คำตอบ ไม่ผิด พระพุทธเจ้าสอนคนทั้งสองประเภท สอนคนที่อยากหมดกิเลส และ คนที่ยังไม่อยากหมดกิเลส คนไหนมีบารมีธรรมมาก อยากหมดกิเลส ท่านก็สอนให้อย่ายึดมั่นถือมั่น ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง มุ่งเน้นไปที่ธรรมขั้นสูง ส่วนผู้ที่ยังไม่อยากหมดกิเลส ท่านก็สอนธรรมเบื้องต้นสำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เน้นเรื่องบุญ บาป กฎแห่งกรรม เพราะตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลสก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป บุญ บาป ที่ทำไว้ก็จะส่งผลในภพเบื้องหน้า
การสอนเรื่อง บุญ บาป นรก สวรรค์ เหตุที่ทำให้รวย-จน เหตุที่ทำให้แข็งแรง-เจ็บป่วย เหตุที่ทำให้อายุยืน-สั้น จึงเป็นกรณีของการสอนให้คนที่ยังไม่อยากหมดกิเลส ให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
สิ่งสำคัญของการสอน จำเป็นต้องเลือกหมวดหมู่ธรรมะมาสอนให้ตรงกับประเภทของบุคคล ถ้านำคำสอนเรื่องการปล่อยวาง ไม่ยึดถือในตัวตน ไปสอนคนที่ยังไม่พร้อมจะหมดกิเลส เขาก็จะไม่เห็นประโยชน์ และจะหลีกเลี่ยงเพราะเห็นว่าศาสนาเป็นเรื่องไกลตัวจนละเลยที่จะศึกษาและนำไปปฏิบัติ (เหมือนหมอที่ให้ยาคนไข้ ไม่ถูกโรค) โดยภาพรวมแล้ว ก็ต้องมีการสอนทั้งสองประเภทควบคู่กันไป
ยุคนี้เป็นกึ่งพุทธกาล มีคนจำนวนน้อยที่อยากจะทิ้งชีวิตทางโลก มุ่งศึกษาธรรมะเพื่อจะไปพระนิพพาน ส่วนใหญ่ขอเป็นคนดีในสังคม และนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวัน จึงไม่แปลกที่พระจะนำคำสอนในเรื่องพื้นฐาน มาสอนประชาชน แต่ว่าเมื่อใดที่ท่านเหล่านี้ปฏิบัติความดีพื้นฐานมากเข้า ๆ ในที่สุดเมื่อบารมีมากขึ้นก็จะหันมาศึกษาธรรมะในระดับที่สูงขึ้นเอง
ส่วนคำว่า “พุทธพาณิชย์” โดยความหมายคือการนำศาสนามาค้าขาย
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย หรือ การสร้างบุญกุศล ก็จำเป็นต้องอาศัยแรงจูงใจ การตัดสินว่าเป็นพุทธพาณิชย์หรือไม่ จึงอยู่ที่ว่า “สร้างแรงจูงใจไปในทิศทางใด”
ถ้าแรงจูงใจนั้น นำไปสู่กำไรขาดทุน นั่นเรียกว่าการค้าขาย เป็นพุทธพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง หรือซื้อขายเครื่องรางของขลัง เพราะคนที่ทำการค้าจะพิจารณาว่าซื้อมาเท่าไหร่ และควรขายไปเท่าใด จึงจะมีกำไร
แต่ถ้าแรงจูงใจ นำไปสู่ความเชื่อในผลแห่งบุญ อันนี้ จะเป็นเรื่องการสร้างบุญกุศลด้วยความศรัทธา เช่น เมื่อสอนให้คนมีความเชื่อมั่นว่า การบริจาคทาน ทำให้เกิดบุญ ส่งผลเป็นทรัพย์สมบัติทั้งในภพนี้และภาพหน้าก็จะทำทานอย่างสม่ำเสมอ สอนให้คนรู้ว่าการรักษาศีลจะเป็นบุญ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็จะพยายามรักษาศีลให้มั่นคง เป็นต้น
โดยแนวนี้แหละที่ใช้พิจารณาว่าเป็น พุทธพาณิชย์ หรือไม่
อยากรู้มั๊ย พระสอนให้สนใจเรื่อง ความรวย ให้ยึดติดในบุญ เชื่อนรกสวรรค์มีจริง ถือเป็นพุทธพาณิชย์และสอนผิดหรือไม่
การสอนเรื่อง บุญ บาป นรก สวรรค์ เหตุที่ทำให้รวย-จน เหตุที่ทำให้แข็งแรง-เจ็บป่วย เหตุที่ทำให้อายุยืน-สั้น จึงเป็นกรณีของการสอนให้คนที่ยังไม่อยากหมดกิเลส ให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
สิ่งสำคัญของการสอน จำเป็นต้องเลือกหมวดหมู่ธรรมะมาสอนให้ตรงกับประเภทของบุคคล ถ้านำคำสอนเรื่องการปล่อยวาง ไม่ยึดถือในตัวตน ไปสอนคนที่ยังไม่พร้อมจะหมดกิเลส เขาก็จะไม่เห็นประโยชน์ และจะหลีกเลี่ยงเพราะเห็นว่าศาสนาเป็นเรื่องไกลตัวจนละเลยที่จะศึกษาและนำไปปฏิบัติ (เหมือนหมอที่ให้ยาคนไข้ ไม่ถูกโรค) โดยภาพรวมแล้ว ก็ต้องมีการสอนทั้งสองประเภทควบคู่กันไป
ยุคนี้เป็นกึ่งพุทธกาล มีคนจำนวนน้อยที่อยากจะทิ้งชีวิตทางโลก มุ่งศึกษาธรรมะเพื่อจะไปพระนิพพาน ส่วนใหญ่ขอเป็นคนดีในสังคม และนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวัน จึงไม่แปลกที่พระจะนำคำสอนในเรื่องพื้นฐาน มาสอนประชาชน แต่ว่าเมื่อใดที่ท่านเหล่านี้ปฏิบัติความดีพื้นฐานมากเข้า ๆ ในที่สุดเมื่อบารมีมากขึ้นก็จะหันมาศึกษาธรรมะในระดับที่สูงขึ้นเอง
ส่วนคำว่า “พุทธพาณิชย์” โดยความหมายคือการนำศาสนามาค้าขาย
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย หรือ การสร้างบุญกุศล ก็จำเป็นต้องอาศัยแรงจูงใจ การตัดสินว่าเป็นพุทธพาณิชย์หรือไม่ จึงอยู่ที่ว่า “สร้างแรงจูงใจไปในทิศทางใด”
ถ้าแรงจูงใจนั้น นำไปสู่กำไรขาดทุน นั่นเรียกว่าการค้าขาย เป็นพุทธพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง หรือซื้อขายเครื่องรางของขลัง เพราะคนที่ทำการค้าจะพิจารณาว่าซื้อมาเท่าไหร่ และควรขายไปเท่าใด จึงจะมีกำไร
แต่ถ้าแรงจูงใจ นำไปสู่ความเชื่อในผลแห่งบุญ อันนี้ จะเป็นเรื่องการสร้างบุญกุศลด้วยความศรัทธา เช่น เมื่อสอนให้คนมีความเชื่อมั่นว่า การบริจาคทาน ทำให้เกิดบุญ ส่งผลเป็นทรัพย์สมบัติทั้งในภพนี้และภาพหน้าก็จะทำทานอย่างสม่ำเสมอ สอนให้คนรู้ว่าการรักษาศีลจะเป็นบุญ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็จะพยายามรักษาศีลให้มั่นคง เป็นต้น
โดยแนวนี้แหละที่ใช้พิจารณาว่าเป็น พุทธพาณิชย์ หรือไม่