จากข่าว ผมแปลให้ หากผิดพลาดขอให้ยึดฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลักนะครับ
http://www.narpa.org/drug_companies_enrich_researcher.htm
http://www.islammore.com/main/content.php/sendtofriend.php?id=509
http://visitdrsant.blogspot.com/2013/07/antidepressant.html
วันที่ 12 มกราคม 2542 หนังสือพิมพ์บอสตันโกลบรายงานว่า หลังจากการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นเวลา 3 ปี มหาวิทยาลัยบราวน์ยอมคืนเงินภาษีประชาชนจำนวน 300,170 ดอลลาร์สหรัฐให้กับรัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับงานวิจัยทางด้านจิตเวชศาสตร์ที่ภาควิชาจิตเวชไม่ได้ดำเนินการจริง
ในการติดตามของนักข่าว วันที่ 4 ตุลาคม 2542 Alison Bass แห่ง Globe ได้รายงานถึงความสัมพันธ์ทางการเงินที่เอื้อประโยชน์กันของ นพ. Martin Keller หัวหน้าภาควิชาจิตเวช มหาวิทยาลัยบราวน์ ซึ่งได้รับเงินมากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากบริษัทยาต้านซึมเศร้าที่เขาได้กล่าวยกย่องในรายงานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมาก เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบราวน์ได้กล่าวกับนักข่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ไม่มีปัญหาในการที่ นพ. Keller รับหน้าที่ให้คำปรึกษากับบริษัทยา
ความตกต่ำของจริยธรรมในสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงนี้เกิดจาก การร่วมมือกันระหว่าง บริษัทยา นักวิจัยทางการแพทย์ และ มหาวิทยาลัย เป็นไปได้ไหมว่าการที่ นพ. Keller นำเงินวิจัยเข้ามหาวิทยาลัยบราวน์ได้ปีละหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 14.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากบริษัทยา และ 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากรัฐบาลทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถตรวจพบการขัดกันของผลประโยชน์นี้ได้
บทความการแพทย์ที่ผู้เขียนไม่ได้เปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างตนเองกับบริษัทยาจะยังมีความน่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ บทความของ นพ. Keller ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงหลายฉบับ ได้แก่ Biological Psychiatry, the American Journal of Psychiatry, Journal of Clinical Psychiatry และ JAMA แพทย์จำนวนมากได้อ่านบทความสนับสนุนเหล่านี้ต่างก็เชื่อถือโดยไม่มีข้อสงสัยว่ายาพวกนี้มีประสิทธิภาพ และสั่งยาให้ผู้ป่วยซึ่งอาจจะดีขึ้นได้ด้วยการทำจิตบำบัด มันสำคัญเพียงใดถ้าผู้ป่วยหลายพัน หรืออาจจะหลายล้านคนได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง
ศาตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ถูกกดดันให้คืนเงินทุนของรัฐบาลหลายแสนดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว เนื่องจากเขาได้รับค่าที่ปรึกษามากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2541 ส่วนมากมาจากบริษัทยาที่เขากล่าวยกย่องสนับสนุนในวารสารและการประชุมทางการแพทย์
ในปีที่แล้ว ตามหลักฐานทางการเงิน นพ. Martin Keller แห่ง Newton มีรายได้มากกว่า 842,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบราวน์ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ของเขามาจากบริษัทยา ได้แก่ Pfizer, Bristol-Myers Squibb, Wyeth-Ayerst และ Eli Lilly บริษัทยาทั้งหมดนี้จำหน่ายยาต้านซึมเศร้าที่ นพ.Keller กล่าวยกย่องในรายงานทางการแพทย์หลายฉบับ
นอกจากนี้ นพ. Keller ยังไม่ยอมเปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของเขากับบริษัทยา ต่อ วารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยของเขาในปี 2541 และต่อสมาคมจิตแพทย์อเมริกา ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการประชุม ที่ นพ.Keller นำเสนองานวิจัยที่เขาค้นพบ
ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเงินในลักษณะที่เอื้อผลประโยชน์กันระหว่างบริษัทยากับนักวิจัยทางการแพทย์เป็นที่น่ากังวลสำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันทางการแพทย์ ทนายความผู้บริโภคกังวลว่าปัญหาเหล่านี้จะมากขึ้นเมื่อมหาวิทยาลัยปรับลดงบประมาณและนักวิจัยจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนภายนอก
นักจริยธรรมหลายท่านกล่าวว่า เงินค่าที่ปรึกษาที่สูงมากผิดปกติ ได้แก่ 556,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2541 และ 444,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2540 เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่รุนแรงที่สุดที่เขาเคยได้ยิน
Larry Sasichนักวิเคราะห์ทางด้านสุขภาพกล่าวว่า ความสัมพันธ์ทางด้านการเงินเหล่านี้มีผลต่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยและสามารถนำไปสู่การจ่ายยาที่ไม่ปลอดภัย ไม่มีประสิทธิภาพ ราคาแพง และคนไข้เองก็ต้องตกเป็นเหยื่อในกรณีนี้
เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบราวน์กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับเป็นที่ปรึกษาของ นพ. Keller และปฏิเสธที่จะให้ความเห็นถึงข้อมูลที่มหาวิทยาลัยทราบเกี่ยวกับความผูกพันทางการเงินของ นพ.Keller มหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยเปิดเผยเงินที่เขาได้รับจากการเป็นที่ปรึกษา ยกเว้นแต่ตามกฎหมายของประเทศในกรณีที่ได้รับเงินมากกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
Laura Freid ผู้อำนวนการด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกล่าวว่า เรากังวลมากเกี่ยวกับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเงิน คุณสามารถสันนิษฐานได้ว่า ผู้ที่รับเงินมากกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีผลประโยชน์ทับซ้อน และฉันคิดว่า การกระทำเช่นนี้ไม่สามารถยอมรับได้
ในขณะที่ นพ. Keller ไม่ยอมรับโทรศัพท์
คณะแพทยศาตร์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง อาทิเช่น Harvard หรือ Georgetown มีกฎห้ามอาจารย์ในคณะทำงานวิจัย หากได้รับการสนับสนุนจากบริษัทยาที่ได้รับประโยชน์จากการวิจัยมากกกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. Arnold Relman แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Harvard บรรณาธิการอาวุโสของวารสาร New England Journal of Medicine กล่าวว่า สาธารณชนเชื่อมั่นในถาบันทางวิชาการในการค้นหาความจริง และให้คำแนะนำแก่หน่วยงานสาธารณะว่า อะไรปลอดภัย อะไรไม่ปลอดภัย อะไรถูก อะไรผิด ถ้าผมเป็นหัวหน้า ผมจะมีความกังวลว่า เงินจำนวนมากจะมีผลต่อความคิดและการตัดสินใจของเขา
แต่อย่างไรก็ตาม วารสารดังกล่าวก็มีเรื่องอื้อฉาวด้านจริยธรรม เมื่อถูกเปิดเผยว่า บรรณาธิการเขียนกล่าวยกย่องยารักษาโรคหัวล้านสองตัวโดยไม่ยอมเปิดเผยว่า เธอได้รับเงินจากการเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทยาดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน นพ. Keller ก็เป็นตัวทำเงินสำหรับมหาวิทยาลัยบราวน์ โดยได้รับทุนวิจัยและเงินบริจาคหลายล้านบาท ตามรายงานประจำปีของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2536 นพ.Keller ได้ทุนวิจัยทั้งหมด 14.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งจากภาครัฐและบริษัทยา โดยประมาณ 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ สำหรับการทำวิจัยด้านการเจ็บป่วยทางจิต
เมื่อเก้าเดือนที่แล้ว มหาวิทยาลัยบราวน์ต้องส่งคืนเงินจำนวน 300,170 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ของ นพ. Keller ได้รับมาจากรัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับการทำวิจัยซึ่งถูกจับได้ว่าไม่ได้ทำจริง มหาวิทยาลัยบราวน์ยอมคืนเงินหลังจากสำนักงานอัยการแห่งรัฐแมสซาชูเซตส์ยืนฟ้องต่อศาลในข้อหาไม่ปฏิบัติตามสัญญาการวิจัยกับกรมสุขภาพจิตของรัฐแมสซาชูเซตส์
การสืบสวนของสำนักงานอัยการสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อนักข่าวกล่าวหาว่า ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบราวน์ได้ใช้ใบเสร็จรับเงินปลอมในการวิจัยที่ไม่เคยได้ทำจริง นอกจากนี้นักข่าวยังรายงานด้วยว่า นพ. Keller ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ตั้งแต่ปี 2532 ได้ถูกตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดในปี 2537 ในข้อหาเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเกินจริงและเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางซ้ำซ้อนทั้งจากบริษัทยาและมหาวิทยาลัย
สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยุติการสืบสวนเนื่องจากมหาวิทยาลัยบราวน์ต้องการที่จะดำเนินการเป็นการภายใน เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยกล่าวว่า นพ. Keller ยอมคืนเงินค่าเดินทางจำนวน 918 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับทางมหาวิทยาลัยหลังจากถูกตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน
ได้มีการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและงานวิจัยที่ นพ. Keller ได้ตีพิมพ์ในช่วงปี 2541 -2542 พบความสัมพันธ์ทางการเงินของเขากับบริษัทยาดังนี้
ในปี 2541 เขาตีพิมพ์งานวิจัย 3 ฉบับในวารสาร the Journal of the American Medical Association และ the Journal of Clinical Psychiatry โดยกล่าวยกย่องถึงประสิทธิภาพของยา Zoloft ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าตัวใหม่ของบริษัท Pfizer โดยเขาได้รับเงินจากบริษัท 218,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นรายได้ส่วนตัว และมากกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนวิจัยจากบริษัท Pfizer ซึ่งเป็นบริษัทยายักษ์ใหญ่ในกรุง New York
นอกจากนี้ในปี 2541 นพ. Keller ได้เขียนบทความสรุปลงในวารสาร Biological Psychiatry ซึ่งเขาได้สรุปว่า ยาต้านซึมเศร้าตัวใหม่ เช่น Serzone (เลิกจำหน่ายเนื่องจากทำให้ตับวาย เสียชีวิต) Zoloft และ Effexor มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคซึมเศร้า และยังกล่าวด้วยว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักได้รับยาที่ไม่เพียงพอในการรักษา ในปีเดียวกันนี้ นอกจากเงินที่เขาได้รับจาก Pfizer แล้ว เขายังได้รับรายได้ส่วนตัว 77,400 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินวิจัย 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท Bristol-Myers Squibb ผู้จำหน่าย Serzone และยังได้รับรายได้ส่วนตัว 8,785 ดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท Wyeth-Ayerst ผู้จำหน่าย Effexor
ในเดือนพฤษภาคม 2542 นพ. Keller ได้รายงานการค้นพบของเขาในการประชุมประจำปีของสมาคมจิตแพทย์อเมริกาว่า Serzone มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรังและสื่อมวลชนได้นำไปเสนอข่าวอย่างชื่นชมเป็นจำนวนมาก ในรายงาน นพ.Kellerได้กล่าวว่า การค้นพบนี้น่าตกตะลึงมาก และเป็นการลบล้างแนวคิดคิดแบบเดิม ๆ ที่เชื่อกันว่า ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังนั้นไม่ตอบสนองต่อการทำจิตบำบัดและการรักษาด้วยยา
ในการวิจัยที่ นพ. Keller นำเสนอในที่ประชุมสมาคมจิตแพทย์อเมริกาและตีพิมพ์ในวารสาร the American Journal of Psychiatry, the Journal of the American Medical Association และวารสารอื่น ๆ นั้น เขาไม่ได้เปิดเผยถึงความสัมพันธ์ทางการเงินของเขากับบริษัทยา
ในปี 2541 มีการตีพิมพ์การศึกษายา Zoloft ในวารสาร JAMA นพ. Keller ได้เปิดเผยว่าเขาได้รับค่าที่ปรึกษาหรือค่าตอบแทนจากบริษัท Pfizer, Bristol-Myers Squibb, Forest Laboratories, Wyeth-Ayerst, Organon และ Eli Lilly แต่เขาไม่ได้เปิดเผยว่าเขายังมีรายได้จำนวนมากจากบริษัท Merck & Co. (19,699 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งก็ผลิตยาต้านซึมเศร้าเช่นเดียวกัน หรือรวมทั้งสิ้น 73,500 ดอลลาร์สหรัฐจากบริษัทอื่น ๆ ที่ขายยาต้านซึมเศร้า
เช่นเดียวกัน นพ. Keller ไม่ได้เปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของตนเองต่อสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ซึ่งอนุญาตให้ นพ.Keller นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับยาต้านซึมเศร้าหลายขนานในการประชุมประจำปี
นพ. Jame Thompson รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของสมาคมจิตแพทย์กล่าวว่า สมาคมต้องการให้ผู้นำเสนอผลงานเปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของตนเองกับบริษัททุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยา รวมถึงบริษัทยาเองด้วย
หากผู้ใดไม่เปิดเผย ถือว่าเป็นฝ่าฝืนกฎและเราจะจัดการ นพ. Thompson กล่าว
ศาสตราจารย์ Sheldon Krimsky นักชีวจริยธรรมแห่งมหาวิทยาลัย Tuft กล่าวว่า เป็นความผิดจริยธรรมชัดเจนในกรณีที่นักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ผลงานของตนเองโดยไม่เปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของตนเองกับบริษัททั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่าที่ปรึกษาหรือได้รับทุนวิจัยจากบริษัทก็ตาม
ซึมเศร้า วิทยาศาสตร์ลวงโลก
http://www.narpa.org/drug_companies_enrich_researcher.htm
http://www.islammore.com/main/content.php/sendtofriend.php?id=509
http://visitdrsant.blogspot.com/2013/07/antidepressant.html
วันที่ 12 มกราคม 2542 หนังสือพิมพ์บอสตันโกลบรายงานว่า หลังจากการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นเวลา 3 ปี มหาวิทยาลัยบราวน์ยอมคืนเงินภาษีประชาชนจำนวน 300,170 ดอลลาร์สหรัฐให้กับรัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับงานวิจัยทางด้านจิตเวชศาสตร์ที่ภาควิชาจิตเวชไม่ได้ดำเนินการจริง
ในการติดตามของนักข่าว วันที่ 4 ตุลาคม 2542 Alison Bass แห่ง Globe ได้รายงานถึงความสัมพันธ์ทางการเงินที่เอื้อประโยชน์กันของ นพ. Martin Keller หัวหน้าภาควิชาจิตเวช มหาวิทยาลัยบราวน์ ซึ่งได้รับเงินมากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากบริษัทยาต้านซึมเศร้าที่เขาได้กล่าวยกย่องในรายงานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมาก เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบราวน์ได้กล่าวกับนักข่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ไม่มีปัญหาในการที่ นพ. Keller รับหน้าที่ให้คำปรึกษากับบริษัทยา
ความตกต่ำของจริยธรรมในสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงนี้เกิดจาก การร่วมมือกันระหว่าง บริษัทยา นักวิจัยทางการแพทย์ และ มหาวิทยาลัย เป็นไปได้ไหมว่าการที่ นพ. Keller นำเงินวิจัยเข้ามหาวิทยาลัยบราวน์ได้ปีละหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 14.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากบริษัทยา และ 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากรัฐบาลทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถตรวจพบการขัดกันของผลประโยชน์นี้ได้
บทความการแพทย์ที่ผู้เขียนไม่ได้เปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างตนเองกับบริษัทยาจะยังมีความน่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ บทความของ นพ. Keller ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงหลายฉบับ ได้แก่ Biological Psychiatry, the American Journal of Psychiatry, Journal of Clinical Psychiatry และ JAMA แพทย์จำนวนมากได้อ่านบทความสนับสนุนเหล่านี้ต่างก็เชื่อถือโดยไม่มีข้อสงสัยว่ายาพวกนี้มีประสิทธิภาพ และสั่งยาให้ผู้ป่วยซึ่งอาจจะดีขึ้นได้ด้วยการทำจิตบำบัด มันสำคัญเพียงใดถ้าผู้ป่วยหลายพัน หรืออาจจะหลายล้านคนได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง
ศาตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ถูกกดดันให้คืนเงินทุนของรัฐบาลหลายแสนดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว เนื่องจากเขาได้รับค่าที่ปรึกษามากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2541 ส่วนมากมาจากบริษัทยาที่เขากล่าวยกย่องสนับสนุนในวารสารและการประชุมทางการแพทย์
ในปีที่แล้ว ตามหลักฐานทางการเงิน นพ. Martin Keller แห่ง Newton มีรายได้มากกว่า 842,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบราวน์ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ของเขามาจากบริษัทยา ได้แก่ Pfizer, Bristol-Myers Squibb, Wyeth-Ayerst และ Eli Lilly บริษัทยาทั้งหมดนี้จำหน่ายยาต้านซึมเศร้าที่ นพ.Keller กล่าวยกย่องในรายงานทางการแพทย์หลายฉบับ
นอกจากนี้ นพ. Keller ยังไม่ยอมเปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของเขากับบริษัทยา ต่อ วารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยของเขาในปี 2541 และต่อสมาคมจิตแพทย์อเมริกา ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการประชุม ที่ นพ.Keller นำเสนองานวิจัยที่เขาค้นพบ
ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเงินในลักษณะที่เอื้อผลประโยชน์กันระหว่างบริษัทยากับนักวิจัยทางการแพทย์เป็นที่น่ากังวลสำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันทางการแพทย์ ทนายความผู้บริโภคกังวลว่าปัญหาเหล่านี้จะมากขึ้นเมื่อมหาวิทยาลัยปรับลดงบประมาณและนักวิจัยจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนภายนอก
นักจริยธรรมหลายท่านกล่าวว่า เงินค่าที่ปรึกษาที่สูงมากผิดปกติ ได้แก่ 556,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2541 และ 444,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2540 เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่รุนแรงที่สุดที่เขาเคยได้ยิน
Larry Sasichนักวิเคราะห์ทางด้านสุขภาพกล่าวว่า ความสัมพันธ์ทางด้านการเงินเหล่านี้มีผลต่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยและสามารถนำไปสู่การจ่ายยาที่ไม่ปลอดภัย ไม่มีประสิทธิภาพ ราคาแพง และคนไข้เองก็ต้องตกเป็นเหยื่อในกรณีนี้
เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบราวน์กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับเป็นที่ปรึกษาของ นพ. Keller และปฏิเสธที่จะให้ความเห็นถึงข้อมูลที่มหาวิทยาลัยทราบเกี่ยวกับความผูกพันทางการเงินของ นพ.Keller มหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยเปิดเผยเงินที่เขาได้รับจากการเป็นที่ปรึกษา ยกเว้นแต่ตามกฎหมายของประเทศในกรณีที่ได้รับเงินมากกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
Laura Freid ผู้อำนวนการด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกล่าวว่า เรากังวลมากเกี่ยวกับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเงิน คุณสามารถสันนิษฐานได้ว่า ผู้ที่รับเงินมากกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีผลประโยชน์ทับซ้อน และฉันคิดว่า การกระทำเช่นนี้ไม่สามารถยอมรับได้
ในขณะที่ นพ. Keller ไม่ยอมรับโทรศัพท์
คณะแพทยศาตร์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง อาทิเช่น Harvard หรือ Georgetown มีกฎห้ามอาจารย์ในคณะทำงานวิจัย หากได้รับการสนับสนุนจากบริษัทยาที่ได้รับประโยชน์จากการวิจัยมากกกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. Arnold Relman แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Harvard บรรณาธิการอาวุโสของวารสาร New England Journal of Medicine กล่าวว่า สาธารณชนเชื่อมั่นในถาบันทางวิชาการในการค้นหาความจริง และให้คำแนะนำแก่หน่วยงานสาธารณะว่า อะไรปลอดภัย อะไรไม่ปลอดภัย อะไรถูก อะไรผิด ถ้าผมเป็นหัวหน้า ผมจะมีความกังวลว่า เงินจำนวนมากจะมีผลต่อความคิดและการตัดสินใจของเขา
แต่อย่างไรก็ตาม วารสารดังกล่าวก็มีเรื่องอื้อฉาวด้านจริยธรรม เมื่อถูกเปิดเผยว่า บรรณาธิการเขียนกล่าวยกย่องยารักษาโรคหัวล้านสองตัวโดยไม่ยอมเปิดเผยว่า เธอได้รับเงินจากการเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทยาดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน นพ. Keller ก็เป็นตัวทำเงินสำหรับมหาวิทยาลัยบราวน์ โดยได้รับทุนวิจัยและเงินบริจาคหลายล้านบาท ตามรายงานประจำปีของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2536 นพ.Keller ได้ทุนวิจัยทั้งหมด 14.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งจากภาครัฐและบริษัทยา โดยประมาณ 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ สำหรับการทำวิจัยด้านการเจ็บป่วยทางจิต
เมื่อเก้าเดือนที่แล้ว มหาวิทยาลัยบราวน์ต้องส่งคืนเงินจำนวน 300,170 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ของ นพ. Keller ได้รับมาจากรัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับการทำวิจัยซึ่งถูกจับได้ว่าไม่ได้ทำจริง มหาวิทยาลัยบราวน์ยอมคืนเงินหลังจากสำนักงานอัยการแห่งรัฐแมสซาชูเซตส์ยืนฟ้องต่อศาลในข้อหาไม่ปฏิบัติตามสัญญาการวิจัยกับกรมสุขภาพจิตของรัฐแมสซาชูเซตส์
การสืบสวนของสำนักงานอัยการสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อนักข่าวกล่าวหาว่า ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบราวน์ได้ใช้ใบเสร็จรับเงินปลอมในการวิจัยที่ไม่เคยได้ทำจริง นอกจากนี้นักข่าวยังรายงานด้วยว่า นพ. Keller ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ตั้งแต่ปี 2532 ได้ถูกตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดในปี 2537 ในข้อหาเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเกินจริงและเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางซ้ำซ้อนทั้งจากบริษัทยาและมหาวิทยาลัย
สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยุติการสืบสวนเนื่องจากมหาวิทยาลัยบราวน์ต้องการที่จะดำเนินการเป็นการภายใน เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยกล่าวว่า นพ. Keller ยอมคืนเงินค่าเดินทางจำนวน 918 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับทางมหาวิทยาลัยหลังจากถูกตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน
ได้มีการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและงานวิจัยที่ นพ. Keller ได้ตีพิมพ์ในช่วงปี 2541 -2542 พบความสัมพันธ์ทางการเงินของเขากับบริษัทยาดังนี้
ในปี 2541 เขาตีพิมพ์งานวิจัย 3 ฉบับในวารสาร the Journal of the American Medical Association และ the Journal of Clinical Psychiatry โดยกล่าวยกย่องถึงประสิทธิภาพของยา Zoloft ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าตัวใหม่ของบริษัท Pfizer โดยเขาได้รับเงินจากบริษัท 218,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นรายได้ส่วนตัว และมากกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนวิจัยจากบริษัท Pfizer ซึ่งเป็นบริษัทยายักษ์ใหญ่ในกรุง New York
นอกจากนี้ในปี 2541 นพ. Keller ได้เขียนบทความสรุปลงในวารสาร Biological Psychiatry ซึ่งเขาได้สรุปว่า ยาต้านซึมเศร้าตัวใหม่ เช่น Serzone (เลิกจำหน่ายเนื่องจากทำให้ตับวาย เสียชีวิต) Zoloft และ Effexor มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคซึมเศร้า และยังกล่าวด้วยว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักได้รับยาที่ไม่เพียงพอในการรักษา ในปีเดียวกันนี้ นอกจากเงินที่เขาได้รับจาก Pfizer แล้ว เขายังได้รับรายได้ส่วนตัว 77,400 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินวิจัย 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท Bristol-Myers Squibb ผู้จำหน่าย Serzone และยังได้รับรายได้ส่วนตัว 8,785 ดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท Wyeth-Ayerst ผู้จำหน่าย Effexor
ในเดือนพฤษภาคม 2542 นพ. Keller ได้รายงานการค้นพบของเขาในการประชุมประจำปีของสมาคมจิตแพทย์อเมริกาว่า Serzone มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรังและสื่อมวลชนได้นำไปเสนอข่าวอย่างชื่นชมเป็นจำนวนมาก ในรายงาน นพ.Kellerได้กล่าวว่า การค้นพบนี้น่าตกตะลึงมาก และเป็นการลบล้างแนวคิดคิดแบบเดิม ๆ ที่เชื่อกันว่า ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังนั้นไม่ตอบสนองต่อการทำจิตบำบัดและการรักษาด้วยยา
ในการวิจัยที่ นพ. Keller นำเสนอในที่ประชุมสมาคมจิตแพทย์อเมริกาและตีพิมพ์ในวารสาร the American Journal of Psychiatry, the Journal of the American Medical Association และวารสารอื่น ๆ นั้น เขาไม่ได้เปิดเผยถึงความสัมพันธ์ทางการเงินของเขากับบริษัทยา
ในปี 2541 มีการตีพิมพ์การศึกษายา Zoloft ในวารสาร JAMA นพ. Keller ได้เปิดเผยว่าเขาได้รับค่าที่ปรึกษาหรือค่าตอบแทนจากบริษัท Pfizer, Bristol-Myers Squibb, Forest Laboratories, Wyeth-Ayerst, Organon และ Eli Lilly แต่เขาไม่ได้เปิดเผยว่าเขายังมีรายได้จำนวนมากจากบริษัท Merck & Co. (19,699 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งก็ผลิตยาต้านซึมเศร้าเช่นเดียวกัน หรือรวมทั้งสิ้น 73,500 ดอลลาร์สหรัฐจากบริษัทอื่น ๆ ที่ขายยาต้านซึมเศร้า
เช่นเดียวกัน นพ. Keller ไม่ได้เปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของตนเองต่อสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ซึ่งอนุญาตให้ นพ.Keller นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับยาต้านซึมเศร้าหลายขนานในการประชุมประจำปี
นพ. Jame Thompson รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของสมาคมจิตแพทย์กล่าวว่า สมาคมต้องการให้ผู้นำเสนอผลงานเปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของตนเองกับบริษัททุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยา รวมถึงบริษัทยาเองด้วย
หากผู้ใดไม่เปิดเผย ถือว่าเป็นฝ่าฝืนกฎและเราจะจัดการ นพ. Thompson กล่าว
ศาสตราจารย์ Sheldon Krimsky นักชีวจริยธรรมแห่งมหาวิทยาลัย Tuft กล่าวว่า เป็นความผิดจริยธรรมชัดเจนในกรณีที่นักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ผลงานของตนเองโดยไม่เปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของตนเองกับบริษัททั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่าที่ปรึกษาหรือได้รับทุนวิจัยจากบริษัทก็ตาม