จขกท. เคยอ่านหนังสือเรื่อง "ราชันย์ผู้พลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง" ที่แปลมาจากหนังสือเรื่อง "The King in Exile: The Fall of the Royal Family of Burma" เขียนโดย Sudha Shah เลยมีข้อสงสัยบางประการ
หนังสือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยลัต พระมหากษัตริย์และพระราชินีองค์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ในช่วงหลังจากที่ทั้งสองพระองค์และพระทายาท ได้ทรงถูกเนรเทศมาอยู่ที่อินเดียแล้ว โดยเล่าเรื่องราวถึงพระชนม์ชีพของครอบครัวของพระองค์ในอินเดีย และเรื่องราวของพระทายาทของท่านจนมาถึงรุ่นหลาน
ทีนี้ในส่วนที่ จขกท. สงสัย จนกลายมาเป็นหัวข้อกระทู้คือ ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงกรณีที่เคยมีความพยายามที่จะให้เจ้าชายจากสยามมาสมรสกับเจ้าหญิงพม่า ที่ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยลัต (ทั้งสองทรงมีพระราชธิดาที่ทรงเจริญพระชันษาเป็นผู้ใหญ่สี่พระองค์ ทรงมีพระราชโอรส - ธิดาองค์อื่นๆด้วยแต่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ยังทรงเป็นทารก)
จากข้อความตอนหนึ่งของหนังสือที่ว่า (จากบท "พระนางศุภยาลัต" หน้า 265 บทนี้อยู่ในภาค 3: หลังการเนรเทศ อิงตามฉบับแปลภาษาไทย)
"เจ้าหญิงสี่และโก่โก่นายแต่งงานกันในวันที่ 1 กรกฏาคม 1920 เพียงสองวันหลังจากที่เจ้าหญิงใหญ่เดินทางกลับไปรัตนคีรี ไม่กี่เดือนก่อนแต่งงาน มีเรื่องเล็กๆที่ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองสะดุด ชาวสยามกลุ่มหนึ่งมาเข้าเฝ้าพระนางศุภยาลัตเพื่อเจรจาสู่ขอเจ้าหญิงสี่ให้แต่งงานกับเจ้าชายของพวกเขา พระนางศุภยาลัตยินดียิ่งและขอให้พวกเขาส่งรูปเจ้าชายมาให้...
เห็นได้ชัดว่าเจ้าหญิงสี่ทรงยินดี หรืออย่างน้อยที่สุดเป็นปลื้มไปกับข้อเสนอด้วย เมื่อได้รับรูปถ่ายของเจ้าชายรูปงาม เธอนำไปวางอย่างโดดเด่นไว้ที่โต๊ะข้างเตียงของเธอ..."
เสียดายที่ผู้เขียนใช้การเขียนเป็นแนวสารคดี ไม่ใช่การเขียนเชิงวิชาการอย่างเต็มที่ ทำให้การหาถึงแหล่งอ้างอิงของข้อมูลที่ได้นั้นเป็นไปได้ยาก (ส่วนอ้างอิงลงเป็นบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่ม ไม่ได้ใส่เป็นเชิงอรรถไว้ในแต่ละบทด้วย) ถ้ามีส่วนนี้ด้วย จะทำให้การค้นคว้าตรงนี้เป็นไปได้มากขึ้นและจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ในบท "เจ้าหญิงเจริญวัย" หน้า 177 อยู่ในภาค 2: ระหว่างการเนรเทศ กล่าวถึงการถกเถียงระหว่างรัฐบาลอาณานิคมเกี่ยวกับการสมรสของเจ้าหญิงทั้งสี่ ซึ่งดูเหมือนไปในทางที่ว่าไม่ต้องการให้สมรส เนื่องจากอาจกลายเป็นประเด็นทางการเมืองภายหลังได้ ความว่า
"รัฐบาลในพม่าได้แสดงความเห็นต่อไปว่า ถ้ารัฐบาลในอินเดียเห็นว่าเป็นพันธกรณีที่ต้องให้เจ้าหญิงได้สมรส ฉะนั้นถ้าแต่งงานกับเจ้าชายพม่า เจ้าหญิงและสามีจะต้องพำนักนอกประเทศพม่า ถ้าแต่งงานกับชายพม่าที่เป็นสามัญชน ต้องได้รับการอนุมัติจากรองผู้ว่าราชการแห่งพม่า และอาจได้รับอนุญาตให้ใช้ชีวิตในพม่าได้ การแต่งงานกับเชื้อพระวงศ์ของสยามหรือซีลอน (ศรีลังกา) ซึ่งมีความเชื่อทางศาสนาคล้ายกันจะเป็นทางเลือกที่ซับซ้อนน้อยที่สุดสำหรับรัฐบาล แต่ที่ดีที่สุดคือการไม่หยิบยกเรื่องการแต่งงานของเจ้าหญิงขึ้นมาถามอีก..."
ความน่าสงสัยคือ "ใคร" จะเป็นเจ้าชายชาวสยาม ที่ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ซึ่ง จขกท. ขอตั้งข้อสันนิษฐาน และชวนมาถกเถียงกันในกระทู้นี้
1.คำว่า "ชาวสยาม" ที่ว่านี่ หมายถึงคนกลุ่มใดบ้าง จขกท.มองว่าอาจเป็นชาวสยาม ที่เป็นชาวสยาม ที่อยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน หรือหมายถึงชนกลุ่มอื่น อย่างหัวเมืองเหนือ ที่ในตอนนั้นถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างชาติสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว คนประเทศอื่นจึงมอรวมว่าเป็นสยาม
2.หากเป็นชาวสยามจริง แล้วเหตุใดถึงมีความพยายามเช่นนั้น อีกทั้งในปี 1920 หรือ 2463 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 6 สยามยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการสุ่มเสี่ยงมาก อีกทั้งแม้จะเป็นเจ้านายจากสยามจริง แล้วทำไมชาวสยาม ซึ่งมักมองพม่าว่าเป็นศัตรูนั้นต้องทำอย่างนั้น อีกทั้งเจ้าหญิงของพม่านั้นถือว่าเป็นคนในบังคับอังกฤษ การนำเจ้านายของตัวเองไปสมรสกับคนในบังคับอังกฤษอาจไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม และอาจนำมาสู่ประเด็นที่วุ่นวายทางการเมืองได้ (เช่นกรณีในเรื่องของมะเมี้ยะ)
3. "เจ้าชาย" องค์นั้นอาจหมายถึง เจ้านายจริงๆหรือราชนิกูล อย่างหม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวงก็ได้ เนื่องจากบันทึกของต่างประเทศอาจเหมาว่าสองสกุลยศนี้เป็นเจ้าหมด เพราะไม่เข้าใจว่าตามธรรมเนียมของสยาม/ไทย แม้หม่อมราชวงศ์กับหม่อมหลวงจะเป็นราชนิกูล แต่ก็ถือเป็นสามัญชน ไม่ใช่เจ้านายแล้ว
ลองมาถกเถียงกันดูครับ
หากมีสิ่งใดผิดพลาดไปหรือไม่เหมาะสมก็ขออภัย
(ประวัติศาสตร์พม่า) เคยมีความพยายามที่จะให้เจ้าชายจากสยามสมรสกับเจ้าหญิงพม่า?
หนังสือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยลัต พระมหากษัตริย์และพระราชินีองค์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ในช่วงหลังจากที่ทั้งสองพระองค์และพระทายาท ได้ทรงถูกเนรเทศมาอยู่ที่อินเดียแล้ว โดยเล่าเรื่องราวถึงพระชนม์ชีพของครอบครัวของพระองค์ในอินเดีย และเรื่องราวของพระทายาทของท่านจนมาถึงรุ่นหลาน
ทีนี้ในส่วนที่ จขกท. สงสัย จนกลายมาเป็นหัวข้อกระทู้คือ ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงกรณีที่เคยมีความพยายามที่จะให้เจ้าชายจากสยามมาสมรสกับเจ้าหญิงพม่า ที่ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยลัต (ทั้งสองทรงมีพระราชธิดาที่ทรงเจริญพระชันษาเป็นผู้ใหญ่สี่พระองค์ ทรงมีพระราชโอรส - ธิดาองค์อื่นๆด้วยแต่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ยังทรงเป็นทารก)
จากข้อความตอนหนึ่งของหนังสือที่ว่า (จากบท "พระนางศุภยาลัต" หน้า 265 บทนี้อยู่ในภาค 3: หลังการเนรเทศ อิงตามฉบับแปลภาษาไทย)
เห็นได้ชัดว่าเจ้าหญิงสี่ทรงยินดี หรืออย่างน้อยที่สุดเป็นปลื้มไปกับข้อเสนอด้วย เมื่อได้รับรูปถ่ายของเจ้าชายรูปงาม เธอนำไปวางอย่างโดดเด่นไว้ที่โต๊ะข้างเตียงของเธอ..."
เสียดายที่ผู้เขียนใช้การเขียนเป็นแนวสารคดี ไม่ใช่การเขียนเชิงวิชาการอย่างเต็มที่ ทำให้การหาถึงแหล่งอ้างอิงของข้อมูลที่ได้นั้นเป็นไปได้ยาก (ส่วนอ้างอิงลงเป็นบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่ม ไม่ได้ใส่เป็นเชิงอรรถไว้ในแต่ละบทด้วย) ถ้ามีส่วนนี้ด้วย จะทำให้การค้นคว้าตรงนี้เป็นไปได้มากขึ้นและจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ในบท "เจ้าหญิงเจริญวัย" หน้า 177 อยู่ในภาค 2: ระหว่างการเนรเทศ กล่าวถึงการถกเถียงระหว่างรัฐบาลอาณานิคมเกี่ยวกับการสมรสของเจ้าหญิงทั้งสี่ ซึ่งดูเหมือนไปในทางที่ว่าไม่ต้องการให้สมรส เนื่องจากอาจกลายเป็นประเด็นทางการเมืองภายหลังได้ ความว่า
ความน่าสงสัยคือ "ใคร" จะเป็นเจ้าชายชาวสยาม ที่ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ซึ่ง จขกท. ขอตั้งข้อสันนิษฐาน และชวนมาถกเถียงกันในกระทู้นี้
1.คำว่า "ชาวสยาม" ที่ว่านี่ หมายถึงคนกลุ่มใดบ้าง จขกท.มองว่าอาจเป็นชาวสยาม ที่เป็นชาวสยาม ที่อยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน หรือหมายถึงชนกลุ่มอื่น อย่างหัวเมืองเหนือ ที่ในตอนนั้นถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างชาติสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว คนประเทศอื่นจึงมอรวมว่าเป็นสยาม
2.หากเป็นชาวสยามจริง แล้วเหตุใดถึงมีความพยายามเช่นนั้น อีกทั้งในปี 1920 หรือ 2463 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 6 สยามยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการสุ่มเสี่ยงมาก อีกทั้งแม้จะเป็นเจ้านายจากสยามจริง แล้วทำไมชาวสยาม ซึ่งมักมองพม่าว่าเป็นศัตรูนั้นต้องทำอย่างนั้น อีกทั้งเจ้าหญิงของพม่านั้นถือว่าเป็นคนในบังคับอังกฤษ การนำเจ้านายของตัวเองไปสมรสกับคนในบังคับอังกฤษอาจไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม และอาจนำมาสู่ประเด็นที่วุ่นวายทางการเมืองได้ (เช่นกรณีในเรื่องของมะเมี้ยะ)
3. "เจ้าชาย" องค์นั้นอาจหมายถึง เจ้านายจริงๆหรือราชนิกูล อย่างหม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวงก็ได้ เนื่องจากบันทึกของต่างประเทศอาจเหมาว่าสองสกุลยศนี้เป็นเจ้าหมด เพราะไม่เข้าใจว่าตามธรรมเนียมของสยาม/ไทย แม้หม่อมราชวงศ์กับหม่อมหลวงจะเป็นราชนิกูล แต่ก็ถือเป็นสามัญชน ไม่ใช่เจ้านายแล้ว
ลองมาถกเถียงกันดูครับ
หากมีสิ่งใดผิดพลาดไปหรือไม่เหมาะสมก็ขออภัย