คำชี้แจง
กรณีขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ตอนที่ ๒)
นายจำนงค์ สวมประคำ
อดีตเลขาธิการวุฒิสภา
ขอชี้แจงเพิ่มเติม กรณีขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะตรวจสอบเรื่องใดที่หน่วยราชการหรือผู้มีคำสั่งใดที่มีผู้อ้างว่า " คำสั่ง " ใดไม่ขอบด้วยกฎหมาย ต้องมีผู้ร้องเรียน และผู้ร้องเรียนนั้นต้อง " เป็นผู้เสียหาย " เพราะคำสั่งนั้น
กรณีนี้ เป็นกระบวนการขั้นตอน เพื่อเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง การประชุมของมหาเถรสมาคม จึงไม่ใช่ " คำสั่ง " หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายแต่อย่างใด
จึงยังยืนยันความเห็นเดิมว่า
ตาม ม.7 แห่ง พรบ.คณะสงฆ์ 2505 ได้ลำดับขั้นตอนการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง ไว้ชัดเจนแล้ว โดยแบ่งลำดับขั้นตอนเป็น 3 ส่วนคือ วรรคที่ 1 การโปรดเกล้าฯสถาปนาพระสังฆราชเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แล้วขั้นตอนก่อนหน้านั้น พระมหากษัตริย์จะทรงสถาปนาได้ก็ต่อเมื่อ ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการตามวรรค 2 คือ " ให้นายกฯ นำชื่อสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์" ตามมติมหาเถรสมาคม ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อสถาปณาเป็นพระสังฆราช
ดังนั้น ความตามวรรคนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่บอกว่า" ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายนามให้มหาเถรสมาคมพิจารณา" ถ้าตีความเช่นนั้น จะเป็นการตีความนอกเหนือจากกฎหมาย หากนายกฯ ทำเช่นนั้น ก็เท่ากับการเข้ามาชี้นำการประชุมของมหาเถรสมาคม นายกจะกลายเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง
คำว่า " ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อฯ" คำนี้มีความหมายเพียงว่า ทางกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจมหาเถรสมาคมเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชได้เอง เพราะตาม รธน.ของไทยได้บัญญัติไว้ชัดเจน และตามกฎหมาย ผู้ที่จะมี " หน้าที่ " นำเสนอทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงพิจารณาแต่งตั้งใคร หรือบุคคลใดนั้น ต้องผ่านหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ นายกฯ หรือ ประธานวุฒิสภาฯทั้งนี้เป็นไปตามที่กฎหมายจะแต่งตั้งใคร ในตำแหน่งใด เช่น ข้าราชการทั่วไปตั้งแต่รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ฯ ก็เป็น " หน้าที่" ของนายกรัฐมนตรี ส่วนของประธานสภาผู้แทน ประธานวุฒิสภา อัยการสูงสุด ก็ต้องให้ประธานวุฒิสภานำเสนอฯ แล้วแต่กฎหมายเขียนไว้เช่นใด
และถ้าหากจะให้มีการกำหนดขั้นตอนการคัดเลือก สรรหา กำหนดคุณสมบัติ อย่างไรก็ต้องมีบทบัญญัติกำหนดไว้ชัดเจน
แต่ ในวรรค 2 ของ ม.7 พรบ.คณะสงฆ์ มีคำว่า " ให้" นายกรัฐมนตรีนำชื่อฯ บทกฎหมายเขียนเพียงเท่านี้
คำว่า " ให้ " จึงเป็นหน้าที่ของนายกฯ นำชื่อตามมติมหาเถรสมาคมมีมติแล้ว "ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อสถาปณา ซึ่งอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะทรงพิจารณาเป็นประการใด สุดแต่จะทรงพระกรุณา
ตามวรรค 3 ให้นายกฯรับสนองพระบรมราชโองการ นั้น ก็เป็นขั้นตอนสุดท้าย ที่ภายหลังจากที่ได้นำเสนอพระมหากษัตริย์เพื่อทรงพิจารณา เมื่อพระองค์ท่านมีพระราชโองการมาอย่างไร นายกฯ คนที่นำเสนอ ก็มีหน้าที่ต้องรับทราบ และดำเนินการแจ้งผลการโปรดเกล้าฯต่อไป
ดังนั้น ที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความเห็นเช่นนั้น จึงไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย และประเพณีการปกครองสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการปฏิบัติตามกฎหมายในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งก็ปฏิบัติตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 นี่แหละ ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด หากว่าการดำเนินการตั้งพระสังฆราชที่ผ่านมาไม่ถูกต้องดั่งที่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความเห็นนี้ ก็เห็นท่าจะยุ่ง
ที่สำคัญ การประชุมมหาเถรสมาคมในการเสนอชื่อ สมเด็จวัดปากน้ำที่มีสมณศักดิ์สูงสุดครั้งนั้น ก็เป็นการประชุมที่มีสำนักพุทธศาสนา เป็นฝ่ายเลขาฯ กำกับดูแลการประชุม และก็ไม่ได้มีข้อโต้แย้งทักท้วงจากสมเด็จพระราชาคณะฯ ที่เข้าประชุมว่า การเสนอชื่อไม่ชอบ แต่อย่างใด (เพราะสมเด็จพระราชาคณะฯในที่ประชุมนั้น อาจจะมีส่วนได้เสียในการได้นับเสนอชื่อเป็นลำดับต่อไปเสียด้วยซ้ำ)
แต่นี่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน อ้างว่ามีผู้ร้องเรียน จึงพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ผู้ร้องเรียนนั้น (ถ้ามี)อาจจะไม่ใช่ผู้เสียหายเสียด้วยซ้ำ และ การดำเนินการทางสงฆ์ตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 เป็นเรื่องของทางฝ่ายศาสนจักร ไม่ใช่ฝ่ายอาณาจักร และผลการประชุมของมหาเถรสมาคม ยังมีขั้นตอน การโปรดเกล้าฯ มตินี้ จึงยังไม่ใช่คำสั่ง หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
กรณีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดิน
และที่สำคัญ ตามอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่มีอำนาจชี้ขาดว่า คำสั่งใดผิด คำสั่งใดถูก อำนาจมีเพียงแค่
" หากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง(ที่สมบูรณ์) แล้ว เห็นว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็มี " หน้าที่เพียง ส่งเรื่องให้หน่วยงานนั้น พิจารณาและแก้ไขใหม่ " เท่านั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่มีอำนาจชี้ขาดว่า การกำเนินการใดๆ ผิด หรือถูก
(โปรดติดตาม ตอนที่ 3)
คำชี้แจง กรณีขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ตอนที่ ๒)
กรณีขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ตอนที่ ๒)
นายจำนงค์ สวมประคำ
อดีตเลขาธิการวุฒิสภา
ขอชี้แจงเพิ่มเติม กรณีขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะตรวจสอบเรื่องใดที่หน่วยราชการหรือผู้มีคำสั่งใดที่มีผู้อ้างว่า " คำสั่ง " ใดไม่ขอบด้วยกฎหมาย ต้องมีผู้ร้องเรียน และผู้ร้องเรียนนั้นต้อง " เป็นผู้เสียหาย " เพราะคำสั่งนั้น
กรณีนี้ เป็นกระบวนการขั้นตอน เพื่อเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง การประชุมของมหาเถรสมาคม จึงไม่ใช่ " คำสั่ง " หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายแต่อย่างใด
จึงยังยืนยันความเห็นเดิมว่า
ตาม ม.7 แห่ง พรบ.คณะสงฆ์ 2505 ได้ลำดับขั้นตอนการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง ไว้ชัดเจนแล้ว โดยแบ่งลำดับขั้นตอนเป็น 3 ส่วนคือ วรรคที่ 1 การโปรดเกล้าฯสถาปนาพระสังฆราชเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แล้วขั้นตอนก่อนหน้านั้น พระมหากษัตริย์จะทรงสถาปนาได้ก็ต่อเมื่อ ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการตามวรรค 2 คือ " ให้นายกฯ นำชื่อสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์" ตามมติมหาเถรสมาคม ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อสถาปณาเป็นพระสังฆราช
ดังนั้น ความตามวรรคนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่บอกว่า" ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายนามให้มหาเถรสมาคมพิจารณา" ถ้าตีความเช่นนั้น จะเป็นการตีความนอกเหนือจากกฎหมาย หากนายกฯ ทำเช่นนั้น ก็เท่ากับการเข้ามาชี้นำการประชุมของมหาเถรสมาคม นายกจะกลายเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง
คำว่า " ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อฯ" คำนี้มีความหมายเพียงว่า ทางกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจมหาเถรสมาคมเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชได้เอง เพราะตาม รธน.ของไทยได้บัญญัติไว้ชัดเจน และตามกฎหมาย ผู้ที่จะมี " หน้าที่ " นำเสนอทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงพิจารณาแต่งตั้งใคร หรือบุคคลใดนั้น ต้องผ่านหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ นายกฯ หรือ ประธานวุฒิสภาฯทั้งนี้เป็นไปตามที่กฎหมายจะแต่งตั้งใคร ในตำแหน่งใด เช่น ข้าราชการทั่วไปตั้งแต่รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ฯ ก็เป็น " หน้าที่" ของนายกรัฐมนตรี ส่วนของประธานสภาผู้แทน ประธานวุฒิสภา อัยการสูงสุด ก็ต้องให้ประธานวุฒิสภานำเสนอฯ แล้วแต่กฎหมายเขียนไว้เช่นใด
และถ้าหากจะให้มีการกำหนดขั้นตอนการคัดเลือก สรรหา กำหนดคุณสมบัติ อย่างไรก็ต้องมีบทบัญญัติกำหนดไว้ชัดเจน
แต่ ในวรรค 2 ของ ม.7 พรบ.คณะสงฆ์ มีคำว่า " ให้" นายกรัฐมนตรีนำชื่อฯ บทกฎหมายเขียนเพียงเท่านี้
คำว่า " ให้ " จึงเป็นหน้าที่ของนายกฯ นำชื่อตามมติมหาเถรสมาคมมีมติแล้ว "ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อสถาปณา ซึ่งอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะทรงพิจารณาเป็นประการใด สุดแต่จะทรงพระกรุณา
ตามวรรค 3 ให้นายกฯรับสนองพระบรมราชโองการ นั้น ก็เป็นขั้นตอนสุดท้าย ที่ภายหลังจากที่ได้นำเสนอพระมหากษัตริย์เพื่อทรงพิจารณา เมื่อพระองค์ท่านมีพระราชโองการมาอย่างไร นายกฯ คนที่นำเสนอ ก็มีหน้าที่ต้องรับทราบ และดำเนินการแจ้งผลการโปรดเกล้าฯต่อไป
ดังนั้น ที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความเห็นเช่นนั้น จึงไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย และประเพณีการปกครองสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการปฏิบัติตามกฎหมายในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งก็ปฏิบัติตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 นี่แหละ ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด หากว่าการดำเนินการตั้งพระสังฆราชที่ผ่านมาไม่ถูกต้องดั่งที่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความเห็นนี้ ก็เห็นท่าจะยุ่ง
ที่สำคัญ การประชุมมหาเถรสมาคมในการเสนอชื่อ สมเด็จวัดปากน้ำที่มีสมณศักดิ์สูงสุดครั้งนั้น ก็เป็นการประชุมที่มีสำนักพุทธศาสนา เป็นฝ่ายเลขาฯ กำกับดูแลการประชุม และก็ไม่ได้มีข้อโต้แย้งทักท้วงจากสมเด็จพระราชาคณะฯ ที่เข้าประชุมว่า การเสนอชื่อไม่ชอบ แต่อย่างใด (เพราะสมเด็จพระราชาคณะฯในที่ประชุมนั้น อาจจะมีส่วนได้เสียในการได้นับเสนอชื่อเป็นลำดับต่อไปเสียด้วยซ้ำ)
แต่นี่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน อ้างว่ามีผู้ร้องเรียน จึงพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ผู้ร้องเรียนนั้น (ถ้ามี)อาจจะไม่ใช่ผู้เสียหายเสียด้วยซ้ำ และ การดำเนินการทางสงฆ์ตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 เป็นเรื่องของทางฝ่ายศาสนจักร ไม่ใช่ฝ่ายอาณาจักร และผลการประชุมของมหาเถรสมาคม ยังมีขั้นตอน การโปรดเกล้าฯ มตินี้ จึงยังไม่ใช่คำสั่ง หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
กรณีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดิน
และที่สำคัญ ตามอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่มีอำนาจชี้ขาดว่า คำสั่งใดผิด คำสั่งใดถูก อำนาจมีเพียงแค่
" หากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง(ที่สมบูรณ์) แล้ว เห็นว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็มี " หน้าที่เพียง ส่งเรื่องให้หน่วยงานนั้น พิจารณาและแก้ไขใหม่ " เท่านั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่มีอำนาจชี้ขาดว่า การกำเนินการใดๆ ผิด หรือถูก
(โปรดติดตาม ตอนที่ 3)