รอง ผอ.พศ. แจงพระลิขิตไปยังดีเอสไอแล้ว เตรียมข้อมูลแถลงต่อสาธารณชน ขณะที่อดีตผอ.ส่วนงาน มส. ยัน พระลิขิตไม่ใช่คำสั่ง พระบัญชาต้องไม่ขัดกฏหมาย พระธรรมวินัย และกฎมส.
สืบเนื่องจากกรณีที่ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้ออกมาระบุว่า ดีเอสไอได้ตรวจสอบพระลิขิต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโยตามที่มีการร้องเรียนแล้ว ยืนยันว่า พระลิขิตมีผลตามกฎหมาย พร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และมหาเถรสมาคม(มส.) สอบถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีการร้องเรียนให้พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิกจากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชนั้น
เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า พศ.ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว และก่อนหน้านี้ก็ได้มีการชี้แจงไปยังดีเอสไอแล้วบางส่วน เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตามในส่วนของพศ. ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่จะเตรียมชี้แจงต่อสาธารณชน โดยต้องขอหารือกับคณะทำงาน และพระมหาเถระในกรรมการมส.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะยังไม่ขอตอบอะไรในตอนนี้ ดาดว่าอาจจะแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงหลังประชุมมส. ในวันที่ 10 ก.พ.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนกรณีที่ระบุว่า พศ. และมส. เป็นเจ้าพนักงาน และต้องปฏิบัติตามหน้าที่ มิเช่นนั้น จะถือว่า มีความผิดตามมาตรา 157 ได้ พศ.จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว นายชยพล กล่าวว่า พศ. ถือเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้ว แต่ก็ต้องดูว่า มีอำนาจในเรื่องใด คำว่าละเว้นหรือไม่ จะต้องมีอำนาจหน้าที่ และไม่ดำเนินการ โดยจะต้องไปดูในเรื่องนั้นๆ ว่า พศ.มีอำนาจดำเนินการแค่ไหน ส่วนมส.ก็เช่นกัน ก็ต้องไปดูอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นแค่ไหน การจะทำอะไรทำนอกอำนาจหน้าที่ไม่ได้อยู่แล้ว
“ผมได้พูดคุยกับทางดีเอสไอไปบางส่วนแล้ว โดยมีการซักถามเพื่อความเข้าใจว่า ทางดีเอสไอยังไม่เข้าใจตรงไหน เพื่อที่พศ.จะได้ทำคำชี้แจงไปให้ทราบ ส่วนกรณีที่หน่วยงานราชการจะชี้ว่า พระรูปไหนปาราชิกนั้น ก็ต้องให้ผู้ใช้กฏหมาย และรู้พระธรรมวินัยเป็นผู้ชี้ คือ คณะสงฆ์ แต่หากหน่วยงานไหนเห็นแย้งก็ทำได้ ก็ต้องมาถามผู้ใช้กฎหมายให้เป็นผู้ชี้ขาด” รองผอ.พศ.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีพระลิขิต สมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับพระธัมมชโย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีการชี้แจงผ่านสื่อมวลชนมาครั้งหนึ่งในช่วงเดือนก.ค. 2558 ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีพระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย และนางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ (มปปท.) ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบกรณีพศ. ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม(มส.) ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่บรรจุวาระการประชุมเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโย ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช โดยพศ. ตอบผู้ตรวจการแผ่นดินไปว่า ได้ตรวจสอบเอกสาร รวมถึงกระบวนการพิจารณาทั้งหมดแล้ว เรื่องต่างๆได้ยุติลงตั้งแต่กระบวนการชั้นต้นในระดับจังหวัด คือ คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี จึงไม่มีการแจ้งเรื่องมายังสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม พศ. ถือว่า พศ.ไม่ได้รับเรื่องจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี จะมีความผิดมาตรา 157 ได้อย่างไร ส่วนทางเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ก็มีคำวินิจฉัยโดยคณะกรรมการพิจารณานิคหกรรมระดับจังหวัด ก็มีคำสั่งและเหตุผลว่า ทำไมถึงยุติเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ร้องได้ถอนฟ้องต่อศาลอาญา ศาลจึงมีคำสั่งถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากระบบ ทำให้กระบวรการพิจารณาชั้นต้นของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีได้สิ้นสุดลงไปด้วย
ด้านนายพิศาฬเมธ แช่มโสภา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทอง ในฐานะอดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรสมาคม(มส.) กล่าวว่า จากกรณีที่มีการการกล่าวอ้างว่า พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเป็น “กฎหมาย” ที่มส.และคณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามนั้น ตนขอชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องพระบัญชา กับพระลิขิต ว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนาได้ โดยพระบัญชา คือ คำสั่งสมเด็จพระสังฆราช หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่คณะสงฆ์ไทยต้องปฏิบัติตาม เช่น พระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะใหญ่ กรรมการมส. เป็นต้น ซึ่งการจะทรงมีพระบัญชาใดๆ นั้น มีเกณฑ์กำหนดตามมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ว่า ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม
นายพิศาฬเมธ กล่าวต่อไปว่า ส่วนพระลิขิต คือ ข้อเขียนตามพระประสงค์ จัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่ง จึงไม่เป็นกฎหมายไม่มีผลต่อการปฏิบัติ เช่น พระวรธรรมคติ พระโอวาท เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่า มส.ขัดพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช จึงไม่เป็นความจริง เพราะพระลิขิตที่นำมากล่าวอ้างนั้นขัดกับกฎมส. เพราะกฎมส. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ซึ่งเกี่ยวกับระบบศาลของคณะสงฆ์ไทย และประกาศใช้เพื่อพิจารณาคดีที่เป็นอาบัติโดยเฉพาะ แบ่งเป็น 3 ศาล อย่างทางโลก คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา โดยในข้อ 26 ระบุว่า การพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นฏีกา ให้เป็นอำนาจของมส. เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการมส.โดยตำแหน่ง พระองค์จึงเปรียบเหมือนประธานศาลฎีกา จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ประธานศาลฎีกาจะมีคำตัดสินว่า นาย ก. หรือ นาย ข. ถูก ขณะที่ศาลชั้นต้นยังไม่พิจารณา
ที่มา : สำนักข่าวTBCNEWS สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ
สำนักพุทธชาติ สอนกฎหมายดีเอสไอ พระลิขิตไม่ใช่คำสั่ง พระบัญชาต้องไม่ขัดพระธรรมวินัย
สืบเนื่องจากกรณีที่ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้ออกมาระบุว่า ดีเอสไอได้ตรวจสอบพระลิขิต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโยตามที่มีการร้องเรียนแล้ว ยืนยันว่า พระลิขิตมีผลตามกฎหมาย พร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และมหาเถรสมาคม(มส.) สอบถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีการร้องเรียนให้พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิกจากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชนั้น
เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า พศ.ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว และก่อนหน้านี้ก็ได้มีการชี้แจงไปยังดีเอสไอแล้วบางส่วน เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตามในส่วนของพศ. ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่จะเตรียมชี้แจงต่อสาธารณชน โดยต้องขอหารือกับคณะทำงาน และพระมหาเถระในกรรมการมส.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะยังไม่ขอตอบอะไรในตอนนี้ ดาดว่าอาจจะแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงหลังประชุมมส. ในวันที่ 10 ก.พ.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนกรณีที่ระบุว่า พศ. และมส. เป็นเจ้าพนักงาน และต้องปฏิบัติตามหน้าที่ มิเช่นนั้น จะถือว่า มีความผิดตามมาตรา 157 ได้ พศ.จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว นายชยพล กล่าวว่า พศ. ถือเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้ว แต่ก็ต้องดูว่า มีอำนาจในเรื่องใด คำว่าละเว้นหรือไม่ จะต้องมีอำนาจหน้าที่ และไม่ดำเนินการ โดยจะต้องไปดูในเรื่องนั้นๆ ว่า พศ.มีอำนาจดำเนินการแค่ไหน ส่วนมส.ก็เช่นกัน ก็ต้องไปดูอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นแค่ไหน การจะทำอะไรทำนอกอำนาจหน้าที่ไม่ได้อยู่แล้ว
“ผมได้พูดคุยกับทางดีเอสไอไปบางส่วนแล้ว โดยมีการซักถามเพื่อความเข้าใจว่า ทางดีเอสไอยังไม่เข้าใจตรงไหน เพื่อที่พศ.จะได้ทำคำชี้แจงไปให้ทราบ ส่วนกรณีที่หน่วยงานราชการจะชี้ว่า พระรูปไหนปาราชิกนั้น ก็ต้องให้ผู้ใช้กฏหมาย และรู้พระธรรมวินัยเป็นผู้ชี้ คือ คณะสงฆ์ แต่หากหน่วยงานไหนเห็นแย้งก็ทำได้ ก็ต้องมาถามผู้ใช้กฎหมายให้เป็นผู้ชี้ขาด” รองผอ.พศ.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีพระลิขิต สมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับพระธัมมชโย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีการชี้แจงผ่านสื่อมวลชนมาครั้งหนึ่งในช่วงเดือนก.ค. 2558 ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีพระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย และนางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ (มปปท.) ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบกรณีพศ. ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม(มส.) ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่บรรจุวาระการประชุมเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโย ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช โดยพศ. ตอบผู้ตรวจการแผ่นดินไปว่า ได้ตรวจสอบเอกสาร รวมถึงกระบวนการพิจารณาทั้งหมดแล้ว เรื่องต่างๆได้ยุติลงตั้งแต่กระบวนการชั้นต้นในระดับจังหวัด คือ คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี จึงไม่มีการแจ้งเรื่องมายังสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม พศ. ถือว่า พศ.ไม่ได้รับเรื่องจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี จะมีความผิดมาตรา 157 ได้อย่างไร ส่วนทางเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ก็มีคำวินิจฉัยโดยคณะกรรมการพิจารณานิคหกรรมระดับจังหวัด ก็มีคำสั่งและเหตุผลว่า ทำไมถึงยุติเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ร้องได้ถอนฟ้องต่อศาลอาญา ศาลจึงมีคำสั่งถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากระบบ ทำให้กระบวรการพิจารณาชั้นต้นของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีได้สิ้นสุดลงไปด้วย
ด้านนายพิศาฬเมธ แช่มโสภา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทอง ในฐานะอดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรสมาคม(มส.) กล่าวว่า จากกรณีที่มีการการกล่าวอ้างว่า พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเป็น “กฎหมาย” ที่มส.และคณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามนั้น ตนขอชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องพระบัญชา กับพระลิขิต ว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนาได้ โดยพระบัญชา คือ คำสั่งสมเด็จพระสังฆราช หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่คณะสงฆ์ไทยต้องปฏิบัติตาม เช่น พระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะใหญ่ กรรมการมส. เป็นต้น ซึ่งการจะทรงมีพระบัญชาใดๆ นั้น มีเกณฑ์กำหนดตามมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ว่า ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม
นายพิศาฬเมธ กล่าวต่อไปว่า ส่วนพระลิขิต คือ ข้อเขียนตามพระประสงค์ จัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่ง จึงไม่เป็นกฎหมายไม่มีผลต่อการปฏิบัติ เช่น พระวรธรรมคติ พระโอวาท เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่า มส.ขัดพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช จึงไม่เป็นความจริง เพราะพระลิขิตที่นำมากล่าวอ้างนั้นขัดกับกฎมส. เพราะกฎมส. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ซึ่งเกี่ยวกับระบบศาลของคณะสงฆ์ไทย และประกาศใช้เพื่อพิจารณาคดีที่เป็นอาบัติโดยเฉพาะ แบ่งเป็น 3 ศาล อย่างทางโลก คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา โดยในข้อ 26 ระบุว่า การพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นฏีกา ให้เป็นอำนาจของมส. เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการมส.โดยตำแหน่ง พระองค์จึงเปรียบเหมือนประธานศาลฎีกา จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ประธานศาลฎีกาจะมีคำตัดสินว่า นาย ก. หรือ นาย ข. ถูก ขณะที่ศาลชั้นต้นยังไม่พิจารณา
ที่มา : สำนักข่าวTBCNEWS สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ