วันที่ ๒๒ ก.ย. ๕๘ นายประดับ โพธิกาญจนวัตร รองโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ได้ผ่านความเห็นชอบ ร่างระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยสำนักปฏิบัติประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อดำเนินการปรับปรุงให้ระเบียบจึดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดมีความรัดกุมและมีทิศทางชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สาระสำคัญในร่างระเบียบฉบับใหม่นี้มีเนื้อหา ๑๔ ข้อ โดยเพิ่มเติมให้แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการดำเนินงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแต่ละฝ่ายที่ชัดเจนประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา เจ้าคณะภาคและรองเจ้าคณะภาคเป็นที่ปรึกษา เจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานกรรมการ รองเจ้าคณะจังหวัดเป็นรองประธานกรรมการเจ้าคณะอำเภอ หรือผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๗ รูป/คน เป็นกรรมการ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการโดยกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบ ยุบเลิกพร้อมกำกับดูแลและสนับสนุนให้สำนักปฏิบัติธรรม ดำเนินกิจกรรมตามนโยบายมส.
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่ชัดเจนไว้ ๕ ข้อ ดังนี้
๑. เป็นวัดตาม พ.ร.บ. คระสงฆ์
๒. มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่
๓. มีจำนวนพระวิปัสสนาจารย์เพียงพอ
๔. มีหลักสูตรปฏิบัติธรรมที่เหมาะสม และ
๕. มีการดำเนินการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องตลอดปี อย่างน้อยเดือนละ ๒ ครั้ง
ที่สำคัญเมื่อมส. มีมติอนุมัติให้จัดตั้งแล้ว ให้พศ.ขึ้นทะเบียนและจัดสรรงบประมาณอุปถัมภ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่สำคัญยังกำหนดให้สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดต้องทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอคณะกรรมการหากพบว่า ขาดคุณสมบัติหรือกระทำไม่เหมาะสม อาจถูกพิจารณาให้ยุบเลิกได้
มส. ออกระเบียบใหม่ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
สาระสำคัญในร่างระเบียบฉบับใหม่นี้มีเนื้อหา ๑๔ ข้อ โดยเพิ่มเติมให้แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการดำเนินงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแต่ละฝ่ายที่ชัดเจนประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา เจ้าคณะภาคและรองเจ้าคณะภาคเป็นที่ปรึกษา เจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานกรรมการ รองเจ้าคณะจังหวัดเป็นรองประธานกรรมการเจ้าคณะอำเภอ หรือผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๗ รูป/คน เป็นกรรมการ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการโดยกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบ ยุบเลิกพร้อมกำกับดูแลและสนับสนุนให้สำนักปฏิบัติธรรม ดำเนินกิจกรรมตามนโยบายมส.
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่ชัดเจนไว้ ๕ ข้อ ดังนี้
๑. เป็นวัดตาม พ.ร.บ. คระสงฆ์
๒. มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่
๓. มีจำนวนพระวิปัสสนาจารย์เพียงพอ
๔. มีหลักสูตรปฏิบัติธรรมที่เหมาะสม และ
๕. มีการดำเนินการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องตลอดปี อย่างน้อยเดือนละ ๒ ครั้ง
ที่สำคัญเมื่อมส. มีมติอนุมัติให้จัดตั้งแล้ว ให้พศ.ขึ้นทะเบียนและจัดสรรงบประมาณอุปถัมภ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่สำคัญยังกำหนดให้สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดต้องทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอคณะกรรมการหากพบว่า ขาดคุณสมบัติหรือกระทำไม่เหมาะสม อาจถูกพิจารณาให้ยุบเลิกได้