ลักษณะแห่งสัมมาสมาธิชั้นเลิศ ๕ ประการ
ภิกษุ ท ! เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้าอัน เป็น
อริยะ. ภิกษุ ท !
การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ นั้นเป็น
อย่างไรเล่า ?
๑. ภิกษุ ท !ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศล ธรรม
ทั้งหลาย
จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.
เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก นั้น ,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้อง
แล้ว มิได้มี.
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือน
นายช่างอาบ ก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดีเป็น คนฉลาด
โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้ , ครั้นเวลา
เย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก ไม่ไหลหยด ฉัน
ใด; ภิกษุ ท !ภิกษุนั้น ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก , ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่
ถูกต้องแล้ว มิได้มี , ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ ท !
นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่
ประกอบด้วยองค์ห้าอันเป็นอริยะ ประการที่หนึ่ง .
๒. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุ
ฌานที่
สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มี
วิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว
ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ , ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่ว
ทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำอันลึก มีน้ำพลุ่งขึ้น ไม่มีปากทางน้ำ เข้าทาง
ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ แห่งห้วงน้ำนั้น และฝนก็ไม่ตกตาม
ฤดูกาล แต่ขณะนั้นท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำนั้น ไหลทับไหลท่วม แผ่ทั่วเต็มไป
หมดซึ่งห้วงน้ำนั้นเอง ด้วยน้ำอันเย็น , ส่วนไหนๆของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นไม่ถูกต้อง
แล้ว มิได้มี , ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท !ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็ม
รอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ,ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่ปีติและสุขอัน
เกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ,ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท !
นี้คือ การเจริญ
สัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สอง
๓. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยด้วยนามกาย
จึงบรรลุฌานที่สาม อันเป็น
ฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า "ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข" ดังนี้
แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้ ,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือนใน
หนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัว บุณฑริก มี
ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำเจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้น
น้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้ , ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอด
ตลอดราก , ส่วนไหนๆของดอกบัวเหล่านั้นทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้
มี. ข้อนี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ
ด้วยสุขหาปีติมิได้ , ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้
มี, ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ ท !
นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า
อันเป็นอริยะ ประการที่สาม
๔. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ , เพราะ
ความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน ,
จึงบรรลุ ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์
ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่
ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ,ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจ
อันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
ภิกษุ ท
!เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัว ด้วยผ้าขาวตลอด ศรีษะ , ส่วน
ไหนๆในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว )มิได้มี ข้อนี้เป็นฉัน
ใด ; ภิกษุ ท !ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้ ,ส่วนใดส่วนหนึ่งใน
กายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี , ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุ ท !
นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สี่ .
๕. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก :
ปัจจเวกขณนิมิต เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นถือ เอาแล้ว
ด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดี เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา
(ชัดเจน)
เปรียบเหมือน คนคนหนึ่ง เห็นคนอีกคนหนึ่ง หรือว่าเหมือนคนยืน เห็นคน
นั่ง หรือว่าเหมือน คนนั่ง เห็นคนนอน , ฉันใดก็ฉันนั้นที่ปัจจเวกขณนิมิต เป็นสิ่งที่
ภิกษุนั้นถือเอาแล้วด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดี เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดี
แล้ว ด้วยปัญญา. ภิกษุ ท !
นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็น
อริยะ ประการที่ห้า .
ลักษณะแห่งสัมมาสมาธิชั้นเลิศ ๕ ประการ
ภิกษุ ท ! เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้าอัน เป็น
อริยะ. ภิกษุ ท ! การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ นั้นเป็น
อย่างไรเล่า ?
๑. ภิกษุ ท !ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศล ธรรม
ทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.
เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก นั้น ,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้อง
แล้ว มิได้มี.
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือน นายช่างอาบ ก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดีเป็น คนฉลาด
โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้ , ครั้นเวลา
เย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก ไม่ไหลหยด ฉัน
ใด; ภิกษุ ท !ภิกษุนั้น ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก , ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่
ถูกต้องแล้ว มิได้มี , ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ ท ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่
ประกอบด้วยองค์ห้าอันเป็นอริยะ ประการที่หนึ่ง .
๒. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุ ฌานที่
สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มี
วิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว
ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ , ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่ว
ทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือน ห้วงน้ำอันลึก มีน้ำพลุ่งขึ้น ไม่มีปากทางน้ำ เข้าทาง
ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ แห่งห้วงน้ำนั้น และฝนก็ไม่ตกตาม
ฤดูกาล แต่ขณะนั้นท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำนั้น ไหลทับไหลท่วม แผ่ทั่วเต็มไป
หมดซึ่งห้วงน้ำนั้นเอง ด้วยน้ำอันเย็น , ส่วนไหนๆของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นไม่ถูกต้อง
แล้ว มิได้มี , ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท !ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็ม
รอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ,ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่ปีติและสุขอัน
เกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ,ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท !นี้คือ การเจริญ
สัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สอง
๓. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยด้วยนามกาย จึงบรรลุฌานที่สาม อันเป็น
ฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า "ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข" ดังนี้
แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้ ,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือนใน หนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัว บุณฑริก มี
ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำเจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้น
น้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้ , ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอด
ตลอดราก , ส่วนไหนๆของดอกบัวเหล่านั้นทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้
มี. ข้อนี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ
ด้วยสุขหาปีติมิได้ , ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้
มี, ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ ท ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า
อันเป็นอริยะ ประการที่สาม
๔. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ , เพราะ
ความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน ,จึงบรรลุ ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์
ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่
ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ,ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจ
อันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัว ด้วยผ้าขาวตลอด ศรีษะ , ส่วน
ไหนๆในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว )มิได้มี ข้อนี้เป็นฉัน
ใด ; ภิกษุ ท !ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้ ,ส่วนใดส่วนหนึ่งใน
กายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี , ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุ ท !นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สี่ .
๕. ภิกษุ ท !ข้ออื่นยังมีอีก : ปัจจเวกขณนิมิต เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นถือ เอาแล้ว
ด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดี เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา
(ชัดเจน) เปรียบเหมือน คนคนหนึ่ง เห็นคนอีกคนหนึ่ง หรือว่าเหมือนคนยืน เห็นคน
นั่ง หรือว่าเหมือน คนนั่ง เห็นคนนอน , ฉันใดก็ฉันนั้นที่ปัจจเวกขณนิมิต เป็นสิ่งที่
ภิกษุนั้นถือเอาแล้วด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดี เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดี
แล้ว ด้วยปัญญา. ภิกษุ ท !นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็น
อริยะ ประการที่ห้า .