พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
การที่เรามาฝึกหัดสมาธิภาวนาอะไรหมู่นี้
ก็ฝึก “สติสัมปชัญญะ” นี้ให้มันแก่กล้า ให้มันเข้มแข็ง
ให้มันว่องไว เช่นเราหัดโน้มสติเข้าไปภายในจิตอย่างนี้นะ
น้อมเข้าไปให้มันถึงจิตได้จริงๆ เมื่อเราหัดน้อมเข้าไปบ่อยๆ
สติมันหยั่งเข้าถึงจิตทุกครั้งๆไป ควบคุมจิตได้อย่างนี้
เมื่อเวลามีเหตุอันสำคัญอะไรกระทบกระทั่งมา
สติมันก็วิ่งเข้าหาจิตได้ทันที ...ห้ามจิตได้
เรื่องที่ควรจะให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความมัวเมามันก็เกิดไมได้บัดนี้ มันก็ไม่เกิดขึ้นในจิตใจผู้นั้น
เพราะว่า
ผู้นั้นมีสติควบคุมอยู่ ควบคุมจิตอยู่
เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ด้วยดีไม่หวั่นไหวแล้วมันก็มองเห็นหนทาง
แก้ไขเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นๆ เรียกว่า
แก้ไขไปในทางสันติ
ไม่ใช่แก้ไขไปในทางที่ให้เกิดบาปเกิดโทษต่างๆ
อันหมู่นี้นะ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านี่
ผู้ใดบำเพ็ญให้เกิดให้มีขึ้นในตนแล้วเอาไปใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
ทุกสมัยทุกกาลเลย เรียกว่าใช้ดำรงชีวิตให้เป็นอยู่อย่างสันติ
เรียกว่าเป็นอยู่อย่างที่ไม่ได้ทำบาป เป็นบุคคลที่เว้นจากบาปได้
เมื่อผู้ใดรู้แจ้งในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ย
ดังนั้นแหละผู้ที่ปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาทั้งหลาย
ให้พึงพากันพิจารณาเหตุผล ดังที่พรรณนาให้ฟังมานี้
ให้พึงตั้งอยู่ในอัปปมาทธรรม คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทในที่นี้ก็คือ ความพยายามมีสติสัมปชัญญะ
กำกับความประพฤติทางกาย วาจา ใจ นี้อยู่เสมอๆ ไป
อันนี้มันมีสมาธิเป็นหลักเน้อ ให้เข้าใจ ถ้าหากว่าสมาธิถอนซะแล้ว
ไม่ไหวจริงๆรักษากายวาจาก็ไม่ดี รักษาไม่ได้
ดังนั้นน่ะ เรื่องสมาธินี้สำคัญต้องพยายามรักษาไว้ให้ได้
ในอิริยาบถทั้ง ๔ นี้ พยายามรักษาจิตให้ตั้งมั่นเสมอ
จิตจะตั้งมั่นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสตินั้นแหล่ะหยั่งเข้าไปประคับประคอง
รักษาจิตให้ตั้งมั่นทุกอิริยาบถ : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
การที่เรามาฝึกหัดสมาธิภาวนาอะไรหมู่นี้
ก็ฝึก “สติสัมปชัญญะ” นี้ให้มันแก่กล้า ให้มันเข้มแข็ง
ให้มันว่องไว เช่นเราหัดโน้มสติเข้าไปภายในจิตอย่างนี้นะ
น้อมเข้าไปให้มันถึงจิตได้จริงๆ เมื่อเราหัดน้อมเข้าไปบ่อยๆ
สติมันหยั่งเข้าถึงจิตทุกครั้งๆไป ควบคุมจิตได้อย่างนี้
เมื่อเวลามีเหตุอันสำคัญอะไรกระทบกระทั่งมา
สติมันก็วิ่งเข้าหาจิตได้ทันที ...ห้ามจิตได้
เรื่องที่ควรจะให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความมัวเมามันก็เกิดไมได้บัดนี้ มันก็ไม่เกิดขึ้นในจิตใจผู้นั้น
เพราะว่าผู้นั้นมีสติควบคุมอยู่ ควบคุมจิตอยู่
เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ด้วยดีไม่หวั่นไหวแล้วมันก็มองเห็นหนทาง
แก้ไขเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นๆ เรียกว่า แก้ไขไปในทางสันติ
ไม่ใช่แก้ไขไปในทางที่ให้เกิดบาปเกิดโทษต่างๆ
อันหมู่นี้นะ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านี่
ผู้ใดบำเพ็ญให้เกิดให้มีขึ้นในตนแล้วเอาไปใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
ทุกสมัยทุกกาลเลย เรียกว่าใช้ดำรงชีวิตให้เป็นอยู่อย่างสันติ
เรียกว่าเป็นอยู่อย่างที่ไม่ได้ทำบาป เป็นบุคคลที่เว้นจากบาปได้
เมื่อผู้ใดรู้แจ้งในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ย
ดังนั้นแหละผู้ที่ปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาทั้งหลาย
ให้พึงพากันพิจารณาเหตุผล ดังที่พรรณนาให้ฟังมานี้
ให้พึงตั้งอยู่ในอัปปมาทธรรม คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทในที่นี้ก็คือ ความพยายามมีสติสัมปชัญญะ
กำกับความประพฤติทางกาย วาจา ใจ นี้อยู่เสมอๆ ไป
อันนี้มันมีสมาธิเป็นหลักเน้อ ให้เข้าใจ ถ้าหากว่าสมาธิถอนซะแล้ว
ไม่ไหวจริงๆรักษากายวาจาก็ไม่ดี รักษาไม่ได้
ดังนั้นน่ะ เรื่องสมาธินี้สำคัญต้องพยายามรักษาไว้ให้ได้
ในอิริยาบถทั้ง ๔ นี้ พยายามรักษาจิตให้ตั้งมั่นเสมอ
จิตจะตั้งมั่นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสตินั้นแหล่ะหยั่งเข้าไปประคับประคอง