เจ้าเพลี้ยกระโดดหน้าตาแบบนี้เอง..ดูจากเว็บไชต์ค่ะ
มันชอบเกาะกลุ่มกันดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว..โอ ช่างมากมายหลายตัว
เพลี้ยกระโดดนี้มันคงกระโดดเก่ง..กระโดดไปทางโน้นทางนี้
มันเกิดมาเพื่อเกาะสิ่งอื่นกิน..มันทำกินเองไม่ได้ มันมีอาชีพเกาะเป็นหลัก ถ้าไม่มีต้นข้าวให้มันเกาะ เจ้าเพลี้ยกระโดดคงตายแน่นอน
เจ้าเพลี้ยกระโดดนี้ร้ายกาจจริงๆค่ะ น่ากลัว..น่าห่างไกล
สงสารชาวนาที่ต้องเสียเวลากับเจ้าเพลี้ยกระโดด ต้องคอยไล่มันไป แต่มันก็ช่างเกาะเหนียวแน่นค่ะ..
รบ.ควรสอนให้ชาวนารู้จักวิธีการไล่เจ้าเพลี้ยกระโดดนะคะ ไม่เช่นนั้นมันจะเกาะต้นข้าวของชาวนาจนตายหมดทั้งแปลง
เพลี้ยกระโดด..ชิ้วๆ
มาอ่านข่าวค่ะ...
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนชาวนาทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตภาคกลางในบางพื้นที่ที่เริ่มมีการปลูกข้าวอยู่ในระยะกล้า ระวังการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หรือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาจเคลื่อนย้ายจากแปลงข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว หรืออพยพมาตามลมมรสุมเข้ามาทำลายข้าวได้
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางใบหลังใบข้าวโดยใช้ปากแทงดูดกิน น้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ทำให้ข้าวแห้งตาย
โดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหาร เช่น เมื่อมีอาหารมากจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกสั้นและขยายพันธุ์ได้มาก แต่เมื่ออาหารมีน้อยจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกยาวเพื่ออพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น โดยเฉพาะในพื้นที่การปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 ชัยนาท 2 และชัยนาท 80 เป็นต้น ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ในฤดูปลูกถัดไปควรปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข 6 กข 31 กข 41 กข 47 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 เป็นต้น และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง
2. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบนิเวศในแปลงนามาวิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยตนเองในการจัดการแปลงจากสถานการณ์จริง
3. ในแหล่งที่มีการระบาดให้ควบคุมระดับน้ำในนา ตั้งแต่หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง ควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
4. ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย (เชื้อสด) อัตรา 1 กิโลกรัม (2 ถุง) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นข้าวในบริเวณที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ควรทำในเวลาเย็น)
เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้รีบแจ้งการระบาดและขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านโดยทันที
http://www.komchadluek.net/news/agricultural/254701
กลัวเพลี้ยกระโดดตัวปลอมแต่ทำลายข้าวเก่งมากกว่าค่ะ...
((มาลาริน)) ระวัง..!!!! "เพลี้ยกระโดด" จ้องเล่นงานข้าวรอบใหม่
มันชอบเกาะกลุ่มกันดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว..โอ ช่างมากมายหลายตัว
เพลี้ยกระโดดนี้มันคงกระโดดเก่ง..กระโดดไปทางโน้นทางนี้
มันเกิดมาเพื่อเกาะสิ่งอื่นกิน..มันทำกินเองไม่ได้ มันมีอาชีพเกาะเป็นหลัก ถ้าไม่มีต้นข้าวให้มันเกาะ เจ้าเพลี้ยกระโดดคงตายแน่นอน
เจ้าเพลี้ยกระโดดนี้ร้ายกาจจริงๆค่ะ น่ากลัว..น่าห่างไกล
สงสารชาวนาที่ต้องเสียเวลากับเจ้าเพลี้ยกระโดด ต้องคอยไล่มันไป แต่มันก็ช่างเกาะเหนียวแน่นค่ะ..
รบ.ควรสอนให้ชาวนารู้จักวิธีการไล่เจ้าเพลี้ยกระโดดนะคะ ไม่เช่นนั้นมันจะเกาะต้นข้าวของชาวนาจนตายหมดทั้งแปลง
เพลี้ยกระโดด..ชิ้วๆ
มาอ่านข่าวค่ะ...
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนชาวนาทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตภาคกลางในบางพื้นที่ที่เริ่มมีการปลูกข้าวอยู่ในระยะกล้า ระวังการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หรือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาจเคลื่อนย้ายจากแปลงข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว หรืออพยพมาตามลมมรสุมเข้ามาทำลายข้าวได้
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางใบหลังใบข้าวโดยใช้ปากแทงดูดกิน น้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ทำให้ข้าวแห้งตาย
โดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหาร เช่น เมื่อมีอาหารมากจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกสั้นและขยายพันธุ์ได้มาก แต่เมื่ออาหารมีน้อยจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกยาวเพื่ออพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น โดยเฉพาะในพื้นที่การปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 ชัยนาท 2 และชัยนาท 80 เป็นต้น ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ในฤดูปลูกถัดไปควรปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข 6 กข 31 กข 41 กข 47 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 เป็นต้น และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง
2. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบนิเวศในแปลงนามาวิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยตนเองในการจัดการแปลงจากสถานการณ์จริง
3. ในแหล่งที่มีการระบาดให้ควบคุมระดับน้ำในนา ตั้งแต่หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง ควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
4. ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย (เชื้อสด) อัตรา 1 กิโลกรัม (2 ถุง) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นข้าวในบริเวณที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ควรทำในเวลาเย็น)
เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้รีบแจ้งการระบาดและขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านโดยทันที
http://www.komchadluek.net/news/agricultural/254701
กลัวเพลี้ยกระโดดตัวปลอมแต่ทำลายข้าวเก่งมากกว่าค่ะ...