ละครเรื่อง "ดั่งพรหมลิขิตรัก"
เป็นเรื่องราวของสาวสมัยใหม่ ที่มักจะคิดว่าการย้อนอดีตในนิยายนั้น
มันสามารถเกิดขึ้นได้จริง กับใครก็ได้บนโลกใบนี้
จึงทำให้เธอมุ่งมั่นที่จะ กระโดดข้ามผ่านประตูแห่งเวลา
เพื่อที่จะได้ไปเจอกับเจ้าชายในฝัน และอยากจะเปลี่ยนอดีตให้ได้อย่างที่ใจเธอต้องการ
และความมโนของเธอก็นำพาให้เธอมาหล่นตุ๊บ อยู่ในบางกอก สมัยของล้นเกล้า รัชกาลที่ 6
และสิ่งที่ทำให้เธอตื่นตาตื่นใจมาก นั้นก็คือการแต่งกายที่สวยงาม
ซึ่งเธอเคยเห็นแค่ในหนังสือ และสารคดีต่างๆ
กระทู้นี้จึงขอเสนอบทความที่น่าสนใจ
จากนิตยสารแพรว เวดดิ้ง
ฉัฐรัช พัสตราภรณ์
ย้อนมองแฟชั่นเมืองสยาม ยามเมื่อความงามของตะวันตกมาบรรจบตะวันออก
ตามรอยนิทรรศการแฟชั่น ฉัฐรัช พัสตราภรณ์ สู่โลก แฟชั่นกรุงสยามในกาลก่อน
พร้อมยลโฉมความงามของสตรีไทยในยามเมื่อคลื่นแฟชั่นจากยุโรปสาดซัดข้ามเส้นรุ้งแวง
มาพบกับการปักทอชั้นสูงในราชสำนัก จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะด้านการแต่งกาย
ที่ทำให้หญิงสยามกลายเป็นเบอร์หนึ่งด้านแฟชั่นนิสต้าในอุษาคเนย์
จากอินเดียสู่แฟชั่นราชวงศ์ยุโรป
นับตั้งแต่อยุธยาเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ การผสานความงามของแพรพรรณจึงเกิดขึ้น
ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเห็นจะไม่พ้นผ้าไหมจากอินเดีย และผ้าแพรจากจีน ที่นำมาตัดเย็บเป็นโจงกระเบน ผ้านุ่ง และสไบได้อย่างกลมกลืน
ทว่ายังไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการตัดเย็บแต่อย่างใด กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่หลายประเทศในตะวันตกได้ส่งคณะราชทูตมายังตะวันออกไกล
การผสมผสานระหว่างเอกลักษณ์ด้านแฟชั่นระหว่างสองซีกโลกจึงเริ่มต้นขึ้น
ในยุคนั้นเจ้าจอมหม่อมห้ามเริ่มมีการแต่งกายแบบฝรั่งอยู่บ้าง ทว่าเฉพาะในงานสังสรรค์และการถ่ายภาพในสตูดิโอ
แน่นอนว่าเทรนด์เซตเตอร์ในยุคนั้นต้องยกให้กับราชวงศ์ยุโรป ส่วนเมืองไทยก็เริ่มจากในรั้ววัง
ดังจะเห็นได้จากพระฉายาลักษณ์ในสตูดิโอของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระองค์ทรงฉลองพระองค์ผ้าลูกไม้ตามแฟชั่นสตรีตะวันตกในยุควิกตอเรียตอนปลาย
แต่ยังทรงพระภูษาโจงยกไหม และไว้พระเกศาสั้นที่เรียก ผมทัด ตามพระราชนิยม พร้อมกับเปลี่ยนเครื่องประดับจากทองมาเป็นสร้อยมุกและเพชร
สวมทับกันหลายเส้น คล้ายกับพระราชนิยมในสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดราแห่งราชอาณาจักร
เห็นได้ชัดว่าแฟชั่นสยามกับแฟชั่นโลกในครั้งนั้นไม่ได้ห่างไกลกันตามระยะทางเลยสักนิด
"ดั่งพรหมลิขิตรัก" กับแฟร์ชั่นสาว ยุค ร.6
เป็นเรื่องราวของสาวสมัยใหม่ ที่มักจะคิดว่าการย้อนอดีตในนิยายนั้น
มันสามารถเกิดขึ้นได้จริง กับใครก็ได้บนโลกใบนี้
จึงทำให้เธอมุ่งมั่นที่จะ กระโดดข้ามผ่านประตูแห่งเวลา
เพื่อที่จะได้ไปเจอกับเจ้าชายในฝัน และอยากจะเปลี่ยนอดีตให้ได้อย่างที่ใจเธอต้องการ
และความมโนของเธอก็นำพาให้เธอมาหล่นตุ๊บ อยู่ในบางกอก สมัยของล้นเกล้า รัชกาลที่ 6
และสิ่งที่ทำให้เธอตื่นตาตื่นใจมาก นั้นก็คือการแต่งกายที่สวยงาม
ซึ่งเธอเคยเห็นแค่ในหนังสือ และสารคดีต่างๆ
จากนิตยสารแพรว เวดดิ้ง
ฉัฐรัช พัสตราภรณ์
ย้อนมองแฟชั่นเมืองสยาม ยามเมื่อความงามของตะวันตกมาบรรจบตะวันออก
ตามรอยนิทรรศการแฟชั่น ฉัฐรัช พัสตราภรณ์ สู่โลก แฟชั่นกรุงสยามในกาลก่อน
พร้อมยลโฉมความงามของสตรีไทยในยามเมื่อคลื่นแฟชั่นจากยุโรปสาดซัดข้ามเส้นรุ้งแวง
มาพบกับการปักทอชั้นสูงในราชสำนัก จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะด้านการแต่งกาย
ที่ทำให้หญิงสยามกลายเป็นเบอร์หนึ่งด้านแฟชั่นนิสต้าในอุษาคเนย์
จากอินเดียสู่แฟชั่นราชวงศ์ยุโรป
นับตั้งแต่อยุธยาเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ การผสานความงามของแพรพรรณจึงเกิดขึ้น
ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเห็นจะไม่พ้นผ้าไหมจากอินเดีย และผ้าแพรจากจีน ที่นำมาตัดเย็บเป็นโจงกระเบน ผ้านุ่ง และสไบได้อย่างกลมกลืน
ทว่ายังไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการตัดเย็บแต่อย่างใด กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่หลายประเทศในตะวันตกได้ส่งคณะราชทูตมายังตะวันออกไกล
การผสมผสานระหว่างเอกลักษณ์ด้านแฟชั่นระหว่างสองซีกโลกจึงเริ่มต้นขึ้น
ในยุคนั้นเจ้าจอมหม่อมห้ามเริ่มมีการแต่งกายแบบฝรั่งอยู่บ้าง ทว่าเฉพาะในงานสังสรรค์และการถ่ายภาพในสตูดิโอ
แน่นอนว่าเทรนด์เซตเตอร์ในยุคนั้นต้องยกให้กับราชวงศ์ยุโรป ส่วนเมืองไทยก็เริ่มจากในรั้ววัง
ดังจะเห็นได้จากพระฉายาลักษณ์ในสตูดิโอของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระองค์ทรงฉลองพระองค์ผ้าลูกไม้ตามแฟชั่นสตรีตะวันตกในยุควิกตอเรียตอนปลาย
แต่ยังทรงพระภูษาโจงยกไหม และไว้พระเกศาสั้นที่เรียก ผมทัด ตามพระราชนิยม พร้อมกับเปลี่ยนเครื่องประดับจากทองมาเป็นสร้อยมุกและเพชร
สวมทับกันหลายเส้น คล้ายกับพระราชนิยมในสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดราแห่งราชอาณาจักร
เห็นได้ชัดว่าแฟชั่นสยามกับแฟชั่นโลกในครั้งนั้นไม่ได้ห่างไกลกันตามระยะทางเลยสักนิด