คัดลอกมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องนะครับ.. เห็นอ้างราชประเพณีกันจัง.. เลยหามาให้อ่านว่าจริงๆ มันเป็นยังไง..
วิษณุมั่วนะครับ
สรุปว่ายังไงๆ ทั้งกรณีตามราชประเพณีหรือตามกฎหมายปัจจุบันที่พิจารณาโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐบาลก็เป็นผู้เริ่ม ไม่ใช่ มส. ครับ
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-05.htm
ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย
ปลื้ม โชติษฐยางกูร
คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์ ชั้นปริญญาตรี
คณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๐ หน้า ๑๕๐–๑๕๘
การดำเนินการสถาปนา
เมื่อตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศาสนา ซึ่งมีอธิบดีเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม จะรวบรวมพระประวัติและผลงานของสมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แล้วนายกรัฐมนตรีนำขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงพิจารณาวินิจฉัย สถาปนารูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตามพระราชอัธยาศัย แล้วจะมีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ความเห็นของมหาเถรสมาคม
แม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่า การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมก็ตาม แต่รัฐบาลจะต้องสอบถามความเห็นของกรรมการมหาเถรสมาคม นำขึ้นทูลเกล้าถวาย พร้อมทั้งพระประวัติผลงานของสมเด็จพระราชาคณะ เพื่อทราบความเห็นของฝ่ายสงฆ์ด้วย ในคำประกาศสถาปนาจะปรากฏสังฆทรรศนะอันเป็นมติของมหาเถรสมาคมอยู่ด้วย ตามทางปฏิบัติ กรรมการมหาเถรสมาคมจะถวายให้เป็นพระราชอำนาจที่จะทรงดำริวินิจฉัยตามพระราชอัธยาศรัย (ขอให้สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้ามีพระมหากรุณา ทรงพระราชดำริสถาปนาตามพระราชอัธยาศัย เป็นการเหมาะสมอย่างยิ่ง กรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูปเต็มใจที่จะสนองพระเดชพระคุณ) เหตุผลก็เพราะว่า สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระประมุข เป็นสังฆบิดร ผู้ปกครองสังฆมณฑล ควรเป็นที่ยอมรับเคารพสักการะของคณะสงฆ์มาก่อน หากไม่ฟังเสียงอาจเกิดเสียหายทางการปกครอง และการพระศาสนาได้
ขั้นตอนเสนอชื่อพระสังฆราชตามราชประเพณี โดยอาจารย์ มจร เมื่อปี พ.ศ. 2520.. วิษณุมั่วชัดเจน
วิษณุมั่วนะครับ
สรุปว่ายังไงๆ ทั้งกรณีตามราชประเพณีหรือตามกฎหมายปัจจุบันที่พิจารณาโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐบาลก็เป็นผู้เริ่ม ไม่ใช่ มส. ครับ
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-05.htm
ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย
ปลื้ม โชติษฐยางกูร
คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์ ชั้นปริญญาตรี
คณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๐ หน้า ๑๕๐–๑๕๘
การดำเนินการสถาปนา
เมื่อตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศาสนา ซึ่งมีอธิบดีเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม จะรวบรวมพระประวัติและผลงานของสมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แล้วนายกรัฐมนตรีนำขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงพิจารณาวินิจฉัย สถาปนารูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตามพระราชอัธยาศัย แล้วจะมีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ความเห็นของมหาเถรสมาคม
แม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่า การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมก็ตาม แต่รัฐบาลจะต้องสอบถามความเห็นของกรรมการมหาเถรสมาคม นำขึ้นทูลเกล้าถวาย พร้อมทั้งพระประวัติผลงานของสมเด็จพระราชาคณะ เพื่อทราบความเห็นของฝ่ายสงฆ์ด้วย ในคำประกาศสถาปนาจะปรากฏสังฆทรรศนะอันเป็นมติของมหาเถรสมาคมอยู่ด้วย ตามทางปฏิบัติ กรรมการมหาเถรสมาคมจะถวายให้เป็นพระราชอำนาจที่จะทรงดำริวินิจฉัยตามพระราชอัธยาศรัย (ขอให้สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้ามีพระมหากรุณา ทรงพระราชดำริสถาปนาตามพระราชอัธยาศัย เป็นการเหมาะสมอย่างยิ่ง กรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูปเต็มใจที่จะสนองพระเดชพระคุณ) เหตุผลก็เพราะว่า สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระประมุข เป็นสังฆบิดร ผู้ปกครองสังฆมณฑล ควรเป็นที่ยอมรับเคารพสักการะของคณะสงฆ์มาก่อน หากไม่ฟังเสียงอาจเกิดเสียหายทางการปกครอง และการพระศาสนาได้