เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวี เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามินดง กับเจ้าจอมมารดาทยาสิ่น
เป็นน้องสาวต่างพระชนนีของพระนางศุภยาลัตกับพระเจ้าธีบอ
เป็นเจ้าหญิงที่รอดจากการถูกสังหารล้างโคตรโดยพระนางอเลนันดอ
เพราะถูกมองว่าไม่มีอำนาจและความสำคัญใดๆ ทั้งขณะนั้นก็พระชนม์มายุเพียง 14-15 ปีเท่านั้น
แม้จะรอดมาได้ แต่ก็เป็นประจักษ์พยานในการสังหารหมู่ครั้งนั้น เพราะสูญเสียพระประยูรญาติไปมากมาย
ช่วงการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในพม่า เจ้าหญิงอายุราวๆ 19-20 ปี
ได้รับอนุญาติให้อาศัยอยู่ในพม่าต่อไปได้ ไม่ต้องถูกเนรเทศไปอินเดีย
แต่ก็ถูกพาตัวออกจากวังหลวงกรุงมัณฑะเลย์ ไปพำนักที่ย่างกุ้ง
ที่ย่างกุ้งนี้ เจ้าหญิงเมงหลง
พระขนิษฐาร่วมพระชนนีได้เสกสมรสกับเจ้าชายก่อว์ลิ่น ในปี 2437
แต่ผ่านไปเพียง 5 ปี ก็สิ้นพระชนม์ในการให้กำเนิดพระธิดา ในปี 2441
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีผู้เป็นป้า จึงต้องมาเลี้ยงดูหลานๆที่กำพร้าแม่
ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะแต่งงานกับเจ้าชายก่อว์ลิ่นในปี 2445
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีมีอายุยืนยาวมาก
คือสิ้นพระชนม์หลังเจ้าเจ้าหญิงมะข่อง พระธิดาเลี้ยงองค์โต ที่สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2462
และชายก่อว์ลิ่นพระสวามี ที่สิ้นพระชนม์ในปี 2466
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีก็ยังอยู่ และประทับอยู่กับเจ้าหญิงมะซู พระธิดาเลี้ยงองค์เล็ก
จนสิ้นพระชนม์ในปี 2495 สิริพระชนมายุ 87 พรรษา
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีเป็นสตรีที่ใช้ชีวิตเรียบๆ
ไม่ได้โลดโผนโจนทะยานอย่างพระนางศุภยาลัต
แต่น่าจะเป็นสตรีได้สัมผัสความผันผวนในพม่ามากมายที่สุด
นับตั้งแต่การสังหารหมู่พระราชวงศ์โดยพระนางอเลนันดอ การสูญสลายของระบอบกษัตริย์ในพม่า
การเสียแผ่นดิน(ครั้งแรก) ให้กับอังกฤษ การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง
การเสียเอกราชครั้งที่สองโดยการเข้ายึดครองของญี่ปุ่น การพ้นการการครอบครองของญี่ปุ่น
การลงนามสนธิสัญญาปางหลวง การได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากอังกฤษ
และการล่มสลายของระบบเจ้าฟ้าของแคว้นต่างๆในพม่า
รวมถึงเป็นผู้ที่เห็นครอบครัวของพระนางศุภยาลัต ในวันที่ถูกเนรเทศไปอินเดีย ในปี 2427
จนถึงวันที่พระนางศุภยาลัตพร้อมพระราชธิดากลับคืนสู่พม่า ในปี 2458
และการสิ้นพระชนม์ของพระนางศุภยาลัตในปี 2468
ถ้าเอาเรื่องของเจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีแห่งราชวงศ์อลองพญามาทำหนัง/ละคร คิดว่าใครน่าจะเหมาะ(ยุคเดียวกับพระนางศุภยาลัต)
เป็นน้องสาวต่างพระชนนีของพระนางศุภยาลัตกับพระเจ้าธีบอ
เป็นเจ้าหญิงที่รอดจากการถูกสังหารล้างโคตรโดยพระนางอเลนันดอ
เพราะถูกมองว่าไม่มีอำนาจและความสำคัญใดๆ ทั้งขณะนั้นก็พระชนม์มายุเพียง 14-15 ปีเท่านั้น
แม้จะรอดมาได้ แต่ก็เป็นประจักษ์พยานในการสังหารหมู่ครั้งนั้น เพราะสูญเสียพระประยูรญาติไปมากมาย
ช่วงการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในพม่า เจ้าหญิงอายุราวๆ 19-20 ปี
ได้รับอนุญาติให้อาศัยอยู่ในพม่าต่อไปได้ ไม่ต้องถูกเนรเทศไปอินเดีย
แต่ก็ถูกพาตัวออกจากวังหลวงกรุงมัณฑะเลย์ ไปพำนักที่ย่างกุ้ง
ที่ย่างกุ้งนี้ เจ้าหญิงเมงหลง
พระขนิษฐาร่วมพระชนนีได้เสกสมรสกับเจ้าชายก่อว์ลิ่น ในปี 2437
แต่ผ่านไปเพียง 5 ปี ก็สิ้นพระชนม์ในการให้กำเนิดพระธิดา ในปี 2441
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีผู้เป็นป้า จึงต้องมาเลี้ยงดูหลานๆที่กำพร้าแม่
ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะแต่งงานกับเจ้าชายก่อว์ลิ่นในปี 2445
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีมีอายุยืนยาวมาก
คือสิ้นพระชนม์หลังเจ้าเจ้าหญิงมะข่อง พระธิดาเลี้ยงองค์โต ที่สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2462
และชายก่อว์ลิ่นพระสวามี ที่สิ้นพระชนม์ในปี 2466
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีก็ยังอยู่ และประทับอยู่กับเจ้าหญิงมะซู พระธิดาเลี้ยงองค์เล็ก
จนสิ้นพระชนม์ในปี 2495 สิริพระชนมายุ 87 พรรษา
เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวีเป็นสตรีที่ใช้ชีวิตเรียบๆ
ไม่ได้โลดโผนโจนทะยานอย่างพระนางศุภยาลัต
แต่น่าจะเป็นสตรีได้สัมผัสความผันผวนในพม่ามากมายที่สุด
นับตั้งแต่การสังหารหมู่พระราชวงศ์โดยพระนางอเลนันดอ การสูญสลายของระบอบกษัตริย์ในพม่า
การเสียแผ่นดิน(ครั้งแรก) ให้กับอังกฤษ การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง
การเสียเอกราชครั้งที่สองโดยการเข้ายึดครองของญี่ปุ่น การพ้นการการครอบครองของญี่ปุ่น
การลงนามสนธิสัญญาปางหลวง การได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากอังกฤษ
และการล่มสลายของระบบเจ้าฟ้าของแคว้นต่างๆในพม่า
รวมถึงเป็นผู้ที่เห็นครอบครัวของพระนางศุภยาลัต ในวันที่ถูกเนรเทศไปอินเดีย ในปี 2427
จนถึงวันที่พระนางศุภยาลัตพร้อมพระราชธิดากลับคืนสู่พม่า ในปี 2458
และการสิ้นพระชนม์ของพระนางศุภยาลัตในปี 2468