พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
วันพระเช่นนี้บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ก็ต้องนึกถึงว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางระเบียบไว้
ให้อุบาสกอุบาสิกาได้เข้าวัดกัน ได้สมาทานศีลอุโบสถ
รักษาไปชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง ทั้งได้ฟังธรรมด้วย
๑๔ ค่ำก็มี วัน ๑๕ ค่ำเดือนขึ้นเดือนดับ แล้วก็ขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ
อันนี้เราทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นวันอดิเรก
คือเป็นวันพิเศษวันหนึ่งสำหรับผู้เป็นทายกทายิกา
จะต้องพักผ่อนการงานเกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ
มาสำรวมตนอยู่ในวัดวาอาราม รักษาศีลอุโบสถ
ให้บริสุทธิ์เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลให้แก่กล้าขึ้นไป
ด้วยว่าชีวิตของคนเรานี้มันจะเจริญไปได้
มันก็เพราะอาศัยที่เราอบรมบ่มอินทรีย์ให้แก่กล้าขึ้นไป
คำว่า อบรม ในที่นี้มันก็ค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ใช่ว่าเราจะไปขะมักเขม้นเอาให้มันแก่กล้าขึ้น
ทันอกทันใจเลยอย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้
เหมือนอย่างเขาบ่มใบยาหรือว่าบ่มผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย
อะไรหมู่นี้นะ มันก็ต้องอาศัยการบ่มนั้นมีสิ่งต่างๆเช่น
ใบไม้หรือว่าแผงต่างๆไปปกคลุมไว้
ให้มันได้รับความอบอุ่นทีละน้อยทีละน้อยไป
ครานี้ผลไม้นั้นมันก็ค่อยสุกไปทีละน้อยทีละน้อย
นานเข้ามันก็เลยสุกงอมเลยบัดนี้สุกทั่ว
ข้อนี้ฉันใดก็อย่างนั้นแหละ การอบรมกาย วาจา ใจ ของคนเรานี่
..เราไม่ได้อบด้วยวัตถุภายนอกอย่างนั้น
เราอบด้วย “คุณธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า”
เราน้อมเอาพระธรรมนั้นเข้ามาสู่ใจ ให้ปรากฏอยู่ในใจของตนนี่
เช่นอย่างว่า ผู้รักษาศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งนี้นะ
เอ้า ก็น้อมเอาคุณของศีลนั่นแหละมาสู่ใจนี่
มาพิจารณาดูว่า การรักษาศีลอุโบสถนี่
มันมีคุณค่าแก่ตัวของเราอย่างไรบ้าง
ทำให้จิตใจของเราสบายอย่างไรบ้าง
นี่ล่ะก็เป็นหน้าที่ของผู้รักษาอุโบสถศีลจะต้องน้อมสติ
เข้ามาสำรวมใจพิจารณาให้เห็นคุณค่าของอุโบสถศีลด้วยตนเอง
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "บ่มผลไม้"
อบรมบ่มตนด้วยคุณธรรม : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
วันพระเช่นนี้บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ก็ต้องนึกถึงว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางระเบียบไว้
ให้อุบาสกอุบาสิกาได้เข้าวัดกัน ได้สมาทานศีลอุโบสถ
รักษาไปชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง ทั้งได้ฟังธรรมด้วย
๑๔ ค่ำก็มี วัน ๑๕ ค่ำเดือนขึ้นเดือนดับ แล้วก็ขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ
อันนี้เราทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นวันอดิเรก
คือเป็นวันพิเศษวันหนึ่งสำหรับผู้เป็นทายกทายิกา
จะต้องพักผ่อนการงานเกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ
มาสำรวมตนอยู่ในวัดวาอาราม รักษาศีลอุโบสถ
ให้บริสุทธิ์เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลให้แก่กล้าขึ้นไป
ด้วยว่าชีวิตของคนเรานี้มันจะเจริญไปได้
มันก็เพราะอาศัยที่เราอบรมบ่มอินทรีย์ให้แก่กล้าขึ้นไป
คำว่า อบรม ในที่นี้มันก็ค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ใช่ว่าเราจะไปขะมักเขม้นเอาให้มันแก่กล้าขึ้น
ทันอกทันใจเลยอย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้
เหมือนอย่างเขาบ่มใบยาหรือว่าบ่มผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย
อะไรหมู่นี้นะ มันก็ต้องอาศัยการบ่มนั้นมีสิ่งต่างๆเช่น
ใบไม้หรือว่าแผงต่างๆไปปกคลุมไว้
ให้มันได้รับความอบอุ่นทีละน้อยทีละน้อยไป
ครานี้ผลไม้นั้นมันก็ค่อยสุกไปทีละน้อยทีละน้อย
นานเข้ามันก็เลยสุกงอมเลยบัดนี้สุกทั่ว
ข้อนี้ฉันใดก็อย่างนั้นแหละ การอบรมกาย วาจา ใจ ของคนเรานี่
..เราไม่ได้อบด้วยวัตถุภายนอกอย่างนั้น
เราอบด้วย “คุณธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า”
เราน้อมเอาพระธรรมนั้นเข้ามาสู่ใจ ให้ปรากฏอยู่ในใจของตนนี่
เช่นอย่างว่า ผู้รักษาศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งนี้นะ
เอ้า ก็น้อมเอาคุณของศีลนั่นแหละมาสู่ใจนี่
มาพิจารณาดูว่า การรักษาศีลอุโบสถนี่
มันมีคุณค่าแก่ตัวของเราอย่างไรบ้าง
ทำให้จิตใจของเราสบายอย่างไรบ้าง
นี่ล่ะก็เป็นหน้าที่ของผู้รักษาอุโบสถศีลจะต้องน้อมสติ
เข้ามาสำรวมใจพิจารณาให้เห็นคุณค่าของอุโบสถศีลด้วยตนเอง
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "บ่มผลไม้"