มีข้อสงสัยครับ ใครควรเป็นคนเริ่มต้นการเสนอชื่อ "สมเด็จพระสังฆราช"

ขอสอบถามผู้รู้ครับ พอดีติดตามข่าวเกี่ยวกับการเสนอชื่อแต่งตั้ง "สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20" แล้วผมอ่านเนื้อหาของ มาตรา ๗ ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 มีใจความว่า

"มาตรา 7  พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง

ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง  ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ  เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
"

พออ่านแล้วมีความรู้สึกว่ามันแปลได้ 2 นัยยะ คือ
1. ให้นายกรัฐมนตรีเริ่มเสนอชื่อก่อน แล้วขอความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเพื่อเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ
2. ให้มหาเถรสมาคมลงความเห็นชอบ แล้วส่งชื่อให้นายกเพื่อเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ

ไม่รู้ว่าหมายถึงนัยยะไหนหรือมีความหมายอื่น รบกวนขอคำชี้แนะครับ

ปล. ยืม ID แฟนมาครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 31
เรื่องนี้ ขออธิบายอย่างนี้นะครับ
จะได้ไม่ตีความ "มั่ว" ตามแต่ใจตนเอง
เหมือน "บางคน" ที่มั่วเพื่อเอาคนที่ตนเองชอบหรือได้รับประโยชน์มาเป็น

ในเรื่องกฏหมายนั้น จะมี ๒ ส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยกันคือ
๑. ตัวบทกฏหมาย
๒. และระเบียบประเพณีปฏิบัติตามตัวบทกฏหมายนั้นๆ

ในกรณีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชนั้น
มีตัวบทกฏหมายว่า...

"มาตรา 7  พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง  ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ  เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

แยกองค์ประกอบคือ
วรรค ๑. "พระมหากษัตริย์" ทรงสถาปนา  "สมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง"
     หมายความว่า พระมหากษัตริย์เท่านั้น ที่ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช รูปเดียวหรือองค์เดียว
     ฉะนั้น วรรคนี้จะไม่สำเร็จประโยชน์ก็คือ
      ๑. ไม่มีพระมหากษัตริย์ (กรณีนี้ยังไม่เคยเกิด)
      ๒.  มีพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ทรงสถาปนา (กรณีนี้ เคยเกิดขึ้นช่วงสมัยปลาย ร.๔ - ต้น ร.๕)
      ๓. ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ๒ รูปหรือ ๒ องค์ (กรณีนี้ไม่เคยเกิด)
          ดังนั้น ใครที่เสนอให้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ๒ รูปๆละนิกาย จึงทำไม่ได้
          เพราะผิดกฏหมาย

วรรค ๒. ในกรณีที่ "ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง"  
    ให้ "นายกรัฐมนตรี" โดยความเห็นชอบของ "มหาเถรสมาคม"
    เสนอนาม "สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์"
    ขึ้นทูลเกล้าฯ  เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

อธิบายว่า เมื่อตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ซึ่งกฏหมายท่านก็ระบุไว้ชัดเจน
ว่างลงเมื่อ มรณภาพ ลาออก ปลดออก ให้ออก และลาสิกขา

เมื่อว่างลงแล้ว เสนอได้เลยไหม ตามกฏหมายให้เสนอได้เลย
แต่มีประเพณีปฏิบัติ ที่ไม่ไดีบัญยัติไว้ในกฏหมายด้วย นั่นคือ
ควรต้องพระราชเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชในพระโกฏิให้แล้วเสร็จก่อนค่อยเสนอ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติ และ ไม่ได้สถาปนาทับองค์ก่อน
และเมื่อสถาปนาองค์ใหม่ จะได้เริ่มงานได้ทันที ไม่ต้องมาจัดงานพระศพอีก
(และในวงในวัดและวัง ท่านเชื่อกันว่า หากยังไม่ได้เผาไปแต่งตั้งทับ อายุจะสั้น ตรงนี้ก็ไม่มีในกฏหมายอีกนั่นแหละ)

ดังนั้น ก่อนจะเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช ควรต้องพระราชทานเพลิงพระศพก่อน
เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว จึงค่อยเสนอนามตามกฏหมาย

มาถึงวรรคสำคัญก็คือ ใครเป็นคนเสนอ และ จะเสนอใคร
    กฏหมายบอกไว้ให้ "นายกรัฐมนตรี" โดยความเห็นชอบของ "มหาเถรสมาคม"
    เสนอนาม "สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์"

ตรงนี้ชัดเจนและป้องกันไว้ดีที่สุดแล้ว
นั่นคือ ใครจะเป็นผู้เสนอนามก็ได้ นายกรัฐมนตรีเสนอก็ได้ มหาเถรสมาคมก็ได้
แต่ประเพณีปฏิบัติ ท่านว่า ให้มหาเถรสมาคมประชุมก่อนค่อยเสนอนามมาที่นายกรัฐมนตรี

เพราะ ศาสนจักร จะเลือกใครมาเป็นสมเด็จพระสังฆราชปกครองสงฆ์ ควรต้องเป็นผู้เลือกเอง
ทำนองเดียวกัน อาณาจักรจะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีปกครองประเทศ ศาสนจักรก็จะไม่ยุ่ง
ไม่ว่าจะมาโดยประชาธิปไตย รัฐประหาร หรือเผด็จการ ก็ตาม


ไม่งั้นก็วุ่นวายไม่จบ...

สรุปวรรคนี้ ไม่ว่าใครจะเสนอนามก็มีค่าเท่ากัน คือ

ต้องเสนอนาม "สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์" เท่านั้น
ใครเสนอนามอื่นผิดกฏหมายทั้งหมดยกเว้น ป่วยอาพาธหายใจพะงาบๆอยู่โรงพยาบาล

ถึงกระนั้น ถ้าจะเสนอนามที่อาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมา
ก็ต้องได้รับความเห็นยืนยันจากแพทย์ที่เชื่อถือได้ และ ตัวท่านเองก็ยินดีสละสิทธิ์อันนี้
นี่ก็ไม่มีในกฏหมายอีกนั่นแหละ แต่เป็นประเพณีปฏิบัติ เพื่อความสง่างามและเรียบร้อยดีงามในการปกครอง

กฏหมายท่านวางไว้ชัดเจนและประเพณีปฏิบัติก็มีอยู่แล้ว
แต่มีแค่ไม่กี่คน เช่น พุทธอิสระ กับ ไพบูลย์

ที่ประท้วงไม่ยอมทำตามกฏหมาย
จะเอาตามใจฉันอย่างเดียว

แล้วเราจะไปให้ค่า กับ พวกที่ไร้ค่า
ไม่รู้คุณค่าของกฏหมาย และ ประเพณีปฏิบัติ กันทำไม


ปล.ปีนี้ขอด่าเท่านี้ เพราะผมโดนเตือนด่าหนักไปแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่