พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
ถ้าดวงจิตนี้ไม่ได้อาศัยขันธ์ ๕ นี้ก็ไม่สามารถ
ที่จะบำเพ็ญ "ศีล สมาธิ ปัญญา" นี้ให้แก่กล้าขึ้นในจิตใจได้
"ศีล" คือการสำรวมกาย วาจา อย่างนี้นะ
นั้นแหละเมื่อไม่ได้อาศัยขันธ์ ๕ นี้
ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาสำรวมกายสำรวมวาจา
ความประพฤติการกระทำทางกาย ทางวาจานี้..
ถ้าสำรวมด้วยดีแล้วทำอะไร พูดอะไร
ก็ล้วนแต่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งนั้นเลย
หมายความว่า เมื่อเราเว้นจากการกระทำที่เป็นบาปเป็นโทษแล้ว
นอกจากนั้นทำอะไรไปก็เป็นบุญเป็นกุศลทั้งนั้นแหละ ให้เข้าใจ
เป็น "ประโยชน์ตนและผู้อื่น" ทั้งนั้นเลย นี่ดังนี้แหละจึงว่า
เมื่อ "ผู้ฉลาด" อาศัยขันธ์ ๕ นี้สร้างบุญสร้างบารมี
สั่งสมบุญกุศลให้มันแก่กล้าขึ้น
ก็ธรรมดาผู้มีศีลน่ะ..อย่าว่าใครเขามาชวนทะเลาะวิวาท
เขาด่ามางี้..ก็ไม่ด่าตอบ ครั้นขืนด่าตอบ..ศีลก็ขาด.."ศีลวาจา" ..นี่
แล้ว "ใจ" ก็มัวหมองด้วยความโกรธ
ถูกความโกรธอันเป็นฝ่ายอกุศลมันครอบงำเอา
นี่มันเนื่องกันไปหมดน่ะ
ดังนั้นแหละผู้ที่"ฝึกตน"นะก็จึงไม่พยายามที่จะไปกระทบกระทั่งกับใคร
ถ้าไปกระทบกระทั่งเข้าแล้วศีลก็เศร้าหมองหรือว่าขาดไปก็ได้
ถ้าใครกระทบกระทั่งมาก็ "ไม่สู้..หาทางหลีกเลี่ยง"
เพื่อที่จะได้รักษาศีลนี้ให้มันบริสุทธิ์ไป..มันได้แสนยากกว่าจะมีศีลนี่
มันก็ต้องฝ่าฟันกับเรื่องชั่วร้ายต่างๆดังกล่าวมานี้แหละไปก่อน
คือ หาทางหลีกเลี่ยง อดกลั้น ไม่ส่งเสริมกิเลสเหล่านี้ให้มีกำลังขึ้น
ดังนั้นจึงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ได้
ก็เมื่อมีศีลบริสุทธิ์ได้แล้วอย่างนี้ จิตใจก็ผ่องแผ้ว
จิตใจก็ตั้งมั่นลงพอสมควรทีเดียวแหละ
ถ้าใจไม่ตั้งมั่นไฉนล่ะมันจะเอาชนะความโกรธได้
มันก็ไปพาลทะเลาะกับเพื่อน ก่อเรื่องไม่ดีต่างๆนานาขึ้น มันเป็นอย่างนั้น
ผู้ฝึกตนไม่กระทบกระทั่งใครให้ศีลตนเศร้าหมอง : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
ถ้าดวงจิตนี้ไม่ได้อาศัยขันธ์ ๕ นี้ก็ไม่สามารถ
ที่จะบำเพ็ญ "ศีล สมาธิ ปัญญา" นี้ให้แก่กล้าขึ้นในจิตใจได้
"ศีล" คือการสำรวมกาย วาจา อย่างนี้นะ
นั้นแหละเมื่อไม่ได้อาศัยขันธ์ ๕ นี้
ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาสำรวมกายสำรวมวาจา
ความประพฤติการกระทำทางกาย ทางวาจานี้..
ถ้าสำรวมด้วยดีแล้วทำอะไร พูดอะไร
ก็ล้วนแต่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งนั้นเลย
หมายความว่า เมื่อเราเว้นจากการกระทำที่เป็นบาปเป็นโทษแล้ว
นอกจากนั้นทำอะไรไปก็เป็นบุญเป็นกุศลทั้งนั้นแหละ ให้เข้าใจ
เป็น "ประโยชน์ตนและผู้อื่น" ทั้งนั้นเลย นี่ดังนี้แหละจึงว่า
เมื่อ "ผู้ฉลาด" อาศัยขันธ์ ๕ นี้สร้างบุญสร้างบารมี
สั่งสมบุญกุศลให้มันแก่กล้าขึ้น
ก็ธรรมดาผู้มีศีลน่ะ..อย่าว่าใครเขามาชวนทะเลาะวิวาท
เขาด่ามางี้..ก็ไม่ด่าตอบ ครั้นขืนด่าตอบ..ศีลก็ขาด.."ศีลวาจา" ..นี่
แล้ว "ใจ" ก็มัวหมองด้วยความโกรธ
ถูกความโกรธอันเป็นฝ่ายอกุศลมันครอบงำเอา
นี่มันเนื่องกันไปหมดน่ะ
ดังนั้นแหละผู้ที่"ฝึกตน"นะก็จึงไม่พยายามที่จะไปกระทบกระทั่งกับใคร
ถ้าไปกระทบกระทั่งเข้าแล้วศีลก็เศร้าหมองหรือว่าขาดไปก็ได้
ถ้าใครกระทบกระทั่งมาก็ "ไม่สู้..หาทางหลีกเลี่ยง"
เพื่อที่จะได้รักษาศีลนี้ให้มันบริสุทธิ์ไป..มันได้แสนยากกว่าจะมีศีลนี่
มันก็ต้องฝ่าฟันกับเรื่องชั่วร้ายต่างๆดังกล่าวมานี้แหละไปก่อน
คือ หาทางหลีกเลี่ยง อดกลั้น ไม่ส่งเสริมกิเลสเหล่านี้ให้มีกำลังขึ้น
ดังนั้นจึงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ได้
ก็เมื่อมีศีลบริสุทธิ์ได้แล้วอย่างนี้ จิตใจก็ผ่องแผ้ว
จิตใจก็ตั้งมั่นลงพอสมควรทีเดียวแหละ
ถ้าใจไม่ตั้งมั่นไฉนล่ะมันจะเอาชนะความโกรธได้
มันก็ไปพาลทะเลาะกับเพื่อน ก่อเรื่องไม่ดีต่างๆนานาขึ้น มันเป็นอย่างนั้น