พระธัมมชโย ปาราชิก
อ่านเต็มๆที่นี่นะครับ มีทั้งกรณีแต่งตั้งพระนามสมเด็จพระสังฆราชฯ ด้วยครับ
ผม ตัดเอามาแบบเต็มๆเฉพาะ ส่วนของ ธัมมี่ สมีโย ... เออ ครบยังนะ ฉายา ของท่านเสื้อยืดคอปกห่มเหลือง ....หมวดไหมพรม
http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-4%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AE%E0%B8%A7%E0%B8%87-2
…………………………….
บทบาทขององค์กรอิสระอย่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน พบว่าในช่วงที่ผ่านมา การมีมติของผู้ตรวจการแผ่นดินหลายเรื่องน่าสนใจไม่ใช่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกรณีส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 61 วรรคสองของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.... ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 หรือไม่ หรือความเห็นว่ามติที่ประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อต้นเดือน ม.ค.59 ในการเห็นชอบการเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ดำเนินการไม่ถูกตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ หรือก่อนหน้านี้เมื่อกลางปี 58 ที่มีความเห็นว่า พระธัมมชโย ต้องปาราชิกตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น
ทุกมติสำคัญข้างต้นของผู้ตรวจการแผ่นดินมีการอธิบายที่มาที่ไป รวมถึงบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินต่อจากนี้จาก พลเอกวิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เคยผ่านตำแหน่งสำคัญในกองทัพมาแล้วมากมาย
อีกหนึ่งปมร้อนในวงการสงฆ์ นั่นก็คือเรื่องของ พระธัมมชโย-เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย” ที่ก่อนหน้านี้คือเมื่อ ก.ค.2558 ทางผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมาแถลงย้ำว่า ธัมมชโย ปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช จากการเบียดบังทรัพย์สินวัดพระธรรมกาย อันเป็นความเห็นขององค์กรอิสระที่ออกมาก่อนหน้าที่ปมปัญหาเรื่องธัมมชโยจะร้อนแรงอย่างทุกวันนี้
พลเอกวิทวัส กล่าวถึงเรื่องนี้โดยละเอียดว่า ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นตอนนั้น ก็ได้พิจารณาจากพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชสองฉบับ แล้วก็ดูไปถึงเรื่องเหตุผลของการถอนฟ้องคดีหลังจากที่ทางอัยการสูงสุดยื่นเรื่องฟ้องศาลไปแล้ว คดีก็ดำเนินไปถึง 7 ปีแล้วก็มีการถอนฟ้อง โดยคดีอาญาที่มีลักษณะโทษจำคุกที่มีความผิดในระดับนี้ที่เราพบไม่สามารถที่จะถอนฟ้อง ยอมความไม่ได้ อัยการมีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน แม้มีอำนาจที่จะไปถอนฟ้อง แต่ลักษณะที่มีโทษจำคุกขนาดนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีการไปถอนฟ้อง เราก็สงสัยและถามไปที่สำนักอัยการสูงสุดเพื่อขอเหตุผลว่าควรจะมีการสอบสวน เพราะแม้มีอำนาจในการถอนฟ้อง แต่เป็นไปโดยชอบหรือไม่ ทางสำนักงานอัยการสูงสุดก็มีการตรวจสอบ แต่เขาก็ยังไม่ได้ส่งผลสอบมาให้เราทราบ
ในส่วนของพระธัมมชโยเองดูจากพระลิขิตนั้น ในกฎหมายคณะสงฆ์ฯ ก็บอกว่าพระลิขิตคือคำสั่ง แต่ตอนที่มหาเถรสมาคมนำเรื่องนี้เข้าไปพิจารณาแล้วก็ไปตีความว่าที่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระญาณสังวรฯ บันทึกไว้ ไปตีความว่าเป็นแค่ดำริ ไม่ใช่คำสั่ง คำสั่งพระสังฆราชถือเป็นกฎหมายสงฆ์ เขาบอกเป็นแค่ดำริ เป็นแค่ความคิด ซึ่งเราพิจารณาดูแล้วไม่ใช่ เป็นคำสั่ง คือพระสงฆ์ต้องถือปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ พระธัมมชโยจึงต้องอาบัติปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช นี่คือคำวินิจฉัยของผู้ตรวจฯ ก็คิดอย่างนั้น โดยก่อนจะมีความเห็น ทางผู้ตรวจการแผ่นดินก็พิจารณากันด้วยเหตุด้วยผลหลายอย่าง มีการคุยกันว่ามันควรไปอย่างไร เหตุผลเป็นอย่างไร เพื่อให้มีการปรึกษาหารือกันให้รอบคอบและระมัดระวัง
..อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจฯ ไม่มีอำนาจจะไปถอดถอนพระ ด้วยเหตุนี้เราจึงทำข้อเสนอไปถึงรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ในตอนนั้นน่าจะเป็นเดือน ส.ค.2558 ซึ่งตอนนั้นเรื่องราวยังไม่ใหญ่โต แตกแยก ขัดแย้งยังไม่สูงมาก
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ทำข้อเสนอแนะไปว่า ในการนี้ นายกรัฐมนตรีควรจะใช้มาตรา 44 แต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการสักชุดหนึ่งเพื่อมาพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.พระธัมมชโยนั้นปาราชิกหรือไม่ 2.คณะกรรมการนี้ควรจะไปดูว่าพระธรรมวินัยถูกบิดเบือนไปควรจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร 3.น่าจะมีการสะสางเกี่ยวกับเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.สงฆ์ฯ บางเรื่อง เช่น ที่สำคัญคือเรื่องของการจัดการทรัพย์สินของวัด เพราะเป็นที่รู้กันในปัจจุบันว่าวัดบางแห่งมีทรัพย์สินมากเกินไป แต่การทำบัญชีของวัดเป็นไปอย่างมีมาตรฐานหรือไม่ คือถ้าท่านมีเงินสักหนึ่งแสนคงใช้บัญชี ป.4, ป.6 ทำได้ จดรายรับ-รายจ่าย ซ้าย-ขวา หักลบกลบหนี้ บัญชีครัวเรือนคงทำได้ถ้าง่ายๆ แต่บางวัดทรัพย์สินเป็นร้อยล้าน เราก็พอจะทราบว่าวัดที่มีทรัพย์สิน พอท่านเจ้าอาวาสมรณภาพไป ลูกศิษย์ลูกหาทะเลาะเบาะแว้ง มีความขัดแย้งกันสูงมากเรื่องของเงินในวัด ยุ่งไปหมด นำมาซึ่งความแตกแยก ขัดแย้งเรื่องเงินทองทรัพย์สินของวัด อาจจะตั้งผู้สอบบัญชีแบบบริษัทมหาชน จะต้องถึงขนาดนั้นถ้าหากว่าทรัพย์สินของวัดใกล้พันล้าน
พลเอกวิทวัส กล่าวต่อไปว่า กลับมาถึงที่พระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย พระมีคนเอาของมาบริจาค เอาที่ดินมาถวาย ท่านเอาชื่อตนเองไปใส่เป็นทรัพย์สินท่าน ไม่ถูกใช่ไหมครับ เขามาถวายท่านเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านต้องไปจดทะเบียนในนามวัดถูกไหม เพราะวัดเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสถือเป็นเจ้าพนักงาน
ผมถึงบอกว่า พระธัมมชโยที่นำเอาทรัพย์สินของคนมาบริจาคทั้งหลายแล้วไปใส่ชื่อตนเองแทนที่จะใส่ชื่อวัด ก็เป็นเหตุผลที่เราบอกว่า นี่ไง เรื่องการจัดการทรัพย์สินของวัดมันไม่อยู่ในร่องในรอย มันก็เลยเกิดอย่างนี้ แล้วก็ผิดไหม ผิดแน่นอน เจ้าพนักงานผิดแน่นอน กรรมการชุดนี้ควรจะตั้งขึ้นมาเพื่อวางกฎเกณฑ์ให้ชัดเจนไปเลย วัดอื่นก็ถือปฏิบัติ ผมว่าแบบที่เอาชื่อเจ้าอาวาสมาใส่อาจจะไม่ใช่ที่วัดพระธรรมกายที่เดียว มีวัดอื่นที่เราไม่ทราบอีก
ผู้ตรวจการแผ่นดินให้ข้อเสนอแนะไปว่า คณะกรรมการที่เสนอนายกรัฐมนตรีไปก็ให้ตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องของพระธรรมวินัยทั้งฆราวาสและสงฆ์ อย่างท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านก็มีความซาบซึ้งในพระธรรมวินัย เก่งเรื่องพระธรรมวินัย หรือท่าน ว.วชิรเมธี ก็ทำปริญญาโทเรื่องพระธรรมวินัย ส่วนฆราวาสก็อาจจะมีเช่น คุณเสฐียรพงษ์ วรรณปก โดยให้กรรมการมาศึกษามาทำเป็นเรื่องๆ ไป ทำแล้วก็ส่งไปให้ทางมหาเถรสมาคม ถ้าเรื่องไหนที่เป็นเรื่องการแก้ไขกฎหมายก็อาจจะส่งไปให้ที่คณะรัฐมนตรี ให้กฤษฎีกาไปดู เกี่ยวข้องกับใครก็ให้คนนั้นไปทำ
ข้อเสนอดังกล่าว เรามองไปข้างหน้าไกลอีกด้วยว่า กรรมการชุดนี้จะเป็นเหมือนกันชน คือแทนที่นายกรัฐมนตรีจะไปชนกับพระ ไปชนกับมหาเถรสมาคมไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม นายกฯ ไม่ต้อง เพราะจะมีคณะกรรมการนี้เป็นคนทำให้ ถ้าไปเกี่ยวกับเรื่องต้องปลดพระ เขาก็จะส่งไปที่มหาเถรสมาคม มหาเถรสมาคมถ้าไม่เห็นด้วยต้องมีเหตุผลที่จะไปหักล้างเขา ซึ่งสังคมต้องรับได้ เรื่องก็ไม่ต้องไปเดือดร้อนนายกฯ ไม่ต้องรับเผือกร้อนเลย เพราะกรรมการชุดนี้เขาจะทำ เรื่องไหนที่กรรมการเขาบอกไว้อย่างนี้ ถ้ามหาเถรสมาคมเห็นแย้งมีเหตุผล นายกฯ ก็ต้องมาชั่งใจว่าจะเชื่อมหาเถรสมาคมหรือเชื่อกรรมการ เห็นแย้งอาจจะมีวิธีอื่นอีก ถ้ามหาเถรสมาคมเห็นแย้งหนึ่ง สอง สาม กรรมการว่าอย่างไร ก็จะมาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล ที่เราทำข้อเสนอแนะไปมันจะเป็นทางออกที่ทำให้ความขัดแย้งของพระสงฆ์และจุดอ่อนของ พ.ร.บ.สงฆ์ฯ คลี่คลาย
ย้อนถามไปถึงเหตุการณ์เมื่อปี 2558 ที่พอมีข่าวว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นเรื่องธัมมชโยต้องปาราชิก ก็มีลูกศิษย์วัดพระธรรมกายจำนวนมากเดินทางไปยังศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ที่ตั้งของสำนักงานผู้ตรวจการฯ พลเอกวิทวัส เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวช่วงนั้นว่า ก็มีมา เราก็ชี้แจงแล้วเขาก็กลับไป คือเขาไปเข้าใจว่าเราไปวินิจฉัยให้พระธัมมชโยปาราชิก เราไม่ได้บอก เพราะเราไม่ได้ถอดถอนพระ อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ถึง ผู้ตรวจการฯ ถึงได้เสนอนายกรัฐมนตรีไปว่า การจะถอดถอน ท่านต้องไปตั้งกรรมการชุดหนึ่ง แล้วอำนาจการให้ปาราชิกก็ไปอยู่ที่มหาเถรสมาคม เป็นหนึ่งในเรื่องที่กรรมการชุดนี้ต้องพิจารณาให้ความเห็นแล้วก็เสนอต่อมหาเถรสมาคม เพราะ มส.มีอำนาจในการชี้ว่าจะปาราชิกหรือไม่ปาราชิก นายกรัฐมนตรีเองท่านก็เคยบอกว่าท่านไม่ยุ่งเรื่องของพระ เพราะเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ มส.ต้องเป็นผู้จัดการในฐานะปกครองสงฆ์
- สรุปว่าหนังสือของผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับพระธัมมชโยคือต้องปาราชิกจากพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช
ใช่ แต่เราไม่ได้ไปถอดถอนท่าน ไม่ได้สั่ง แต่ด้วยเหตุนี้คือเป็นเหตุเป็นผล เป็นข้อพิจารณาของเราว่า พระธัมมชโยนั้นมีเหตุที่ต้องปาราชิกด้วยพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช แต่อำนาจการให้ปาราชิกไม่ใช่อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นอำนาจของ มส. พระที่มาก็บอกแบบนี้ก็ค่อยยังชั่วหน่อย ไม่ใช่มีการใช้อำนาจของผู้ตรวจการฯ ทำให้ปาราชิก เราก็แค่ให้ความเห็นไป แต่ไม่ได้ตัดสินว่าท่านต้องปาราชิกโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะเราไม่มีอำนาจไปตัดสิน แต่เป็นข้อคิดเห็นของเรา เพราะเราตรวจสอบแล้ว เรามีความเห็นว่าท่านน่าจะต้องปาราชิก แต่ผู้มีอำนาจในการสั่งปาราชิกคือ มส.
พลเอกวิทวัส กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องพระธัมมชโย ที่เรามีความเห็นเช่นนี้ เรามีเหตุผลหลายอย่าง เราไปตรวจถึงกับว่าท่านได้ถือครองที่ดินอยู่ที่ไหนบ้าง อย่างนี้ครับ พระหากไปยักยอกเงิน ในพระธรรมวินัย หนึ่งมาสก ที่ก็แค่ไม่กี่บาท ก็ถือว่าปาราชิก ยิ่งไปขโมยของก็ยิ่งถือว่าบาป พูดประสาชาวบ้าน พระไปยักยอกเงิน ขโมยของ ต้องถือว่าปาราชิก
“ท่านใช้วิธีว่าไปเอาเงินที่คนบริจาคไปเข้าบัญชีตัวเอง คนนำที่ดินมาให้ ท่านก็นำมาใส่ชื่อบัญชีตัวเอง หลายกรรมหลายวาระ มีหลักฐานไปถึงว่าท่านไปซื้อที่ดินแถวๆ ที่มีแร่ทองคำสะสมไว้ ซึ่งมันก็น่าจะมีราคาไว้เก็งกำไร ซื้อเองก็มี คนมาถวายก็มี มีหลายรายการมากเลยที่เราตรวจสอบพบมา เงินสดน่าจะไปถึง 800-900 ล้านบาท ผิดปกติไหม ในชื่อของท่าน ที่ดินอีกไม่รู้กี่แปลงเอามาใส่ไว้ในชื่อตัวเอง บัญชีตัวเอง”
ผมสมมุติง่ายๆ มีเพื่อนของคุณคนหนึ่งนำรถยนต์ที่เป็นทรัพย์ของคุณจากที่บ้านของคุณไปใช้ เอาไปถือครอง ไม่เอามาคืน ก็บอกหากไม่นำมาคืนจะไปฟ้องศาล ต่อมาก็ฟ้องศาล คดีผ่านไป 7 ปี แล้วต่อมามาบอกว่างั้นจะนำรถมาคืน ถามว่าคนที่นำรถคุณไปใช้ 7 ปีมีความผิดไหม แบบนี้มีคนไปตีความว่าเมื่อคืนทรัพย์แล้วก็ให้ความผิดนั้นหมดไป ผมถามว่ามันถูกหรือไม่ เพราะความผิดมันสำเร็จแล้ว ก็อย่างที่เราบอกว่าที่อัยการไปถอนฟ้อง ความผิดมันสำเร็จแล้ว การจะบอกว่าเมื่อนำทรัพย์มาคืนแล้วเรื่องก็หมดไป ผมถามว่าหากใช้วิจารณญาณ เรื่องมันหมดไปหรือไม่ในทางกฎหมายอาญา ผมว่าไม่หมด มันต้องมีความผิด ก็ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ
กับทั้งสองกรณี คือเรื่องมติ มส.และกรณีพระธัมมชโย เราถามว่าเลยทำให้ฝ่ายสงฆ์บางส่วนอาจไม่เข้าใจ มองว่าทำไมผู้ตรวจการแผ่นดินไปยุ่งอะไรกับฝ่ายสงฆ์ พลเอกวิทวัส กล่าวตอบว่า เราระมัดระวังมากในเรื่องขอบเขตอำนาจของเรา พระที่มา พอฟังเราชี้แจง โดยบอกว่าท่านอย่าไปฟังคนที่ให้ข้อมูลเท็จกับท่าน เราก็ชี้แจงไป เช่น เราไม่ได้วินิจฉัยว่ามติ มส.นั้นผิด แต่วินิจฉัยว่าตัว ผอ.สำนักพุทธฯ กระทำความผิด เพราะแทนที่จะให้ข้อมูลกับพระว่า ท่านครับ ท่านไปเริ่มต้นทำเองแบบนี้ไม่ถูกต้อง ท่านต้องให้เริ่มต้นโดยนายกรัฐมนตรีเป็นคนส่งชื่อ โดยเขาก็จะส่งชื่อสมเด็จพระราชาคณะมาให้ท่านรับรอง เมื่อเห็นชอบแล้วท่านก็ส่งคืนไป ซึ่งยังไงก็ไม่มีทางที่จะมีการเปลี่ยนตัวสมเด็จพระราชาคณะไปได้ ยังไงก็ต้องเป็นพระองค์นี้ หากตัว ผอ.สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำตามกฎหมาย เรื่องก็เดินหน้าไปได้ ไม่มีอะไรผิดพลาด แต่ตัว ผอ.สำนักพุทธฯ ไม่ทำหน้าที่ตรงนี้
มติของพระเราไม่ได้แตะเลย เป็นเรื่องของพระ พอท่านรู้ความเป็นจริง พระท่านบอกว่า ถ้าแบบนั้น อาตมาขอกลับไปจำวัด เพราะรู้แล้วว่าท่านไม่ได้รู้จริง ผู้ตรวจการแผ่นดินทำเรื่องนี้ เราระมัดระวังว่าอำนาจเราอยู่แค่ไหน อย่างไร เป็นอำนาจของใคร เราพิจารณาอย่างรอบคอบและระมัดระวังมาก ที่บอกจะล่ารายชื่อถอดถอนอะไรก็เงียบไปแล้ว ไม่มาทำอะไรกับเราแล้ว ส่วนตอนที่เราวินิจฉัยกรณีพระธัมมชโย เราก็ชี้แจงว่าเป็นความเห็นเรา แต่ว่าเราไม่ได้ถอดถอนอาจารย์ของพวกท่าน เพราะการถอดถอนเป็นเรื่องของมหาเถรสมาคม พอท่านเข้าใจก็กลับไปแล้วก็ไม่เคยมาอีกเลย ไม่มาอะไรกับเรา เพราะเราไม่ได้ทำอะไรแอบแฝง เราทำตรงไปตรงมาตามอำนาจหน้าที่.
พระธัมมชโย ปาราชิก
อ่านเต็มๆที่นี่นะครับ มีทั้งกรณีแต่งตั้งพระนามสมเด็จพระสังฆราชฯ ด้วยครับ
ผม ตัดเอามาแบบเต็มๆเฉพาะ ส่วนของ ธัมมี่ สมีโย ... เออ ครบยังนะ ฉายา ของท่านเสื้อยืดคอปกห่มเหลือง ....หมวดไหมพรม
http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-4%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AE%E0%B8%A7%E0%B8%87-2
…………………………….
บทบาทขององค์กรอิสระอย่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน พบว่าในช่วงที่ผ่านมา การมีมติของผู้ตรวจการแผ่นดินหลายเรื่องน่าสนใจไม่ใช่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกรณีส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 61 วรรคสองของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.... ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 หรือไม่ หรือความเห็นว่ามติที่ประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อต้นเดือน ม.ค.59 ในการเห็นชอบการเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ดำเนินการไม่ถูกตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ หรือก่อนหน้านี้เมื่อกลางปี 58 ที่มีความเห็นว่า พระธัมมชโย ต้องปาราชิกตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น
ทุกมติสำคัญข้างต้นของผู้ตรวจการแผ่นดินมีการอธิบายที่มาที่ไป รวมถึงบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินต่อจากนี้จาก พลเอกวิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เคยผ่านตำแหน่งสำคัญในกองทัพมาแล้วมากมาย
อีกหนึ่งปมร้อนในวงการสงฆ์ นั่นก็คือเรื่องของ พระธัมมชโย-เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย” ที่ก่อนหน้านี้คือเมื่อ ก.ค.2558 ทางผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมาแถลงย้ำว่า ธัมมชโย ปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช จากการเบียดบังทรัพย์สินวัดพระธรรมกาย อันเป็นความเห็นขององค์กรอิสระที่ออกมาก่อนหน้าที่ปมปัญหาเรื่องธัมมชโยจะร้อนแรงอย่างทุกวันนี้
พลเอกวิทวัส กล่าวถึงเรื่องนี้โดยละเอียดว่า ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นตอนนั้น ก็ได้พิจารณาจากพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชสองฉบับ แล้วก็ดูไปถึงเรื่องเหตุผลของการถอนฟ้องคดีหลังจากที่ทางอัยการสูงสุดยื่นเรื่องฟ้องศาลไปแล้ว คดีก็ดำเนินไปถึง 7 ปีแล้วก็มีการถอนฟ้อง โดยคดีอาญาที่มีลักษณะโทษจำคุกที่มีความผิดในระดับนี้ที่เราพบไม่สามารถที่จะถอนฟ้อง ยอมความไม่ได้ อัยการมีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน แม้มีอำนาจที่จะไปถอนฟ้อง แต่ลักษณะที่มีโทษจำคุกขนาดนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีการไปถอนฟ้อง เราก็สงสัยและถามไปที่สำนักอัยการสูงสุดเพื่อขอเหตุผลว่าควรจะมีการสอบสวน เพราะแม้มีอำนาจในการถอนฟ้อง แต่เป็นไปโดยชอบหรือไม่ ทางสำนักงานอัยการสูงสุดก็มีการตรวจสอบ แต่เขาก็ยังไม่ได้ส่งผลสอบมาให้เราทราบ
ในส่วนของพระธัมมชโยเองดูจากพระลิขิตนั้น ในกฎหมายคณะสงฆ์ฯ ก็บอกว่าพระลิขิตคือคำสั่ง แต่ตอนที่มหาเถรสมาคมนำเรื่องนี้เข้าไปพิจารณาแล้วก็ไปตีความว่าที่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระญาณสังวรฯ บันทึกไว้ ไปตีความว่าเป็นแค่ดำริ ไม่ใช่คำสั่ง คำสั่งพระสังฆราชถือเป็นกฎหมายสงฆ์ เขาบอกเป็นแค่ดำริ เป็นแค่ความคิด ซึ่งเราพิจารณาดูแล้วไม่ใช่ เป็นคำสั่ง คือพระสงฆ์ต้องถือปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ พระธัมมชโยจึงต้องอาบัติปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช นี่คือคำวินิจฉัยของผู้ตรวจฯ ก็คิดอย่างนั้น โดยก่อนจะมีความเห็น ทางผู้ตรวจการแผ่นดินก็พิจารณากันด้วยเหตุด้วยผลหลายอย่าง มีการคุยกันว่ามันควรไปอย่างไร เหตุผลเป็นอย่างไร เพื่อให้มีการปรึกษาหารือกันให้รอบคอบและระมัดระวัง
..อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจฯ ไม่มีอำนาจจะไปถอดถอนพระ ด้วยเหตุนี้เราจึงทำข้อเสนอไปถึงรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ในตอนนั้นน่าจะเป็นเดือน ส.ค.2558 ซึ่งตอนนั้นเรื่องราวยังไม่ใหญ่โต แตกแยก ขัดแย้งยังไม่สูงมาก
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ทำข้อเสนอแนะไปว่า ในการนี้ นายกรัฐมนตรีควรจะใช้มาตรา 44 แต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการสักชุดหนึ่งเพื่อมาพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.พระธัมมชโยนั้นปาราชิกหรือไม่ 2.คณะกรรมการนี้ควรจะไปดูว่าพระธรรมวินัยถูกบิดเบือนไปควรจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร 3.น่าจะมีการสะสางเกี่ยวกับเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.สงฆ์ฯ บางเรื่อง เช่น ที่สำคัญคือเรื่องของการจัดการทรัพย์สินของวัด เพราะเป็นที่รู้กันในปัจจุบันว่าวัดบางแห่งมีทรัพย์สินมากเกินไป แต่การทำบัญชีของวัดเป็นไปอย่างมีมาตรฐานหรือไม่ คือถ้าท่านมีเงินสักหนึ่งแสนคงใช้บัญชี ป.4, ป.6 ทำได้ จดรายรับ-รายจ่าย ซ้าย-ขวา หักลบกลบหนี้ บัญชีครัวเรือนคงทำได้ถ้าง่ายๆ แต่บางวัดทรัพย์สินเป็นร้อยล้าน เราก็พอจะทราบว่าวัดที่มีทรัพย์สิน พอท่านเจ้าอาวาสมรณภาพไป ลูกศิษย์ลูกหาทะเลาะเบาะแว้ง มีความขัดแย้งกันสูงมากเรื่องของเงินในวัด ยุ่งไปหมด นำมาซึ่งความแตกแยก ขัดแย้งเรื่องเงินทองทรัพย์สินของวัด อาจจะตั้งผู้สอบบัญชีแบบบริษัทมหาชน จะต้องถึงขนาดนั้นถ้าหากว่าทรัพย์สินของวัดใกล้พันล้าน
พลเอกวิทวัส กล่าวต่อไปว่า กลับมาถึงที่พระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย พระมีคนเอาของมาบริจาค เอาที่ดินมาถวาย ท่านเอาชื่อตนเองไปใส่เป็นทรัพย์สินท่าน ไม่ถูกใช่ไหมครับ เขามาถวายท่านเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านต้องไปจดทะเบียนในนามวัดถูกไหม เพราะวัดเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสถือเป็นเจ้าพนักงาน
ผมถึงบอกว่า พระธัมมชโยที่นำเอาทรัพย์สินของคนมาบริจาคทั้งหลายแล้วไปใส่ชื่อตนเองแทนที่จะใส่ชื่อวัด ก็เป็นเหตุผลที่เราบอกว่า นี่ไง เรื่องการจัดการทรัพย์สินของวัดมันไม่อยู่ในร่องในรอย มันก็เลยเกิดอย่างนี้ แล้วก็ผิดไหม ผิดแน่นอน เจ้าพนักงานผิดแน่นอน กรรมการชุดนี้ควรจะตั้งขึ้นมาเพื่อวางกฎเกณฑ์ให้ชัดเจนไปเลย วัดอื่นก็ถือปฏิบัติ ผมว่าแบบที่เอาชื่อเจ้าอาวาสมาใส่อาจจะไม่ใช่ที่วัดพระธรรมกายที่เดียว มีวัดอื่นที่เราไม่ทราบอีก
ผู้ตรวจการแผ่นดินให้ข้อเสนอแนะไปว่า คณะกรรมการที่เสนอนายกรัฐมนตรีไปก็ให้ตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องของพระธรรมวินัยทั้งฆราวาสและสงฆ์ อย่างท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านก็มีความซาบซึ้งในพระธรรมวินัย เก่งเรื่องพระธรรมวินัย หรือท่าน ว.วชิรเมธี ก็ทำปริญญาโทเรื่องพระธรรมวินัย ส่วนฆราวาสก็อาจจะมีเช่น คุณเสฐียรพงษ์ วรรณปก โดยให้กรรมการมาศึกษามาทำเป็นเรื่องๆ ไป ทำแล้วก็ส่งไปให้ทางมหาเถรสมาคม ถ้าเรื่องไหนที่เป็นเรื่องการแก้ไขกฎหมายก็อาจจะส่งไปให้ที่คณะรัฐมนตรี ให้กฤษฎีกาไปดู เกี่ยวข้องกับใครก็ให้คนนั้นไปทำ
ข้อเสนอดังกล่าว เรามองไปข้างหน้าไกลอีกด้วยว่า กรรมการชุดนี้จะเป็นเหมือนกันชน คือแทนที่นายกรัฐมนตรีจะไปชนกับพระ ไปชนกับมหาเถรสมาคมไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม นายกฯ ไม่ต้อง เพราะจะมีคณะกรรมการนี้เป็นคนทำให้ ถ้าไปเกี่ยวกับเรื่องต้องปลดพระ เขาก็จะส่งไปที่มหาเถรสมาคม มหาเถรสมาคมถ้าไม่เห็นด้วยต้องมีเหตุผลที่จะไปหักล้างเขา ซึ่งสังคมต้องรับได้ เรื่องก็ไม่ต้องไปเดือดร้อนนายกฯ ไม่ต้องรับเผือกร้อนเลย เพราะกรรมการชุดนี้เขาจะทำ เรื่องไหนที่กรรมการเขาบอกไว้อย่างนี้ ถ้ามหาเถรสมาคมเห็นแย้งมีเหตุผล นายกฯ ก็ต้องมาชั่งใจว่าจะเชื่อมหาเถรสมาคมหรือเชื่อกรรมการ เห็นแย้งอาจจะมีวิธีอื่นอีก ถ้ามหาเถรสมาคมเห็นแย้งหนึ่ง สอง สาม กรรมการว่าอย่างไร ก็จะมาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล ที่เราทำข้อเสนอแนะไปมันจะเป็นทางออกที่ทำให้ความขัดแย้งของพระสงฆ์และจุดอ่อนของ พ.ร.บ.สงฆ์ฯ คลี่คลาย
ย้อนถามไปถึงเหตุการณ์เมื่อปี 2558 ที่พอมีข่าวว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นเรื่องธัมมชโยต้องปาราชิก ก็มีลูกศิษย์วัดพระธรรมกายจำนวนมากเดินทางไปยังศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ที่ตั้งของสำนักงานผู้ตรวจการฯ พลเอกวิทวัส เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวช่วงนั้นว่า ก็มีมา เราก็ชี้แจงแล้วเขาก็กลับไป คือเขาไปเข้าใจว่าเราไปวินิจฉัยให้พระธัมมชโยปาราชิก เราไม่ได้บอก เพราะเราไม่ได้ถอดถอนพระ อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ถึง ผู้ตรวจการฯ ถึงได้เสนอนายกรัฐมนตรีไปว่า การจะถอดถอน ท่านต้องไปตั้งกรรมการชุดหนึ่ง แล้วอำนาจการให้ปาราชิกก็ไปอยู่ที่มหาเถรสมาคม เป็นหนึ่งในเรื่องที่กรรมการชุดนี้ต้องพิจารณาให้ความเห็นแล้วก็เสนอต่อมหาเถรสมาคม เพราะ มส.มีอำนาจในการชี้ว่าจะปาราชิกหรือไม่ปาราชิก นายกรัฐมนตรีเองท่านก็เคยบอกว่าท่านไม่ยุ่งเรื่องของพระ เพราะเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ มส.ต้องเป็นผู้จัดการในฐานะปกครองสงฆ์
- สรุปว่าหนังสือของผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับพระธัมมชโยคือต้องปาราชิกจากพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช
ใช่ แต่เราไม่ได้ไปถอดถอนท่าน ไม่ได้สั่ง แต่ด้วยเหตุนี้คือเป็นเหตุเป็นผล เป็นข้อพิจารณาของเราว่า พระธัมมชโยนั้นมีเหตุที่ต้องปาราชิกด้วยพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช แต่อำนาจการให้ปาราชิกไม่ใช่อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นอำนาจของ มส. พระที่มาก็บอกแบบนี้ก็ค่อยยังชั่วหน่อย ไม่ใช่มีการใช้อำนาจของผู้ตรวจการฯ ทำให้ปาราชิก เราก็แค่ให้ความเห็นไป แต่ไม่ได้ตัดสินว่าท่านต้องปาราชิกโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะเราไม่มีอำนาจไปตัดสิน แต่เป็นข้อคิดเห็นของเรา เพราะเราตรวจสอบแล้ว เรามีความเห็นว่าท่านน่าจะต้องปาราชิก แต่ผู้มีอำนาจในการสั่งปาราชิกคือ มส.
พลเอกวิทวัส กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องพระธัมมชโย ที่เรามีความเห็นเช่นนี้ เรามีเหตุผลหลายอย่าง เราไปตรวจถึงกับว่าท่านได้ถือครองที่ดินอยู่ที่ไหนบ้าง อย่างนี้ครับ พระหากไปยักยอกเงิน ในพระธรรมวินัย หนึ่งมาสก ที่ก็แค่ไม่กี่บาท ก็ถือว่าปาราชิก ยิ่งไปขโมยของก็ยิ่งถือว่าบาป พูดประสาชาวบ้าน พระไปยักยอกเงิน ขโมยของ ต้องถือว่าปาราชิก
“ท่านใช้วิธีว่าไปเอาเงินที่คนบริจาคไปเข้าบัญชีตัวเอง คนนำที่ดินมาให้ ท่านก็นำมาใส่ชื่อบัญชีตัวเอง หลายกรรมหลายวาระ มีหลักฐานไปถึงว่าท่านไปซื้อที่ดินแถวๆ ที่มีแร่ทองคำสะสมไว้ ซึ่งมันก็น่าจะมีราคาไว้เก็งกำไร ซื้อเองก็มี คนมาถวายก็มี มีหลายรายการมากเลยที่เราตรวจสอบพบมา เงินสดน่าจะไปถึง 800-900 ล้านบาท ผิดปกติไหม ในชื่อของท่าน ที่ดินอีกไม่รู้กี่แปลงเอามาใส่ไว้ในชื่อตัวเอง บัญชีตัวเอง”
ผมสมมุติง่ายๆ มีเพื่อนของคุณคนหนึ่งนำรถยนต์ที่เป็นทรัพย์ของคุณจากที่บ้านของคุณไปใช้ เอาไปถือครอง ไม่เอามาคืน ก็บอกหากไม่นำมาคืนจะไปฟ้องศาล ต่อมาก็ฟ้องศาล คดีผ่านไป 7 ปี แล้วต่อมามาบอกว่างั้นจะนำรถมาคืน ถามว่าคนที่นำรถคุณไปใช้ 7 ปีมีความผิดไหม แบบนี้มีคนไปตีความว่าเมื่อคืนทรัพย์แล้วก็ให้ความผิดนั้นหมดไป ผมถามว่ามันถูกหรือไม่ เพราะความผิดมันสำเร็จแล้ว ก็อย่างที่เราบอกว่าที่อัยการไปถอนฟ้อง ความผิดมันสำเร็จแล้ว การจะบอกว่าเมื่อนำทรัพย์มาคืนแล้วเรื่องก็หมดไป ผมถามว่าหากใช้วิจารณญาณ เรื่องมันหมดไปหรือไม่ในทางกฎหมายอาญา ผมว่าไม่หมด มันต้องมีความผิด ก็ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ
กับทั้งสองกรณี คือเรื่องมติ มส.และกรณีพระธัมมชโย เราถามว่าเลยทำให้ฝ่ายสงฆ์บางส่วนอาจไม่เข้าใจ มองว่าทำไมผู้ตรวจการแผ่นดินไปยุ่งอะไรกับฝ่ายสงฆ์ พลเอกวิทวัส กล่าวตอบว่า เราระมัดระวังมากในเรื่องขอบเขตอำนาจของเรา พระที่มา พอฟังเราชี้แจง โดยบอกว่าท่านอย่าไปฟังคนที่ให้ข้อมูลเท็จกับท่าน เราก็ชี้แจงไป เช่น เราไม่ได้วินิจฉัยว่ามติ มส.นั้นผิด แต่วินิจฉัยว่าตัว ผอ.สำนักพุทธฯ กระทำความผิด เพราะแทนที่จะให้ข้อมูลกับพระว่า ท่านครับ ท่านไปเริ่มต้นทำเองแบบนี้ไม่ถูกต้อง ท่านต้องให้เริ่มต้นโดยนายกรัฐมนตรีเป็นคนส่งชื่อ โดยเขาก็จะส่งชื่อสมเด็จพระราชาคณะมาให้ท่านรับรอง เมื่อเห็นชอบแล้วท่านก็ส่งคืนไป ซึ่งยังไงก็ไม่มีทางที่จะมีการเปลี่ยนตัวสมเด็จพระราชาคณะไปได้ ยังไงก็ต้องเป็นพระองค์นี้ หากตัว ผอ.สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำตามกฎหมาย เรื่องก็เดินหน้าไปได้ ไม่มีอะไรผิดพลาด แต่ตัว ผอ.สำนักพุทธฯ ไม่ทำหน้าที่ตรงนี้
มติของพระเราไม่ได้แตะเลย เป็นเรื่องของพระ พอท่านรู้ความเป็นจริง พระท่านบอกว่า ถ้าแบบนั้น อาตมาขอกลับไปจำวัด เพราะรู้แล้วว่าท่านไม่ได้รู้จริง ผู้ตรวจการแผ่นดินทำเรื่องนี้ เราระมัดระวังว่าอำนาจเราอยู่แค่ไหน อย่างไร เป็นอำนาจของใคร เราพิจารณาอย่างรอบคอบและระมัดระวังมาก ที่บอกจะล่ารายชื่อถอดถอนอะไรก็เงียบไปแล้ว ไม่มาทำอะไรกับเราแล้ว ส่วนตอนที่เราวินิจฉัยกรณีพระธัมมชโย เราก็ชี้แจงว่าเป็นความเห็นเรา แต่ว่าเราไม่ได้ถอดถอนอาจารย์ของพวกท่าน เพราะการถอดถอนเป็นเรื่องของมหาเถรสมาคม พอท่านเข้าใจก็กลับไปแล้วก็ไม่เคยมาอีกเลย ไม่มาอะไรกับเรา เพราะเราไม่ได้ทำอะไรแอบแฝง เราทำตรงไปตรงมาตามอำนาจหน้าที่.