แล้วว่า เป็นผู้ประเสริฐ"