https://www.facebook.com/AsianStudiesTH/posts/959702077438041
เพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิดในกระบวนการขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชนะครับ
สืบเนื่องจากมีนักกฎหมาย “บางท่าน” ออกมาให้ความเห็นทำนองว่า ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจ “เลือก” ผู้สมควรได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช โดยอธิบายว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้เริ่มต้นพิจารณาก่อน แล้วจึงเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ต่อมหาเถรสมาคม เพื่อให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบชื่อที่นายกรัฐมนตรีเลือกและเสนอมา จากนั้นนายกรัฐมนตรีจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา
ผมเข้าใจเจตนาดีของท่านเหล่านั้นที่พยายามทุกวิถีทางในการ “คัดค้าน” การตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งประเด็นนี้ผมได้เคยแสดงความคิดเห็นไว้อย่างชัดเจนเป็นหลายครั้งแล้วในเพจแห่งนี้ (จนถูกสาวกวัดพระธรรมกายเข้ามาโจมตีในโพสต์ต่าง ๆ มาแล้ว) ว่าผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้ผู้ให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายขึ้นดำรงตำแหน่งประมุขแห่งพุทธจักรไทยเช่นกัน
แต่งานนี้ การตีความกฎหมายและสร้างความ “เข้าใจผิด” ให้พี่น้องประชาชนที่ไม่ใช่นักกฎหมายและไม่ทราบเทคนิคทางกฎหมายเป็นเรื่องอันตรายมากครับ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๗ ได้บัญญัติขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชไว้ว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
ปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่คือการตีความถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม” หมายความว่า มหาเถรสมาคมเลือกสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แล้วส่งชื่อให้นายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
หรือ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้เริ่มต้นพิจารณาก่อน แล้วจึงเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ต่อมหาเถรสมาคม เพื่อให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบชื่อที่นายกรัฐมนตรีเลือกและเสนอมา
การที่บางท่านยกตัวอย่าง กฎหมายซึ่งใช้ถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี” หมายความว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้เสนอเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ไม่ใช่คณะรัฐมนตรีส่งเรื่องมาให้นายกรัฐมนตรี มาใช้ตีความกับกรณี “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม” นั้นเป็นการเทียบที่ “ผิดฝาผิดตัว” เพราะกรณีที่ท่านยกมานั้น เป็นถ้อยคำที่มาจากคำปรารภของ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี” ซึ่งใช้ถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้” ซึ่งอธิบายได้ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการอ้างถึงแหล่งที่มาของอำนาจว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นผู้ลงนามให้มีผลใช้บังคับคือ “นายกรัฐมนตรี” แต่ผู้พิจารณาคือองค์กรกลุ่ม “คณะรัฐมนตรี” ซึ่งในทางขั้นตอน สำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องจะเป็นผู้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะ “ลงนาม” ในระเบียบนั้น ตามถ้อยคำที่ว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้”
นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ “สถานะ” ของนายกรัฐมนตรีก็จะพบว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะ “สมาชิก” ของคณะรัฐมนตรี จึงสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ ในขณะที่กรณีของมหาเถรสมาคมนั้น นายกรัฐมนตรี “มิใช่สมาชิก” ของมหาเถรสมาคม จึงไม่สามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคมได้อยู่แล้วโดยสภาพ และนายกรัฐมนตรีก็ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของมหาเถรสมาคมที่จะ “ส่ง” ชื่อ และ“สั่ง” ให้มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบตามที่ตนเสนอได้ จึงเป็นไปไม่ได้ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติที่จะให้นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะพระองค์ใดไปให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ
ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาโดยเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชซึ่งเป็นเรื่องของศาสนจักร ก็ชอบแล้วที่จะเป็นการ “เริ่มต้น” กระบวนการเลือกและเสนอขององค์กรฝ่ายปกครองของสงฆ์ซึ่งเป็นฝ่ายศาสนจักรเอง ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายอาณาจักร นายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเท่านั้น
กรณีที่ควรจะเทียบเคียงกันได้คือ การตราพระราชบัญญัติซึ่งมีการใช้ถ้อยคำในคำปรารภของพระราชบัญญัติแต่ละฉบับว่า “...จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา...” ซึ่งก็หมายความว่า รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและลงมติผ่านร่างกฎหมายนั้นมาก่อน แล้วจึงมีการทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เหมือนกันทั่วโลกสำหรับประเทศที่เป็นราชอาณาจักรและปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
กล่าวโดยสรุป ถ้อยคำ “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม” จึงมีหมายความว่า มหาเถรสมาคมเป็นผู้เลือกสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แล้วส่งชื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป
อนึ่ง บางท่านอาจอ้างถึงอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคสช. ตามมาตรา ๔๔ ซึ่ง ณ จุดนี้ผมไม่ขอก้าวล่วง เนื่องจากในคำอธิบายข้างต้นเป็นการอธิบายโดยหลักและทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนที่ใช้ในภาวะปกติของรัฐเสรีประชาธิปไตย
.........................................................................
*** ฝากให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไปอ่านครับ ไม่ยาวแต่ชัด ***
เพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิดในกระบวนการขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชนะครับ
สืบเนื่องจากมีนักกฎหมาย “บางท่าน” ออกมาให้ความเห็นทำนองว่า ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจ “เลือก” ผู้สมควรได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช โดยอธิบายว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้เริ่มต้นพิจารณาก่อน แล้วจึงเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ต่อมหาเถรสมาคม เพื่อให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบชื่อที่นายกรัฐมนตรีเลือกและเสนอมา จากนั้นนายกรัฐมนตรีจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา
ผมเข้าใจเจตนาดีของท่านเหล่านั้นที่พยายามทุกวิถีทางในการ “คัดค้าน” การตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งประเด็นนี้ผมได้เคยแสดงความคิดเห็นไว้อย่างชัดเจนเป็นหลายครั้งแล้วในเพจแห่งนี้ (จนถูกสาวกวัดพระธรรมกายเข้ามาโจมตีในโพสต์ต่าง ๆ มาแล้ว) ว่าผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้ผู้ให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายขึ้นดำรงตำแหน่งประมุขแห่งพุทธจักรไทยเช่นกัน
แต่งานนี้ การตีความกฎหมายและสร้างความ “เข้าใจผิด” ให้พี่น้องประชาชนที่ไม่ใช่นักกฎหมายและไม่ทราบเทคนิคทางกฎหมายเป็นเรื่องอันตรายมากครับ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๗ ได้บัญญัติขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชไว้ว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
ปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่คือการตีความถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม” หมายความว่า มหาเถรสมาคมเลือกสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แล้วส่งชื่อให้นายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
หรือ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้เริ่มต้นพิจารณาก่อน แล้วจึงเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ต่อมหาเถรสมาคม เพื่อให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบชื่อที่นายกรัฐมนตรีเลือกและเสนอมา
การที่บางท่านยกตัวอย่าง กฎหมายซึ่งใช้ถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี” หมายความว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้เสนอเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ไม่ใช่คณะรัฐมนตรีส่งเรื่องมาให้นายกรัฐมนตรี มาใช้ตีความกับกรณี “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม” นั้นเป็นการเทียบที่ “ผิดฝาผิดตัว” เพราะกรณีที่ท่านยกมานั้น เป็นถ้อยคำที่มาจากคำปรารภของ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี” ซึ่งใช้ถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้” ซึ่งอธิบายได้ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการอ้างถึงแหล่งที่มาของอำนาจว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นผู้ลงนามให้มีผลใช้บังคับคือ “นายกรัฐมนตรี” แต่ผู้พิจารณาคือองค์กรกลุ่ม “คณะรัฐมนตรี” ซึ่งในทางขั้นตอน สำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องจะเป็นผู้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะ “ลงนาม” ในระเบียบนั้น ตามถ้อยคำที่ว่า “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้”
นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ “สถานะ” ของนายกรัฐมนตรีก็จะพบว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะ “สมาชิก” ของคณะรัฐมนตรี จึงสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ ในขณะที่กรณีของมหาเถรสมาคมนั้น นายกรัฐมนตรี “มิใช่สมาชิก” ของมหาเถรสมาคม จึงไม่สามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคมได้อยู่แล้วโดยสภาพ และนายกรัฐมนตรีก็ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของมหาเถรสมาคมที่จะ “ส่ง” ชื่อ และ“สั่ง” ให้มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบตามที่ตนเสนอได้ จึงเป็นไปไม่ได้ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติที่จะให้นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะพระองค์ใดไปให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ
ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาโดยเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชซึ่งเป็นเรื่องของศาสนจักร ก็ชอบแล้วที่จะเป็นการ “เริ่มต้น” กระบวนการเลือกและเสนอขององค์กรฝ่ายปกครองของสงฆ์ซึ่งเป็นฝ่ายศาสนจักรเอง ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายอาณาจักร นายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเท่านั้น
กรณีที่ควรจะเทียบเคียงกันได้คือ การตราพระราชบัญญัติซึ่งมีการใช้ถ้อยคำในคำปรารภของพระราชบัญญัติแต่ละฉบับว่า “...จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา...” ซึ่งก็หมายความว่า รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและลงมติผ่านร่างกฎหมายนั้นมาก่อน แล้วจึงมีการทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เหมือนกันทั่วโลกสำหรับประเทศที่เป็นราชอาณาจักรและปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
กล่าวโดยสรุป ถ้อยคำ “นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม” จึงมีหมายความว่า มหาเถรสมาคมเป็นผู้เลือกสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แล้วส่งชื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป
อนึ่ง บางท่านอาจอ้างถึงอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคสช. ตามมาตรา ๔๔ ซึ่ง ณ จุดนี้ผมไม่ขอก้าวล่วง เนื่องจากในคำอธิบายข้างต้นเป็นการอธิบายโดยหลักและทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนที่ใช้ในภาวะปกติของรัฐเสรีประชาธิปไตย
.........................................................................