มองต่างมุม ปัญหาระหว่าง “มส.” กับ “พศ.”
ไม่ว่าจะมองตามหลักแห่ง “สภาวธรรม” ไม่ว่าจะมองผ่านกระบวนการแห่ง “อริยสัจ 4” ความจริงอันประเสริฐ
ปัญหาระหว่าง “มส.” กับ “พศ.” ได้เกิดขึ้นจริง
หากมองจากความเป็นจริงที่ มส. คือมหาเถรสมาคม หากมองจากความเป็นจริงที่ พศ. คือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ใครที่เป็น “พุทธ” ย่อมบังเกิดอาการ “หวาดเสียว” เพราะตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่ว่าที่ประกาศและบังคับใช้เมื่อ พ.ศ.2505 ไม่ว่าที่ประกาศและบังคับใช้หลังจากแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ.2535 ระบุความรับผิดชอบของ “พศ.” เด่นชัด
เด่นชัดโดยการกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของมหาเถรสมาคม
นั่นก็คือ รับใช้และสนองงานให้ “มส.”
ถามว่าแล้ว “ปัญหา” อันกลายเป็นตัว “ทุกข์” ของความสัมพันธ์ระหว่างมหาเถรสมาคมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีเหตุปัจจัยมาจากอะไร
คำตอบก็คือ ส่อแววจะกลับหัวกลับหาง แทนที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะเป็นเลขานุการให้กับมหาเถรสมาคมทำท่าว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นเสียแล้ว
>>
เห็นได้จากกรณีของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
>>
เห็นได้จากกรณีของการแต่งตั้ง “เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา” อันมีความไม่พอใจกรุ่นมาจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เห็นได้ชัดว่า “พศ.” ทำท่าจะอยู่เหนือกว่า “มส.”
รูปธรรม ก็คือ การประชุมมหาเถรสมาคม 2 ครั้ง ทางกรรมการมหาเถรสมาคมต้องการจะสอบถามความอื้อฉาวมากหลายไม่ว่าเรื่อง “เงินทอน” ไม่ว่าเรื่องเงินของโรงเรียนพระปริยัติธรรมจาก พศ.
>> แต่ผู้อำนวยการ พศ.ไม่เข้าประชุมทั้ง 2 ครั้ง
หลายฝ่ายประจักษ์ในเจตนาดีของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่จะต้องการกวาดล้างและทำความสะอาดภายในวงการสงฆ์
โดยถือเอาวัดและโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็น “เป้า”
การกวาดล้างและทำความสะอาดนี้มีการขานรับจากสังคมอย่างคึกคัก กว้างขวาง เพราะเกิดความเอือมระอามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
>> แต่คำถามก็คือ เรื่องนี้มีการปรึกษากับ “มส.” หรือไม่
ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ก็คือ แม้ พศ.ต้องการจะเข้าไปมีบทบาทในการจัดระเบียบวัดและพระอย่างไร แต่ก็ต้องกระทำโดยผ่านคณะปกครองของสงฆ์ ที่สำคัญก็คือโดยมติของมหาเถรสมาคม
ตัวอย่างที่เห็นจากกรณีของวัดพระธรรมกายก็เด่นชัด
ใช่ว่าทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะสามารถทำอะไรได้ตามที่ต้องการ เพราะว่าต้องผ่านเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล ต่อวัดอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ยิ่งต่อโรงเรียนพระปริยัติธรรมยิ่งมีความละเอียดอ่อน ทั้งหมดนี้คือตัวปัญหา ทั้งหมดนี้คือตัวทุกข์ ซึ่งไม่ว่ามหาเถรสมาคม ไม่ว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องทำความเข้าใจตามความเป็นจริง น่าแปลกที่ความขัดแย้งอันซึมลึกระหว่างมหาเถรสมาคมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกลับไม่อยู่ในความรับรู้ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ กลับมองเห็นเป็นเรื่อง “น่าขัน”
เรื่องโลกๆ โดยทั่วไปท่านรัฐมนตรีอาจเห็นเป็นความขำขันได้ แต่เรื่องของศาสนา เรื่องของวัด เรื่องของพระ ไม่ควรเลย เพราะอาจก่อปัญหาระหว่าง “ศาสนจักร” กับ “อาณาจักร” ได้
มองต่างมุม ปัญหาระหว่าง “มส.” กับ “พศ.”
ไม่ว่าจะมองตามหลักแห่ง “สภาวธรรม” ไม่ว่าจะมองผ่านกระบวนการแห่ง “อริยสัจ 4” ความจริงอันประเสริฐ
ปัญหาระหว่าง “มส.” กับ “พศ.” ได้เกิดขึ้นจริง
หากมองจากความเป็นจริงที่ มส. คือมหาเถรสมาคม หากมองจากความเป็นจริงที่ พศ. คือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ใครที่เป็น “พุทธ” ย่อมบังเกิดอาการ “หวาดเสียว” เพราะตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่ว่าที่ประกาศและบังคับใช้เมื่อ พ.ศ.2505 ไม่ว่าที่ประกาศและบังคับใช้หลังจากแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ.2535 ระบุความรับผิดชอบของ “พศ.” เด่นชัด
เด่นชัดโดยการกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของมหาเถรสมาคม
นั่นก็คือ รับใช้และสนองงานให้ “มส.”
ถามว่าแล้ว “ปัญหา” อันกลายเป็นตัว “ทุกข์” ของความสัมพันธ์ระหว่างมหาเถรสมาคมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีเหตุปัจจัยมาจากอะไร
คำตอบก็คือ ส่อแววจะกลับหัวกลับหาง แทนที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะเป็นเลขานุการให้กับมหาเถรสมาคมทำท่าว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นเสียแล้ว
>> เห็นได้จากกรณีของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
>> เห็นได้จากกรณีของการแต่งตั้ง “เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา” อันมีความไม่พอใจกรุ่นมาจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เห็นได้ชัดว่า “พศ.” ทำท่าจะอยู่เหนือกว่า “มส.”
รูปธรรม ก็คือ การประชุมมหาเถรสมาคม 2 ครั้ง ทางกรรมการมหาเถรสมาคมต้องการจะสอบถามความอื้อฉาวมากหลายไม่ว่าเรื่อง “เงินทอน” ไม่ว่าเรื่องเงินของโรงเรียนพระปริยัติธรรมจาก พศ.
>> แต่ผู้อำนวยการ พศ.ไม่เข้าประชุมทั้ง 2 ครั้ง
หลายฝ่ายประจักษ์ในเจตนาดีของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่จะต้องการกวาดล้างและทำความสะอาดภายในวงการสงฆ์
โดยถือเอาวัดและโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็น “เป้า”
การกวาดล้างและทำความสะอาดนี้มีการขานรับจากสังคมอย่างคึกคัก กว้างขวาง เพราะเกิดความเอือมระอามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
>> แต่คำถามก็คือ เรื่องนี้มีการปรึกษากับ “มส.” หรือไม่
ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ก็คือ แม้ พศ.ต้องการจะเข้าไปมีบทบาทในการจัดระเบียบวัดและพระอย่างไร แต่ก็ต้องกระทำโดยผ่านคณะปกครองของสงฆ์ ที่สำคัญก็คือโดยมติของมหาเถรสมาคม
ตัวอย่างที่เห็นจากกรณีของวัดพระธรรมกายก็เด่นชัด
ใช่ว่าทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะสามารถทำอะไรได้ตามที่ต้องการ เพราะว่าต้องผ่านเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล ต่อวัดอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ยิ่งต่อโรงเรียนพระปริยัติธรรมยิ่งมีความละเอียดอ่อน ทั้งหมดนี้คือตัวปัญหา ทั้งหมดนี้คือตัวทุกข์ ซึ่งไม่ว่ามหาเถรสมาคม ไม่ว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องทำความเข้าใจตามความเป็นจริง น่าแปลกที่ความขัดแย้งอันซึมลึกระหว่างมหาเถรสมาคมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกลับไม่อยู่ในความรับรู้ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ กลับมองเห็นเป็นเรื่อง “น่าขัน”
เรื่องโลกๆ โดยทั่วไปท่านรัฐมนตรีอาจเห็นเป็นความขำขันได้ แต่เรื่องของศาสนา เรื่องของวัด เรื่องของพระ ไม่ควรเลย เพราะอาจก่อปัญหาระหว่าง “ศาสนจักร” กับ “อาณาจักร” ได้