ความจริงแล้ว คำว่า สมาธิ ก็ตั้งแต่ระดับ ขนิกะสมาธิ อุปจารสมาธิ ฌาน อรูปฌาน (อัปปนาสมาธิ) ไปตามลำดับ
มิจฉาสมาะิ คือสมาธิ ที่เพ่งผิด มุ่งด้วยกิเลส จะมีระดับอยู่ที่ ขนิกะสมาธิ อุปจารสมาธิ เท่านั้น ไม่ล่วงเลยไปจากนั้น
สัมมาสมาธิ คือสมาธิ ที่เพ่งเพื่อละวางกิเลสที่เป็นนิวร 5 ก็จะเริ่มระดับจาก ขนิกะสมาธิ อุปจารสมาะิ จนถึง ฌาน อรูปฌาน (อัปปนาสมาธิ)
สัมมาสมาะิ ก็ดังในพระไตรปิกฏ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ตั้งแต่ ฌาน
. สัมมาสมาธิ
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย-
*ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=174&Z=210
ผมขออธิบายเปรียบเทียบง่ายๆ เช่น เรื่อง สัมมาอาชีพ ก็คือประกอบการงานอาชีพ ที่เลี้ยงตนและหรือครอบครัว ด้วยศีลธรรม ตามควร ส่วนมิจฉาชีพ ก็เป็นการประกอบอาชีพ โดยการคดโกง ลัก โขมย หลอกลวง. นั้นเอง
ที่อธิบายข้างบนนั้นคือความแตกต่างของ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ แต่ยังมีข้อปลีกย่อย ของสัมมาสมาะิ ดังนี้.
มีกรณี พิเศษ ผู้ที่เคยได้ หรือ บรรลุ สัมมาสมาธิ ระดับ ฌาน หรือ อรูปฌาน แต่เมื่อเพ่งผิด มุ่งด้วยกิเลส ก้าวล่วงผิดศีลเนื่องๆ หรือกระทำอกุศลกรรมอย่างหนัก สมาธิ ระดับ ฌาน หรือ อรูปฌาน นั้นย่อมเสื่อมไป
ดังพระเทวทัต ได้สมาบัติแปด มีอภิญญา 5 แสดงฤทธิได้ แต่ก็เสื่อมหมดไปทุกอย่าง เมื่อ แสดงฤทธิ ให้เจัาชายอชาติศรัตรู ศรัทธาในตนเพื่อหวัง จะเอาตำแห่งพระพุทธเจ้ามาเป็นของตน
ดังนั้น อาจารย์ของพระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ที่ได้ทั้ง สมาบัติ 7 และ สมาบัติ 8 สมาธิของท่านทั้ง 2 ไม่ใช่เป็น มิจฉาสมาธิ และฌานของท่านก็ไม่เสื่อมจนตาย จึงไปเกิดเป็น อรูปพรหม นั้นเอง.
กรณีของไสยศาสตร์ คาถามนตร์ดำ ก็เพื่อให้หลงมนตร์เสน่ห์ เบียดเบียนกัน นี้แหละจึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ ก็จะมีกำลังสมาธิ อยู่แค่ ขนิกะ และ อุปจารสมาธิเท่านั้น.
ส่วนเรื่อง สัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วย องค์ 7 อันเป็น อริยะ นั้นไม่ขอสนทนา เพราะสนทนากันหลายกระทู้ที่ผ่านมาแล้ว.
เสนอเรื่อง มิจฉาสมาธิ สมาธิ สัมมาสมาธิ เพิ่มเติม ตามที่พอทราบ.
มิจฉาสมาะิ คือสมาธิ ที่เพ่งผิด มุ่งด้วยกิเลส จะมีระดับอยู่ที่ ขนิกะสมาธิ อุปจารสมาธิ เท่านั้น ไม่ล่วงเลยไปจากนั้น
สัมมาสมาธิ คือสมาธิ ที่เพ่งเพื่อละวางกิเลสที่เป็นนิวร 5 ก็จะเริ่มระดับจาก ขนิกะสมาธิ อุปจารสมาะิ จนถึง ฌาน อรูปฌาน (อัปปนาสมาธิ)
สัมมาสมาะิ ก็ดังในพระไตรปิกฏ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ตั้งแต่ ฌาน
. สัมมาสมาธิ
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย-
*ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=174&Z=210
ผมขออธิบายเปรียบเทียบง่ายๆ เช่น เรื่อง สัมมาอาชีพ ก็คือประกอบการงานอาชีพ ที่เลี้ยงตนและหรือครอบครัว ด้วยศีลธรรม ตามควร ส่วนมิจฉาชีพ ก็เป็นการประกอบอาชีพ โดยการคดโกง ลัก โขมย หลอกลวง. นั้นเอง
ที่อธิบายข้างบนนั้นคือความแตกต่างของ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ แต่ยังมีข้อปลีกย่อย ของสัมมาสมาะิ ดังนี้.
มีกรณี พิเศษ ผู้ที่เคยได้ หรือ บรรลุ สัมมาสมาธิ ระดับ ฌาน หรือ อรูปฌาน แต่เมื่อเพ่งผิด มุ่งด้วยกิเลส ก้าวล่วงผิดศีลเนื่องๆ หรือกระทำอกุศลกรรมอย่างหนัก สมาธิ ระดับ ฌาน หรือ อรูปฌาน นั้นย่อมเสื่อมไป
ดังพระเทวทัต ได้สมาบัติแปด มีอภิญญา 5 แสดงฤทธิได้ แต่ก็เสื่อมหมดไปทุกอย่าง เมื่อ แสดงฤทธิ ให้เจัาชายอชาติศรัตรู ศรัทธาในตนเพื่อหวัง จะเอาตำแห่งพระพุทธเจ้ามาเป็นของตน
ดังนั้น อาจารย์ของพระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ที่ได้ทั้ง สมาบัติ 7 และ สมาบัติ 8 สมาธิของท่านทั้ง 2 ไม่ใช่เป็น มิจฉาสมาธิ และฌานของท่านก็ไม่เสื่อมจนตาย จึงไปเกิดเป็น อรูปพรหม นั้นเอง.
กรณีของไสยศาสตร์ คาถามนตร์ดำ ก็เพื่อให้หลงมนตร์เสน่ห์ เบียดเบียนกัน นี้แหละจึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ ก็จะมีกำลังสมาธิ อยู่แค่ ขนิกะ และ อุปจารสมาธิเท่านั้น.
ส่วนเรื่อง สัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วย องค์ 7 อันเป็น อริยะ นั้นไม่ขอสนทนา เพราะสนทนากันหลายกระทู้ที่ผ่านมาแล้ว.