สอบถามเรื่องมาตรา7 ที่มีการแก้ไขเมื่อปี 2535 ค่ะ

กระทู้คำถาม
หากเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 และ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2535

สำหรับความสำคัญ ในมาตรา 7  พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปี 2505 ระบุไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช”  
หมายความว่า “พระมหากษัตริย์” จะเป็นผู้คัดเลือกและสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช”

แต่เมื่อปี พ.ศ. 2535 มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรานี้ เป็น
"พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง"
ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของ "มหาเถรสมาคม" เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดย “สมณศักดิ์” ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 นั้น คือ การเพิ่มอำนาจให้แก่ “มหาเถรสมาคม” เป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระสังฆราช  โดยพิจารณาจาก อาวุโสสูงสุดโดย “สมณศักดิ์” ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 นั้น คือ การเพิ่มอำนาจให้แก่ “มหาเถรสมาคม” เป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระสังฆราช  โดยพิจารณาจาก อาวุโสสูงสุดโดยพิจารณาจาก อาวุโสสูงสุดโดย “สมณศักดิ์” ขณะที่ตามโบราณราชประเพณีจะวัดความอาวุโส โดย "พรรษา" และการคัดเลือก มาจาก "พระมหากษัตริย์”

อ้างอิงจาก http://www.thairath.co.th/clip/94605

ซึ่งขณะนี้สนช.ทำการแก้ไขคืนพระราชอำนาจให้กลับไปเป็นเช่นเดิม ปี2505
จึงอยากทราบเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 2535 ว่าใครเป็นผู้เสนอ และ วัตถุประสงค์ของการเสนอคืออะไร
เพราะเมื่อแก้ไข ดูเหมือนจะทำให้มีการเลื่อนขั้นให้ได้สมณศักดิ์เร็วขึ้นกันมากขึ้น

และการแก้ไขกลับไปเป็นแบบเดิมมีข้อเสียอย่างไรคะ?
เนื่องจากที่ตามข่าวมา ถ้าไม่มีการทำอะไรตำแหน่งพระสังฆราชก็จะว่างต่อไปเรื่อยๆหรือคะ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่