จิตไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณไม่ใช่จิต

ปฏิบัติมี4อย่าง
1.    ปฏิบัติได้ง่าย  เป็นสุข   อาจารย์สอนถูก  ปฏิบัติถูก  ศีลบริสุทธิ์
2.    ปฏิบัติได้ง่าย  เป็นทุกข์   อาจารย์สอนถูก  ปฏิบัติถูก  ศีลไม่บริสุทธิ์
3.    ปฏิบัติได้ยาก เป็นสุข   อาจารย์สอนถูก  ปฏิบัติผิด  ศีลบริสุทธิ์
4.    ปฏิบัติได้ยาก  เป็นทุกข์   อาจารย์สอนถูก  ปฏิบัติผิด  ศีลไม่บริสุทธิ์
ปฏิบัติไม่ได้ เป็นบ้า   อ่านตำราตีความผิด ไม่มีศีล ให้ไปหาอาจารย์
และไปหาศีล
การเริ่มต้น สอนให้เริ่มที่ 1 สอนกันผิดๆๆ เมื่อเริ่มที่1-9 ก็ไปต่อไม่ถูก
เพราะไม่รู้จัก 0 ไม่รู้ว่า 10 เป็นอย่างไร ก็ข้ามไป 11,12,13…..19
ไม่รู้จัก100ก็ข้ามไป111เลย เพราะเลข0ไม่มีในสาระบบ อาจารย์ไม่ได้สอน
ให้รู้จักเลข0 เริ่มต้นผิดก็ผิดไปเรื่อยๆๆปฏิบัติไม่ได้ เป็นบ้า  
         จิตก็เช่นกันเริ่มต้นไม่รู้ว่าจิตเป็นอย่างไร ก็โง่ปฏิบัติผิด แต่เริ่มแรก ไม่มีโอกาสได้มรรค ผล
จิตเปรียบเหมือนตะกร้าใบใหญ่ ในตะกร้ามีแม่เหล็ก 4แท่ง
แท่งหนึ่งชื่อว่า วิญญาณ  แท่งที่สองชื่อว่า เวทนา  แท่งที่สามชื่อว่าสัญญา
แท่งที่สี่ชื่อว่าสังขาร
จิตมีหน้าที่รับรู้อารมณ์  สะสมอารมณ์  เจตนาคิดอารมณ์  รู้สึกอารมณ์  จำอารมณ์
จิตที่ยังไม่มีอารมณ์  จิตยังไม่ทำงาน ยังไม่ไปรับรู้อารมณ์  วิญญาณ และเจต   สิคก็ยังไม่มี
เมื่อมีเศษเหล็ก สมมุติว่าเป็นกิเลสหล่นลงมาในตะกร้า จิตรับรู้ถึงกิเลส
มีอารมณ์ขึ้นมา คือมีวิญญาณไปรับอารมณ์ที่จิตไปยึดกิเลสนั้น
เปรียบเหมือนแม่เหล็ก ที่ชื่อว่าวิญญาณ ไปดูด กิเลส ตัวดูดก็คืออุปาทาน
แม่เหล็กแท่งอื่นก็ทำงานร่วมกับวิญญาณ ที่จิตไปเจตนาคิด ไปจำ ไปรู้สึก
          ก็ดูดคือมีอุปาทาน ดูดเข้าหากัน ดูดมาก น้อย ดูดแรงดูดเบาขึ้นอยู่กับตัณหา ความอยาก  เมื่อจิตไม่อยาก ก็จะเกิดการผลัก กัน ระหว่างแม่เหล็ก อุปาทานก็จะมีแรงผลักมาน้อยตามความไม่อยาก ที่ไม่อยากมาก ไม่อยากน้อย
          จิตที่ไม่แส่ไม่ส่ายไปหาอารมณ์ก็เป็นจิตเฉยๆๆ ยังไม่ได้ประกอบไปด้วยวิญญาณและเจตสิค  เมื่อจิตไปแส่ไปส่ายหาอารมณ์ จิตไปรับอารมณ์ทำให้มีวิญญาณที่มีหน้าที่สัมผัส อารมณ์ คือผัสสะ ที่กิเลสมากระทบสฬายตนะ จึงมีผัสสะ โดยวิญญาณไปรับมา เป็นมโนวิญญาณมาที่มโนทวาร มโนก็ไม่ใช่จิต มโนเป็นช่องทางที่จิตไปรับรู้อารมณ์ โดยเป็นมโนวิญญาณ  มีวิญญาณเดินไปตามมโนช่องทางนี้ ที่มี 6ช่องทาง ตามอายตนะ6
        ฉะนั้นจะต้องเข้าใจคุณสมบัติของจิต หน้าที่ของจิต การทำงานของจิต
จิตประกอบไปด้วยอะไร จิตอยู่ที่ไหน จิตมีลักษณะอย่างไร
    การตีความว่าจิตคือวิญญาณ จิตคือมโนจึงตีความผิดแต่เริ่มต้น การปฏิบัติก็ผิดไปหมด คลาดเคลื่อนไปหมด กาปฏิบัติจึงปฏิบัติกันไม่ได้
จิต มีอวิชชา ทำให้มีสังขาร ทำให้มี วิญญาณ  จิตจึงไม่ใช่วิญญาณ
จิตไม่มีในวิญญาณ แต่วิญญาณมีในจิต  จิตไม่มีในเจตสิค แต่เจตสิคมีในจิต จิตไม่มีในมโน  แต่มโนมีในจิต  จิตไม่มีในสฬายตนะ แต่สฬายตนะมีในจิต  จิตไม่มีในผัสสะ แต่ในผัสสะมีในจิต  มีผู้เข้าใจว่า จิตคือผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะก็ไม่มีจิต หลงตามตำราไปหมด ปฏิบัติกันไม่ได้ก็เพราะไปตีความตามตำรา ให้ไปหาอาจารย์ ไปถามอาจารย์ แล้วปฏิบัติให้ถูก ให้มีศีลบริสุธิ์ ก็จะปฏิบัตได้ง่ายเป็นสุข ปฏิบัติได้เร็ว
มีมากที่ปฏิบัติผิดใช้วิธีละอารมณ์ ระงับ อารมณ์ ไม่ดูอารมณ์ พอเกิดอุปาทานไปยึดติดอารมณ์ อยาก อารมณ์ไม่อยาก ตัณหา กาม ราคะ เกิด ก็ไประงบ ไปละเสีย นึกในใจ ว่า ไม่อยาก ไม่เอา ไม่เสพ ไปละอุปาทาน ก็ปฏิบัติผิดไปหมด
ทุกข์ต้องกำหนดรู้  สมุทัยควรละ นี่ตีความผิด ก็ไปนึกละอย่างเดียว สาเหตุของทุกข์ คือตัณหา มีอุปาทานไปยึดมา ยังไม่เห็นทุกข์ พออยากก็ไปนึกเอาเองว่าไม่อยาก
ก็หลงในวิปัสสนาเป็นวิปัสสนาเทียม วิปัสสนึก นึกเองเออ เองหมด ก็เลยหลงในวิปัสสนา คือน้อมใจเชื่อว่าเราเกิดวิปัสสนาแล้ว แต่ที่จริงไม่มีวิปัสสนาเลย แล้วปฏิบัติไปจะได้มรรค ผลอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนี้นานเข้าก็จะถูกวิปัสสนูปกิเลสหลอกว่าได้มรรคผลแล้ว
  มีมากที่ไปตีความว่า จิตคือวิญญาณ กายวิญญาณ คือจิตไปอยู่ตามกาย
จักขุวิญญาณ จิตไปอยู่ที่ตา โสตวิญญาณ จิตไปอยู่ที่หู ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ คือจิตไปอยู่ตามทวารทั้ง6 นี่ก็หลงปฏิบัติไม่ได้อะไรหลงไปหมด จิตไม่ใช่วิญญาณตีความผิดเข้าใจผิด ปฏิบัติผิด จิตอยู่ที่ไหนอยู่ตรงไหน ก็ไม่รู้ ก็ไปเอาจิตไปไว้ตรงนู้นไปไว้ตรงนี้ ปฏิบัติไม่ได้เพราะสมาธิไม่มี จิตแส่ส่ายไปตามอายตนะ เป็นมิจฉาสมาธิ  มิจฉาสติ เนื่องมาจากมีมิจฉาฑิฐิ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เอาประสพการณ์ตัวเองมาเล่าหรอครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่