หลังจากชมละครเพชรกลางไฟ รู้สึกประทับใจในความสวยงามของชุดของตัวละครที่เป็นเจ้านายสตรีมากๆ จขกท.จึงได้ลองค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม พบข้อมูลและภาพประกอบที่น่าสนใจเลยอยากนำมาแบ่งปัน เนื้อหาและรูปทั้งหมดเสมือน
คัดลอกออกมาจากหนังสือทั้งหมด รูปภาพที่ถ่ายมาจึงอาจโย้เย้บ้าง ต้องขออภัยจริงๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถ้าใครเห็นความไม่เหมาะสมตรงไหนมากๆรบกวนแจ้งให้แก้ไขด้วย
คือ หนังสือ
ราชพัสตราภรณ์ (2548) โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ,
การแต่งกายไทย: วิวัฒนาการและเอกลักษณ์ประจำชาติ เล่ม 1 (2543) โดย คณะอนุกรรมการการแต่งกายไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ
เบื้องต้น ช่วงเวลาในละครคือ ต้นยุครัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2454-2456) การแต่งกายในละครโดยรวม มีทั้งแบบปลายยุครัชกาลที่ 5 และช่วงต้น-ช่วงปลายรัชกาลที่ 6 มีข้อสังเกตคือ บางชุดเป็นชุดล้ำยุค (ยังไม่มีจริงตามช่วงเวลาในนิยาย) น่าจะเป็นความตั้งใจของทีมงานที่อยากนำเสนอให้เห็นความงดงามของการแต่งกายในยุครัชกาลที่ 6 โดยขอนำเสนอแบ่งออกเป็น 2 ยุคสำคัญ จะเป็นเนื้อหากับภาพจากหนังสือ และรูปจากละครที่คิดว่าดูสอดคล้องกับในคำอธิบายนั้นๆ (อันนี้คือ จากการคาดเดานะคะ) มีเนื้อหาดังนี้ค่ะ
ปลายยุครัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2440-2453)
รูปแบบการแต่งกาย ทรงผม ตลอดจนเครื่องประดับของสตรีในราชสำนักสยามในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างมาก นับตั้งแต่ทรงผม ซึ่งแต่เดิมไว้ผม
ทรงดอกกระทุ่มมานิยมไว้ยาวถึงกลางหลัง และหวีเสยด้านหน้าให้ตั้งสูง สอดใส่ช้องผมไว้ภายในตามแบบสตรีญี่ปุ่น และมีการตกแต่ง ประดับด้วย
แถบผ้า แถบลูกไม้ โบว์ ริบบิ้น หรือลูกปัดอย่างงดงาม
ส่วนฉลองพระองค์หรือเสื้อจะตัดเย็บจาก
ผ้าลูกไม้หรือผ้าเนื้อดีบางเบาจากต่างประเทศ รูปแบบของเสื้อแขนหมูแฮมได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
คอเสื้อจะกว้างมากขึ้น ลำตัวเสื้อจะปล่อยหลวม ตกแต่งด้วยผ้าหรือลูกไม้ แถบริบบิ้น ลูกปัด และไข่มุก แขนเสื้อพอง
ทิ้งตัวและยาวเลยข้อศอก และ
สะพายทับด้วยแพรอย่างหลวมๆ เฉวียงไหล่ซ้าย
กลัดทับด้วยเข็มกลัดอัญมณีอย่างดงาม ในยุคนี้นิยมใช้เครื่องประดับ อาทิ โชคเกอร์ (Choker) หรือเครื่องประดับพระศอ เข็มกลัด จี้ สร้อยคอ มีความงดงามหรูหราตามแบบตะวันตก โดยเครื่องประดับเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ตามแต่วาระและโอกาสในการสวมใส่ เข็มกลัดและจี้เพชรที่ช่างผู้ออกแบบได้ให้ความใส่ใจในรายละเอียด อาทิ ลวดลายช่อดอกไม้ ใบแปะก๊วย ค้างคาว นกยูง ผีเสื้อ กบ เต่า หงส์ ปลา เป็นต้น
ผ้านุ่งจะเป็น
ผ้าโจง ทำจากผ้าเนื้อดี บ้างเป็นผ้าไหมยกดอกเนื้อหนา บ้างเป็นผ้าไหมหางกระรอกคุรภาพสูงที่ทอจากหัวเมืองต่างๆ นิยมสวมถุงพระบาทที่มีการตกแต่งหรือปักลวดลายอย่างสวยงาม
สวมใส่กับรองเท้าส้นสูงแต่งลวดลายแบบตะวันตก
พัดทรงหรือพระวิชนีที่ถือจะทำจากวัสดุงดงาม สูงค่า เช่น ผ้าลูกไม้จากต่างประเทศ ขนนก งาช้าง กระดองเต่ากระ
ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังแห่งใหม่ขึ้น คือ พระราชวังดุสิต ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพระบรมวงศานุวงศ์และสามชิกฝ่ายในเปลี่ยนแปลงไป เช่นดียวกับรูปแบบการแต่งพระองค์และการแต่งกายที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวืตประจำวันที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉงขึ้น
ส่วนในโอกาสลำลอง การแต่งกายของสตรียังเป็น
แบบนุ่งผืน ห่มผืน คือ
นุ่งโจงด้วยผ้าพื้นหรือผ้าลาย และห่มผ้าแถบหรือสไบแพร ไม่สวมรองเท้า ตามแบบที่ปฏิบัติมาแต่ครั้งโบราณ การห่มผ้าแถบนั้นคือการพันอกด้วยผ้าแถบและเหน็บชาย
ตัวอย่างการแต่งกายยุคปลายรัชกาลที่ 5
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ไว้พระเกศาดอกกระทุ่ม พระภูษาโจงด้วยผ้าไหมยกดอก ฉลองพระองค์ผ้าลูกไม้ คอสี่เหลี่ยม แขนพองยาวแค่ศอก คาดสายรัดพระองค์ผ้าทรงสะพักเป็นผ้าลุกไม้ไม้จับจีบสะพายอย่างหลวมๆ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระพาหาซ้าย ทรงถุงพระบาทแพรปัก ฉลองพระบาทหนังส้นสูงหุ้มส้น
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระเกศาเกล้าเป็นมวยด้านหลัง ประดับศิราภรณ์และปิ่นปัก ทรงพระภูษาซิ่นด้วยผ้าไหมยกดอก ฉลองพระองค์คอปิด แขนระบายเป็นชั้น ยาวจรดข้อพะหัตถ์ ตกแต่งด้วยลูกไม้ ทรงสะพายแพรจีบทับด้วยสานสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ทรงถุงพระบาทและฉลองพระบาทส้นสูงหุ้มส้น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเกศายาว หวีเสยด้านหน้า รวบประดับโบว์ด้านหลัง ทรงพระภูษาโจง ฉลองพระองค์ลูกไม้เข้ารูป คอตั้ง แขนยาวรวบปลายแขน ตกแต่งต้นแขนและตัวฉลองพระองค์ตลอดจนปลายแขนด้วยลูกไม้ ทรงคาดเข็มขัดผ้า ทรงสร้อยพระศอยาว ทรงถุงพระบาท ฉลองพระบาทหนังส้นสูงหุ้มส้น
เจ้าจอมสดับ เกล้าผม ประดับมงกุฎเพชร สวมเสื้อผ้าลูกไม้ คอแหลม แขนยาวเสมอศอก ระบายลูกไม้เป็นชั้นที่ปลายแขน จับจีบที่เอว ปะดับดาราจุลจอมเกล้าผูกเป็นโบว์รูปแมลงปอ สวมสร้อยคอและโชคเกอร์เพชร
การแต่งกายของตัวละครในเพชรกลางไฟ
ถ้าจะเทียบว่าตัวละครใดที่มีการแต่งกายเข้ากับยุคปลายรัชกาลที่ 5 ที่ดูคล้ายคลึง
เสด็จป้าพระเกศาทรงดอกกระทุ่ม ในตำหนักท่านทรงพระภูษาโจง (นุ่งโจง) ห่มสไบ ยามบรรทม นุ่งโจงและผ้าแถบ ส่วนยายแสง ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม นุ่งโจง ห่มผ้าแถบ ทั้งเรื่อง (สังเกตว่าสตรีผู้มีอายุยังไว้ผมทรงดอกกระทุ่มอยู่)
คุณสร้อยกับหม่อมต่วน ใส่เสื้อลูกไม้คอปิด สะพายแพรหลวมๆ ประดับเข็มกลัด นุ่งโจง ถือพัด คุณสร้อยไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม
[เพชรกลางไฟ] การแต่งกายของเจ้านายสตรีปลายยุคร.5-ร.6 : กระทู้ต่อยอดจากการชมละคร
คือ หนังสือ ราชพัสตราภรณ์ (2548) โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, การแต่งกายไทย: วิวัฒนาการและเอกลักษณ์ประจำชาติ เล่ม 1 (2543) โดย คณะอนุกรรมการการแต่งกายไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ
เบื้องต้น ช่วงเวลาในละครคือ ต้นยุครัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2454-2456) การแต่งกายในละครโดยรวม มีทั้งแบบปลายยุครัชกาลที่ 5 และช่วงต้น-ช่วงปลายรัชกาลที่ 6 มีข้อสังเกตคือ บางชุดเป็นชุดล้ำยุค (ยังไม่มีจริงตามช่วงเวลาในนิยาย) น่าจะเป็นความตั้งใจของทีมงานที่อยากนำเสนอให้เห็นความงดงามของการแต่งกายในยุครัชกาลที่ 6 โดยขอนำเสนอแบ่งออกเป็น 2 ยุคสำคัญ จะเป็นเนื้อหากับภาพจากหนังสือ และรูปจากละครที่คิดว่าดูสอดคล้องกับในคำอธิบายนั้นๆ (อันนี้คือ จากการคาดเดานะคะ) มีเนื้อหาดังนี้ค่ะ
รูปแบบการแต่งกาย ทรงผม ตลอดจนเครื่องประดับของสตรีในราชสำนักสยามในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างมาก นับตั้งแต่ทรงผม ซึ่งแต่เดิมไว้ผมทรงดอกกระทุ่มมานิยมไว้ยาวถึงกลางหลัง และหวีเสยด้านหน้าให้ตั้งสูง สอดใส่ช้องผมไว้ภายในตามแบบสตรีญี่ปุ่น และมีการตกแต่ง ประดับด้วยแถบผ้า แถบลูกไม้ โบว์ ริบบิ้น หรือลูกปัดอย่างงดงาม
ส่วนฉลองพระองค์หรือเสื้อจะตัดเย็บจากผ้าลูกไม้หรือผ้าเนื้อดีบางเบาจากต่างประเทศ รูปแบบของเสื้อแขนหมูแฮมได้มีการเปลี่ยนแปลงไป คอเสื้อจะกว้างมากขึ้น ลำตัวเสื้อจะปล่อยหลวม ตกแต่งด้วยผ้าหรือลูกไม้ แถบริบบิ้น ลูกปัด และไข่มุก แขนเสื้อพอง ทิ้งตัวและยาวเลยข้อศอก และสะพายทับด้วยแพรอย่างหลวมๆ เฉวียงไหล่ซ้าย กลัดทับด้วยเข็มกลัดอัญมณีอย่างดงาม ในยุคนี้นิยมใช้เครื่องประดับ อาทิ โชคเกอร์ (Choker) หรือเครื่องประดับพระศอ เข็มกลัด จี้ สร้อยคอ มีความงดงามหรูหราตามแบบตะวันตก โดยเครื่องประดับเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ตามแต่วาระและโอกาสในการสวมใส่ เข็มกลัดและจี้เพชรที่ช่างผู้ออกแบบได้ให้ความใส่ใจในรายละเอียด อาทิ ลวดลายช่อดอกไม้ ใบแปะก๊วย ค้างคาว นกยูง ผีเสื้อ กบ เต่า หงส์ ปลา เป็นต้น
ผ้านุ่งจะเป็นผ้าโจง ทำจากผ้าเนื้อดี บ้างเป็นผ้าไหมยกดอกเนื้อหนา บ้างเป็นผ้าไหมหางกระรอกคุรภาพสูงที่ทอจากหัวเมืองต่างๆ นิยมสวมถุงพระบาทที่มีการตกแต่งหรือปักลวดลายอย่างสวยงาม สวมใส่กับรองเท้าส้นสูงแต่งลวดลายแบบตะวันตก พัดทรงหรือพระวิชนีที่ถือจะทำจากวัสดุงดงาม สูงค่า เช่น ผ้าลูกไม้จากต่างประเทศ ขนนก งาช้าง กระดองเต่ากระ
ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังแห่งใหม่ขึ้น คือ พระราชวังดุสิต ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพระบรมวงศานุวงศ์และสามชิกฝ่ายในเปลี่ยนแปลงไป เช่นดียวกับรูปแบบการแต่งพระองค์และการแต่งกายที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวืตประจำวันที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉงขึ้น
ส่วนในโอกาสลำลอง การแต่งกายของสตรียังเป็นแบบนุ่งผืน ห่มผืน คือ นุ่งโจงด้วยผ้าพื้นหรือผ้าลาย และห่มผ้าแถบหรือสไบแพร ไม่สวมรองเท้า ตามแบบที่ปฏิบัติมาแต่ครั้งโบราณ การห่มผ้าแถบนั้นคือการพันอกด้วยผ้าแถบและเหน็บชาย
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ไว้พระเกศาดอกกระทุ่ม พระภูษาโจงด้วยผ้าไหมยกดอก ฉลองพระองค์ผ้าลูกไม้ คอสี่เหลี่ยม แขนพองยาวแค่ศอก คาดสายรัดพระองค์ผ้าทรงสะพักเป็นผ้าลุกไม้ไม้จับจีบสะพายอย่างหลวมๆ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระพาหาซ้าย ทรงถุงพระบาทแพรปัก ฉลองพระบาทหนังส้นสูงหุ้มส้น
ทรงถุงพระบาทและฉลองพระบาทส้นสูงหุ้มส้น
ถ้าจะเทียบว่าตัวละครใดที่มีการแต่งกายเข้ากับยุคปลายรัชกาลที่ 5 ที่ดูคล้ายคลึง
เสด็จป้าพระเกศาทรงดอกกระทุ่ม ในตำหนักท่านทรงพระภูษาโจง (นุ่งโจง) ห่มสไบ ยามบรรทม นุ่งโจงและผ้าแถบ ส่วนยายแสง ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม นุ่งโจง ห่มผ้าแถบ ทั้งเรื่อง (สังเกตว่าสตรีผู้มีอายุยังไว้ผมทรงดอกกระทุ่มอยู่)
คุณสร้อยกับหม่อมต่วน ใส่เสื้อลูกไม้คอปิด สะพายแพรหลวมๆ ประดับเข็มกลัด นุ่งโจง ถือพัด คุณสร้อยไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม